สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลน่า (Football Club Barcelona) หรือมีอีกชื่อที่ผู้คนมักเรียกกันติดปากง่ายๆว่า บาร์ซ่า (Barca) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพที่ตั้งอยู่ในประเทศสเปน ในแคว้น กาตาลุญญา เมื่องบาร์เซโลน่าเล่นอยู่ในลีกลาลีกาและมีชื่อเต็มว่า ฟุตบอลกลุบบาร์เซโลน่า ทีมก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 บาร์ซ่าเป็นสโมสรที่ได้ครอบครองเป็นผู้ชนะถ้วยสเปนในปัจจุบัน และยังเป็นแชมป์ลาลีกาถึง 26 สมัย
ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในยุโรป ชนะเลิศในยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ 4 สมัย, แชมป์เปี้ยนลีก 5 สมัย, ยูฟ่าซูเปร์คัพอีก 5 สมัยและฟีฟ่าคลับเวิลคัพ 3 สมัย และยังมีสถิติที่ได้รับชัยชนะในอินเตอร์-ซิตี้แฟลส์คัพ 3 สมัยที่เป้นถ้วยต้นแบบของยูฟ่าคัพ
บาร์เซโลน่า ถือเป็นสโมสรในยุโรปเพียงทีมเดียวเท่านั้นที่แข่งขันในฟุตบอลระหว่างทวีปในทุกฤดูกาลตั้งแต่ ค.ศ. 1955 และยังเป็น 1 ใน 3 ทีมที่ไม่เคยได้รู้จักกับคำว่าตกชั้นลาลีกา ต่อมาในปี ค.ศ.2009 ก็ยังคงเป็น บาร์เซโลน่า สโมสรสเปนทีมแรกที่ได้รับการครองแชมป์ถึง 3 รางวัลคือ โกปาเดลเรย์, ลาลิกาและแชมป์เปี้ยนลีก
กลุ่มนักฟุตบอลสวิส อังกฤษและสเปน ได้ทำการก่อตั้งชื่อฟุตบอลคลับบาร์เซโลน่าขึ้นมาในปี ค.ศ. 1899 มีทฃการนำโดย ฌูอันกัมเป เพลงประจำสโมสรคือเพลง กันดัลบาร์ซ่า ที่ถูกเรียบเรียงเขียนขึ้นมาโดย ปิกัสและฌูแซ็ป มาริอาอัสปินัส สัญญาลักษณ์ทางวัฒนธรรมกาตาลาแลนิยม กาตาลามีคำขวัญอย่างเป็นทางการว่า “Me’s que un club” มีความหมายว่า “มากกว่าสโมสร” ทางของผู้สนันสนุนทีมเป็นถึงเจ้าของและบริหารทีมไปด้วย บาร์เซโลน่า จัดว่าเป็นสโมสรที่ร่ำรวยที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลก จะมีรายได้ประจำปี 398 ยูโร สโมสรที่เป็นคู่ปรับกันมาอย่างยาวนานคือ เรอัล มาดริด หากมีการแข่งขันระหว่างสองทีมนี้จะมีการขนานนามว่า “เอลกลาซิโก”
วันที่ 14 มีนาคม 1909 ทางสโมสรได้ทำการย้ายไปจากสนามกัมเดลาอินดุสเตรีย ที่สามารถจุผู้คนได้ถึง 8,000 คน หลัวงจากปี 1910-1914 บาร์ซ่าก็ได้ลงแข่งขันในฟุตบอลถ้วย พิเรนิส ที่ประกอบไปด้วยหลากหลายทีมมีทั้ง ล็องด็อก, อากีแตน(ฝรั่งเศลใต้), มีดี กาตาลุญญาและลาสก์ และในชาวงเวลานั้นก็ได้มีการเปลี่ยนชื่อสโมสรอย่างเป็นทางการ จากภาษาสเปนกัสติยา(Castilian Spanish) มาเป็นภาษากาตาลา และได้ให้ความสำคัญในเรื่องของสัญลักษณ์ของอัตลักษณ์กาลาตาขึ้นมาเพื่อให้แฟนบอลได้มีส่วนร่วม
ในปี 1922 สโมสรได้สมาชิกเพิ่มขึ้นมามากกว่า 20,000 คน ถ้าให้พูดถึงเรื่องการเงินนับว่าอยู่ในทิศทางที่ดี สามารถสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่ขึ้นมาได้ ช่วงเวลาในปีเดียวก็ได้ย้าาสโมสรไป เลสกอตส์ ที่ได้สร้างขยายเพิ่มขนาดให้จุผู้คนได้กว่า 60,000 คน ส่วทางด้านของผู้จัดการทีมในเวลานั้นคือ แจ็ก กรีนเวลล์ เป็นช่วงของสโมสรในระหว่างยุคของกัมเปร์ ที่บาร์เซโลน่า ไเ้คว้าถ้วยกัมเปียนัดเดกาตาลัน ถึง 11 ครั้ง ถ้วยพิเรนิส 4 ครั้ง ถ้วยโกปาเดลเรย์ 6 ครั้ง
เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 1325 ได้มีหมู่ชนที่สนามกีฬาร้องเพลงชาติในการประท้วงต่อระบบเผด็จการของ มีเกล เด รีเบรา ทำให้สนามถูกสั่งปิดไปถึง 6 เดือน จากการโต้ตอบด้วยกำลังของทหารและกัมเปร์ ที่ถูกบีบกดดันให้ถอนตัวออกจากการเป็นประธานของสโมสร ด้วยเหตุการความขัดแย้งในครั้งนี้ก็ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสโมสรได้ก้าวเข้าสู่ความเป็นมืออาชีพหลังจากที่สโมสรได้คว้าถ้วยสเปน ก็ได้มีการแต่งบทกวีเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในชื่อ โอดาปลัตโก ที่สมาชิกในกลุ่มเจเนอเรชันออฟ 27 ได้แต่งขึ้นมาภายใต้แรงบันดาลใจจาก วีรกรรมของผู้รกษาประตูบาร์เซโลน่า เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 1930 ก็ได้เกิดเหตุการณืที่ไม่คาดฝันขึ้น กัมเปย์ได้ฆ่าตัวตายเนื่องจากปัญหาความเครียดทั้งด้านการเงินและปัญหาส่วนตัว
หลังจากนั้นก็ได้เกิดความขัดแย้งขึ้นมา เกี่ยวกับเรื่องการเมืองจึงทำให้ความสำคัญของกีฬาลดน้อยลงจึงทำให้สโมสรมาถึงยุคที่เสื่อมถดถอยลง หลังจากนั้นแค่ 1 เดือน ก็ได้มีการทำสงครามกลางเมืองสเปนขึ้น ทำให้นักฟุตบอลหลายคนเข้าไปเป็นทหารเพื่อต่อสู้กับการปฏิวัติครั้งนั้น วันที่ 6 สิงหาคม ประธานสโมสร ชูเซบ ซุนยอล และตัวแทนพรรคก็สนับสนุนการเมืองเสรี โดนฆาตรกรรมจากกลุ่มทหาร ฟาลังเคติด กับเมือง กว่าดาร์รามา ครั้งนี้ถือเป็นประวัติศาสตร์ของบาร์เซโลน่า ในนามว่า “บาร์เซโลนินเม” ที่เป็นห้วงเวลาของความทุกข์และทรมานที่สุด ในช่วงที่ผู้เล่นได้เดินทางไปแข่งขันที่ แม็กซิโก และ สหรัฐอเมริกา ในนามของสาธารณรัฐสเปน ครั้งที่ 2 ในครานั้นจึงทำให้เรื่องการเงินของทางสโมสรกระเตื้องเฟื่องฟูอีกครั้ง เป็นเหตุที่ทำให้ครึ่งหนึ่งของสมาชิกในทีมหาทางที่จะลี้ภัยใน แม็กซิโก และ ฝรั่งเศส หลังจากที่จบสงครามการเมืองขึ้น ก็ได้มรการใช้คำสั่งห้ามให้ธงชาติกาตาลาและสโมสรที่ไม่ได้ใช้ชื่อสเปน ซึ่งเป็นผลให้สโมสรต้องเปลี่ยนชื่อมาเป็น กลุบเดฟุตบอลบาร์เซโลนา (สเปน: Club de Fubol Barcelona) ที่ได้มีการเอาธงออกจากตราสโมสรด้วย
ในเวลาต่อมา บาร์เซโลน่า ก็ได้ร่วมลงสนามแข่งขันกับ เรอัล มาดริด ในรอบรองชนะเลิศของ โกปาเดลเฆเนราลิซิโม เมื่อปี 1943 นัดแรกที่มีการแข่งขันที่เลสกอตส์ บาร์เซโลน่า สามารถเอาชนะไปได้ถึง 3-0 ประตู ก่อนช่วงเวลาของการแข่งขันนัดที่ 2 จะเกิดขึ้น จอมพลฟรันซิสโก ฟรังดก ก็ได้แวะเวียนเข้ามาในห้องเปลี่ยนชุดของบารร์เซโลน่า และได้กล่าวคำตักเตือนในเรื่องที่พวกเขาสามารถเล่นฟุตบอลได้นั้นเนื่องจากความกรุณาต่อระบอบปกครอง ในนัดที่ 2 ของการแข่งขัน เรอัล มาดริด เป็นฝ่ายที่เอาชนะไปได้แบบไม่ลืมหูลืมตา ด้วยสกอร์ 11-1 ประตู
เดือนมิถุนายน 1950 กด็ได้เซ็น ลาดิสเลา คูลาลา เป็นผู้ที่นับว่ามีอิทธิพลต่อการก่อสร้างตัวของสโมสร ลัสโซล คูบาลา และผู้จัดการทีมอย่าง เฟอร์ดินานด์ เดาซีก นำพาทีมไปตระเวณคว้าถ้วยรางวัลมาได้อย่างมากมายถึง 5 รางวัล รวมไปถึง โกปาเดลเฆเนราลิซิโม ,ลาลีกา โดยในเวลาต่อมาได้มีการใช้ชื่อว่า โกปาเดลเรย์ ,ละตินคัพ ,โกปาเอบาดัวร์เต และโกปรมาร์รีรนีรอสซี ต่อมาทางสโมสรก็ได้คว้าชัยอีกครั้งในปี 1953
การนำทีมของผู้จัดการ เอเลเนียว เอร์เรรา พร้อมกับนักเตะชุดยอดเยี่ยมรุโรปแห่งปี 1960 นักฟุตบอลชาวฮังการี 2 คนและลุยส์ ซัวเรซ ที่ทำให้ทีมได้รับชัยชนะจากการแข่งขันระดับชาติ 2 รางวัล และในปี 1961 ที่เอาชนะ เรอัล มาดริด ได้ในการแข่งขันยูโรเปี้ยนคัพ แต่ต้องพ่ายให้กับ ไบฟีกา ในรอบชิงชนะเลิศ
ในช่วงเวลาต่อมาทางสโมสรไม่ค่อยที่จะประสบความสำเร็จอย่างที่คาดเอาไว้เท่าที่ควร กลายเป็น เรอัล มาดริด ที่ได้ครองแชมป์อยู่เพียงฝ่ายเดียว แต่ในความโชคร้ายก็ยังพอมีหนทางออกเมื่อ ชูเซบ มาเรีย ฟุสเต และ กาเลสเรชัก เป็นผู้ที่ฉุดกระชากทำให้การเล่นของทีมกลับมาดีขึ้นอีกครั้งในการเอาชนะทีมคู่แข่งอย่าง เรอัล มาดริด 1-0 ประตู เมื่อจบยุคของระบบเผด็จการทางสโมสรก็ได้มีการเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการมาเป็น ฟุตบอลกุล่บบาร์เซโลน่า และเปลี่ยนตราสัญลักษณ์มาเป็นตัวอักษรเดิมด้วย
อีกเรื่องที่ถือว่าเป็นสถิติใหม่ของโลกคือการที่สโมสรซื้อตัว โยฮัน ไกรฟฟ์ จาก อาแจกซ์ อัมสเตอร์ดัม ด้วยค่าตัวสูงถึง 920,000 ปอนด์ ไกรฟฟ์ ก็ยังถูกยกย่องให้เป็นนักฟุตบอลยุโรปยอดเยี่ยมแห่งปี 1973 ในฤดูกาลแรกเขาก็ได้รับรางวัลบัลลงดอร์ถึง 3 ครั้ง ซึ่งถือว่าเป็นนักฟุตบอลคนแรกที่ทำได้ หลังจากที่สิ้นสุดระบบเผด็จการของ จอมพลฟรังโก โดยประเด็นหลักๆของ นูเญซ คือการพาทีมพัฒนา บาร์เซโลน่า สู่สโมสรดับโลก
เมื่อปี 1979 เป็นครั้งที่ บาร์เซโลน่า ชนะในศึกยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ คว้าชัยเหนือ ฟอร์ทูน่า ดุสเซลดอร์ฟ 4-3 ประตู ต่อมา มารโดนา ได้ทำการเซ็นสัญญากับทีมโบค่า จูเนียส์ ด้วยค่าตัวสูงถึง 5 บ้านปอนด์ และก็ได้ย้ายไปซบ นาโปลี ปี 1966 ฟุตบอลโลก แกรี่ ไลน์เคอร์ เป็นผุ้ที่ประตูได้มากที่สุดและได้ทำการเซ็นสัญญากับสโมสรพร้อมกับ อันโดนี ซูบีซาร์เรตา ผู้รักษาาประตู แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จมากนักเมื่อเทียบกับ มีชุสเทอร์ และ เวเนเบิลล์ ก็ถูกทีมตะเพิดออกไป และได้การมาแทนที่ของ อารา โกเนส มาแทน
โยฮัน ไกรฟฟ์ กลับมาอีกครั้งในฐานะผู้จัดการทีมในปี 1988 และถือว่าเป็นหนึ่งบุคคลที่ดำรงตำแหน่งผู้จัดการทีมที่ประสบความสำเร็จและในช่วงเวลาที่มากที่สุด แต่ในที่สุดก็ดีได้ไม่นาน เมื่อเขาพาทีมทำพลาดถ้วยรางวัลไปหลายถ้วยท้ายสุดต้องออกจากทีมไปและได้ บ็อบบี ร็อบสัน มาแทนที่
กัลป์ได้กลับมารับหน้าที่ผู้จัดการทีมเป็นครั้งที่ 2 แต่ในปี 2003 เขาได้ลาออกจากสโมสรไป หังจากนั้นทางสโมสรก็กลับมาฟิ้นตัวอีกครั้งภายใต้ประธานคนใหม่ วูอัน ลาปอร์ตา อดีตนักฟุตบอลชาวดัตช์ ช่วยนำพาให้สโมสรกลับมาโด่งดังอีกครั้ง ต่อมาในปี 2009 บาร์เซโลน่า คว้าชัยชนะในฟีฟ่าคลับเวิลดัพ 2009 และเป้นทีมแรกที่ได้ 6 ถ้วยมาครอง พร้อมกับสร้างสถิติใหม่ให้กับวงการฟุตบอลสเปน จากการเป็นผู้ชนะในลาลีกา ด้วยคะแนนสูงถึง 99 คะแนน และยังได้ชูถ้วยซูเปอร์คัพของสเปนมากที่สุดติดต่อกันเป็นครั้งที่ 9 ปี 2010 ซันดรู รูเซลย์ ได้รับการรับเลือกให้เป็นประธานคนใหม่และได้ทำการเซ็นสัญญานำนักฟุตบอลเข้ามา เช่น ดาบิด บียา และ คาเบียนร์ มาเชราโน เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2010 บาร์เซโลน่า ไดรับชัยชนะจากการแข่งขันกับคู่ปรับอย่าง เรอัล มาดริด ใน เอลกลาซิโก ถึง 5-0 ประตู และยังได้ครองแชมป์ลาลีกาเป็นฤดูกาลที่ 3 ติดต่อกัน พร้อมด้วยคะแนน 69 คะแนน
เมื่อปี 2011 เดือนเมษายน สโมสคว้าชัยชนะในศึกโกปาเดลเรย์ นัดตัดสิน แต่ต้องกลับมาพ่ายแพ้ให้ เรอัล มาดริด 1-0 เดือนพฤษภาคม บาร์เซโลน่า ชนะ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ในยูฟ่าแชมเปี้ยนลีก 2011 นัดตัดสินที่สกอร์ 3-1 เป็นครั้งที่ 4 ที่สโมสรเอาชนะในถ้วยนี้ เดือนสิงหาคม สโมสรดึงตัว เซสก์ กาเบรกัส มาจากอาร์เซน่อล นอกจากนี้ยังมีถ้วยรางวัลอีกเยอะแยะมากมายที่ทางทีมได้รับเข้ามาจนถึงปัจจุบันนี้
The post ส่องประวัติ บาร์เซโลน่า (เจ้าบุญทุ่ม) first appeared on ผลบอลสด บ้านผลบอล ผลบอลวันนี้ 7m 888 Livescore.]]>สโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ มีชื่อเดิมว่า สโมสรเลสเตอร์ ฟอสส์ เอฟซี (Leicester Fosse FC) เริ่มก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1884 อยู่ในเมือง เลสเตอร์ เขต อีสต์ มิดแลนด์ ประเทศอังกฤษ ได้รับแต่งตั้งฉายาว่า The Foxes ในประเทศอังกฤษ และมีฉายาว่า “สนุัขจิ้งจอก” หรือ “จิ้งจอกสยาม” ตามชื่อฉายาที่ได้รับในประเทศไทย
ต้นกำเนิดของสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ โดยเริ่มจากนักบวชกลุ่มหนึ่ง ที่หลายๆคนได้เข้าไปศึกษาและเจริญเติบโตมาจากสถานเก่าแก่ที่แห่งหนึ่ง หรือที่เรียกว่าโรงเรียน วิกเกสตัน (Wyggeston School) บนถนนเซาธ์เกต บาทหลวงในนาม เลเวลลีน เอช พาร์สัน และเหล่าบรรดาลูกศิษย์ต่างได้พูดถึงเรื่องอนาคตที่น่าตื่นเต้น เกี่ยวกับการก่อตั้งสโมสรฟุตบอลขึ้นมา และจากการรวมตัวกันของคนกลุ่มนั้นก็ก่อให้เกิดการตั้งคณะกรรมการประจำสโมสรขึ้น แต่ละคนมีเงินลงทุนก่อตั้งสโมสร คนละ 9 เพนช์ และจำนวนเงินเพิ่มอีกคนละ 9 เพนช์ เพื่อนำไปซื้อลูกฟุตบอล
เดอะ ฟอสส์ เวย์ (The Fosse Way) ชื่อถนนเก่าแก่ในอาณาจักรโรมัน ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อของสโมสรใหม่ ส่วนที่มาของชื่อนี้ก็คือ ถนนที่เชื่อมภาคตะวันตกเฉียงใต้และวันออกเฉียงใต้ของประเทศอังกฤษ
1 พฤศจิกายน 1884 ชัยชนะนัดแรกของ เลสเตอร์ ฟอสส์ เอฟซี ที่ได้มาในท่ามกลางกองเชียร์แฟนบอลจำนวนไม่มากนัก ใช้สนามส่วนตัวที่ถนนฟอสส์ เซาธ์ โดยเป็นการเอาชนะ สโมสรซิสตัน ฟอสส์ ไปได้ถึง 5-0 โดยเฉลี่ยอายุของกลุ่มผู้เล่นนั้นเพียงแค่ 16 ปีเท่านั้น จากการยิงประตูของ อาร์เธอร์ เวสต์ และ ฮิลตัน จอห์นสัน คนละ 2 ลูก ในขณะที่ แซม ดิงลี่ย์ ยิงอีก 1 ประตูปิดจ๊อบ ในช่วงเวลานั้นกีฬาฟุตบอลยังไม่ป็นที่นิยมในคนหมู่มากเหมือนในปัจจุบัน หลายๆคนมองว่าเป็นการร่วมกิจกรรมและการออกำลังกายเพียงแค่นั้น
ระหว่างปี 1884-1887 สังเวียนแข่งขันที่แรกคือ วิคตอเรีย พาร์ค เวลาต่อมาทางสโมสรทำการวางแผนที่จะย้ายมาปักหลักที่ เบลเกรฟ โร้ด ไซเคิล แต่แผนนี้ต้งล้มลงไป เพราะสโมสรรักบี้เลสเตอร์ ไทเกอร์ส มาชิงตัดหน้าประมูณสนามไปได้ก่อนในปี 1888 ทำให้พวกเขาต้องกลับไปใช้สนามเดิม
ฤดูกาลแรกของ เลสเตอร์ ฟอสส์ ที่มิลล์ เลน พวกได้ครองแชป์แรกกับสโมสร (ฉายาในเวลานั้นคือ ฟอสซิล หรือ วิวัฒนาการขั้นต้นของสิ่งมีชีวิตโบราณ) พวดเขาสามารถเอาชนะ โคลวิลล์ ในรายการแข่งขันเลสเตอร์เชียร์ เคาน์ตี้ คัพ รอบชิงชนะเลิศ ที่ โลโบโร่ในปี 1890 ในฤดูกาลต่อมาถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะพวกเขาได้เข้าร่วมศึกการแข่งขันฟุตบอล เอฟเอคัพ เป็นครั้งแรก
ทีมยังคงมุมงมั่นในการค้นหาสถานที่ในการจัดตั้งสำนักงานของสโมสรให้เป็นทางการ ต่อมามีปัญหาเกดขึ้นอีก เมื่อมีผู้คนที่จะสร้างที่อยู่อาศัยบริเวณสนามมิลล์ เลน จึงมีอีกทางเลือกนึงนั่นก็คือสนามคริกเก็ตที่ถนน เกรซ โร้ด
เดือนตุลาคม ปี 1819 ถือเป็นโอกาสดีที่พวกเขาได้ตั้งที่อยู่อย่างเป็นหลักเป็นแหล่งที่ฟิลเบิร์ต สตรีท ถนนสายนั้นมีชื่อว่า วอลนัท สตรีท โร้ด กรเริ่มต้นฤดูกาลแรกของพวกเขาไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิดไว้ ถึงแม้ว่าจะสามารถดึงผู้เข้าชมมาได้ถึง 4,000 คน แต่พวกเขาต้องใช้เวลานานถึง 3 ปีกว่าทุกอย่างจะลงตัว
ก่อนฤดูกาล 1893-1894 จะมาถึง เลสเตอร์ ฟอสส์ สามารถดึงตัวนักเตะอาชีพมาเซ็นสัญญาได้ถึง 19 คน และจบในตำแหน่งที่ 2 ของตาราง ปี 1894 นับว่าเป้นช่วงเวลาสำคัญที่สุดในประวัติสโมสร เมื่อฝ่ายจัดการแข่งขันร่วมโหวดให้ เลสเตอร์ ฟอสส์ ลงแข่งขันในดิวิชั่น 2
ช่วงเริ่มก่อตั้ง ชุดที่พวกเขาใช้ในการแข่งขันคือสีดำสลับสีฟ้าอ่อน กางเกงสีเขียว แต่ในภายหลังพวกเขาได้สลับสับเปลี่ยนมาใส่ชุดสีน้ำตาลกับสีน้ำเงินแทน จนกระทั่งในปี 1903 จึงเปลี่ยนมาใส่ชุดสีน้ำเงินและขาว ตามที่แฟนบอลทุกคนรู้จักกันในปัจจุบันนี้
พวกเขาใช้เวลา 14 ปี ในการที่เลื่อนชั้นมาอยู่ในลีกสูงสุด ในช่วงเวลานั้นสตาร์ดาวรุ่งอย่าง บิลลี่ แบนนิสเตอร์ (อดีตกองหลังทีมชาติอังกฤษ) ทำให้เป็นที่ดึงดูดแฟนบอลติดตามเหนียวแน่นมากขึ้น เพิ่มจำนวนผู้เข้าชมเพิ่มขึ้นอีกกว่า 13,000 คน
แต่นั่นก็เป็นห้วงความสุขในเวลาไม่นาน เลสเตอร์ ฟอสส์ ตกชั้นทันทีหลังจากลงเล่นในลีกสูงสุดผ่านไปแค่ 1 ฤดูกาล ซ้ำแล้วซ้ำเล่าพวกเขายังประสบปัญหาด้านการเงินจนทำให้เสี่ยงต่อสภาวะล้มละลาย
การเกิดสงคราโลกครั้งที่ 1 ก่อให้เกิดความไม่สงบภายในราชอาณาจักร จึงทำให้ฟุตบอลลีกหยุดพักไปชั่วคราวในเดือนเมษายน ปี 1915 ในขณะนั้น เลสเตอร์ ฟอสส์ จบฤดุกาลด้วยอันดับรองสุดท้ายของดิวิชั่น 2 และต้องการเสียงข้างมากในหมู่คณะกรรมการจัดตั้งลีก เพื่อรักษาสโมสรให้ยังคงแข่งขันต่อไป นักเตะหลายๆคนในสโมสรเลือกที่จะอยู่ข้างฝ่ายอักษะ เพื่อร่วมต่อต้านชาวเยอรมันในประเทศ ที่ทำการแข่งขันในภูมิภาค แต่ด้วยสถานการณ์ทางการเงินอาจจะส่งผลให้ทีมอยู่ไม่รอดถึงช่วงที่สงครามจบลง ซึ่งกว่าเหตุการณ์นั้นจะมาถึงก็กินเวลาล่วงเข้าไปฤดูหนาวปี 1918
เพื่อรักษาให้สโมสรอยู่รอดจึงต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง ในช่วงเวลาที่ปัญหาการเงินรุมเร้าท้ายที่สุดเหมือนโชคเข้าข้าง เมื่อมีบริษัทใหม่เข้ามาซื้อกิจการและเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น
“สโมสรฟุตบอล เลสเตอร์ ซิตี้” ในปี 1919
เลสเตอร์ ซิตี้ สามารถคว้าแชมป์ลีกระดับ 2 ได้ทั้งหมด 7 ครั้ง (ในปัจจุบันคือฟุตบอลเดอะแชมเปี้ยนชิพ) , เข้าชิงเอฟเอคัพ 4 ครั้ง และคว้าแชมป์ลีก คัพอีก 3 สมัย รวมไปถึงการได้เข้าแข่งขันในฟุตบอลยุโรป 4 ฤดูกาล ซึ่งฤดูกาล 2016-2017 คือซีซั่นแห่งความทรงจำ เมื่อทีมได้ทะลุเข้าไปถึงรอบ 8 ทีมสุดท้าย พวกเขาคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกในฤดูกาล 2015-2016 ภายใต้การคุมทีมของผู้จัดการอย่าง เคลาดิโอ รานิเอรี่
ความทรงจำเกิดขึ้น ในฤดูกาล 1928-29 สโมสรเกือบได้แชมป์ลีกสูงสุด โดยมีคะแนนตามหลัง “เดอะ เว้นส์เดย” (หรือ เชฟฟิลด์ เว้นส์ เดย์ในปัจจุบัน) ไปเพียงแค่แต้มเดียวเท่านั้น ความสำเร็จเหล่านี้อยู่ได้ไม่นานนัก ในฤดูกาล 1935-36 เลสเตอร์ ซิตี้ ต้องตกชั้นไปเล่นในระดับดิวิชั่น 2 ปต่ในฤดูกาลถัดมาพวกเขาคว้าแชมป์ ดิวิชั่น 2 และได้กลับขึ้นมาเล่นในดิวิชั่น 1 อีกครั้ง แต่ก็ต้องตกชั้นไปเล่นในดิวิชั่น 2 อีกครั้งในฤดูกาล 1939-40 ก่อนที่จะต้องหยุดการแข่งขันฟุตบอลลีกไป เนื่องจากการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ฟุตบอลลีกก็กลับมาแข่งขันกันอีกครั้ง เลสเตอร์ ซิตี้ ยังคงเล่นอยู่ในระดับดิวิชั่น 2 แต่สุดท้ายพวกเขาก็ได้เข้ารอบชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ ในปี 1949 ก่อนที่จะได้เลื่อนชั้นขึ้นมาสู่ลีกสูงสุดอีกครั้ง พร้อมกับคว้าแชมป์ ดิวิชั่น 2 มาฝากแฟนๆในฤดูกาล 1953-54 และ 1956-57
ในทศวรรษ 1960 เลสเตอร์ ซิตี้ ได้รับฉายาว่า “ราชันย์แห่งยุคน้ำแข็ง” (Ice Kings) เพราะพวกเขาโชว์ฟอร์มที่ร้อนแรงในช่วงที่ประเทศอังกฤษมีสภาพอากาศที่หนาวเหน็บ
เลสเตอร์ ซิตี้ เข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ในพรีเมียร์ลีก แต่ต้องตกชั้นไปอีกในปี 2002 จนกระทั่งย้ายออกจากสนามเก่า ฟิลเบิร์ต สตรีท มายังสนามใหม่ที่ ฟิลเบิร์ต เวย์ และได้ใช้ชื่อว่า “วอล์คเกอร์ สเตเดี้ยม” ตามชื่อของผู้สนับสนุนในเวลานั้น สโมสรประสบปัญหาทางด้านการเงินอีกครั้ง และถูกคุมกิจการเมื่อเดือนตุลาคมปี 2002 แต่ก็ได้เลื่อนชั้นกลับมาสู่พรีเมียร์ลีกอีกครั้งในปี 2003 และตกชั้นไปอีกในปี 2004
เดือนสิงหาคม 2010 กลุ่มบริษัทคิง เพาเวอร์ โดย คุณวิชัย ศรีวัฒนประภา ได้เซ็นสัญาตกลงเข้าซื้อกิจการทั้งหมดของสโมสร ต่อจาก มิลาน แมนดาริช เจ้าของสโมสรคนเก่า ขณะนั้นเลสเตอร์ เล่นอยู่ในระดับเดอะ แชมเปี้ยนชิพ หรือดิวิชั่น 2 เดิม โดยนโนบายการบริหารสโมสรจะไม่มุ่งเน้นแค่เพียงความสำเร็จเพียงอย่างเดียว แต่ขึ้นอยู่คุณภาพของนักเตะและวิธีบริหารทีมให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เริ่มจากการปรับโครงสร้างภายในสโมสรที่จำเป็นทั้งหมด รวมถึงนำวิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามาใช้เพื่อพัฒนาสโมสร ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความสำเร็จให้แก่สโมสรในระยะยาว และการวางเป้าหมายที่จะต้องเลื่อนชั้นขึ้นไปโชว์ฝีเท้าในศึกพรีเมียร์ลีก ซึ่งถือว่าเป็นลีกสำคัญและลีกสูงสุดของประเทศอังกฤษให้ได้ นอกจากนี้ ยังได้ปรับนาดความจุของสนาม “วอล์คเกอร์ สเตเดี้ยม” (ชื่อเดิม) เป็น 32,500 ที่นั่ง พร้อมเปลี่ยนชื่อสนามเป็น “คิง เพาเวอร์ สเตเดี้ยม”
ทั้งหมดเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทีมตีแต้มได้สูงมากในแชมเปี้ยนชิพฤดูกาล 2013-14 ภายใต้การคุมทีมของโค้ช ไนเจล เพียร์สัน จนกระทั่งได้เลื่อนชั้นสู่พรีเมียร์ลีกในฐานะแชมป์เปี้ยน หลังจากนั้นพวกเขาได้สร้างปาฏิหารย์โดยการรอดตกชั้นจากพรีเมียร์ลีกในฤดูกาล 2014-15 ทั้งที่ๆทีมจัมปลักอยู่ในตำแหน่งสุดท้ายตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2014
ฤดูกาล 2015-16 เลสเตอร์ ซิตี้ ภายใต้การคุมทีมของ เคลาดิโอ รานิเอรี่ สร้างประวัติศาสตร์ที่ไม่อาจจะลืมได้ ด้วยการเป็นแชมป์พรีเมียร์ลีกครั้งแรกนับตั้งแต่ก่อตั้งสโมสร
ฤดูกาล 2016-17 เคร็ก เช็กสเปียร์ เข้ามารับหน้าที่แทน เคลาดิโอ รานิเอรี่ พาทีม ทะลุเข้าไปถึงรอบก่อนรองชนะเลิศในฟุตบอลยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก และเอาชนะ เซบีญ่า ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย ก่อนตกรอบ 8 ทีมสุดท้ายด้วยการพ่ายแพ้ต่อ แอตเลติโก้ มาดริด มาด้วยสกอร์ 1-2 ก่อนจบอันดับที่ 12 ในพรีเมียร์ลีก
ฤดูกาล 2017-18 ทีมได้ทำการเปลี่ยนแปลงตัวผู้จัดการทีมอีกครั้ง โดยแต่งตั้ง โคล้ด ปูแอล กุนซือชาวฝรั่งเศส เข้ามารับหน้าที่แทน เคร็ก เช็กสเปียร์ ที่แยกทางกับสโมสรในเดือน ตุลาคม 2017 โคล้ด ปูแอล พาเลสเตอร์จบอันดับที่ 9 ในพรีเมียร์ลีก ขณะที่ฟุตบอลถ้วยทั้ง 2 รายการต้องตกรอบ 8 ทีมสุดท้ายในที่ต้องเผชิญหน้ากับ เชลซี ในศึกเอฟเอ คัพ และแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ในลีก คัพ
ฤดูกาลล่าสุด 2018-19 สโมสรเสียตัวผู้เล่นสำคัญหลุดมือไปอย่าง ริยาด มาห์เรซ ย้ายไป แมนเชสเตอร์ ซิตี้ แต่ก็ได้นักเตะฝีเท้าดีอย่าง เจมส์ แมดดิสัน (นอริช) และ ริคาร์โด้ เปเรยร่า (ปอร์โต้) มาทดแทน
กุมภาพันธ์ 2019 โคล้ด ปูแอล แยกทางกับสโมสร หลังจากที่ทีมีผลงานที่ตกต่ำย่ำแย่ ทำให้ เบรนแดน ร็อดเจอร์ส ผู้จัดการทีมชาวไอร์แลนด์เหนือ เข้ามาทำหน้าที่นี้แทน และกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ทีมกลับมาคืนฟอร์มเก่งอีกครั้ง
วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม 2018 ถือเป็นเหตุการณ์ร้ายแรงและการสูญเสียครั้งใหญ่ของสโมสร คุณวิชัย ศรีวัฒนประภา ประธานสโมสรฯ ถึงแก่กรรมหลังประสบอุบัติเหตุเฮลิค็อปเตอร์ตก พร้อมด้วยผู้เสียชีวิตอีก 4 ราย ด้านนอกสนามคิง เพาเวอร์ สเตเดี้ยม
คุณอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา รองประธานสโมสร ผู้เป็นบุตรชายได้ให้คำมั่นว่าจะสืบสานเจตนารมย์ และจะดูแลสโมสรต่อจากบิดาอย่างเต็มที่สุดความสามารถ
เลสเตอร์ ซิตี้ ใช้สีน้ำเงิน และ สีขาวเป็นสีประจำสโมสร
Foxes Never Quit (จิ้งจอกไม่เคยยอมแพ้) เป็นคำขวัญ ของสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้
สโมสรฟุตบอลมิดเดิ้ลสโบรช์ (Middlesbrough Football Club) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม มิดเดิ้ลสโบรช์ คือทีมฟุตบอลอาชีพที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ใน เมืองมิดเดิ้ลสโบรช์ มณฑลนอร์ทยอร์คเชียร์ ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันพวกเขาลงเตะอยู่ใน อีเอฟแอล แชมเปี้ยนชิพ หรือลีกลำดับที่ 2 ของวงการลูกหนังอังกฤษ ทีมเจ้าของฉายา “เดอะ โบโร่” (The Boro) หรือที่ในบ้านเราเรียกกันว่า “สิงห์แดง” ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1876 และย้ายเข้ามาปักหลักอยู่ในสนามเหย้า ริเวอร์ไซด์ สเตเดี้ยม ตั้งแต่ปี 1995 ที่ล่าสุดสามารถรองรับความจุ 34,000 ที่นั่ง จากจุดเริ่มต้นพวกเขาเคยใช้ ลินธอร์ป โร้ด กราวนด์ เป็นบ้านหลังแรกระหว่างปี 1882 ถึง 1903 ก่อนจะย้ายเข้าสู่ อายร์ซัม ปาร์ค และอาศัยอยู่ที่นั่นยาวนาน 92 ปีนับตั้งแต่ปี 1903 ถึง 1995
มิดเดิ้ลสโบรช์ ยังเป็นทีมที่ได้ร่วมเปิดตัว พรีเมียร์ลีก ในปี 1992 และยังกลายเป็นทีมแรกที่ร่วงตกชั้นลงไปในช่วงท้ายฤดูกาล 1992-93 โดยที่ก่อนหน้านั้นเมื่อปี 1986 พวกเขาเคยเผชิญหน้ากับสภาวะวิกฤติทางด้านการเงินที่ร้ายแรงจนเกือบถึงขั้นยุบสโมสรมาแล้ว ก่อนจะเอาตัวรอดมาได้โดยกลุ่มกิจการค้าร่วมที่นำโดย สตีฟ กิ๊บสัน ผู้ที่ยังก้าวขึ้นมาเป็นประธานสโมสรในภายหลัง เดอะ โบโร่ เคยคว้าแชมป์ ลีก คัพ ในปี 2004 ที่ยังเป็นโทรฟี่ระดับเมเจอร์ใบแรกและใบเดียวจวบจนทุกวันนี้ พวกเขาเคยผ่านเข้าไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศ ยูฟ่า คัพ 2006 ก่อนจะพ่ายให้กับ เซบีย่า ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นภายในช่วงเวลา 11 ปีที่พวกเขายืนหยัดอยู่ใน พรีเมียร์ลีก ได้อย่างต่อเนื่อง โดยสถิติในลีกที่ดีที่สุดของทีมคือการจบด้วยอันดับที่ 3 ในฤดูกาล 1913-14 มิดเดิ้ลสโบรช์ ยังเป็นสโมสรฟุตบอลรายแรกของโลกที่เปิดตัวช่องโทรทัศน์เป็นของตนเอง (โบโร่ ทีวี) โดยเริ่มออกอากาศครั้งแรกหลังจากทะลุเข้าไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศบอลถ้วยรายการใหญ่เมื่อปี 1997 ซึ่งเป็นเวลาหนึ่งปีเต็มก่อนหน้าที่ แมนฯ ยูไนเต็ด จะเริ่มเผยแพร่ MUTV ออกสู่สาธารณชนพร้อมกับอ้างว่าตนเองคือเจ้าแรกของโลก
1876 – เฉกเช่นเดียวกับสโมสรฟุตบอลอื่นๆในยุคบุกเบิก Middlesbrough F.C. ถือกำเนิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มสมาชิกนักคริกเก็ตที่ต้องการรักษาความฟิตให้ยังคงอยู่ตลอดช่วงหน้าหนาว
1889 – พวกเขารักษาสถานะในการเป็นทีมสมัครเล่นมาได้นาน 10 กว่าปี จนกระทั่งสมาชิกบางส่วนได้แยกตัวออกไปด้วยปัญหาความขัดแย้งเพื่อไปก่อตั้ง Middlesbrough Ironopolis F.C. ก่อนที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะขยับสถานะขึ้นมาเป็นทีมระดับอาชีพภายในช่วงเวลาห่างกันประมาณ 1 สัปดาห์ระหว่างเดือนธันวาคมปีนั้น
1892 – ผู้บริหารทั้ง 2 ฝ่ายต่างพยายามหันหน้าเข้าหากันเพื่อเพิ่มโอกาสในการสมัครเข้าร่วมแข่งขันในฟุตบอลลีกภายใต้ชื่อ Middlesbrough and Ironopolis F.C. แต่หลังจากถูกปฏิเสธคำขอไปก็ทำให้ทั้งคู่แยกทางกันอีกครั้ง โดยที่ มิดเดิ้ลสโบรช์ เลือกที่จะกลับคืนสถานะเป็นทีมสมัครเล่น
1895 – ทีมคว้าแชมป์ FA Amateur Cup ซึ่งเป็นรายการชิงแชมป์ระดับสมัครเล่นที่ถูกจัดขึ้นโดย เอฟเอ
1898 – พวกเขาสามารถคว้าแชมป์รายการเดิมได้เป็นหนที่สอง
1899 – หลังจากประสบความสำเร็จมากมายใน นอร์ทเทิร์น ลีก สโมสรตัดสินใจเทิร์นโปรอีกครั้งด้วยจุดมุ่งหมายที่จะเข้าร่วมแข่งขันในฟุตบอลลีกอย่างเต็มตัว ซึ่งหลังจากได้รับการหนุนหลังโดยทีมเพื่อนบ้าน นิวคาสเซิ่ล ยูไนเต็ด และ ซันเดอร์แลนด์ ก็ทำให้พวกเขาได้รับการอนุมัติให้เริ่มออกสตาร์ทใน ดิวิชั่น 2 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ก่อนจะจอดป้ายในฤดูกาลเปิดตัวด้วยอันดับที่ 14 จากทั้งหมด 18 ทีม โดยที่เก็บชัยชนะในเกมนอกบ้านไม่ได้เลยซักครั้ง
1902 – และแล้วภายในปีที่ 3 หลังจากเข้าร่วมฟุตบอลลีก เดอะ โบโร่ ก็สามารถขยับขึ้นสู่ลีกสูงสุดของประเทศด้วยการคว้าอันดับที่ 2 รองจาก เวสต์บรอมวิช อัลเบี้ยน
1903 – ทีมเปิดตัวใน ดิวิชั่น 1 ด้วยการจอดป้ายในอันดับที่ 13 ท่ามกลางซีซั่นที่พวกเขาเริ่มขยับเข้ามาอาศัยอยู่ใน อายร์ซัม ปาร์ค บ้านหลังแห่งใหม่ที่อยู่ถัดออกไปไม่ไกลจาก เดอะ พาราไดซ์ กราวนด์ สนามเหย้าเดิมของ Ironopolis
1906 – พวกเขารอดพ้นจากการตกชั้นไปแบบหวุดหวิดจากการจบซีซั่น 1905-06 ในอันดับที่ 18 เนื่องจากในฤดูกาลนั้นเป็นปีแรกที่ ดิวิชั่น 1 เพิ่มจำนวนจาก 18 เป็น 20 ทีม
1908 – เดอะ โบโร่ กลับมาทำผลงานได้ดีขึ้นในฤดูกาล 1907-08 จากการคว้าอันดับที่ 6 และกลายเป็นสถิติที่ดีที่สุดของสโมสรภายในช่วงเวลานั้น
1910 – เกิดเหตุการณ์ไม่ชอบมาพากลขึ้นหลังจากทีมสามารถเอาชนะ ซันเดอร์แลนด์ 1-0 เมื่อ แอนดี้ วอล์คเกอร์ กุนซือของทีมในขณะนั้นถูกเปิดโปงว่า ดันไปติดสินบนให้กับผู้เล่นทีมคู่แข่งร่วมเมืองคนละ 2 ปอนด์หากปล่อยให้ทีมของเขาเป็นฝ่ายชนะ สุดท้าย วอล์คเกอร์ ถูกบทลงโทษห้ามเข้ามายุ่งเกี่ยวกับฟุตบอลลีกอย่างไม่มีกำหนด ในขณะที่ทีมจบฤดูกาลนั้นด้วยอันดับที่ 17
1914 – แต่แล้วอีก 4 ปีต่อมา มิดเดิ้ลสโบรช์ ก็สามารถสร้างผลงานในลีกที่ดีที่สุดจวบจนถึงทุกวันนี้ ด้วยการจอดป้ายในอันดับที่ 3 รองจาก แอสตัน วิลล่า และ แบล็กเบิร์น โรเวอร์ส ทีมแชมป์
1920 – ภายในซีซั่นแรกที่ฟุตบอลลีกเริ่มกลับมาเตะกันอีกครั้ง หลังจากหยุดพักยาวไปตั้งแต่ปี 1915 เนื่องจากผลพวงของ สงครามโลกครั้งที่ 1 ในขณะที่ทีมได้ปรับเปลี่ยนโฉมหน้าไปพอสมควรเนื่องจากมีผู้เล่นหลายคนที่เริ่มแพ้สังขารตนเองรวมถึงมีผู้เสียชีวิตจากกการไปรับใช้ชาติอีก 3 ราย แต่พวกเขาก็กลับมาทำผลงานด้วยการลอยตัวอยู่ในพื้นที่กลางตารางหลังจบฤดูกาล 1919-20
1924 – ในที่สุดทีมก็ร่วงตกชั้นลงสู่ ดิวิชั่น 2 จนได้ จากการจมอยู่ในอันดับบ๊วยหลังปิดฉากฤดูกาล 1923-24 และทำแต้มได้น้อยกว่า น็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์ ทีมที่เอาตัวรอดได้ถึง 10 คะแนน
1927 – เดอะ โบโร่ ใช้เวลานาน 3 ปีจึงจะสามารถกลับคืนสู่ ดิวิชั่น 1 ได้สำเร็จ พร้อมๆกับการแจ้งเกิดอย่างเต็มตัวของ จอร์จ แคมเซลล์ ดาวยิงระดับตำนานของสโมสร ที่ถูกดึงตัวมาจาก เดอรัม ซิตี้ ทีมจาก ดิวิชั่น 3 ในช่วงต้นซีซั่นเพื่อแก้ปัญหาผู้เล่นบาดเจ็บ ซึ่งเจ้าตัวก็ตอบแทนต้นสังกัดใหม่ด้วยการกระหน่ำไปทั้งหมด 59 ประตูภายในซีซั่น 1926-27 อันประกอบไปด้วยการทำแฮตทริกได้ถึง 9 ครั้งที่ทำให้ทีมครองแชมป์ ดิวิชั่น 2 ได้เป็นครั้งแรก
1928 – อย่างไรก็ตามพวกเขากลับมาอยู่ในลีกสูงสุดได้ไม่นาน ก่อนจะร่วงตกชั้นลงไปภายในซีซั่นต่อมาจากการรั้งอยู่อันดับท้ายสุดของตาราง
1929 – แต่ทีมก็ใช้เวลาเพียงแค่ปีเดียวเช่นกันในการเลื่อนชั้นกลับคืนมา หลังสามารถคว้าแชมป์ ดิวิชั่น 2 ได้เป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 3 ปี
1936 – ตลอดหลายปีที่ผ่านมาพวกเขาใช้เวลาส่วนใหญ่ป้วนเปี้ยนอยู่ไม่ไกลจากโซนท้ายตาราง แม้จะทำได้ดีขึ้นเล็กน้อยจากการจบด้วยอันดับที่ 14 ในฤดูกาล 1935-36 แต่นี่ก็เป็นปีสุดท้ายที่ จอร์จ แคมเซลล์ สามารถรั้งตำแหน่งดาวซัลโวสูงสุดประจำทีมได้หลังจากเป็นผู้ที่ยิงประตูให้ทีมได้มากที่สุดตลอด 8 ฤดูกาลที่ผ่านมา
1939 – แต่ในช่วง 3 ฤดูกาลหลังสุดพวกเขามีพัฒนาการที่ดีขึ้นจนถึงขั้นขยับขึ้นมารั้งอยู่ในอันดับที่ 4 เมื่อซีซั่นก่อน ซึ่งน่าจะมาจากผลงานอันยอดเยี่ยมของ วิลฟ์ แมนเนี่ยน และ จอร์จ ฮาร์ดวิก ที่ย้ายเข้ามาในช่วงเวลานั้นก่อนที่ทั้งคู่จะผงาดขึ้นไปอยู่ในทำเนียบของผู้เล่นทีมชาติอังกฤษ และในขณะที่หลายๆคนมองว่า เดอะ โบโร่ มีโอกาสที่จะได้ลุ้นแชมป์ในฤดูกาล 1939-40 แต่หลังจากเริ่มลงเตะกันไปได้เพียง 3 เกมทุกอย่างก็ต้องหยุดชะงักลงเนื่องจาก สงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เริ่มเปิดฉากขึ้น
1947 – หลังสงครามสงบลงและฟุตบอลลีกเริ่มกลับมาฟาดแข้งกันอีกครั้ง พวกเขาก็กลับมาทำได้ดีที่สุดด้วยการจอดป้ายในอันดับที่ 11 ภายในซีซั่น 1946-47
1951 – ผลงานที่ดูดีที่สุดหลังจากผ่านพ้นช่วงสงครามมาก็คือการได้อันดับที่ 6 ในฤดูกาล 1950-51
1954 – แต่แล้วอีก 3 ปีต่อมาพวกเขาก็ทำผลงานร่วงหล่นลงอย่างน่าใจหาย จนกระทั่งตกชั้นลงไปหลังปิดฉากฤดูกาล 1953-54 ด้วยอันดับรองบ๊วย
1957 – แม้ทีมจะจบด้วยอันดับที่ 6 ที่เหมือนจะดูไม่ไกลจากโอกาสเลื่อนชั้นเท่าไรนัก แต่ภายในซีซั่นนั้นก็ยังมีอีกหนึ่งสัญญาณแห่งความหวังจากการแจ้งเกิดของ ไบรอัน คลัฟ อย่างเต็มตัวด้วยการกระหน่ำไปทั้งหมด 40 ประตูหลังจากเปิดตัวกับสโมสรเป็นครั้งแรกในฤดูกาลที่แล้ว
1961 – ตลอดหลายปีที่ผ่านมา แม้ คลัฟ จะช่วยถล่มประตูให้ทีมได้เป็นกอบเป็นกำ และสามารถเดินตามรอยของ จอร์จ แคมเซลล์ ด้วยการรั้งตำแหน่งดาวซัลโวประจำทีมได้ต่อเนื่อง 5 ปีติดต่อกันที่รวมถึงการยิงได้ทั้งหมด 36 ประตูในฤดูกาล 1960-61 แต่มันก็ยังไม่เพียงพอต่อการช่วยให้ สิงห์แดง เลื่อนชั้นกลับสู่ ดิวิชั่น 1 จนทำให้เขาตัดสินใจอำลาทีมไปอยู่กับ ซันเดอร์แลนด์ เพื่อโอกาสในการติดทีมชาติที่มากขึ้นหลังจากที่เคยถูกเรียกตัวและได้ลงสนามให้กับ สิงโตคำราม มาแล้ว 2 ครั้งเมื่อปี 1959
1963 – โอกาสเลื่อนชั้นที่ใกล้เคียงที่สุดของพวกเขาเกิดขึ้นในฤดูกาล 1962-63 หลังสามารถจอดป้ายในอันดับที่ 4 โดยมีแต้มตามหลัง เชลซี ทีมอันดับสองที่ได้สิทธิ์ตามหลัง สโต๊ค ซิตี้ ขึ้นไปเพียงแค่ 3 คะแนน
1966 – แต่แล้วเพียงแค่ 3 ปีหลังจากนั้นทุกอย่างก็กลับตาลปัตรเมื่อทีมโชว์ฟอร์มได้อย่างย่ำแย่ จนกระทั่งร่วงตกชั้นลงสู่ ดิวิชั่น 3 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสโมสรจากการเป็นทีมรองบ๊วยในฤดูกาล 1965-66
1967 – อย่างไรก็ตามพวกเขาใช้เวลาเพียงแค่ปีเดียวก็สามารถกลับคืนสู่ ดิวิชั่น 2 ได้อีกครั้ง หลังคว้าอันดับที่ 2 รองจาก ควีนส์ ปาร์ค เรนเจอร์ส
1973 – หลังกลับมาอยู่ใน ดิวิชั่น 2 คราวนี้ทีมสามารถรักษาผลงานที่ดีเอาไว้ได้และไม่เคยได้ต่ำกว่าอันดับที่ 9 เลยตลอดหลายปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งก็ต้องขอบคุณ จอห์น ฮิกตัน ดาวยิงตัวเก่งที่สามารถรั้งตำแหน่งดาวซัลโวประจำทีมได้อย่างต่อเนื่อง 6 ฤดูกาลนับตั้งแต่ปีแรกที่กลับขึ้นมาได้จวบจนล่าสุดในซีซั่น 1972-73
1974 – และแล้ว มิดเดิ้ลสโบรช์ ก็สามารถทะยานขึ้นสู่ ดิวิชั่น 1 ได้อีกครั้ง จากการครองแชมป์ ดิวิชั่น 2 ได้เป็นสมัยที่ 3 หลังเป็นฝ่ายโกยแต้มทิ้งห่าง ลูตัน ทาวน์ ทีมอันดับสองไปไกลลิบถึง 15 คะแนน
1975 – พวกเขาเปิดตัวในลีกสูงสุดเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 20 ปีได้อย่างน่าประทับใจด้วยการรั้งอยู่ในอันดับที่ 7 โดยมีแต้มตามหลัง ดาร์บี้ เคาน์ตี้ ทีมแชมป์เพียง 5 คะแนน
1976 – นอกจากจะไปได้ไกลในรายการ ลีก คัพ ที่ผ่านเข้าไปจนถึงรอบรองชนะเลิศก่อนจะกระเด็นตกรอบด้วยน้ำมือของ แมนฯ ซิตี้ ที่กลายเป็นแชมป์ในที่สุด พวกเขายังสามารถคว้าถ้วยรางวัลใบแรกในฐานะสโมสรระดับอาชีพจากการเฉือนเอาชนะ ฟูแล่ม 1-0 ในนัดชิงชนะเลิศ แองโกล-สกอตติช คัพ ซึ่งเป็นรายการที่ถูกจัดขึ้นภายในช่วงระยะเวลาสั้นๆ
1982 – แต่หลังจากใช้เวลาส่วนใหญ่ป้วนเปี้ยนอยู่ในพื้นที่กลางตาราง ในที่สุดพวกเขาก็ร่วงตกชั้นลงสู่ ดิวิชั่น 2 ดังเดิมจากการหล่นลงไปเป็นทีมบ๊วยเมื่อตอนปิดฉากฤดูกาล 1981-82
1985 – สถานการณ์หลังตกชั้นของ เดอะ โบโร่ ยิ่งดูน่าเป็นห่วงจากปัญหาหนี้สินที่กำลังรุมเร้า และแม้จะมีการผลัดเปลี่ยนผจก.ทีมไปหลายคนจาก มัลคอล์ม อัลลิสัน, แจ็ค ชาร์ลตัน จนมาเป็น วิลลี่ แม็ดเดรน แต่ด้วยงบประมาณที่จำกัดก็ทำให้ทีมหวุดหวิดที่จะตกชั้นลงไปอีกหลังจบฤดูกาล 1984-85 ด้วยอันดับที่ 19
1986 – บรู๊ซ ริอ็อค ขยับเข้ามาทำหน้าที่แทน แม็ดเดรน ในเดือนกุมภาพันธ์ 1986 ก่อนที่เดือนเมษายนพวกเขาจะต้องยอมบากหน้าไปกู้ยืมเงิน 30,000 ปอนด์มาจาก สมาคมนักฟุตบอลอาชีพ (PFA) เพื่อมาจ่ายเป็นค่าแรงให้กับนักเตะ ในที่สุดหลังจบ 42 นัดในฤดูกาล 1985-86 พวกเขาก็ร่วงตกชั้นลงสู่ ดิวิชั่น 3 อีกครั้ง ที่ตามมาด้วยคำสั่งศาลบังคับให้สโมสรต้องยกเลิกกิจการเพื่อหาเงินมาชำระหนี้ หลังจากประตูรั้วของสนาม อายร์ซัม ปาร์ค ถูกสั่งปิดตายและสถานีโทรทัศน์ท้องถิ่นก็เริ่มประกาศข่าวเรื่องการล้มละลายของพวกเขา ในขณะที่ยังเหลือเวลาอีกเพียงแค่ 10 นาทีก่อนจะถึงเส้นตาย สตีฟ กิ๊บสัน นักธุรกิจชาวท้องถิ่นหนึ่งในผู้นำกลุ่มกิจการค้าร่วมภายในประเทศก็ได้ยื่นหลักฐานการเข้าเทคโอเวอร์พร้อมขอรักษาสิทธิ์ลงเตะในฟุตบอลลีกต่อไปในซีซั่นหน้า ในขณะที่ โคลิน เฮนเดอร์สัน ก็ถูกรับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานสโมสร และแม้ทีมจะยังได้กลับมาลงเล่นใน ดิวิชั่น 3 ต่อไปแต่ก็ต้องหันไปใช้สนาม วิคตอเรีย ปาร์ค ของ ฮาร์เทิลพูล ยูไนเต็ด ภายในระหว่างนั้น
1987 – ด้วยขุนพลนักเตะดาวรุ่งอย่าง แกรี่ พัลลิสเตอร์, โคลิน คูเปอร์ และ โทนี่ โมว์เบรย์ ก็ช่วยให้พวกเขากลับคืนสู่ ดิวิชั่น 2 ได้อย่างทันควัน หลังสามารถคว้าอันดับที่ 2 รองจาก บอร์นมัธ
1988 – ริอ็อค กลายเป็นที่รักของแฟนๆเพิ่มขึ้นจากการพาทีมทะยานขึ้นสู่ ดิวิชั่น 1 ได้ติดต่อกันในซีซั่นต่อมา หลัง สิงห์แดง จบฤดูกาล 1987-88 ด้วยอันดับที่ 3 จนได้สิทธิ์ลงเล่นในเกมเพลย์ออฟ โดยในปีนั้นทางฟุตบอลลีกยังคงใช้กฏให้ทีมอันดับ 3-5 จาก
ดิวิชั่น 2 บวกกับทีมอันดับ 18 จาก ดิวิชั่น 1 ต้องมาประกบคู่กันในการแข่งขันแบบเหย้าเยือน ซึ่งหลังจากผ่าน แบรดฟอร์ด ซิตี้ มาได้ในรอบตัดเชือก พวกเขาก็ได้เข้าชิงกับ เชลซี คู่แข่งจาก ดิวิชั่น 1 ก่อนจะเอาชนะไปได้ด้วยสกอร์รวม 2-1
1989 – แม้พวกเขาจะออกสตาร์ทซีซั่นใหม่ในลีกสูงสุดอีกครั้งด้วยการประคองตัวเองอยู่ในพื้นที่กลางตารางมาได้เรื่อยๆ แต่จากฟอร์มที่ค่อยๆแผ่วปลายก็ทำให้สถานการณ์เริ่มเปลี่ยนไป จนกระทั่งการบุกไปพ่ายให้กับ เชฟฟิลด์ เว้นส์เดย์ ในนัดปิดฤดูกาลก็ทำให้ทีมร่วงตกชั้นลงไปในที่สุด ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้นพวกเขายังไม่เคยหล่นลงไปอยู่ในพื้นที่สีแดงเลยตลอดทั้งฤดูกาล
1990 – ทีมออกสตาร์ทซีซั่นใหม่ด้วยการเสีย แกรี่ พัลลิสเตอร์ ให้กับ แมนฯ ยูไนเต็ด ด้วยค่าตัว 2.3 ล้านปอนด์ ที่ส่งผลให้ฟอร์มของพวกเขายังคงออกทะเลไปไกลและต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายฤดูกาลที่แล้ว จนกระทั่ง โคลิน ท็อดด์ ถูกดึงเข้าเสียบแทน บรู๊ซ ริอ็อค ที่ถูกปลดออกไปในช่วงเดือนมีนาคม 1990 ก่อนจะพาทีมจอดป้ายในอันดับที่ 21 และรอดพ้นจากการตกชั้นไปแบบหวุดหวิด
1991 – ท็อดด์ ช่วยให้ทีมทำผลงานได้ดีขึ้นจนรั้งอยู่ในอันดับที่ 7 และคว้าสิทธิ์ลงเล่นเกมเพลย์ออฟเลื่อนชั้นที่เปลี่ยนให้ทีมอันดับ 4-7 มาวัดกัน แต่สุดท้ายพวกเขาก็จอดป้ายตั้งแต่รอบรองชนะเลิศจากการพ่ายให้กับ น็อตต์ส เคาน์ตี้
1992 – และแล้วก็เป็น เลนนี่ ลอว์เรนซ์ ที่ขยับเข้ามาแทนที่ ท็อดด์ ในช่วงออกสตาร์ทซีซั่น 1991-92 ที่ช่วยให้ทีมเกาะติด อิปสวิช ทาวน์ ทีมแชมป์ ดิวิชั่น 2 เลื่อนชั้นขึ้นสู่ลีกสูงสุดภายใต้แบรนด์ใหม่ในฤดูกาลหน้าแบบอัตโนมัติ
1993 – แต่หลังจากเป็นหนึ่งในทีมที่ได้ร่วมตัดริบบิ้นเปิดตัว พรีเมียร์ลีก ในฤดูกาล 1992-93 มิดเดิ้ลสโบรช์ ก็ต้องม้วนเสื่อกลับคืนสู่ ดิวิชั่น 1 ที่เปลี่ยนสถานะเป็นลีกลำดับที่ 2 หลังทำได้เพียงรั้งอยู่ในอันดับรองบ๊วย
1995 – ในช่วงออกสตาร์ทฤดูกาล 1994-95 สตีฟ กิ๊บสัน ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานแทนที่ โคลิน เฮนเดอร์สัน พร้อมประกาศแต่งตั้ง ไบรอัน ร็อบสัน ที่ย้ายเข้ามาในซีซั่นที่แล้วในฐานะผู้เล่น/ผจก.ทีมให้ขยับขึ้นมารับตำแหน่งแทน เลนนี่ ลอว์เรนซ์ ที่จากไปคุมทีม แบรดฟอร์ด ก่อนที่อดีตกัปตันทีมปีศาจแดงจะพา เดอะ โบโร่ คว้าแชมป์ ดิวิชั่น 1 ได้สำเร็จ พร้อมๆกับการเตรียมตัวย้ายเข้าสู่ ริเวอร์ไซด์ สเตเดี้ยม รังเหย้าแห่งใหม่ในซีซั่นถัดไป
1996 – ร็อบสัน เริ่มต้นเสริมทัพในการกลับคืนสู่ พรีเมียร์ลีก อีกครั้งด้วยการดึงตัว นิค บาร์มบี้ และ จูนินโญ่ เปาลิสต้า เข้ามาประสานงานร่วมกับ นีล ค็อกซ์, ไนเจล เพียร์สัน และ แยน อาร์เก้ ฟอร์ทอฟต์ ที่ย้ายเข้ามาตั้งแต่ซีซั่นที่แล้ว และช่วยพาทีมเปิดตัวได้อย่างสวยงามจากการรั้งอยู่ในอันดับที่ 4 ในช่วงปลายเดือนตุลาคม ก่อนจะค่อยๆแผ่วปลายหลังช่วงวันคริสต์มาสต์ที่รวมถึงการพ่ายแพ้ 8 นัดรวด จนท้ายที่สุดก็ทำได้เพียงรั้งอยู่ในอันดับที่ 12
1997 – พวกเขาเดินหน้าทุ่มงบซื้อตัว ฟาบริซิโอ ราวาเนลลี่ ดาวยิงทีมชาติอิตาลี และ เอเมอร์สัน มิดฟิลด์ชาวบราซิลเลี่ยน เข้ามาเสริมในช่วงปรีซีซั่น แต่ไปๆมาๆแทนที่จะได้ลุ้นตำแหน่งท็อป 5 ตามที่ตั้งใจไว้กลับต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการพยายามดิ้นรนหนีตาย งานของพวกเขากลับยากขึ้นมาอีกเมื่อดันไปปฏิเสธโปรแกรมเตะกับ แบล็กเบิร์น จากปัญหาที่ผู้เล่นส่วนใหญ่มีอาการป่วยเนื่องจากไข้หวัดใหญ่จนไม่สามารถจัดทีมลงสนามได้ แต่ทาง เอฟเอ ปฏิเสธข้ออ้างนี้และทำการตัดแต้มพวกเขา 3 คะแนนตอนช่วงหลังวันคริสมาสต์ อย่างไรก็ตาม ร็อบสัน สามารถพาทีมผ่านเข้าไปชิงชนะเลิศในรายการ ลีก คัพ และจากประตูขึ้นนำของ ราวาเนลลี่ ในนาทีที่ 95 ก็ทำให้แฟนๆเริ่มฝันถึงการได้ฉลองแชมป์รายการสำคัญเป็นครั้งแรก แต่ก่อนหมดช่วงต่อเวลาพิเศษเพียง 2 นาที เอมิล เฮสกีย์ ก็มายิงตีเสมอให้กับ เลสเตอร์ ซิตี้ จนต้องไปวัดกันใหม่ในนัดรีเพลย์ก่อนจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไป 1-0 จนกระทั่งผลเสมอกับ ลีดส์ ยูไนเต็ด 1-1 ที่ เอลแลนด์ โร้ด ในนัดปิดฤดูกาลก็ทำให้ สิงห์แดง ร่วงตกชั้นลงไปในที่สุด ซึ่งอันที่จริงแล้วหากพวกเขาไม่ถูกลงโทษตัด 3 คะแนนก็จะมีแต้มเพียงพอต่อการอยู่รอดปลอดภัย นอกจากนี้ทีมยังมีโอกาสได้เข้าชิงชนะเลิศในรายการ เอฟเอ คัพ อีกด้วย แต่ก็ต้องพ่ายให้กับ เชลซี 2-0
1998 – ถึงแม้ทีมจะต้องสูญเสียสตาร์คนสำคัญอย่าง ราวาเนลลี่ และ จูนินโญ่ ออกไป แต่จากการได้ตัว พอล เมอร์สัน เข้ามารวมกับ มาร์ค ชวาร์เซอร์ และ จานลูก้า เฟสต้า ขุมกำลังสำคัญที่ยังอยู่กับทีมต่อ ก็ทำให้ ร็อบสัน ที่ยังได้รับความไว้วางใจจากบอร์ดบริหารให้ทำหน้าที่ต่อไป ตอบแทนความคาดหวังของทุกคนด้วยการพาทีมกลับเลื่อนชั้นขึ้นมาจากการคว้าอันดับที่ 2 รองจาก ฟอเรสต์ และภายในซีซั่น 1997-98 พวกเขายังมีโอกาสเดินทางเข้าสู่ เวมบลีย์ เพื่อเผชิญหน้ากับ เชลซี คู่ปรับเก่าแต่เปลี่ยนมาชิงชัยกันในถ้วย ลีก คัพ ก่อนจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไปด้วยสกอร์ 2-0 เท่าเดิม
1999 – แม้จะสูญเสีย พอล เมอร์สัน ไปให้กับ แอสตัน วิลล่า แต่การได้ตัว แกรี่ พัลลิสเตอร์ กลับคืนมา บวกกับ พอล แกสคอยน์ ที่เริ่มฟิตเต็มที่อีกครั้งหลังย้ายเข้ามาตั้งแต่ปลายซีซั่นก่อน รวมถึง ฮามิลตัน ริคาร์ด ที่เริ่มปรับตัวได้จนกลายเป็นตัวความหวังในการทำประตู ก็ทำให้ มิดเดิ้ลสโบรช์ สามารถประคองตัวได้ดีสำหรับการกลับคืนสู่ลีกสูงสุดของประเทศ พวกเขายังสร้างสถิติไร้พ่ายในลีกได้ถึง 11 นัดที่รวมถึงการบุกไปเอาชนะ แมนฯ ยูไนเต็ด 3-2 ถึงถิ่น โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด และกลายเป็นความพ่ายแพ้ในบ้านนัดเดียวของ ปีศาจแดง ในฤดูกาลคว้าทริปเปิ้ลแชมป์ ก่อนจะจบซีซั่นนั้นด้วยการลอยตัวอยู่ในอันดับที่ 9
2000 – ทีมเดินหน้าคว้าตัว คริสเตียน ซีเก้ และ พอล อินซ์ เข้ามาเสริมทัพในช่วงปรีซีซั่น รวมถึงการได้ตัว จูนินโญ่ กลับมาด้วยสัญญายืมตัวระหว่างกลางซีซั่น แต่กลับมีผลงานที่ดร็อปลงเล็กน้อยจากการจบฤดูกาล 1999-2000 ด้วยอันดับที่ 12
2001 – แม้จะเสริมทัพอย่างหนักด้วยการเซ็นสัญญากับ คริสติยอง การอมเบอ, โจเซฟ-เดซิเร่ จ๊อบ, อเลน บ๊อคซิช และ อูโก้ อีไฮอ็อก แต่พวกเขากลับออกสตาร์ทได้อย่างย่ำแย่และจมลงไปอยู่ในโซนตกชั้นตั้งแต่ช่วงกลางเดือนตุลาคม 2000 จนทำให้ สตีฟ กิ๊บสัน ประธานสโมสรรีบหาหนทางแก้ปัญหาด้วยการทาบทาม เทอร์รี่ เวนาเบิ้ลส์ เข้ามาช่วยทำหน้าที่ตีคู่ไปกับ ร็อบสัน ก่อนที่ฟอร์มของทีมจะเริ่มกระเตื้องขึ้นและอยู่รอดปลอดภัยด้วยการรั้งอันดับที่ 14
2002 – ร็อบสัน ตกลงใจแยกทางกับสโมสร ก่อนที่ สตีฟ แม็คลาเรน มือขวาของ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ที่กำลังเนื้อหอมเต็มที่จะย้ายเข้ามารับตำแหน่งคุมทีมอย่างเต็มตัวในช่วงออกสตาร์ทฤดูกาล 2001-02 ก่อนจะจัดการคว้าตัว แกเร็ธ เซาธ์เกต เข้ามาในราคา 6.5 ล้านปอนด์ โดยที่เขาสร้างผลงานในซีซั่นเปิดตัวด้วยการได้อันดับที่ 12 และยังผ่านเข้าไปจนถึงรอบตัดเชือก เอฟเอ คัพ ก่อนจะพ่ายให้กับ อาร์เซน่อล ที่กลายเป็นแชมป์ในที่สุด
2003 – ทีมออกสตาร์ทด้วยความหวังลุ้นพื้นที่ยุโรปจากการเสริมทัพด้วย เฌเรมี่, จอร์จ บัวเต็ง, มัสซิโม่ มัคคาโรเน่ และ จูนินโญ่ ที่หวนกลับมาเป็นรอบที่ 3 แต่แล้วก็เกิดข่าวร้ายขึ้นเมื่อ สตาร์ร่างเล็กชาวบราซิล ดันมีอาการบาดเจ็บรุนแรงที่หัวเข่าเพียงไม่กี่วัน
ก่อนเปิดฤดูกาล 2002-03 จนไปๆมาๆพวกเขาก็ทำได้เพียงขยับขึ้นมาเล็กน้อยจากการจอดป้ายในอันดับที่ 11
2004 – ด้วยความชาญฉลาดในการนำนักเตะหน้าใหม่เข้ามาด้วยสัญญายืมตัวทั้ง แดนนี่ มิลล์ส, กาอิซก้า เมนดิเอต้า และ เบาเดอไวน์ เซนเด้น ก็ทำให้ เดอะ โบโร่ เดินทางมาจนถึงจุดพีคที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของสโมสร เมื่อสามารถผ่านเข้าไปชิงชนะเลิศในรายการ ลีก คัพ และสามารถสยบ โบลตัน วันเดอเรอร์ส 2-1 จากการทำประตูของ จ๊อบ และลูกจุดโทษของ เซนเด้น ที่ได้มาตั้งแต่ในช่วงไม่ถึง 10 นาทีแรก จนทำให้พวกเขาคว้าแชมป์ระดับเมเจอร์ใบแรกมาครองได้สำเร็จ ซึ่งก็ทำให้ทีมได้สิทธิ์ลงเตะในถ้วย ยูฟ่า คัพ ฤดูกาลหน้าแม้จะปิดฉากซีซั่นนั้นด้วยการได้อันดับที่ 11
2005 – จากการเซ็นสัญญากับ มิเชล ไรซีเกอร์, จิมมี่ ฟลอยด์ ฮัสเซลเบงค์, เรย์ พาร์เลอร์ และ เบาเดอไวน์ เซนเด้น เข้ามาแบบฟรีๆ รวมถึงการควักกระเป๋า 4.5 ล้านปอนด์ในการคว้าตัว มาร์ค วิดูก้า ก็ทำให้ทีมของ แม็คลาเรน เกาะอยู่ในกลุ่มลุ้นพื้นยุโรปแทบจะตลอดทั้งซีซั่น สุดท้ายก็ต้องขอบคุณการเซฟจุดโทษของ มาร์ค ชวาร์เซอร์ ในนัดปิดฤดูกาลที่ออกไปเยือน แมนฯ ซิตี้ ที่ทำให้เกมจบลงด้วยสกอร์ 1-1 จนทำให้พวกเขารักษาอันดับที่ 7 เอาไว้ได้และสามารถคว้าสิทธิ์ในการลงเตะ ยูฟ่า คัพ เป็นปีที่สองติดต่อกัน
2006 – พวกเขาเตรียมพร้อมสำหรับเส้นทางในเวทียุโรปด้วยการดึงตัว เอมานูเอล โปกาเตทซ์, ยาคูบู ไอเย็กเบนี่, ฟาบิโอ โรเชมบัค และ อาเบล ซาเวียร์ เข้ามา ที่แม้ผลงานในลีกจะไม่ค่อยน่าประทับใจเท่าไรนักจากการได้อันดับที่ 14 แต่พวกเขาก็สามารถผ่านเข้าไปจนถึงรอบ 8 ทีมสุดท้ายในถ้วย ลีก คัพ และรอบรองชนะเลิศ เอฟเอ คัพ แต่สิ่งที่ทำให้แฟนๆปลาบปลื้มกันมากที่สุดก็คือการได้ลงสนามในนัดชิงรายการ ยูฟ่า คัพ ที่ ไอนด์โฮเฟ่น แม้จะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ให้กับ เซบีย่า แบบขาดลอย 4-0 ก็ตาม ซึ่งหลังจากจบซีซั่นนั้น สตีฟ แม็คลาเรน ได้ตัดสินใจแยกทางกับสโมสรเพื่อไปรับตำแหน่งผจก.ทีมชาติอังกฤษ
2007 – แม้จะไม่มีใบอนุญาตการเป็นโค้ช แต่ แกเร็ธ เซาธ์เกต ก็ได้รับการยกเว้นเป็นกรณีพิเศษสำหรับการก้าวเข้ามาคุมทีมอย่างเต็มตัวในช่วงออกสตาร์ทฤดูกาล 2006-07 พร้อมกับการดึงตัว ฮูลิโอ อาร์ก้า และ โรเบิร์ต ฮูธ รวมถึงยืมตัว โจนาธาน วู้ดเกต เข้ามาเสริมทัพที่ช่วยให้ผลงานประเดิมซีซั่นแรกจบลงด้วยการคว้าอันดับที่ 12
2008 – เซาธ์เกต ยอมทุบสถิติของสโมสรด้วยการคว้าตัว อฟอนโซ่ อัลเวส หัวหอกชาวบราซิล มาจาก ฮีเรนวีน ในราคา 13.6 ล้านปอนด์ ตอนวันสุดท้ายก่อนปิดตลาดเดือนมกราคม ที่ยังไม่รวมถึงการเซ็นสัญญาถาวรกับ โจนาธาน วู้ดเกต, อาเหม็ด ฮอสซัม มิโด้ และ ตุนกาย ซานลี่ ในช่วงปรีซีซั่น แต่สุดท้ายพวกเขาก็ทำได้เพียงขยับหนีจากโซนตกชั้นจนมาอยู่อันดับที่ 13
2009 – และแล้วภายในซีซั่นที่ 3 ของการทำหน้าที่เฮดโค้ชของ เซาธ์เกต ภายใต้งบประมาณที่จำกัด ก็ทำให้ผลงานของ สิงห์แดง ค่อยๆสาละวันเตี้ยลงจนกระทั่งการบุกไปพ่ายให้กับ เวสต์แฮม ยูไนเต็ด 2-1 ที่ ลอนดอน ในนัดปิดฤดูกาล 2008-09 ก็ทำให้พวกเขาต้องร่วงลงสู่ ลีกแชมเปี้ยนชิพ จากการรั้งอันดับรองบ๊วย หลังยืนหยัดอยู่ใน พรีเมียร์ลีก มายาวนานต่อเนื่อง 11 ปี
2010 – จู่ๆการปลด เซาธ์เกต ออกจากตำแหน่งระหว่างเดือนตุลาคม 2009 และดึงตัว กอร์ดอน สตรัคคั่น เข้ามาเสียบแทน ในขณะที่ทีมยังรั้งอยู่ในอันดับที่ 4 และมีคะแนนตามหลังพวกที่อยู่ในโซนเลื่อนชั้นอัตโนมัติเพียงแค่แต้มเดียว ก็ทำให้ฟอร์มของพวกเขาค่อยๆแผ่วลงจนกระทั่งจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 11
2011 – แม้จะถูกวางให้เป็นหนึ่งในทีมเต็งเลื่อนชั้นก่อนออกสตาร์ทฤดูกาล 2010-11 แต่จากผลงานที่ย่ำแย่อย่างต่อเนื่องก็ทำให้ สตรัคคั่น ตัดสินใจลาออกหลังอยู่ในตำแหน่งได้เกือบจะครบปีพอดี ก่อน โทนี่ โมว์เบรย์ จะเข้ามาช่วยพลิกสถานการณ์จนพาทีมจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 12
2012 – ภายใต้การคุมทีมอย่างเต็มตัวของ โมว์เบรย์ พวกเขาจวนเจียนจะได้สิทธิ์ลุ้นในการเลื่อนชั้น หลังทำแต้มตามหลัง คาร์ดิฟฟ์ ซิตี้ ทีมอันดับ 6 ที่ได้ลงเตะเกมเพลย์ออฟอยู่ 5 คะแนน
2013 – จากผลงานอันน่าประทับใจก็ทำให้ทีมผงาดขึ้นไปรั้งอยู่ในตำแหน่งจ่าฝูงระหว่างเดือนพฤศจิกายน แต่แล้วจู่ๆเมื่อย่างเข้าสู่ปี 2013 ฟอร์มของพวกเขาก็กลับกลายเป็นหนังคนละม้วน โดยพ่ายแพ้ไปถึง 15 จาก 21 นัดที่เหลือ จนทำให้ปิดฉากฤดูกาล 2012-13 ด้วยอันดับที่ 16 แบบงงๆ
2014 – ด้วยผลงานที่ย่ำแย่อย่างต่อเนื่องก็ทำให้ โมว์เบรย์ ตัดสินใจลาออกในช่วงเดือนตุลาคม ก่อนที่สโมสรจะหันไปทาบทาม ไอตอร์ การันก้า อดีตกองหลังทีมชาติสเปนผู้ที่ยังเป็นผู้ช่วยของ โชเซ่ มูรินโญ่ ที่ เรอัล มาดริด ให้เข้าทำหน้าที่คุมทีมอย่างเต็มตัว ก่อนที่เขาจะช่วยประคองทีมไปจนจบด้วยอันดับที่ 12
2015 – ภายในซีซั่นแรกของการรับบทเทรนเนอร์ตั้งแต่เริ่มต้น การันก้า สามารถพาทีมขยับขึ้นมารั้งอยู่ในอันดับที่ 4 แต่น่าเสียดายที่เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ให้กับ นอริช ซิตี้ 2-0 ที่ เวมบลีย์ ในเกมเพลย์ออฟเลื่อนชั้นนัดชิงชนะเลิศ ในขณะที่ แพทริก แบมฟอร์ด หัวหอกดาวรุ่งที่ยืมตัวมาจาก เชลซี และช่วยซัดไปทั้งหมด 17 ประตูจาก 38 เกมก็สามารถคว้าตำแหน่งนักเตะยอดเยี่ยมของลีกแชมเปี้ยนชิพประจำฤดูกาล 2014-15
2016 – และแล้ว ไอเตอร์ การันก้า ก็พา มิดเดิ้ลสโบรช์ เลื่อนชั้นขึ้นสู่ พรีเมียร์ลีก ได้สำเร็จ จากการเปิดบ้านเสมอกับ ไบรท์ตัน ในนัดสุดท้ายของฤดูกาล 2015-16 ที่ทำให้พวกเขาคว้าอันดับที่ 2 โดยมีแต้มเท่ากับ ไบรท์ตัน แต่ปล่อยให้คู่แข่งต้องเป็นฝ่ายไปลุ้นต่อในเกมเพลย์ออฟจากประตูได้เสียที่ดีกว่า
2017 – แม้ทีมจะพยายามเสริมทัพด้วยการเซ็นสัญญากับ บิคตอร์ บัลเดส, แกสตัน รามิเรซ, อดาม่า ตราโอเร่ และ แพทริก แบมฟอร์ด รวมถึงการยืมตัว อัลบาโร่ เนเกรโด้ และ คัมลั่ม แชมเบอร์ส เข้ามาก็ตาม แต่พวกเขาก็ยังป้วนเปี้ยนอยู่ไม่ไกลจากโซนตกชั้น จนกระทั่งเริ่มหล่นลงไปอยู่ในพื้นที่สีแดงตอนช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ตามมาด้วยการปลด การันก้า ออกจากตำแหน่งและดึง สตีฟ แอ็กนิว เข้ามารักษาการณ์แทนแต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้มาก สุดท้ายพวกเขาก็ต้องหวนคืนกลับสู่ อีเอฟแอล แชมเปี้ยนชิพ จากการจอดป้ายด้วยอันดับรองบ๊วย
2018 – สโมสรประกาศแต่งตั้ง แกรี่ มังค์ เข้ามาเป็นผจก.ทีมในช่วงออกสตาร์ทซีซั่น 2017-18 แต่เขาก็อยู่ได้จนก่อนจะถึงคริสมาสต์เพียงแค่ 2 วัน ก่อนจะถูกสับเปลี่ยนโดย โทนี่ พูลิส ที่ค่อยๆพาทีมไต่ขึ้นมาจนจบด้วยอันดับที่ 5 แต่ก็ต้องหมดลุ้นโอกาสเลื่อนชั้นไปอย่างรวดเร็วจากการพ่ายให้กับ แอสตัน วิลล่า ในเกมเพลย์ออฟรอบตัดเชือก
โดยพื้นเพแล้วกลุ่มผู้สนับสนุนของ มิดเดิ้ลสโบรช์ ก็คือผู้คนที่อาศัยอยู่ในละแวกท้องถิ่น พวกเขายังเป็นหนึ่งในสโมสรจากสหราชอาณาจักรที่มีสมาชิกผู้ถือตั๋วรายปีเป็นคนที่เกิดในท้องที่สูงที่สุดจากสัดส่วน 80% และยังเป็นหนึ่งในทีมที่มีจำนวนสมาชิกเป็นผู้หญิงมากถึง 20% ในขณะที่ผลสำรวจตอนช่วงต้นซีซั่น 2007-08 ก็พบว่า แฟนบอลของ เดอะ โบโร่ คือกองเชียร์ที่ส่งเสียงดังมากที่สุดอันดับ 7 ใน พรีเมียร์ลีก
ศัตรูอันดับต้นๆในสายตาของแฟนๆก็คือ ซันเดอร์แลนด์, นิวคาสเซิ่ล ยูไนเต็ด และ ลีดส์ ยูไนเต็ด โดยเฉพาะ 2 รายแรกที่มีชื่อเรียกสำหรับการเผชิญหน้ากันว่า ทีส์-แวร์ ดาร์บี้ (Tees–Wear derby) และ ไทน์-ทีส์ ดาร์บี้ (Tyne–Tees_derby) ตามลำดับ จากการเป็นสโมสรที่ตั้งอยู่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำเหล่านั้น และในขณะที่ คาร์ไลส์ ยูไนเต็ด ก็มองพวกเขาเป็นคู่อริที่สำคัญ แต่ทางฝั่ง สิงห์แดง กลับไม่นับรวม คาร์ไลส์ ให้เป็นคู่แข่งที่อยู่ในอันดับท็อป 3
มิดเดิ้ลสโบรช์ ยังมีอีกสมญานามว่า “สม็อกกี้ส์” (Smoggies) ที่เริ่มต้นจากการถูกคู่แข่งล้อเลียนถึงสภาพเมืองอุตสาหกรรมของพวกเขาที่เต็มไปด้วยมลพิษในอากาศ แต่ไปๆมาๆพวกเขากลับทำเนียนยอมรับฉายานั้นเสียเลย ซึ่งก็สามารถสังเกตเห็นได้จากข้อความที่มักปรากฏอยู่ในแผ่นป้ายแบนเนอร์ของบรรดากองเชียร์ในนัดเยือนว่า “Smoggies on Tour”
The post พลิกประวัติ มิดเดิ้ลสโบรช์ สิงห์แดงแห่งนอร์ทยอร์คเชียร์ first appeared on ผลบอลสด บ้านผลบอล ผลบอลวันนี้ 7m 888 Livescore.]]>สโมสรฟุตบอลนอริชซิตี้ (Norwich City Football Club) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม นอริช ซิตี้ คือทีมฟุตบอลอาชีพที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ใน เมืองนอริช มณฑลนอร์ฟอล์ก ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันลงเตะอยู่ใน อีเอฟแอล แชมเปี้ยนชิพ หรือลีกลำดับที่ 2 ของวงการลูกหนังอังกฤษ หลังตกชั้นมาจาก พรีเมียร์ลีก เมื่อปี 2016 ทีมเจ้าของฉายา “เดอะ คานารี่ส์” (The Canaries) หรือที่ในบ้านเราเรียกกันว่า “นกขมิ้นเหลืองอ่อน” ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1902 และได้ย้ายเข้ามาปักหลักอยู่ในสนาม แคร์โรว์ โร้ด ตั้งแต่ปี 1935 ที่ล่าสุดสามารถรองรับผู้ชมได้ 27,244 ที่นั่ง พวกเขามีโอกาสลงเล่นในลีกสูงครั้งแรกเมื่อปี 1972 และเคยคว้าแชมป์ ลีก คัพ ได้ 2 สมัยในปี 1962 และ 1985 สถิติที่ดีที่สุดของทีมคือการคว้าอันดับที่ 3 ใน พรีเมียร์ลีก เมื่อฤดูกาล 1992-93
นอริช ลงเตะด้วยชุดแข่งสีเหลืองและเขียวอันเป็นเอกลักษณ์ตามสมญานาม “เดอะ คานารี่ส์” อันมีที่มาจากการเพาะเลี้ยงนกชนิดนี้เป็นจำนวนมากภายในพื้นที่ โดยเชื่อกันว่ามีจุดเริ่มมาต้นตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 16 จากกลุ่มผู้อพยพชาวยุโรปที่มีชื่อเรียกกันในท้องถิ่นว่า “เดอะ สเตรนเจอร์ส” (The Strangers)
1902 – จากการรวมตัวกันของเหล่าสมาชิกผู้ให้กำเนิดที่คาเฟ่แห่งหนึ่งในตัวเมืองนอริชเมื่อวันที่ 17 มิถุนายนได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ Norwich City F.C. โดยประเดิมแมตช์แรกกับ Harwich & Parkeston F.C. เมื่อวันที่ 6 กันยายน ก่อนจะตัดสินใจลงแข่งขันในลีกระดับภูมิภาคภายในฤดูกาล 1902-03
1905 – แต่ด้วยข้อกำหนดบางอย่างจากทาง เอฟเอ ก็ทำให้พวกเขาหมดสิทธิ์ลงแข่งแม้แต่ในลีกสมัครเล่น จนทำให้พวกเขาเริ่มมองหาหนทางปรับเปลี่ยนตนเองให้เป็นสโมสรระดับอาชีพ
1906 – ทีมได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันใน เซาท์เทิร์น ลีก ที่เป็นลีกกึ่งอาชีพ พร้อมๆกับยอดของผู้ติดตามที่ค่อยๆมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น
1908 – พวกเขาตัดสินใจย้ายออกจาก นิวมาร์เก็ต โร้ด บ้านหลังแรก เพื่อไปอยู่ที่ เดอะ เนสท์ บนพื้นที่ที่เคยเป็นเหมืองหินปูนร้าง และเริ่มกลายเป็นที่รู้จักกันในวงกว้างภายใต้ฉายา เดอะ คานารี่ส์ หลังประธานสโมสรผู้เชี่ยวชาญในการเพาะเลิ้ยงนกชนิดนี้ตัดสินใจเปลี่ยนชุดแข่งเป็นสีเหลือง-เขียว
1917 – ทีมตกอยู่ในสภาพแพแตกระหว่างช่วง สงครามโลกครั้งที่ 1 จากปัญหาหนี้สินพะรุงพะรังจนต้องยอมยกเลิกกิจการเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ในช่วงปลายปีนั้น
1919 – สโมสรเปิดตัวขึ้นใหม่อีกครั้งเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ จากแรงผลักดันที่นำโดย ชาร์ลส์ เฟเดอริก วัตลิ่ง ผู้ที่ก้าวขึ้นไปเป็นนายกเทศมนตรีเมืองนอริชในเวลาต่อมา และยังเป็นพ่อของ เจฟฟรี่ย์ วัตลิ่ง ผู้บริหารใหญ่ของทีมในอนาคต
1920 – นอริช เข้าร่วมแข่งขันในฟุตบอลลีกอย่างเป็นทางการโดยเปิดตัวใน ดิวิชั่น 3 ที่พึ่งถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกภายในซีซั่นนั้น โดยเกมฟาดแข้งอย่างเป็นทางการนัดแรกคือการเผชิญหน้ากับ พลีมัธ อาร์ไกล์ ที่จบลงด้วยผลเสมอ 1-1 เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม
1934 – ตลอดช่วงเวลาหลังจากนั้นพวกเขาทำผลงานป้วนเปี้ยนอยู่ระหว่างอันดับที่ 8 ถึง 18 จนกระทั่งมาประสบความสำเร็จในฤดูกาล 1933-34 ภายใต้การคุมทีมของ ทอม ปาร์คเกอร์ จากการสร้างสถิติเอาชนะคู่แข่งในบ้านได้มากที่สุดด้วยการบดขยี้ โคเวนทรี ซิตี้ 10-2 ก่อนจะคว้าแชมป์ ดิวิชั่น 3 ทางตอนใต้และได้สิทธิ์ขยับขึ้นไปเล่นใน ดิวิชั่น 2 ซีซั่นหน้า
1935 – หลังประคองตัวเองจนจบฤดูกาลเปิดตัวใน ดิวิชั่น 2 ด้วยอันดับที่ 14 ก็เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่สโมสรและ เอฟเอ หันมาพิจารณาถึงความเหมาะสมเกี่ยวกับสภาพภายใน เดอะ เนสท์ ที่เริ่มไม่สอดคล้องกับจำนวนผู้ชมที่กำลังเพิ่มมากขึ้น โดยในทีแรกพวกเขาตั้งใจจะปรับปรุงสนามใหม่แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจย้ายเข้าสู่รัง แคร์โรว์ โร้ด โดยเปิดใช้ในแมตช์แรกอย่างเป็นทางการด้วยการพบกับ เวสต์แฮม ยูไนเต็ด ที่จบลงด้วยชัยชนะของเจ้าถิ่น 4-3 ในช่วงต้นฤดูกาล 1935-36
1938 – มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นเมื่อ สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร เสด็จมาเยี่ยมชมเกมที่รังเหย้าของพวกเขาในวันที่ 29 ตุลาคม 1938
1939 – แต่หลังจากทำดีที่สุดด้วยการได้อันดับที่ 11 ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สุดท้ายพวกเขาก็ต้องร่วงตกชั้นลงไปจากการทำแต้มได้เท่ากับ น็อตติ้งแฮม ฟอร์เรสต์ ทีมที่เอาตัวรอดได้แต่มีประตูได้เสียที่น้อยกว่า ซึ่งหลังจากลงไปตั้งต้นใหม่ใน ดิวิชั่น 3 และเริ่มออกสตาร์ทฤดูกาล 1939-40 ด้วยการชนะ 1 เสมอ 1 และแพ้ 1 จาก 3 นัดแรก เกมลูกหนังภายในประเทศก็ต้องหยุดชะงักลงเนื่องจากการเปิดฉากขึ้นมาของ สงครามโลกครั้งที่ 2
1947 – ภายในซีซั่นแรกที่ฟุตบอลลีกกลับมาฟาดแข้งกันอีกครั้ง เดอะ คานารี่ส์ ทำผลงานได้อย่างย่ำแย่จากการรั้งอยู่ในตำแหน่งรองบ๊วยหลังจบฤดูกาล 1946-47 จนทำให้พวกเขาต้องสมัครเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลลีกอีกครั้งซึ่งก็ยังโชคดีที่ได้รับการรับรองให้ไปต่อ
1948 – พวกเขาต้องวนเวียนอยู่ในสถานการณ์เดียวกับเมื่อซีซั่นก่อน เมื่อร่วงลงไปอยู่ในอันดับที่ 21 จนต้องขอการรับรองให้ยังได้ร่วมแข่งขันใน ดิวิชั่น 3 ต่อไป
1951 – แต่หลังจากนั้นเพียงไม่กี่ปีทีมก็สามารถพลิกสถานการณ์ขึ้นมา จากผลงานอันน่าประทับใจของ นอร์แมน โลว์ ที่ย้ายเข้ามาคุมทีมในช่วงปลายซีซั่นก่อน จนทำให้ทีมคว้าอันดับที่ 2 ในฤดูกาล 1950-51 แต่ก็ยังคงไม่เพียงพอสำหรับการเลื่อนชั้นขึ้นสู่ ดิวิชั่น 2
1955 – หลังจากทำได้แค่เฉียดและวนเวียนป้วนเปี้ยนอยู่ในกลุ่มหัวตารางจนกระทั่งร่วงลงมาอยู่ในอันดับที่ 11 หลังจบฤดูกาล 1954-55 ก็ทำให้ ทอม ปาร์คเกอร์ อดีตกุนซือที่เคยพาพวกเขาเลื่อนชั้นถูกทาบทามให้กลับมานั่งเก้าอี้อีกครั้ง
1957 – แต่แล้วผลงานของทีมกลับยิ่งดิ่งลงเหว เมื่อจบฤดูกาล 1956-57 ด้วยอันดับท้ายตารางจนต้องทำเรื่องขออนุมัติเพื่อลงแข่งขันต่อไปในซีซั่นหน้าอีกครั้ง
1959 – หลังเปลี่ยนผจก.ทีมผลงานของพวกเขาก็เริ่มกลับมาดีขึ้นจนรั้งอยู่ในอันดับที่ 4 ภายในซีซั่น 1958-59 นอกจากนี้ทีมยังผ่านเข้าไปจนถึงรอบรองชนะเลิศ เอฟเอ คัพ จากเส้นทางที่สามารถสยบได้ทั้ง แมนฯ ยูไนเต็ด และ ท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์ ก่อนจะพลาดโอกาสเข้าชิงด้วยการพ่ายให้กับ ลูตัน ทาวน์ 1-0 ในนัดรีเพลย์
1960 – ในที่สุด นอริช ก็สามารถเลื่อนชั้นขึ้นสู่ ดิวิชั่น 2 ได้อีกครั้ง จากการคว้าอันดับที่ 2 โดยมีคะแนนตามหลัง เซาแธมป์ตัน ทีมแชมป์เพียงแค่ 2 แต้ม
1961 – กลับขึ้นมาคราวนี้พวกเขาสามารถโชว์ฟอร์มในซีซั่นเปิดตัวได้อย่างน่าประทับใจจากการจอดป้ายในอันดับที่ 4 หลังจบ 42 เกมในฤดูกาล 1960-61
1962 – แม้จะทำผลงานในลีกตกลงไปอย่างน่าใจหายจากการได้อันดับที่ 17 แต่ในที่สุดภายใต้การคุมทีมของ รอน แอชแมน ก็ช่วยให้ เดอะ คานารี่ส์ คว้าโทรฟี่ระดับเมเจอร์ใบแรกได้สำเร็จจากการเอาชนะ โรชเดล คู่แข่งในรอบชิงชนะเลิศ ลีก คัพ ด้วยสกอร์รวม 4-0 จากที่เวลานั้นยังคงใช้วิธีตัดสินในรายการนี้ด้วยการลงเตะกันแบบเหย้าเยือน
1965 – ถัดจากปีแรกที่ได้กลับมาลงเล่นใน ดิวิชั่น 2 ด้วยการคว้าอันดับที่ 4 ก็มีฤดูกาล 1965-66 ที่พวกเขาทำผลงานได้ใกล้เคียงกับการเลื่อนชั้นมากที่สุดจากการจอดป้ายในอันดับที่ 6
1972 – หลังจากทำได้เพียงป้วนเปี้ยนอยู่ไม่ไกลจากพื้นที่กลางตารางตลอดหลายปีที่ผ่านมา ในที่สุด รอน ซอนเดอร์ส ที่เข้ามาคุมทีมเป็นปีที่ 3 ก็สามารถพาทีมผงาดขึ้นสู่ลีกสูงสุดของประเทศได้เป็นครั้งแรก จากการคว้าแชมป์ ดิวิชั่น 2 หลังเบียดเอาชนะ เบอร์มิ่งแฮม ซิตี้, มิลล์วอลล์ และ ควีนส์ ปาร์ค เรนเจอร์ส ที่ทำแต้มไล่หลังกันมาแบบหายใจรดต้นคอภายในฤดูกาล 1971-72
1973 – พวกเขาเปิดตัวใน ดิวิชั่น 1 ซีซั่นแรกด้วยการรอดพ้นจากการตกชั้นไปแบบหวุดหวิด โดยเก็บคะแนนได้มากกว่า คริสตัล พาเลซ ทีมที่ร่วงลงไป 2 แต้ม อย่างไรก็ตามทีมมีโอกาสก้าวเท้าลงสู่สนาม เวมบลีย์ เป็นครั้งแรกจากการผ่านเข้าไปจนถึงนัดชิงชนะเลิศ ลีก คัพ แต่ก็ต้องพ่ายให้กับ สเปอร์ส ไปแบบหวุดหวิด 1-0
1974 – หลังการออกสตาร์ทฤดูกาล 1973-74 ด้วยฟอร์มที่ย่ำแย่ ก็ทำให้ ซอนเดอร์ส ตัดสินใจลาออกไป โดยมี จอห์น บอนด์ เข้ามาทำหน้าที่แทน แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถพาทีมรอดพ้นจากการตกชั้นไปได้เมื่อจมลงไปอยู่ในอันดับบ๊วยหลังปิดฉากซีซั่นนั้น
1975 – อย่างไรก็ตาม บอนด์ ก็สามารถตอบแทนความไว้วางใจของฝ่ายบริหารที่ยอมให้เขาทำหน้าที่ต่อ ด้วยการพา นอริช กลับคืนสู่ ดิวิชั่น 1 ได้ในปีต่อมาจากการคว้าอันดับที่ 3 รองจาก แอสตัน วิลล่า และ แมนฯ ยูไนเต็ด ทีมแชมป์ นอกจากนี้พวกเขายังสามารถเดินทางเข้าสู่ เวมบลีย์ เป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 3 ปีจากการเผชิญหน้ากับ แอสตัน วิลล่า ในนัดชิงชนะเลิศ ลีก คัพ แต่สุดท้ายก็ยังเป็นฝ่ายอกหักซ้ำสองหลังจากพ่ายไปด้วยสกอร์ 1-0
1981 – หลังพาทีมเอาตัวรอดในลีกสูงสุดได้ยาวนานหลายปีด้วยผลงานที่ดีที่สุดในการคว้าอันดับที่ 10 จอห์น บอนด์ ก็ตัดสินใจแยกทางออกไปอยู่กับ แมนฯ ซิตี้ ในช่วงปลายเดือนตุลาคม 1980 โดยที่ เคน บราวน์ ผู้ที่เข้ามาใหม่ก็ไม่สามารถพาทีมรอดพ้นจากการตกชั้นไปได้ หลังจากจบฤดูกาล 1980-81 ด้วยการมีแต้มน้อยกว่า ไบรท์ตัน แอนด์ โฮฟ อัลเบี้ยน ทีมที่ยังอยู่รอดปลอดภัยแบบฉิวเฉียด 2 คะแนน
1982 – แม้จะเริ่มต้นซีซั่นใหม่ด้วยการยอมปล่อยตัว จอห์น ฟาชานู หัวหอกตัวเก่งไปให้กับ ฟอเรสต์ ที่ทำให้เขากลายเป็นนักเตะผิวสีคนแรกของประเทศที่มีค่าตัวแตะ 1 ล้านปอนด์ แต่ บราวน์ ก็ยังสามารถพาลูกทีมที่เหลืองัดฟอร์มเก่งด้วยการทำคะแนนไล่หลัง วัตฟอร์ด และ ลูตัน ทาวน์ ทีมแชมป์ดิวิชั่น 2 จนพากันเกาะกลุ่มกลับขึ้นสู่ลีกสูงสุดได้สำเร็จ
1985 – จนมาถึงฤดูกาล 1984-85 ที่แฟนบอลของ เดอะ คานารี่ส์ ต่างตกอยู่ใน 2 อารมณ์ที่แตกต่างกันแบบสุดขั้ว เมื่อทีมอุตส่าห์ผ่านเข้าสู่ เวมบลีย์ ด้วยการปราบ อิปสวิช ทาวน์ มาในรอบตัดเชือก ลีก คัพ และยังสามารถเฉือนเอาชนะ ซันเดอร์แลนด์ 1-0 ได้ในนัดชิงจนกลายเป็นแชมป์สมัยที่ 2 ของพวกเขาในรายการนี้ อย่างไรก็ตาม 2 ทีมคู่แข่งในนัดชิง ลีก คัพ ต่างพากันกอดคอกันตกชั้นจาก ดิวิชั่น 1 ไปพร้อมๆกับ สโต๊ค ซิตี้ จนทำให้ นอริช กลายเป็นทีมแรกของอังกฤษที่คว้าโทรฟี่ระดับเมเจอร์ไปพร้อมๆกับการตกชั้น ก่อนที่ เบอร์มิ่งแฮม จะกลายเป็นทีมถัดไปที่มาซ้ำรอยจากการเป็นแชมป์ ลีก คัพ ในอีก 26 ปีให้หลัง
1986 – บราวน์ สามารถพาทีมเลื่อนชั้นกลับขึ้นมาได้ในซีซั่นถัดมา จากการคว้าแชมป์ ดิวิชั่น 2 ได้เป็นหนที่สองของสโมสร โดยในซีซั่นนั้นพวกเขายังหมดสิทธิ์ลงเตะในเกมยุโรปจากการที่ทีมจากอังกฤษถูกแบนเนื่องจาก โศกนาฏกรรมเฮย์เซล
1989 – แม้ทีมจะสามารถทำผลงานได้อย่างน่าประทับใจด้วยการจอดป้ายในอันดับที่ 4 หลังจบฤดูกาล 1988-89 ซึ่งโดยปกติแล้วมันเพียงพอต่อการได้สิทธิ์ไปลงเตะในรายการ ยูฟ่า คัพ แต่โชคร้ายที่โทษแบนจาก ยูฟ่า ยังคงอยู่ ในขณะที่ทีมยังผ่านเข้าไปจนถึงรอบตัดเชือก เอฟเอ คัพ ก่อนจะพ่ายให้กับ เอฟเวอร์ตัน 1-0
1992 – ฟอร์มในลีกที่ย่ำแย่ภายในฤดูกาล 1991-92 ที่จบลงด้วยการรั้งอันดับที่ 18 และมีอยู่ 3 คะแนนเหนือทีมตกชั้น กลับสวนทางกับผลงานในบอลถ้วยเมื่อพวกเขาสามารถผ่านเข้าไปจนถึงรอบรองชนะเลิศ เอฟเอ คัพ ก่อนจะอดเข้าชิงด้วยน้ำมือของ ซันเดอร์แลนด์ และนอกจากนี้ก็ยังไปได้ไกลจนถึงรอบก่อนรองชนะเลิศในถ้วย ลีก คัพ อีกด้วย
1993 – แต่แล้วภายในปีปฐมฤกษ์ของ พรีเมียร์ลีก ในฤดูกาล 1992-93 เดอะ คานารี่ส์ กลับสร้างผลงานในลีกได้ดีขึ้นผิดหูผิดตาจากการคว้าอันดับที่ 3 รองจาก แอสตัน วิลล่า และ แมนฯ ยูไนเต็ด ทีมแชมป์ และกลายเป็นสถิติที่ดีที่สุดของพวกเขาจวบจนทุกวันนี้ พร้อมๆกับการปล่อยตัว มาร์ค โรบินส์ ดาวซัลโวประจำทีมไปให้กับ ปีศาจแดง หลังจบฤดูกาลนั้น
1994 – พวกเขาสร้างผลงานในเกมยุโรปซีซั่นแรกด้วยการไปได้ไกลถึงรอบ 3 ในรายการ ยูฟ่า คัพ ก่อนจะถูก อินเตอร์ มิลาน เขี่ยตกรอบ โดยในรอบก่อนหน้านั้นจากการคว้าชัยชนะนอกบ้านได้ 2-1 ก็ทำให้พวกเขาสร้างสถิติการเป็นทีมแรกจากอังกฤษที่บุกไปสยบ บาเยิร์น มิวนิค ได้ถึงถิ่น โอลิมปิก สเตเดี้ยม ในขณะที่ ไมค์ วอล์คเกอร์ ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งผจก.ทีมในช่วงต้นเดือนธันวาคม 1993 เพื่อย้ายไปนั่งเก้าอี้แทน โฮเวิร์ด เคนดัลล์ ที่ เอฟเวอร์ตัน ก่อนที่ จอห์น ดีฮาน จะขยับเข้ามาเสียบแทนและพาทีมจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 12
1995 – นอริช ออกสตาร์ทฤดูกาล 1994-95 ได้ค่อนข้างดีแม้จะพึ่งสูญเสีย คริส ซัตตัน ดาวยิงตัวเก่ง ที่ย้ายไปอยู่กับ แบล็กเบิร์น โรเวอรส์ ด้วยสถิติระดับประเทศ 5 ล้านปอนด์ แต่จากสถานการณ์ที่ดูไม่น่าเป็นห่างจากการรั้งอยู่ในอันดับที่ 7 ตอนช่วงวันคริสมาสต์ จู่ๆพวกเขากลับเก็บชัยชนะได้เพียงแค่ครั้งเดียงจาก 20 เกมที่เหลือจนร่วงลงมาอยู่ในอันดับที่ 20 และปิดฉากการโลดแล่นอยู่ในลีกสูงสุดได้ติดต่อกันนานถึง 9 ปีด้วยการตกชั้นลงไปแบบงงๆ
1996 – สโมสรประกาศแต่งตั้ง มาร์ติน โอนีล เข้ามารับตำแหน่งเทรนเนอร์ แต่เจ้าตัวก็อยู่กับทีมได้เพียงแค่ 6 เดือนก็ประกาศแยกทางไปหลังขัดแย้งกับ โรเบิร์ต เชส ประธานสโมสรเรื่องงบประมาณเสริมทัพ แต่หลังจากนั้นไม่นาน เชส ก็ต้องก้าวลงจากตำแหน่งตามไปด้วยหลังถูกกลุ่มแฟนบอลประท้วงอย่างหนักด้วยข้อกล่าวหาที่มักจะทยอยปล่อยตัวผู้เล่นที่ดีที่สุดออกไปจนกลายเป็นสาเหตุที่ทีมต้องตกชั้น ก่อนที่ เจฟฟรีย์ วัตลิ่ง จะกว้านซื้อหุ้นส่วนใหญ่ต่อจาก เชส และกลายเป็นเจ้าของทีมแทน ในขณะที่ แกรี่ เม็กสัน กุนซือคนใหม่ก็ช่วยประคองทีมจนจอดป้ายในอันดับที่ 16
1997 – ไมเคิ่ล วีน-โจนส์ นักเขียนชาวเวลส์และภรรยา เดเลีย สมิธ เจ้ารายการทำอาการชื่อดังชาวอังกฤษ ตกลงซื้อหุ้นส่วนใหญ่ต่อจาก วัตลิ่ง ในขณะที่ ไมค์ วอล์คเกอร์ ก็ถูกทาบทามให้กลับมาคุมทีมอีกครั้งก่อนที่พวกเขาจะจบซีซั่น 1996-97 ด้วยอันดับที่ 13
2001 – หลังการหวนกลับมาที่ไม่ประสบความสำเร็จของ วอล์คเกอร์ ก่อนจะเปลี่ยนมือมาเป็น บรู๊ซ ริอ็อค และ ไบรอัน แฮมิลตัน แต่ทีมก็ยังคงวนเวียนไม่ไกลไปจากพื้นที่กลางตาราง จนกระทั่งสโมสรตัดสินใจดึงตัว ไนเจล เวิร์ทธิงตัน เข้ามาคุมทีมในช่วงเดือนธันวาคม 2000 ที่เขาช่วยให้ทีมรอดพ้นจากสถานการณ์อันล่อแหลมต่อการตกชั้นก่อนจะจบฤดูกาล 2000-01 ได้อย่างปลอดภัยด้วยอันดับที่ 15
2002 – พวกเขากลับมามีลุ้นกับการเลื่อนชั้นในปีต่อมา เมื่อสามารถเข้าป้ายเป็นอันดับที่ 6 แต่ก็ดันไปพ่ายให้กับ เบอร์มิ่งแฮม 4-2 ในเกมเพลย์ออฟรอบชิงชนะเลิศ
2004 – ในที่สุด เวิร์ทธิงตัน ก็สามารถพา เดอะ คานารี่ส์ กลับคืนสู่ พรีเมียร์ลีก ได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 1995 จากการคว้าแชมป์ ดิวิชั่น 1 ด้วยการทำแต้มทิ้งห่าง เวสต์บรอมวิช อัลเบี้ยน ทีมอันดับ 2 ถึง 8 คะแนน
2005 – ทีมออกสตาร์ทซีซั่นใน พรีเมียร์ลีก อีกครั้งด้วยผลงานที่ย่ำแย่ จากการเก็บชัยชนะได้เพียงแค่ครั้งเดียวจาก 15 นัดแรก และแม้จะพยายามเร่งเครื่องในช่วงเดือนเมษายนด้วยการสยบ แมนฯ ยูไนเต็ด ในถิ่น แคร์โรว์ โร้ด ไปแบบสุดเซอร์ไพรส์ 2-0 ที่ต่อด้วยการเก็บชัยชนะได้ 3 จาก 5 เกมต่อมา แต่หลังจากพลาดท่าบุกไปโดน ฟูแล่ม ถล่มยับเยิน 6-0 ในนัดส่งท้ายฤดูกาล 2004-05 ก็ทำให้ทีมร่วงตกชั้นลงไปจากการมีคะแนนน้อยกว่า เวสต์บรอมวิช ทีมที่เอาตัวรอดได้เพียงแค่แต้มเดียว
2009 – ภายหลังจากลงมาอยู่ใน ลีกแชมเปี้ยนชิพ แม้จะมีการสับเปลี่ยนกุนซือจาก เวิร์ทธิงตัน มาเป็น ปีเตอร์ แกรนท์, เกล็นน์ โรเดอร์ จนมาถึง ไบรอัน กันน์ แต่สุดท้ายหลังจากจบฤดูกาล 2008-09 สถานการณ์ของทีมก็เลวร้ายลงไปอีกด้วยการร่วงลงสู่ ลีก วัน
2010 – สโมสรประกาศแต่งตั้ง พอล แลมเบิร์ต เข้ามาเป็นผจก.ทีมคนใหม่ในช่วงต้นซีซั่น 2009-10 ก่อนที่เขาจะช่วยให้ทีมคว้าแชมป์ ลีก วัน และเลื่อนชั้นขึ้นไปได้สำเร็จ โดยทำแต้มทิ้งห่าง ลีดส์ ยูไนเต็ด ที่ขยับตามขึ้นมาด้วยถึง 9 คะแนน
2011 – แลมเบิร์ต ยังพาลูกทีมระเบิดฟอร์มได้อย่างต่อเนื่องด้วยการคว้าอันดับที่ 2 โดยทำคะแนนเกาะติด QPR ทีมแชมป์อยู่ไม่ไกลหลังจบฤดูกาล 2010-11 จนกลายเป็นสถิติการทะยานจากลีกลำดับที่ 3 ขึ้นสู่ลีกสูงสุดภายในระยะเวลาเพียงแค่ 3 ปีเหมือนดั่งที่ แมนฯ ซิตี้ เคยทำเอาไว้เมื่อปี 2000
2012 – นอริช กลับมาเปิดตัวใน พรีเมียร์ลีก อีกครั้งด้วยการจอดป้ายในอันดับที่ 12 ก่อนที่ แลมเบิร์ต จะอำลาทีมไปหลังจบซีซั่นนั้นด้วยการย้ายไปคุมทีม แอสตัน วิลล่า โดยได้ตัว คริส ฮิวจ์ตัน เข้ามาแทนที่
2013 – ทีมออกสตาร์ทได้อย่างย่ำแย่จากการบุกไปพ่าย ฟูแล่ม 5-0 และต่อเนื่องด้วยการไม่ชนะใครเลยใน 7 เกมแรก ก่อนจะมาสร้างสถิติไร้พ่ายใน พรีเมียร์ลีก ได้ยาวนานที่สุด 10 นัด จนกระทั่งการพ่ายคาบ้านให้กับ ลูตัน ทาวน์ 1-0 ในเกม เอฟเอ คัพ รอบที่ 4 ก็ทำให้พวกเขากลายเป็นทีมแรกจากลีกสูงสุดที่เสียท่าให้กับคู่ต่อสู้จากนอกลีกภายในรอบ 24 ปี และแล้วทีมก็ลอยตัวได้อย่างปลอดภัยหลังเก็บชัยชนะรวดได้ใน 2 นัดสุดท้ายจนจบด้วยอันดับที่ 11
2014 – แม้พวกเขาจะพยายามเสริมทัพในช่วงปรีซีซั่นด้วยการยอมทุบกระปุกคว้าตัว ริคกี้ ฟาน โวล์ฟสวิงเคล เข้ามาในราคาที่เป็นสถิติสโมสร 8.5 ล้านปอนด์ แต่จากปัญหาในการปรับตัวก็ทำให้หัวหอกดีกรีทีมชาติฮอลแลนด์ทำได้ดีที่สุดจากโอกาสลงสนามทั้งหมด 25 นัดตลอดทั้งฤดูกาล 2013-14 ด้วยการยิงประตูแรกและประตูเดียวได้ในนัดเปิดตัวจากผลเสมอ 2-2 กับ เอฟเวอร์ตัน ที่ กูดิสัน พาร์ค ก่อนที่ นอริช จะร่วงตกชั้นลงไปด้วยการปิดฉากในอันดับที่ 18
2015 – อเล็กซ์ นีล ที่เข้ามาแทนที่ นีล อดัมส์ ในช่วงต้นปี 2015 สามารถพาทีมเร่งเครื่องในช่วงครึ่งซีซั่นหลังจนคว้าอันดับที่ 3 และได้ไปลุ้นต่อในเกมเพลย์ออฟ ซึ่งหลังจากผ่าน อิปสวิช ทาวน์ มาได้ในรอบตัดเชือก พวกเขาก็ได้โอกาสเข้าไปชิงตั๋วเลื่อนชั้นที่ เวมบลีย์ กับ มิดเดิ้ลสโบรช์ ก่อนจะเป็นฝ่ายเอาชนะได้ด้วยสกอร์ 2-0
2016 – อย่างไรก็ตาม เดอะ คานารี่ส์ ก็กลับขึ้นมาอยู่ใน พรีเมียร์ลีก ได้ไม่นาน โดยหลังจากบุกไปพ่ายให้กับ เอฟเวอร์ตัน 3-0 ในนัดปิดท้ายฤดูกาล 2015-16 ก็ทำให้พวกเขาจอดป้ายด้วยอันดับรองบ๊วยและต้องย้อนกลับไปตั้งต้นใหม่ใน อีเอฟแอล แชมเปี้ยนชิพ ซีซั่นหน้า
2017 – ในขณะที่ทีมเริ่มต้นซีซั่นใหม่ได้อย่างมีความหวังจากการขยับขึ้นไปนั่งอยู่บนตำแหน่งจ่าฝูงในช่วงกลางเดือนตุลาคม 2016 แต่แล้วก็กลับฟอร์มช็อตไปแบบดื้อๆจนถึงขึ้นไม่ชนะใครเลย 9 จาก 11 เกมถัดมาและร่วงลงไปอยู่ในพื้นที่กลางตาราง จึงทำให้ อเล็กซ์ นีล ถูกปลดออกไปและก็เป็น อลัน เออร์วิน ที่เข้ามาแทนที่ก่อนจะช่วยพาทีมจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 8
2018 – สโมสรประกาศแต่งตั้ง ดาเนี่ยล ฟาร์เค่ โค้ชชาวเยอรมัน เข้ามารับตำแหน่งถาวรแทนที่ เออร์วิน และทำให้เขากลายเป็นกุนซือต่างชาติคนแรกของสโมสร ก่อนจะทำผลงานในซีซั่นเปิดตัวด้วยการพาทีมจบในอันดับที่ 14 พร้อมกับการปล่อยตัว เจมส์ แมดดิสัน มิดฟิลด์ดาวเด่นของทีมไปให้กับ เลสเตอร์ ซิตี้ ในราคาที่คาดกันว่าประมาณ 20 ล้านปอนด์ในช่วงซัมเมอร์
ในขณะที่กองเชียร์ส่วนใหญ่ของ นอริช ก็คือผู้คนที่อยู่อาศัยในละแวกท้องถิ่น แต่ก็ยังมีบรรดาแฟนคลับอีกส่วนหนึ่งที่กระจายกันอยู่ในพื้นที่ห่างไกลออกไป ทั้งที่รู้จักกันดีในย่าน กรุงลอนดอน และประเทศในแถบ สแกนดิเนเวีย รวมถึงพวกที่อยู่ใน สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์, หมู่เกาะเบอร์มิวดา, ฮ่องกง, ไทย, ออสเตรเลีย และ สหรัฐอเมริกา On the Ball, City เพลงประจำสโมสรของพวกเขายังถือเป็นเพลงเชียร์ของเกมลูกหนังที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังถูกนำมาใช้อยู่ทุกวันนี้ อันที่จริงประวัติของเพลงนี้มีอายุเก่าแก่ยิ่งกว่าอายุของสโมสรจากที่คาดกันว่าจุดเริ่มต้นเพลงนี้ถูกแต่งขึ้นเพื่อคณะครูภายในเมืองนอริชหรือสำหรับ Caley’s FC สโมสรเก่าแก่ในช่วงปี 1890 ก่อนจะถูกดัดแปลงเพื่อนำมาใช้กับ เดอะ คานารี่ส์ ในปี 1902
คู่ปรับที่สำคัญของพวกเขาก็คือ อิปสวิช ทาวน์ โดยในการพบกันของทั้งคู่จะถูกเรียกว่า “อีสต์ แองเกลีย ดาร์บี้” (East Anglian derby) หรือที่มีชื่อเรียกติดปากกันว่า “โอลด์ ฟาร์ม ดาร์บี้” (Old Farm Derby) อันเป็นเวอร์ชั่นล้อเลียนของ “โอลด์ เฟิร์ม ดาร์บี้” (Old Firm Derby) ที่เป็นการเผชิญหน้ากันของ เรนเจอร์ส และ เซลติก 2 ทีมยักษ์ใหญ่จากสกอตแลนด์
โซซีเอต้าสปอร์ตีว่าลัตซีโย (Società Sportiva Lazio) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม ลาซิโอ คือสโมสรกีฬาที่ตั้งถิ่นฐานใน กรุงโรม แคว้นลัตซีโย ประเทศอิตาลี โดยในส่วนที่สร้างชื่อเสียงให้กับสโมสรมากที่สุดก็คือทีมฟุตบอล ทีมเจ้าของฉายา “เบียงโคเชเลสติ” หรือที่บ้านเราเรียกกันว่า “อินทรีฟ้าขาว” ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1900 และใช้เวลาส่วนใหญ่ลงชิงชัยอยู่ในลีกสูงสุดของประเทศมาโดยตลอด พวกเขาเคยได้แชมป์ลีกของประเทศ 2 ครั้ง (1974, 2000), แชมป์ โคปปา อิตาเลีย 6 สมัย และ ซูเปอร์โคปปา อิตาเลียน่า อีก 4 ครั้ง นอกจากนี้ยังเคยคว้าแชมป์ ยูฟ่า คัพ วินเนอร์ส คัพ และ ยูฟ่า ซูเปอร์ คัพ อีกอย่างละสมัย ลาซิโอ ประสบความสำเร็จในรายการระดับเมเจอร์ครั้งแรกเมื่อปี 1958 จากการชนะเลิศในฟุตบอลถ้วย ก่อนจะคว้าแชมป์ เซเรีย อา ได้เป็นสมัยแรกในปี 1974 จนกระทั่งยุคปี 90 ที่ถือเป็นช่วงเวลาทองของพวกเขาอย่างแท้จริงจากการผ่านเข้าไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศ ยูฟ่า คัพ ในปี 1998 และได้ครองถ้วยยุโรป 2 ใบในปี 1999 ก่อนจะมาคว้าแชมป์ลีกได้อีกในปี 2000 แต่จากวิกฤติทางด้านการเงินในปี 2002 ก็กลายเป็นสาเหตุที่บีบบังคับให้ แซร์โจ้ ครันญ็อตติ ประธานสโมสรในเวลานั้นต้องลาออกไปพร้อมกับการปล่อยตัวแข้งสตาร์เด่นออกไปเป็นจำนวนมาก จนทำให้ผลงานในลีกของพวกเขาค่อยๆถดถอยลง
แม้จะถูกรัดเข็มขัดในด้านของงบประมาณแต่ อินทรีฟ้าขาว กลับสามารถคว้าแชมป์ อิตาเลียน คัพ ได้ถึง 3 สมัยในปี 2004, 2009 และ 2013 ซึ่งก็ถือเป็นเครดิตของ เคลาดิโอ โลติโต้ ประธานสโมสรคนปัจจุบันที่ก้าวเข้ามาดำรงตำแหน่งนับตั้งแต่ปี 2004 ซึ่งเป็นระยะเวลา 2 ปีหลังการจากไปของ ครันญ็อตติ ที่ได้ฝากสถานการณ์ที่ย่ำแย่เอาไว้ ชุดแข่งที่เป็นเอกลักษณ์ของทีมคือเสื้อสีท้องฟ้าที่มาพร้อมกับกางเกงและถุงเท้าสีขาว ซึ่งเป็นสีที่แสดงถึงชนชาติกรีก เชื้อสายดั้งเดิมของชาวโรมัน ก่อนที่ถุงเท้าสีฟ้าจะถูกเปลี่ยนมาใช้กับชุดแข่งทีมเหย้า ปัจจุบันพวกเขาลงเตะอยู่ใน สตาดิโอ โอลิมปิโก สนามเหย้าความจุ 70,643 ที่นั่ง ที่ใช้งานร่วมกับ โรม่า ไปจนถึงปี 2020 ก่อนที่ทีมคู่ปรับร่วมเมืองจะแยกตัวออกไปใช้สนาม สตาดิโอ เดลล่า โรม่า ของตนเอง แม้จากจุดเริ่มต้น ลาซิโอ จะไม่ได้มีการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับทีมกีฬาระดับอาชีพใดๆก็ตาม แต่กลุ่มผู้ก่อตั้งสโมสรก็อนุญาตให้สมาชิกมีส่วนร่วมกับกิจกรรมด้านกีฬาต่างๆกว่า 40 ประเภท ซึ่งถือว่ามากที่สุดจากบรรดาสโมสรกีฬาทั่วทั้งโลก
1900 – จากสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งทั้งหมด 9 คนได้เริ่มเปิดตัวสโมสรในวันที่ 9 มกราคม 1900 และเลือกใช้ชื่อ ลาซิโอ ตามชื่อแคว้นที่อยู่ของพวกเขา ซึ่งสีท้องฟ้าที่ถูกนำมาใช้เป็นสีประจำสโมสรก็เพื่อเป็นการรำลึกถึงชนชาวกรีกโบราณและเพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองให้กับมหกรรมกีฬา โอลิมปิก เกมส์
1902 – สโมสรลงเตะแมตช์แรกกับ เวอร์ทัส ที่ถูกกล่าวถึงว่าเป็น โรมัน ดาร์บี้ นัดแรกอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งทีมก็เป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ 3-0
1907 – สหพันธ์ฟุตบอลอิตาลี หรือ FIGC ให้การสนับสนุนการแข่งขันชิงแชมป์ลูกหนังแห่งกรุงโรม โดยที่ ลาซิโอ เป็นผู้ที่คว้าชัยในรายการนี้จากการปราบ เวอร์ทัส คู่ปรับเก่าในรอบชิงชนะเลิศ แต่ทีมกลับไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมแข่งขันในรายการระดับประเทศ
1910 – หลังจากลงเตะในระดับสมัครเล่นมานานครบ 10 ปี พวกเขาก็ตัดสินใจเปิดตัวทีมฟุตบอลระดับอาชีพและเข้าร่วมแข่งขันในเกมลีกอย่างเป็นทางการในปีนั้น
1913 – หลัง FIGC เปิดตัวลีกการแข่งขันภูมิภาคตอนกลางและตอนใต้ของประเทศขึ้นมาในฤดูกาล 2012-13 อินทรีฟ้าขาว ก็สามารถผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายในฐานะแชมป์ภูมิภาค ก่อนจะไปพ่ายแบบย่อยยับให้กับ โปร แวร์เชลลี่ 6-0 ในนัดชิงชนะเลิศ
1914 – พวกเขาผ่านเข้ารอบสุดท้ายอีกครั้งในฐานะแชมป์จากทางตอนใต้และทะลุเข้าไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศเป็นปีที่สองติดต่อกัน แต่ก็ยังคงต้องผิดหวังจากการปราชัยให้กับ คาซาเล่ ด้วยสกอร์ที่เละเทะยิ่งกว่าเดิม 9-1
1915 – แม้ทีมจะยังรักษามาตรฐานด้วยการเป็นแชมป์ภูมิภาค แต่การแข่งขันรอบสุดท้ายเพื่อชิงแชมป์ของประเทศกลับถูกยกเลิกไปก่อนเนื่องจาก อิตาลี ย่างเข้าสู่ภาวะ สงครามโลกครั้งที่ 1
1923 – หลังสงครามสงบลงและลีกการแข่งขันก็กลับมาลงเตะกันต่อเป็นปีที่ 4 ลาซิโอ ก็สามารถฟันฝ่าเข้าไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศในระดับประเทศได้อีกครั้ง แต่ก็ไม่อาจต้านทานความร้อนแรงของ เจนัว ที่สยบพวกเขาลงได้อย่างราบคาบ 6-1
1926 – จากการพยายามปรับโครงสร้างลีกก็ทำให้ทีมร่วงตกลงไปสู่ ดิวิชั่น 2 หรือ ปรีม่า ดีวีซีโอเน่ ในฤดูกาลถัดไป
1927 – ลาซิโอ สามารถกลับขึ้นมายังลีกสูงสุดของประเทศได้หลังเข้าป้ายเป็นที่หนึ่งของกลุ่ม D ใน ปรีม่า ดีวีซีโอเน่ ฤดูกาล 1926-27 ต่อมาในช่วงซัมเมอร์ปีนั้นด้วยนโยบายทางการเมืองของ ลัทธิฟาสซิสต์ ที่กำลังเรืองอำนาจอยู่ใน อิตาลี ก็ได้มีความพยายามที่จะรวบรวมสโมสรทั้งหมดใน กรุงโรม ให้มีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะไปต่อกรกับทีมระดับบิ๊กเนมทางตอนเหนือ แต่ด้วยมุมมองที่เห็นต่างของ นายพลจอร์โจ้ วัคคาโร่ นายทหารใหญ่ของลัทธิฟาสซิสต์ผู้รับบทบาทหัวเรือใหญ่ที่ช่วยผลักดันให้ ลาซิโอ ยังคงรักษาอัตลักษณ์ของตัวเองเอาไว้ได้ต่อไป ก่อนที่การรวมตัวของสโมสรที่เหลือจะกลายเป็นจุดกำเนิดของ อาแอส โรม่า ทีมคู่ปรับตลอดกาลของพวกเขา
1929 – เบียงโคเชเลสติ มีโอกาสเป็นหนึ่งในสโมสรที่ร่วมเปิดตัว เซเรีย อา อย่างเป็นทางการ และสามารถเอาชนะ โบโลญญ่า 3-0 ในนัดเปิดฤดูกาล แต่สุดท้ายแล้วพวกเขากลับทำได้เพียงจบฤดูกาล 1929-30 ด้วยอันดับที่ 15 และหมิ่นเหม่ต่อการตกชั้น
1932 – พวกเขากลายเป็นทีมแรกใน เซเรีย อา ที่ชักนำชาวบราซิลเข้ามาสู่วงการลูกหนังภายในประเทศ เริ่มต้นด้วย อมิลการ์ บาบาย อดีตกองกลางทีมชาติบราซิล ที่เข้ามานั่งเก้าอี้กุนซือในช่วงออกสตาร์ทฤดูกาล 1931-32 แต่ก็ทำได้แค่พาทีมจบในอันดับที่ 13
1934 – หลังจบด้วยอันดับที่ 10 สองฤดูกาลซ้อนภายใต้การคุมทีมของ คาร์ล สตวร์มเมอร์ ก็ทำให้เขาถูกแทนที่ด้วย วอลเตอร์ อัลท์ ในช่วงออกสตาร์ทซีซั่น 1934-35 ที่เข้ามาพร้อมกับ สเตฟาโน่ ปิโอลี่ ยอดดาวยิงที่กลายเป็นตำนานดาวซัลโวสูงสุดตลอดกาลของ เซเรีย อา จวบจนทุกวันนี้
1937 – ด้วยฟอร์มอันร้อนแรงของ ปิโอลี่ ที่กระหน่ำไปทั้งหมด 21 ประตูจนผงาดขึ้นมาเป็นดาวซัลโวในฤดูกาล 1936-37 ก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้ทีมเข้าป้ายเป็นอันดับที่ 2 โดยมีแต้มตามหลัง โบโลญญ่า เพียง 3 คะแนน
1938 – แม้ทีมจะตกลงมาอยู่ในอันดับที่ 8 ในซีซั่นต่อมา แต่ด้วยผลงานส่วนตัวของ ปิโอลี่ ก็ยังยอดเยี่ยมเพียงพอที่จะทำให้เขากลายเป็นผู้เล่นหนึ่งเดียวของสโมสรที่ติดทีมชาติอิตาลีไปลงเตะใน ฟุตบอลโลก 1938 และสามารถคว้าตำแหน่งรองดาวซัลโวที่ช่วยให้ อัซซูร์รี่ ก้าวขึ้นไปเป็นแชมป์โลกสมัยที่ 2
1941 – หลังเข้าป้ายเป็นอันดับที่ 4 ได้ในฤดูกาลที่ผ่านมา จู่ๆทีมก็ทำผลงานร่วงลงอย่างน่าใจหาย จนทำให้มีการเปลี่ยนแปลงผจก.ทีมถึง 2 ครั้ง ก่อนที่พวกเขาจะยังเอาตัวรอดได้จากการจบด้วยอันดับที่ 14 โดยทำแต้มได้เท่ากับ โนวาร่า ทีมตกชั้นแต่ยิงประตูได้มากกว่า
1943 – ลาซิโอ จบฤดูกาลสุดท้ายก่อนเข้าสู่ภาวะ สงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยอันดับที่ 9 พร้อมๆกับการอำลาทีมไปอยู่กับ โตริโน่ ของ สเตฟาโน่ ปิโอลี่ ที่ช่วยทำประตูในลีกให้กับพวกเขารวมกัน 143 ลูกจาก 227 เกม
1949 – หลังจากเกมลูกหนังกลับมาลงเตะกันอีกครั้งตั้งแต่ฤดูกาล 1945-46 พวกเขาก็กลายเป็นทีมที่ประคองตัวอยู่ตรงกลางตารางมาโดยตลอด ไม่เว้นแม้แต่ฤดูกาล 1948-49 ที่ทีมจบในอันดับที่ 13 ท่ามกลางการก่อหวอดประท้วงของผู้เล่นหลายคนเนื่องจากวิกฤติทางเศรษฐกิจที่ทำให้สโมสรหั่นค่าเหนื่อยนักเตะลงไปที่เรทต่ำสุด
1951 – แต่ภายใน 2 ซีซั่นต่อมาพวกเขากลับทำผลงานดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากการเข้าป้ายเป็นอันดับที่ 4 ได้ติดต่อกัน นอกจากนี้แฟนๆของ อินทรีฟ้าขาว ยังได้สะใจกันเต็มที่จากการได้เห็น โรม่า ร่วงตกชั้นลงไปหลังจบฤดูกาล 1950-51
1956 – หลังทำผลงานดร็อปลงไปอยู่กลางตารางตลอด 3 ปีที่ผ่านมา พวกเขาขยับกลับขึ้นมาอยู่ที่ 3 ได้หลังจบ 34 นัดในฤดูกาล 1955-56
1958 – แม้ทีมจะรั้งอันดับที่ 3 ได้ใน 2 ซีซั่นที่ผ่านมาแต่ฟอร์มในลีกฤดูกาลนี้กลับสาละวันเตี้ยลงจนไปจบอยู่อันดับที่ 12 ซึ่งสวนทางกับผลงานในถ้วย โคปปา อิตาเลีย ที่สามารถทะลุเข้าไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศ ก่อนจะคว้าโทรฟี่ระดับเมเจอร์ใบแรกมาประดับสโมสรได้จากการเฉือนเอาชนะ ฟิออเรนติน่า 1-0 ด้วยประตูชัยของ เมาริลิโอ ปรินี่ ดาวเตะที่ตัดสินใจย้ายไปอยู่กับ ทีมม่วงมหากาฬ ในภายหลัง
1961 – เบียงโคเชเลสติ เปิดหัวทศวรรษปี 60 ได้อย่างน่าผิดหวัง จากการร่วงลงไปอยู่ในอันดับบ๊วยในฤดูกาล 1960-61 โดยมีแต้มห่างจากทีมที่รอดตกชั้นถึง 11 คะแนน
1963 – หลังพลาดโอกาสเลื่อนชั้นไปแบบหวุดหวิดเมื่อซีซั่นที่ผ่านมา ในที่สุดพวกเขาก็ทำสำเร็จด้วยการเข้าป้ายเป็นที่ 3 รองจาก บารี่ และ เมสซิน่า ทีมแชมป์ เซเรีย บี
1964 – ภายใต้การฝึกสอนและพาทีมเลื่อนชั้นโดย ฮวน คาร์ลอส ลอเรนโซ่ ผลงานในปีแรกของการกลับคืนสู่ เซเรีย อา ก็ยังพอไปวัดไปวาได้จากการจบในอันดับที่ 8 และมีสถิติเกมรับอันเหนียวแน่นเป็นอันดับ 3 ของลีกรองจาก โบโลญญ่า และ อินเตอร์ มิลาน 2 ทีมที่อยู่บนหัวตาราง
1965 – เริ่มเกิดสภาวะวิกฤติทางการเงินขึ้นในสโมสรอีกครั้ง จนกระทั่ง อุมแบร์โต้ เลนซินี่ นักธุรกิจ 2 สัญชาติ อเมริกัน-อิตาเลียน จะกระโจนเข้ามาช่วยเหลือและก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานสโมสรในเวลาต่อมา
1967 – และแล้วทีมก็ร่วงลงสู่ เซเรีย บี อีกครั้งจากการเป็นทีมบนสุดที่ติดอยู่ในพื้นที่สีแดง และมีคะแนนน้อยกว่า เบรสชา ที่รอดตกชั้นเพียงแค่แต้มเดียว
1969 – แม้เริ่มต้น ลาซิโอ จะถูกวางให้เป็นทีมเต็งที่จะกลับขึ้นไปได้ในซีซั่นที่ผ่านมาแต่พวกเขากลับทำได้เพียงจบอยู่ในพื้นที่กลางตาราง จนทำให้ เลนซินี่ แก้ปัญหาด้วยการตามตัว ฮวน คาร์ลอส ลอเรนโซ่ ที่จากทีมไปเมื่อ 4 ปีก่อนกลับมานั่งเก้าอี้อีกครั้ง จนกระทั่งแผนการมาบรรลุผลตามที่ตั้งไว้จากการคว้าแชมป์ เซเรีย บี ได้เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของสโมสร
1971 – แต่หลังจากพาทีมประคองตัวอยู่ใน เซเรีย อา ได้ไม่นาน พวกเขาก็หล่นลงมาอยู่ใน เซเรีย บี อีกครั้งจากการจบในอันดับรองบ๊วยพร้อมกับการจากไปของ ลอเรนโซ่
1972 – แต่แฟนๆก็ใช้เวลารอคอยไม่นาน เมื่อพวกเขาสามารถกลับคืนสู่ลีกสูงสุดได้ในฤดูกาลต่อมาจากการเข้าป้ายเป็นที่ 2 รองจาก แตร์นาน่า
1973 – อินทรีฟ้าขาว หวนกลับมาเปิดตัวในลีกสูงสุดของประเทศได้อย่างสง่าผ่าเผย จากความโดดเด่นในเกมรับของ จูเซปเป้ วิลสัน กองหลังกัปตันทีมลูกครึ่งอังกฤษ-อิตาลี, ลูชาโน่ เร เชคโคนี่ และ มาริโอ ฟรุสตาลูปิ 2 คีย์แมนในแดนกลาง รวมถึง จอร์โจ้ คินาญญ่า ที่ยืนค้ำในแดนหน้า ภายใต้การวางแทคติกของ ตอมมาโซ่ มาเอสเตรลลี่ ก็ทำให้พวกเขาเบียดลุ้นแชมป์มากับ เอซี มิลาน และ ยูเวนตุส ทีมแชมป์ ก่อนจะเข้าป้ายเป็นอันดับที่ 3 โดยมีแต้มตามหลัง 2 ทีมหัวตารางเพียง 1 และ 2 คะแนนตามลำดับ
1974 – ลาซิโอ ยังคงรักษาฟอร์มอันน่าตื่นตะลึงเอาไว้ได้ในฤดูกาลต่อมา ในขณะที่ คินาญญ่า ก็ยิงประตูได้เป็นกอบเป็นกำจนทำให้ทีมขยับขึ้นไปรั้งอยู่ในตำแหน่งจ่าฝูงก่อนวันคริสต์มาสต์เพียงไม่กี่วัน จนกระทั่งนัดรองสุดท้ายของฤดูกาลที่ทีมมาได้จุดโทษที่กลายเป็นประตูโทนในเกมที่พบกับ ฟอจจา ตอนช่วงครึ่งหลัง ก็ทำให้พวกเขาคว้าแชมป์ สคูเด็ตโต้ ได้เป็นสมัยแรก พร้อมกับการครองตำแหน่งดาวซัลโลในฤดูกาล 1973-74 ของ คินาญญ่า ที่ซัดไปทั้งหมด 24 ประตู
1976 – หลังจบด้วยอันดับที่ 4 ในฤดูกาลป้องกันแชมป์ ในการออกสตาร์ทฤดูกาลใหม่ทีมที่กำลังระส่ำระสายจากอาการป่วยด้วยโรคมะเร็งของ มาเอสเตรลลี่ จนต้องหยุดพักรักษาตัวชั่วคราวก็ทำได้เพียงหนีรอดการตกชั้นไปได้แบบหวุดหวิด โดยมีคะแนนเท่ากับ อัสโคลี่ ทีมที่ร่วงลงไปแต่มีประตูได้เสียและผลเฮด-ทู-เฮดที่ดีกว่า จนกระทั่งหลังจบฤดูกาลก็มีข่าวเศร้าสำหรับแฟนๆทั้งการอำลาทีมไปด้วยปัญหาส่วนตัวของ จอร์โจ้ คินาญญ่า ที่ย้ายไปเล่นอยู่ใน สหรัฐอเมริกา และการเสียชีวิตของ มาเอสเตรลลี่ ที่พ่ายแพ้ต่อโรคร้ายในช่วงปลายปีนั้น
1977 – แม้ทีมจะกลับมาทำผลงานได้ดีขึ้นจากการคว้าโควตาไปลงเตะ ยูฟ่า คัพ ด้วยการอยู่ในอันดับที่ 5 แต่ในระหว่างฤดูกาลนั้นก็มีเรื่องราวที่ช็อคแฟนๆเกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อ ลูชาโน่ เร เชคโคนี่ มิดฟิลด์ตัวหลักของทีมเกิดเสียชีวิตกะทันหันจากเหตุการณ์ตลกไม่ออกที่เขาและเพื่อนร่วมทีมอีกคนแกล้งเป็นคนร้ายทำทีบุกเข้าไปในร้านเพชรพลอยที่เพื่อนของเขาเป็นเจ้าของอยู่ แต่สิ่งที่ เร เชคโคนี่ ไม่ทันได้คาดคิดก็คือเพื่อนที่เป็นเจ้าของร้านกำลังอยู่ในอาการหวั่นวิตกหลังพึ่งถูกปล้นมาเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้ จึงทำให้เขาตัดสินใจใช้อาวุธปืนที่เตรียมไว้ยิงสวนเข้าไปที่กลางหน้าอกของ เร เชคโคนี่ ที่ใส่หน้ากากอำพรางอยู่ ก่อนที่ กองกลางดีกรีทีมชาติอิตาลี จะไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาลด้วยวัยเพียง 28 ปีอย่างน่าเศร้า
1980 – หลังเกาะกลุ่มอยู่ในพื้นที่กลางตารางตลอด 2 ซีซั่นที่ผ่านมา แม้พวกเขาจะทำผลงานได้ไม่ค่อยดีจนตกลงไปอยู่ในอันดับที่ 15 แต่จากการมีส่วนพัวพันกับคดีล็อคผลการแข่งขันที่เกี่ยวโยงถึงสโมสรจาก เซเรีย อา 5 ทีมและ เซเรีย บี 2 ทีมรวมถึงผู้เล่นและสตาฟฟ์โค้ชรวมกว่า 20 คน ก็ได้บทสรุปออกมาว่า ลาซิโอ และ เอซี มิลาน คือ 2 ทีมที่ถูกปรับตกชั้นลงไปในฤดูกาลนั้น ในขณะที่ทีมอื่นโดนลงโทษตัดแต้ม ส่วนบรรดาผู้เล่นและทีมงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องก็ถูกโทษแบนระหว่าง 3 เดือนถึง 6 ปี โดยหนึ่งในนั้นก็คือ เปาโล รอสซี่ ฮีโร่ของทีมชาติอิตาลีในอีก 2 ปีต่อมา
1983 – จากที่เกือบจะเลื่อนชั้นขึ้นมาได้ตั้งแต่ปีแรกจนตกลงไปอยู่กลางตารางในปีต่อมา จนกระทั่งหลังใช้เวลาใน เซเรีย บี อยู่นาน 3 ปี ทีมก็ได้สิทธิ์กลับคืนสู่ เซเรีย อา ได้สำเร็จจากการได้อันดับที่ 2 รองจาก เอซี มิลาน
1984 – ด้วยความพยายามดิ้นรนอย่างสุดความสามารถ ในที่สุดพวกเขาก็รอดพ้นการตกชั้นได้สำเร็จจากการเปิดบ้านยันเสมอ ยูเวนตุส ทีมที่คว้าแชมป์ไปแล้ว 1-1 ในนัดปิดฤดูกาล โดยมีแต้มเท่ากับ เจนัว ทีมที่ร่วงลงไปแต่มีผลเฮด-ทู-เฮดที่เหนือกว่า
1985 – แต่สุดท้ายพวกเขาก็ไปไม่รอด เมื่อเก็บได้เพียง 15 คะแนนจากการลงเตะ 30 นัดและจมอยู่ในอันดับรองบ๊วยโดยมีแต้มเท่ากับ เครโมเนเซ่ ทีมท้ายตาราง จนต้องไปนับหนึ่งใหม่ใน เซเรีย บี ฤดูกาลหน้า
1987 – จากการตกชั้นมาในคราวนี้ ลาซิโอ อยู่ในสภาพทีมที่ดูไร้ทิศทางกับโอกาสในการเลื่อนชั้น แถมยังเจอเคราะห์ซ้ำกรรมซัดจากวีรกรรมของ เคลาดิโอ วินาซซินี่ ผู้เล่นกองกลางของทีมที่ดันไปมีส่วนพัวพันกับคดีพนันฟุตบอลจนทำให้พวกเขาต้องถูกตัดแต้ม 9 คะแนน แต่ยังดีที่ ยูเจนิโอ ฟัสเช็ตติ ที่พึ่งเข้ามารับตำแหน่งกุนซือยังช่วยให้ทีมรอดพ้นการร่วงลงไปอยู่ใน เซเรีย ซี ได้จากการลงเตะเกมเพลย์ออฟหนีตายร่วมกับ ทารันโต้ และ คัมโปบาสโซ่ โดยที่รายหลังสุดคือทีมที่ต้องตกชั้นลงไป
1988 – และก็เป็นผลงานของ ฟัสเช็ตติ ที่ช่วยพาทีมกลับคืนสู่ เซเรีย อา ได้สำเร็จ จากการเข้าป้ายเป็นอันดับที่ 3 ในฤดูกาล 1987-88 บวกกับการเข้ามาบริหารงานของ จานมาร์โก้ คาลเลรี่ ในช่วงเวลานั้นก็ทำให้ทีมค่อยๆมีสถานะทางบัญชีที่มั่นคงยิ่งขึ้น
1992 – ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาพวกเขาประคับประคองตัวเองอยู่ในพื้นที่กลางตารางมาโดยตลอด จนกระทั่งการก้าวเข้ามาเป็นเจ้าของสโมสรคนใหม่ของ แซร์โจ้ ครันญ็อตติ ก็ช่วยพลิกประวัติศาสตร์ให้กับทีมไปอีกขั้นจากนโยบายที่พร้อมจะทุ่มซื้อสตาร์เข้ามาสู่ทีม
1993 – จากการคุมทีมเป็นฤดูกาลที่ 3 ของ ดิโน่ ซอฟฟ์ และได้ตัวดาวเตะหน้าใหม่เข้ามาทั้ง พอล แกสคอยน์ สตาร์ตัวแสบทีมสิงโตคำราม และ อารอน วินเทอร์ มิดฟิลด์ชาวดัตช์ ที่มาแจมร่วมกับ 2 แข้งชาวเยอรมัน คาร์ล ไฮนซ์ รีดเล่ และ โทมัส ดอลล์ ก็ช่วยให้ทีมขยับขึ้นมาจนคว้าสิทธิ์ไปลงเตะ ยูฟ่า คัพ ได้จากการจบในอันดับที่ 5
1994 – เบียงโคเชเลสติ ปล่อยตัว รีดเล่ กลับไปเล่นให้กับ โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ในบ้านเกิด และดึงตัว อเลน บอคซิช หัวหอกชาวโครแอตเข้ามาแทนที่ ก่อนที่ ซอฟฟ์ จะพาทีมขยับขึ้นมาได้อีกหนึ่งอันดับจากการได้ที่ 4 ในฤดูกาล 1993-94
1955 – ทันทีที่ ซเดเน็ค ซีแมน กุนซือชาวเช็กเข้ามารับหน้าที่ต่อจาก ดิโน่ ซอฟฟ์ ในช่วงออกสตาร์ทฤดูกาลใหม่ ก็เริ่มมีปัญหาไม่ลงรอยกับ แกสคอยน์ ที่มักมีปัญหาเรื่องความฟิต โดยที่เขายังหนีบ โฮเซ่ ชาม็อต กองหลังคู่บุญที่ติดตามมาจาก ฟอจจา ด้วยเช่นกัน ซึ่งก็มาช่วยประสานงานร่วมกับ โรแบร์โต้ ดิ มัตเตโอ ในแดนกลางที่บวกกับความร้อนแรงในการทำประตูของ จูเซปเป้ ซินญอรี่ และ ปิแอร์ลุยจิ คาซิรากี้ ก็ช่วยให้ทีมเข้าป้ายเป็นที่ 2 รองจาก ยูเวนตุส ที่ทิ้งห่างไปไกลถึง 10 คะแนน
1996 – ทีมตัดสินใจปล่อยตัว พอล แกสคอยน์ ไปให้กับ เรนเจอร์ส ในช่วงซัมเมอร์ และใช้ผู้เล่นตัวหลักเดิมๆก่อนจะจบฤดูกาล 1995-96 ในอันดับที่ 3 โดยที่ ซินญอรี่ คว้าตำแหน่งดาวซัลโวที่ 24 ประตูเท่ากับ อิกอร์ ปร็อตติ ดาวยิงจาก บารี่
1997 – อินทรีฟ้าขาว จัดการเสริมทัพด้วยการดึงตัว ปร็อตติ ดาวซัลโวลีกในซีซั่นที่ผ่านมา พร้อมเซ็นสัญญากับ พาเวล เนดเวด สตาร์ทีมชาติเช็กที่ย้ายมาจาก สปาร์ต้า ปราก แต่หลังจากออกสตาร์ทด้วยความพ่ายแพ้ 2 นัดรวดและยังมีผลงานต่อจากนั้นที่ขึ้นๆลงๆก็ทำให้ ซีแมน กระเด็นหลุดออกจากตำแหน่งในช่วงปลายเดือนมกราคม โดย ดิโน่ ซอฟฟ์ ได้ย้อนกลับมารับหน้าที่ต่อในช่วงเวลาที่เหลือ จนกระทั่งพาทีมจบฤดูกาลในอันดับที่ 4
1998 – สโมสรประกาศแต่งตั้ง สเวน-โกรัน อีริคส์สัน เข้ามาทำหน้าที่กุนซือ และจัดการเสริมทัพด้วย โรแบร์โต้ มันชินี่, วลาดิเมียร์ ยูโกวิช, มาเทียส อัลเมย์ด้า และ จูเซปเป้ ปันคาโร่ พร้อมกับการฟอร์มที่เริ่มเปล่งประกายสดใสของ อเลสซานโดร เนสต้า ก็ทำให้ทีมเริ่มกระโจนเข้าสู่เส้นทางลุ้นแชมป์มาโดยตลอด จนกระทั่งมามีจุดเปลี่ยนในช่วงต้นเดือนเมษายนจากการพ่ายคารัง สตาดิโอ โอลิมปิโก ให้กับ ยูเวนตุส 1-0 ก็ทำให้ฟอร์มของพวกเขาเกิดช็อตไปดื้อๆและเก็บได้เพียงแค่แต้มเดียวจาก 6 นัดที่เหลือจนร่วงลงไปอยู่ในอันดับที่ 7 ซึ่งเป็นผลงานที่แย่ที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา แต่ อีริคส์สัน ยังคงได้ไปต่อเนื่องจากสามารถพาทีมเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศอีก 2 รายการ และสามารถคว้าแชมป์ โคปปา อิตาเลีย มาครองได้จากการเอาชนะ เอซี มิลาน ด้วยสกอร์รวม 3-2 แต่ก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ย่อยยับให้กับ อินเตอร์ มิลาน 3-0 ในนัดชิงถ้วย ยูฟ่า คัพ ที่ ปาร์ก เดส์ แพร็งซ์ กรุงปารีส
1999 – ทีมออกสตาร์ทฤดูกาลใหม่ได้อย่างคึกคักจากการเฉือนเอาชนะ ยูเวนตุส 2-1 ในถ้วย ซูเปอร์โคปปา อิตาเลียน่า ในขณะที่มีการทุ่มซื้อ 2 ผู้เล่นในแดนหน้าเข้ามาเสริมทีมทั้ง คริสเตียน วิเอรี่ ในราคา 25 ล้านยูโรที่กลายเป็นสถิติโลกในขณะนั้น โดยจับคู่กับ มาร์เซโล่ ซาลาส ดาวยิงชาวชิลีที่ย้ายมาจาก ริเวอร์ เพลท บวกกับ เดยัน สแตนโกวิช และ ซินิซ่า มิไฮโลวิช 2 สตาร์ชาวเซอร์เบียที่ย้ายเข้ามาสร้างชื่อได้ในทันที แม้ทีมจะเปิดตัวได้แบบตะกุกตะกักแต่หลังจากเครื่องติดก็เริ่มทำผลงานแล่นฉิวและรั้งอยู่ในตำแหน่งจ่าฝูงจนมาสะดุดด้วยการพ่าย 2 เกมติดในช่วงก่อนจะถึง 5 นัดสุดท้าย ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ เอซี มิลาน กลับมาแรงปลาย ก่อนที่จุดหักเหสำคัญจะอยู่ที่การบุกไปเสมอกับ ฟิออเรนติน่า 1-1 ในนัดรองสุดท้ายจนทำให้ ปีศาจแดงดำ ปาดหน้าคว้าแชมป์ไปครองโดยมีคะแนนมากกว่าเพียงแค่แต้มเดียว อย่างไรก็ตามทีมยังได้รางวัลปลอบใจจากการคว้าแชมป์ ยูฟ่า คัพ วินเนอร์ส คัพ หลังจากเอาชนะ เรอัล มายอร์ก้า 2-1 ได้ในนัดชิงที่ วิลล่า พาร์ค เมืองเบอร์มิ่งแฮม
2000 – คริสเตียน วิเอรี่ ที่ซัดไป 12 ประตูจาก 22 นัดในซีซั่นที่ผ่านมา ตัดสินใจย้ายทีมไปอยู่กับ อินเตอร์ มิลาน หลังมีปัญหาผิดใจกับ แซร์โจ้ ครันญ็อตติ ประธานสโมสร แต่ทีมก็นำเงินค่าตัวของเขาไปแลกเป็นผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาทั้ง ฮวน เซบาสเตียน เวรอน, ซิโมเน่ อินซากี้ และ ดีเอโก้ ซิเมโอเน่ โดยช่วยกันประเดิมคว้าแชมป์แรกด้วยการเอาชนะ แมนฯ ยูไนเต็ด 1-0 ในถ้วย ยูฟ่า ซูเปอร์ คัพ ก่อนจะทำแต้มไล่ตามหลัง ยูเวนตุส มาโดยตลอด ในขณะที่ช่วงปลายเดือนมีนาคม ยูเว่ ยังคงมีแต้มนำห่างอยู่ 9 คะแนน แต่หลังจากการพ่ายแพ้ให้กับทั้ง เอซี มิลาน, ลาซิโอ และ เฮลลาส เวโรน่า โดยที่ทีมทำแต้มหล่นหายไปกับ ฟิออเรนติน่า เท่านั้น จึงทำให้ก่อนลงสนามนัดสุดท้ายเหลือช่องว่างเพียงแค่ 2 คะแนน ซึ่ง ลาซิโอ ก็สามารถคว้าแชมป์ สคูเด็ตโต้ สมัยที่ 2 ได้สำเร็จจากการเปิดบ้านสอนบอล เรจจิน่า 3-0 ในขณะที่ทีมจ่าฝูงดันไปพลิกพ่ายให้กับ เปรูจา 1-0 ท่ามกลางแมตช์ที่มีสายฝนเทกระหน่ำจนแทบจะท่วมสนาม นอกจากนี้แล้วทีมยังเป็นฝ่ายครองถ้วย อิตาเลียน คัพ เป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 3 ปีจากการออกนำ อินเตอร์ มิลาน ในบ้านไปก่อน 2-1 ด้วยการทำประตูของ เนดเวด และ ซิเมโอเน่ ก่อนจะบุกไปยันเสมอ 0-0 ที่ ซาน ซีโร่ ได้ในนัดต่อมา ภายในปีนั้นพวกเขายังเป็นสโมสรแรกที่กระโจนเข้าสู่ตลาดหุ้นของ อิตาลี
2001 – พวกเขาเปิดฤดูกาลด้วยการย้ำแค้น อินเตอร์ มิลาน ไปแบบสุดมันส์ 4-3 ในรายการ อิตาเลียน ซูเปอร์ คัพ ท่ามกลางการเสริมทัพด้วย 2 ดาวยิงเลือดฟ้าขาว เอร์นาน เครสโป และ เคลาดิโอ โลเปซ ที่ยังมาพร้อมกับ ดิโน่ บาจโจ้ มิดฟิลด์โปรไฟล์สูงจาก ปาร์ม่า ก่อนจะมีปัญหาคลื่นใต้น้ำขึ้นมาเมื่อ อีริคส์สัน เกิดไปเซ็นสัญญารับงานคุมทีมชาติอังกฤษในช่วงซัมเมอร์หน้ากับ เอฟเอ จนส่งผลกระทบให้ฟอร์มของทีมเริ่มดร็อปลง จนกระทั่งเจ้าตัวตัดสินใจลาออกในช่วงต้นปี ก่อนที่ ดิโน่ ซอฟฟ์ จะถูกตามตัวกลับมาอีกครั้งและช่วยให้ทีมกลับไปรั้งอยู่ในอันดับที่ 3 ตามหลัง ยูเวนตุส และ โรม่า ทีมคู่ปรับร่วมเมืองที่ผงาดขึ้นไปคว้าแชมป์ได้ในที่สุด
2002 – จากการออกสตาร์ท 4 นัดแรกโดยควานหาชัยชนะไม่เจอเลย ก็ทำให้ อัลแบร์โต้ ซัคเคโรนี่ ถูกดึงตัวเข้ามาคุมทีมแทน ซอฟฟ์ และแม้จะมีการทุ่มงบเสริมทัพด้วย กาอิซก้า เมนดิเอต้า, ดาร์โก้ โควาเซวิช และ ยาป สตัม เข้ามา แต่ 2 รายแรกโดยเฉพาะ เมนดิเอต้า ที่ย้ายเข้ามาด้วยค่าตัว 47.7 ล้านยูโรกลับไม่สามารถทดแทนการจากไปของ พาเวล เนดเวด และ ฮวน เซบาสเตียน เวรอน ได้เลยซักนิด ก่อนที่ทีมจะทำได้ดีที่สุดด้วยการคว้าโควตาไปลงเตะ ยูฟ่า คัพ หลังจบในอันดับที่ 6 ซึ่งภายในปีนั้นเกิดมีคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการส่วนตัวของ แซร์โจ้ ครันญ็อตติ ที่บีบบังคับให้เขาต้องลาออกจากตำแหน่งประธาน และเริ่มส่งผลกระทบถึงปัญหาการเงินของสโมสรจนทำให้ต้องทยอยขายผู้เล่นคนสำคัญออกไป
2003 – ทีมยอมปล่อยตัว อเลสซานโดร เนสต้า และ เอร์นาน เครสโป ให้กับ เอซี มิลาน ในช่วงปรีซีซั่น พร้อมกับได้ตัว โรแบร์โต้ มันชินี่ อดีตศูนย์หน้าของทีมเข้ามารับบทเทรนเนอร์และสามารถพาทีมจบในอันดับที่ 4 จนได้โอกาสลงเตะใน ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก โดยต้องไปเริ่มต้นจากเกมคัดเลือกในรอบที่ 3
2004 – หลังผ่าน เบนฟิก้า ไปได้ในรอบคัดเลือก ลาซิโอ ก็ได้เข้าไปอยู่ในกรุ๊ป G ของรอบแบ่งกลุ่มร่วมกับ เชลซี, สปาร์ต้า ปราก และ เบซิคตัส แต่หลังจากเป็นฝ่ายเอาชนะ เบซิคตัส 2-0 ได้ที่ ตุรกี พวกเขาก็ไม่ชนะใครอีกเลยและตกรอบแบ่งกลุ่มไปด้วยการอยู่ในตำแหน่งรั้งท้าย ส่วนผลงานในลีกก็ขยับลงมาจบด้วยอันดับที่ 6 แต่ มันชินี่ สามารถพาทีมผ่านเข้าไปชิงชนะเลิศในถ้วย โคปปา อิตาเลีย และคว้าแชมป์สมัยที่ 4 มาครองได้สำเร็จจากการเหมาคนเดียว 2 ประตูของ สเตฟาโน่ ฟิออเร่ ที่ กรุงโรม ก่อนจะบุกไปยันเสมอ 2-2 ที่บ้านของ ยูเวนตุส โดยที่ ฟิออเร่ ยังเป็นคนยิงตีเสมอในช่วง 4 นาทีสุดท้ายของเกม จนมาถึงช่วงซัมเมอร์ เคลาดิโอ โลติโต้ นักธุรกิจชาวโรมัน ก็ก้าวเข้ามาเป็นผู้ถือครองสโมสรรายใหม่และช่วยยุติการถูกควบคุมกิจการโดยสถาบันการเงินที่เริ่มดำเนินมาตั้งแต่ปี 2002
2005 – ในช่วงก่อนออกสตาร์ทซีซั่นใหม่ทีมเหลือนักเตะอยู่ไม่ถึง 15 คน ในขณะที่ โรแบร์โต้ มันชินี่ ก็สละเรือไปอยู่กับ อินเตอร์ มิลาน ซึ่ง โลติโต้ ก็พยายามหาทางออกด้วยการหันไปทาบทาม เปาโล ดิ คานิโอ ดาวยิงวัย 36 ปี ให้ยอมกลับมาอยู่กับทีมขวัญใจในวัยเด็ก ซึ่งเจ้าตัวยังยอมลดค่าเหนื่อยลงไปถึง 75% อีกด้วย และขยับ โดเมนิโก้ คาโซ่ ที่กำลังดูแลทีมเยาวชนให้ขึ้นมาทำหน้าที่เฮดโค้ช ก่อนที่ จูเซปเป้ ปาปาโดปูโล่ จะเข้ามาเสียบแทนระหว่างฤดูกาลจนกระทั่งพาทีมจบในอันดับที่ 13
2006 – อินทรีฟ้าขาว สูญเสียผู้เล่นตัวหลักออกไปอีกทั้ง แฟร์นานโด คูโต้, เปาโล เนโกร และ จูเลียโน่ จานนิเค็ดด้า ในขณะที่ เดลิโอ รอสซี่ ถูกตั้งแต่งให้เป็นผจก.ทีมคนใหม่ที่ได้ทำงานร่วมกับ อันเจโล่ เปรุสซี่, ลูชาโน่ ซาอูรี่, มัสซิโม่ อ็อดโด้, ฟาบิโอ ลิเวรานี่, อุสมาน ดาโบ และ ตอมมาโซ่ ร็อคคี่ ที่ยังคงยืนหยัดอยู่กับทีมต่อและยินดีที่จะลดค่าเหนื่อยลงด้วย ก่อนจะจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 6 จนกระทั่งคดี กัลโช่โปลี ที่ได้บทสรุปออกมาในช่วงซัมเมอร์ ก็ทำให้พวกเขาโดนหางเลขจากโทษปรับ 30 แต้มจนร่วงลงมาอยู่ที่ 16 พร้อมถูกตัดสิทธิ์ลงเตะในรายการ ยูฟ่า คัพ
2007 – แม้ทีมจะต้องสูญเสีย อุสมาน ดาโบ และ ฟาบิโอ ลิเวรานี่ ไปให้ แมนฯ ซิตี้ และ ฟิออเรนติน่า แบบไม่มีค่าตัวตามลำดับ รวมถึงต้องยอมขาย มัสซิโม่ อ็อดโด้ กองหลังกัปตันทีมให้ เอซี มิลาน ในช่วงหน้าหนาว แต่ภายใต้การคุมทีมของ รอสซี่ กลับสามารถพานักเตะที่เหลือทำผลงานได้ดีเกินคาดจนทะยานขึ้นไปจบอยู่ในอันดับที่ 3 และได้โอกาสลงเตะใน แชมเปี้ยนส์ ลีก รอบคัดเลือกซีซั่นหน้า
2008 – พวกเขาผ่าน ดินาโม บูคาเรตส์ จนได้ลงเตะในรอบแบ่งกลุ่มที่อยู่กรุ๊ปเดียวร่วมกับ เรอัล มาดริด, โอลิมเปียกอส และ แวร์เดอร์ เบรเมน และก็เหมือนเมื่อ 4 ปีก่อนที่ทีมคว้าชัยชนะได้เพียงแค่ครั้งเดียวจากเกมในบ้านกับ เบรเมน และจอดอยู่แค่รอบนั้นจากการเป็นทีมบ๊วยของตาราง ในระหว่างฤดูกาลมีเหตุน่าเศร้าเกิดขึ้นเมื่อ กาบริเอลเล่ ซานดรี แฟนบอลของทีมเสียชีวิตขณะนั่งอยู่ในรถยนต์จากการถูกกระสุนปืนลูกหลงที่มีประจักษ์พยานมากมายยืนยันว่ามาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ยิงใส่กลุ่มแฟนบอลอุลตร้าของ ลาซิโอ ที่กำลังไล่ปาก้อนหินใส่กองเชียร์ของ ยูเวนตุส บนถนนมอเตอร์เวย์
2009 – หลังจบในอันดับที่ 12 เมื่อฤดูกาลก่อน รอสซี่ ก็ยังประคองผลงานจนจบในอันดับที่ 10 แต่กองเชียร์ของพวกเขาก็ยังมีโอกาสได้เฉลิมฉลองกันเต็มที่ หลังผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ อิตาเลียน คัพ เพื่อไปดวลกับ ซามพ์โดเรีย ซึ่งหลังจากจบ 90 นาทีด้วยสกอร์ 1-1 และยังทำอะไรกันไม่ได้อีกในช่วงต่อเวลาพิเศษจนต้องหาผู้ชนะด้วยการดวลจุดโทษ ลาซิโอ ก็เป็นฝ่ายที่แม่นเป้ากว่าก่อนจะคว้าแชมป์สมัยที่ 5 ในรายการนี้ได้สำเร็จ
2010 – ดาวิเด้ บัลลาร์ดินี่ ย้ายเข้ามาเป็นผจก.ทีมคนใหม่แทนที่ เดลิโอ รอสซี่ และประเดิมผลงานชิ้นแรกด้วยการคว้าถ้วย ซูเปอร์โคปปา อิตาเลียน่า ที่เดินทางไปฟาดแข้งกันไกลถึง กรุงปักกิ่ง ในแมตช์ที่เฉือนเอาชนะ อินเตอร์ มิลาน 2-1 ก่อนจะพาทีมจบฤดูกาลนั้นด้วยอันดับที่ 12 แบบเงียบๆ
2011 – ด้วยผลงานอันยอดเยี่ยมของ แอร์นาเนส จอมทัพชาวบราซิลที่ย้ายเข้ามาในช่วงซัมเมอร์ด้วยค่าตัว 8.2 ล้านปอนด์ บวกกับฝีไม้ลายมือของ เอโดอาร์โด้ เรย่า ที่เข้ามารับตำแหน่งกุนซือคนใหม่ก็ช่วยให้ทีมขยับขึ้นไปรั้งอยู่ในอันดับที่ 5 และคว้าโควตาลงเตะ ยูฟ่า คัพ ในซีซั่นถัดไป
2012 – เบียงโคเชเลสติ จัดการเสริมทัพในช่วงปรีซีซั่นด้วยการคว้าตัว มิโรสลาฟ โคลเซ่ มาจาก บาเยิร์น มิวนิค, ฌิบริล ซิสเซ่ จาก พานาธิไนกอส และ เซนาด ลูลิช จาก ยัง บอยส์ ในขณะที่ยอมปล่อยตัว สเตฟาน ลิคท์สไตเนอร์ ให้กับ ยูเวนตุส และเซ็นสัญญากับ เฟเดริโก มาร์เค็ตติ มาจาก กายารี่ ก่อนจะขาย แฟร์นานโด้ มุสเลร่า ให้กับ กาลาตาซาราย ซึ่งพวกเขาก็ยังรักษามาตรฐานการเล่นของตัวเองเอาไว้ได้ก่อนจะเข้าป้ายเป็นอันดับที่ 4 หลังจบฤดูกาล 2011-12
2013 – อันโตนิโอ คันเดรว่า กลายเป็นดีลสุดคุ้มประจำช่วงซัมเมอร์ เมื่อปีกทีมชาติอิตาลีที่ย้ายเข้ามาด้วยสัญญายืมตัวจาก อูดิเนเซ่ สามารถโชว์ฟอร์มได้อย่างยอดเยี่ยมและกลายเป็นผู้เล่นตัวหลักของ วลาดิเมียร์ เพทโควิช กุนซือป้ายแดงที่พึ่งย้ายเข้ามาก่อนหน้าเขาไม่นาน ในระหว่างซีซั่นทีมถึงขั้นทะยานขึ้นไปรั้งอยู่ในตำแหน่งรองจ่าฝูงตอนช่วงออกสตาร์ทปี 2013 แต่กลับทำฟอร์มแผ่วลงไปในช่วงครึ่งฤดูกาลหลังก่อนจะปิดฉากด้วยการอยู่ในอันดับที่ 7 อย่างไรก็ตามพวกเขาก็สามารถผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ โคปปา อิตาเลีย และสามารถสยบ โรม่า ทีมคู่ปรับตัวฉกาจลงได้ 1-0 จากประตูชัยในนาทีที่ 71 ของ ลูลิช
2014 – เพทโควิช ยังไม่สามารถพาลูกทีมกลับไปโชว์ฟอร์มได้เหมือนช่วงครึ่งแรกในซีซั่นที่ผ่านมาจนถูกปลดออกไปในเดือนมกราคม ก่อนที่ เอโดอาร์โด้ เรย่า จะหวนกลับมารับตำแหน่งอีกครั้งและช่วยประคองทีมไปจนจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 9
2015 – ลาซิโอ ประกาศแต่งตั้ง สเตฟาโน่ ปิโอลี่ เข้ามาทำหน้าที่คุมทีมตั้งแต่ช่วงปรีซีซั่น โดยที่ทีมยังได้ตัว มาร์โก้ ปาโรโล่ มาจาก ปาร์ม่า และ สเตฟาน เดอ ฟราย มาจาก เฟเยนูร์ด ซึ่งก็ช่วยกันทำผลงานจนกลับขึ้นไปผงาดอยู่ในอันดับที่ 3 รองจาก โรม่า และ ยูเวนตุส ทีมแชมป์ นอกจากนี้พวกเขายังผ่านเข้าสู่นัดชิงถ้วย โคปปา อิตาเลีย แต่ก็ตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ให้กับ ยูเวนตุส 2-1 จากประตูชัยของ อเลสซานโดร มาตรี้ ในช่วงต่อเวลาพิเศษ
2016 – ซิโมเน่ อินซากี้ อดีตศูนย์หน้าของทีมขยับเข้ามาเป็นเทรนเนอร์คนใหม่ให้กับ ลาซิโอ แทนที่ ปิโอลี่ ที่ถูกปลดออกไปหลังพาทีมพ่ายให้กับ โรม่า 4-1 ในช่วงต้นเดือนเมษายน ก่อนจะเข็นทีมจนจบฤดูกาลในอันดับที่ 8
2017 – ชิโร่ อิมโมบิเล่ หัวหอกทีมชาติอิตาลี ที่เซ็นสัญญามาจาก โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ในราคา 8.75 ล้านยูโร สามารถคืนฟอร์มเก่งได้อีกครั้งหลังช่วยถล่มไป 23 ประตูจากการลงสนาม 36 เกม และช่วยให้ทีมเข้าป้ายในอันดับที่ 5 พร้อมพาทีมเข้าชิงชนะเลิศในรายการ อิตาเลียน คัพ กับ ยูเวนตุส เป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 3 ปี แต่ก็ไม่อาจช่วยให้ทีมรอดพ้นจากการพ่ายแพ้ไปได้ 2-0
2018 – อย่างไรก็ตาม อินซากี้ ก็พาลูกทีมล้างแค้น ยูเว่ ได้สำเร็จหลังเป็นฝ่ายเฉือนเอาชนะไป 3-2 ในเกม ซูเปอร์โคปปา อิตาเลียน่า ที่ อิมโมบิเล่ ช่วยเหมาคนเดียว 2 ประตู โดยบทสรุปในซีซั่น 2017-18 แม้ทีมจะจบในอันดับที่ 5 แต่ด้วยฟอร์มอันยอดเยี่ยมของ หลุยส์ อัลแบร์โต้ และ เซอร์เก มิลินโควิช-ซาวิช ที่ช่วยกันสร้างสรรค์เกมในแดนกลางก็ส่งผลให้ อิมโมบิเล่ ผงาดขึ้นไปคว้ารางวัลดาวซัลโวร่วมกับ เมาโร อิคาร์ดี้ ด้วยผลงาน 29 ประตูในลีก
ลาซิโอ คือสโมสรที่มีแฟนบอลซัพพอร์ทมากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของประเทศและมากเป็นอันดับที่ 2 ของ กรุงโรม หรือคิดเป็นตัวเลขราว 2% จากจำนวนแฟนบอลชาวอิตาเลียนทั้งหมด Irriducibili Lazio คือกลุ่มแฟนบอลอุลตร้าที่ใหญ่ที่สุดของสโมสรโดยก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1987 พวกเขาคือกลุ่มกองเชียร์ที่คอยสร้างสีสันมากที่สุดระหว่างเกม ดาร์บี้ เดลล่า คาปิตาเล่ (Derby della Capitale) หรือ ดาร์บี้แห่งกรุงโรม โดยเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่าง ลาซิโอ และ โรม่า ที่ถือเป็นหนึ่งในเกมฟาดแข้งระหว่างทีมคู่อริที่ดุเดือดเลือดพล่านมากที่สุดในวงการลูกหนังทั่วโลก
ครั้งหนึ่งในเกมดาร์บี้ที่แสนจะร้อนระอุระหว่างซีซั่น 1979-80 วินเซนโซ่ ปาปาเรลลี่ คุณพ่อลูกสองวัย 33 ปีผู้เป็นแฟนบอลของ ลาซิโอ เสียชีวิตคาที่ระหว่างเกมจากการถูกพลุไฟฉุกเฉินที่จุดมาจากฝั่งกองเชียร์ โรม่า พุ่งปักเข้าที่เบ้าตา ในขณะที่กลุ่มอุลตร้าของ อินทรีฟ้าขาว ก็เคยใช้สัญลักษณ์สวัสดิกะประดับอยู่ในแผ่นป้ายแบนเนอร์เพื่อแสดงออกถึงการเหยียดผิวที่บรรดาผู้เล่นผิวสีของ หมาป่าแห่งกรุงโรม มักจะตกเป็นเป้าหมายมาโดยตลอด
นอกจากนี้ทั้ง นาโปลี, ลิวอร์โน่, เปสคาร่า และ อตาลันต้า ก็ถือเป็นทีมคู่แข่งที่สำคัญของพวกเขา และยังรวมไปถึง ฟิออเรนติน่า, ยูเวนตุส และ เอซี มิลาน อีกด้วย อย่างไรก็ตามกลุ่มอุลตร้าของพวกเขากลับมีความสัมพันธ์อันดีกับบรรดากองเชียร์ของ อินเตอร์ มิลาน, ตริเอสติน่า และ เวโรน่า นอกจากนี้แฟนๆของทีมก็ยังคงความเป็นมิตรสหายที่เกี่ยวดองกันมานานกับ เลฟสกี้ โซเฟีย ที่ครั้งหนึ่ง ลาซิโอ เคยถูกรับเชิญให้ไปลงเตะในแมตช์ฉลองครบรอบ 100 ปีของสโมสรจาก บัลแกเรีย
The post ล้วงลึกประวัติ ลาซิโอ พญาอินทรีฟ้าขาวแห่งกรุงโรม first appeared on ผลบอลสด บ้านผลบอล ผลบอลวันนี้ 7m 888 Livescore.]]>สโมสรฟุตบอลลีดส์ยูไนเต็ด (Leeds United Football Club) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม ลีดส์ ยูไนเต็ด คือทีมฟุตบอลอาชีพที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ใน เมืองลีดส์ เขตเวสต์ยอร์คเชียร์ ประเทศอังกฤษ ทีมเจ้าของฉายา เดอะ ไวท์ส (The Whites) หรือ เดอะ พีค็อกส์ (The Peacocks) หรือที่ในบ้านเราเรียกกันว่า “ยูงทอง” ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1919 ภายหลังการล่มสลายของ Leeds City F.C. และได้เข้ามาถือครองสนาม เอลแลนด์ โร้ด อย่างเต็มตัว ปัจจุบันพวกเขาลงเตะอยู่ใน อีเอฟแอล แชมเปี้ยนชิพ ลีกลำดับที่ 2 ของระบบเกมลูกหนังในอังกฤษ ลีดส์ เคยคว้าแชมป์ลีกสูงสุดของประเทศมาแล้ว 3 ครั้ง, เอฟเอ คัพ และ ลีก คัพ อย่างละ 1 ครั้ง, แชริตี้/คอมมิวนิตี้ ชิลด์ 2 ครั้ง รวมถึง อินเตอร์ ซิตี้ส์ แฟร์ส คัพ อีก 2 ครั้ง พวกเขายังเคยทะลุเข้าไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศ ยูโรเปี้ยน คัพ ในปี 1975 แต่ก็พ่ายแพ้ให้กับ บาเยิร์น มิวนิค และยังเคยผ่านเข้าไปจนถึงรอบรองชนะเลิศใน ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก 2001 นอกจากนี้ทีมยังเคยได้ตำแหน่งรองแชมป์ในรายการ ยูฟ่า คัพ วินเนอร์ส คัพ ปี 1973 ซึ่งช่วงเวลาอันรุ่งเรืองของสโมสรส่วนใหญ่จะอยู่ภายใต้การคุมทีมของ ดอน เรวี่ ในช่วงยุคปี 60 ถึง 70 ยูงทอง จะลงสนามในเกมเหย้าด้วยชุดแข่งสีขาวล้วน ตราสโมสรของพวกเขาจะมีสัญลักษณ์ของ กุหลาบขาวแห่งยอร์ค ที่อยู่เคียงข้างกับตัวอักษรย่อของทีม “LUFC” โดยที่ แมนฯ ยูไนเต็ด, เชลซี และ มิลล์วอลล์ จะถูกมองว่าเป็นทีมคู่ปรับตัวฉกาจ
1904 – Leeds City F.C. สโมสรต้นกำเนิดของพวกเขาได้ฤกษ์เปิดตัวขึ้นภายในปีนั้น
1905 – Leeds City F.C. ได้สิทธิ์เข้าร่วมแข่งขันในฟุตบอลลีก โดยเริ่มต้นจากการลงเตะใน ดิวิชั่น 2 และจบฤดูกาลแรกด้วยอันดับที่ 6
1912 – หลังจากนั้นทีมไม่เคยทำอันดับได้ดีกว่าเมื่อตอนซีซั่นเปิดตัว แถมยังเกือบตกชั้นไปในฤดูกาล 1911-12 จากการหล่นลงไปอยู่ในอันดับรองบ๊วย แต่ยังโชคดีที่ได้รับการโหวตให้อยู่ต่อไป
1919 – แต่แล้วภายในปีนั้นหลังสร้างปัญหาร้ายแรงด้วยการทำผิดกฎในการจ่ายค่าแรงนักเตะระหว่างช่วง สงครามโลกครั้งที่ 1 ก็ทำให้ถูกบทลงโทษจากฟุตบอลลีกจนต้องยุบทีมและปล่อยตัวผู้เล่นออกไปให้กับสโมสรอื่นๆ ซึ่งก็เป็นจังหวะเดียวกับการถือกำเนิดขึ้นมาของ ลีดส์ ยูไนเต็ด ที่มี ฮิลตัน คราวเธอร์ ก้าวขึ้นมาเป็นประธานสโมสรคนแรกและ ดิ๊ก เรย์ คอยทำหน้าที่ผจก.ทีม ก่อนจะได้รับคำเชิญให้เข้าร่วมแข่งขันใน มิดแลนด์ ลีก โดยเข้ามาแทนที่ในโควตาทีมสำรองของ Leeds City F.C. ในขณะที่ Yorkshire Amateur A.F.C. ก็เข้ามาช่วยเซ้งต่อสนาม เอลแลนด์ โร้ด
1920 – สโมสรตัดสินใจซื้อสนาม เอลแลนด์ โร้ด ต่อจาก Yorkshire Amateur A.F.C. ก่อนจะได้รับเชิญให้เข้าร่วมแข่งขันในฟุตบอลลีกที่เริ่มต้นด้วยระดับ ดิวิชั่น 2 จนกระทั่งจบฤดูกาล 1920-21 ด้วยอันดับที่ 12
1924 – ภายใต้การคุมทีมของ อาเธอร์ แฟร์คลัฟ ที่เข้ามารับตำแหน่งพร้อมกับการเปิดตัวในฟุตบอลลีก ก็สามารถพาทีมคว้าแชมป์ ดิวิชั่น 2 ได้ในฤดูกาล 1923-24 และขยับขึ้นสู่ลีกสูงสุดของประเทศได้เป็นครั้งแรก พร้อมกับการทยอยคืนเงินกู้ 35,000 ปอนด์ ที่ ฮิลตัน คราวเธอร์ วิ่งเต้นหาเข้ามาเมื่อตอนเปิดตัวสโมสร
1927 – แต่หลังจากป้วนเปี้ยนอยู่ไม่ไกลจากท้ายตารางตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ในที่สุด ยูงทอง ก็ร่วงลงไปอยู่ใน ดิวิชั่น 2 ดังเดิมจากการจบฤดูกาล 1926-27 ด้วยอันดับรองบ๊วย พร้อมกับการตัดสินใจลาออกของ แฟร์คลัฟ
1928 – ลีดส์ ดึงตัว ดิ๊ก เรย์ กุนซือคนแรกของพวกเขากลับมาทำหน้าที่อีกครั้ง และเขาก็สามารถพาทีมกลับขึ้นไปยัง ดิวิชั่น 1 ได้ด้วยการคว้าอันดับที่ 2 รองจาก แมนฯ ซิตี้
1931 – แม้ เรย์ จะสร้างความประทับใจด้วยการพาทีมจอดป้ายในอันดับที่ 5 เมื่อซีซั่นที่ผ่านมา แต่พอมาถึงฤดูกาล 1930-31 ผลงานของทีมกลับตกลงไปอย่างฮวบฮาบจนกระทั่งตกชั้นลงไปจากการจบด้วยอันดับรองบ๊วย
1932 – และก็เป็นอีกครั้งที่ทีมใช้เวลาเพียงแค่ปีเดียวในการกลับขึ้นมา ซึ่ง เรย์ สามารถแก้ตัวด้วยการพาทีมเข้าป้ายเป็นอันดับที่ 2 รองจาก วูล์ฟแฮมป์ตัน วันเดอเรอร์ส
1935 – แม้ทีมจะเกาะอยู่ในพื้นที่กลางตารางได้ใน 2 ซีซั่นที่ผ่านมา แต่สถานการณ์ในฤดูกาล 1934-35 ของพวกเขากลับดูน่าเป็นห่วง จนทำให้ ดิ๊ก เรย์ ตัดสินใจลาออกในเดือนมีนาคม ก่อนที่ บิลลี่ แฮมป์สัน จะเข้ามารับไม้ต่อและช่วยประคองทีมจนจบด้วยอันดับที่ 18
1937 – เป็นอีกหนึ่งซีซั่นที่ทีมทำผลงานได้อย่างย่ำแย่เมื่อต้องมาลุ้นหนีตายก่อนจะจบฤดูกาล 1936-37 ด้วยการรั้งในอันดับที่ 19 และมีอยู่ 2 คะแนนเหนือทีมตกชั้น
1939 – ในขณะที่ทีมนิ่งอยู่ในตำแหน่งท้ายตารางจากการเสมอ 1 และแพ้ 2 จาก 3 เกมแรกในฤดูกาล 1939-40 ฟุตบอลลีกก็ต้องปิดตัวลงอย่างกะทันหันเนื่องจากประเทศก้าวเข้าสู่ภาวะ สงครามโลกครั้งที่ 2
1947 – และแล้วภายในซีซั่นแรกของการกลับมาลงเตะกันอีกครั้ง ยูงทอง ก็ต้องร่วงลงสู่ ดิวิชั่น 2 จากการเก็บได้เพียง 18 คะแนนจนจมอยู่ในอันดับบ๊วยของตารางหลังปิดฉากฤดูกาล 1946-47
1948 – วิลลิส เอ็ดเวิร์ดส์ เริ่มงานในฐานะกุนซืออย่างเต็มตัวด้วยการกลับมาตั้งต้นใหม่ใน ดิวิชั่น 2 หลังขยับขึ้นมาเสียบแทน บิลลี่ แฮมป์สัน ประมาณ 1 เดือนก่อนจะตกชั้น แต่ผลงานของทีมก็ไม่กระเตื้องขึ้น จนกระทั่งยอมลดบทบาทลงมาเป็นผู้ช่วยของ แฟรงค์ บัคลี่ย์ หลังจากอยู่ในตำแหน่งได้ราว 1 ปีพอดี ก่อนที่ทีมจะจอดป้ายด้วยอันดับที่ 18
1956 – ลีดส์ ต้องอดทนรอจนถึงฤดูกาล 1955-56 จึงสามารถเลื่อนชั้นขึ้นสู่ ดิวิชั่น 1 ได้สำเร็จ จากการได้อันดับที่ 2 รองจาก เชฟฟิลด์ เว้นส์เดย์
1957 – ทีมเปิดตัวในลีกสูงสุดของประเทศเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปีได้ดีพอสมควร จากการรั้งอยู่ในอันดับที่ 8 หลังจบฤดูกาล 1956-57 แต่สโมสรก็ต้องประสบปัญหาทางด้านการเงินจากอุบัติเหตุเพลิงไหม้ที่เริ่มลุกลามจากอัฒจันทร์ฝั่งตะวันตกเมื่อช่วงต้นซีซั่นที่สร้างความเสียหายเป็นจำนวนเงินราว 100,000 ปอนด์ ซึ่งก็เป็นจังหวะที่ จอห์น ชาร์ลส์ ซุปตาร์ทีมชาติเวลส์ของพวกเขาจะกระหายถึงความสำเร็จที่มากกว่านั้น และแม้ ไรช์ คาร์เตอร์ กุนซือของทีมจะพยายามเกลี้ยกล่อมอย่างเต็มที่แต่ก็รั้งไว้ไม่อยู่ จนต้องยอมปล่อยตัวเขาให้กับ ยูเวนตุส ในช่วงซัมเมอร์ปี 1957 ด้วยค่าตัว 65,000 ปอนด์ที่กลายเป็นสถิติโลกในขณะนั้น
1959 – สโมสรแต่งตั้ง บิลล์ แลมบ์ตัน เข้ามารับหน้าที่เทรนเนอร์ในช่วงออกสตาร์ทฤดูกาล 1958-59 แต่ก็ทำได้เพียงพาทีมจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 15 โดยในระหว่างซีซั่นนั้นเขาได้เซ็นสัญญากับ ดอน เรวี่ ศูนย์หน้าทีมชาติอังกฤษที่อยู่ในช่วงบั้นปลายชีวิตค้าแข้งเข้ามาเสริมทีม
1960 – และแล้ว ยูงทอง ก็หนีชะตากรรมไปไม่พ้นเมื่อต้องร่วงลงสู่ ดิวิชั่น 2 อีกครั้งหลังจบฤดูกาล 1959-60 ด้วยการทำคะแนนตามหลัง น็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์ ที่เอาตัวรอดได้เพียงแค่แต้มเดียว
1961 – สถานการณ์ของพวกเขายังคงไม่น่าไว้วางใจ จนกระทั่ง แจ็ค เทย์เลอร์ ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งเฮดโค้ชในเดือนมีนาคม ก็ทำให้ ดอน เรวี่ ถูกแต่งตั้งเป็นผู้เล่น/ผจก.ทีมและช่วยประคับประคองตัวจนจอดป้ายด้วยอันดับที่ 14
1962 – ท่ามกลางสภาวะวิกฤติทางการเงิน เรวี่ ยังคงกัดฟันช่วยพาทีมรอดพ้นจากการตกชั้นในซีซั่น 1961-62 ได้อย่างหวุดหวิดจากการเก็บชัยชนะในนัดปิดฤดูกาล
1964 – แต่หลังจากนั้นไม่นานด้วยการพยายามพัฒนาทีมขึ้นมาจากผู้เล่นระดับเยาวชน รวมถึงการหันมาใช้ชุดแข่งนัดเหย้าในสไตล์สีขาวล้วนตามแบบ เรอัล มาดริด ก็ทำให้ ลีดส์ ผงาดขึ้นมาครองแชมป์ ดิวิชั่น 2 ได้เป็นหนที่สอง และคว้าสิทธิ์กลับคืนสู่ลีกสูงสุดของประเทศอีกครั้ง
1965 – ในซีซั่นต่อมา เรวี่ สร้างความตื่นตะลึงด้วยการพาลูกทีมขับเคี่ยวลุ้นแชมป์ ดิวิชั่น 1 ไปกับ แมนฯ ยูไนเต็ด และ เชลซี ได้อย่างเข้มข้น ก่อนจะเข้าป้ายเป็นอันดับที่ 2 โดยมีคะแนนเท่ากับ ยูไนเต็ด ทีมแชมป์แต่เป็นรองตรงประตูได้เสีย พร้อมกับการตีตั๋วลงเตะในเกมยุโรปเป็นครั้งแรกซีซั่นหน้าในรายการ อินเตอร์ ซิตี้ส์ แฟร์ส คัพ ที่ถือเป็นต้นแบบของ ยูฟ่า คัพ และ ยูฟ่า ยูโรปา ลีก ในเวลาต่อมา นอกจากนี้ทีมยังผ่านเข้าไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศ เอฟเอ คัพ ได้เป็นครั้งแรกแต่ก็พ่ายให้กับ ลิเวอร์พูล 2-1
1966 – พวกเขารั้งตำแหน่งรองแชมป์เป็นปีที่สองติดต่อกัน โดยคราวนี้ทีมตกเป็นรอง ลิเวอร์พูล ทีมแชมป์ที่ทำแต้มได้มากกว่า 5 คะแนน และมีแต้มเท่ากับ เบิรนลี่ย์ อันดับ 3 แต่มีลูกได้เสียที่ดีกว่า นอกจากนี้ทีมยังทำผลงานเปิดตัวในถ้วยยุโรปได้อย่างน่าประทับใจ จากการผ่านเข้าไปจนถึงรอบรองชนะเลิศที่บุกไปพ่ายให้กับ เรอัล ซาราโกซ่า 1-0 ในเลกแรกก่อนจะกลับมาเอาชนะใน เอลแลนด์ โร้ด 2-1 ซึ่งเนื่องจากยุคนั้นยังไม่มีกฎอเวย์โกลจึงทำให้ต้องตัดสินหาผู้เข้าชิงด้วยการลงเตะเกมเพลย์ออฟ ก่อนที่พวกเขาจะพ่ายให้กับคู่แข่งจากสเปน 3-1
1967 – ทีมผ่านเข้าไปเล่นใน อินเตอร์ ซิตี้ส์ แฟร์ส คัพ เป็นปีที่สองติดต่อกัน และคราวนี้พวกเขาไปได้ไกลขึ้นจากการผ่าน คิลมาร์น็อค คู่แข่งจากสกอตแลนด์ในรอบตัดเชือก จนได้เข้าชิงกับ ดินาโม ซาเกร็บ แต่สุดท้ายจากการบุกไปพ่ายที่ ซาเกร็บ 2-0 ก่อนจะกลับมาทำได้แค่เสมอ 0-0 ในบ้านก็ทำให้ทีมยังคงชวดแชมป์ในรายการนี้
1968 – แม้จะพาทีมจบฤดูกาล 1967-68 ด้วยอันดับที่ 4 เป็นปีที่สองติดต่อกัน แต่ในที่สุด เรวี่ ก็สามารถคว้าโทรฟี่ระดับเมเจอร์ใบแรกมาประดับสโมสรได้สำเร็จจากการนำลูกทีมเดินทางเข้าสู่ เวมบลีย์ เพื่อเผชิญหน้ากับ อาร์เซน่อล ในนัดชิงชนะเลิศ ลีก คัพ
1968 ที่ได้ประตูชัย 1-0 จาก เทอร์รี่ คูเปอร์ แบ็คซ้ายทีมชาติอังกฤษตั้งแต่นาทีที่ 20 ของเกม นอกจากนี้ด้วยการลงเตะในถ้วยยุโรปเป็นปีที่ 3 ติดต่อกันและยังคงโชว์ฟอร์มได้อย่างยอดเยี่ยมบนเส้นทางคล้ายๆกับปีที่แล้ว ด้วยการผ่าน ดันดี ยูไนเต็ด ทีมจากสกอตแลนด์ในรอบรองชนะเลิศ ก็ทำให้ ยูงทอง ได้เข้าชิงกับ เฟเรนซ์วารอส โดยหลังจากเปิดบ้านเฉือนเอาชนะไปก่อน 1-0 แล้วค่อยบุกไปยันเสมอ 0-0 ได้ที่ ฮังการี ก็ทำให้พวกเขาคว้าดับเบิ้ลแชมป์มาครองได้อย่างยิ่งใหญ่
1969 – เรวี่ มาทำให้บรรดาสาวกได้สุขสมหวังอย่างต่อเนื่องจากการทำแต้มทิ้งห่าง ลิเวอร์พูล ทีมอันดับ 2 อยู่ 6 คะแนนหลังจบ 42 นัดในฤดูกาล 1968-69 จนเป็นฝ่ายได้ชูถ้วยแชมป์ ดิวิชั่น 1 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสโมสรด้วยสถิติไร้พ่ายในบ้านและแพ้ในเกมลีกไปเพียงแค่ 2 ครั้งตลอดทั้งซีซั่น
1970 – พวกเขาออกสตาร์ทฤดูกาลถัดมาด้วยการเฉือนเอาชนะ แมนฯ ซิตี้ 2-1 และคว้าแชมป์ แชริตี้ ชิลด์ มาครองได้เป็นสมัยแรก อย่างไรก็ตามทีมไม่สามารถป้องกันแชมป์เอาไว้ได้หลังเข้าป้ายเป็นที่ 2 โดยมีแต้มตามหลัง เอฟเวอร์ตัน ทีมแชมป์อยู่ถึง 9 คะแนน ในขณะที่ผลงานเปิดตัวในถ้วย ยูโรเปี้ยน คัพ ก็เป็นไปอย่างน่าพอใจจากการผ่านเข้าไปจนถึงรอบรองชนะเลิศก่อนจะพ่ายให้กับ เซลติก นอกจากนี้พวกเขายังผ่านเข้าไปชิงถ้วย เอฟเอ คัพ เป็นครั้งที่ 2 แต่ก็ต้องพ่ายให้กับ เชลซี 2-1 ในนัดชิงรอบรีเพลย์หลังเสมอกันมาในคราวแรก 2-2
1971 – ทีมคว้าตำแหน่งรองแชมป์ได้เป็นปีที่สองติดต่อกัน หลัง อาร์เซน่อล บุกไปเฉือนเอาชนะ ท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์ คู่ปรับตัวฉกาจได้ 1-0 ในนัดปิดฤดูกาลจนทำคะแนนนำหน้าพวกเขาไปเพียงแค่แต้มเดียว อย่างไรก็ตาม ลีดส์ ก็ยังสามารถคว้าถ้วยรางวัลได้ในรายการ อินเตอร์ ซิตี้ส์ แฟร์ส คัพ จากการบุกไปยันเสมอ ยูเวนตุส 2-2 ที่ ตูริน ในเลกแรก ก่อนจะกลับมาเสมอกัน 1-1 ในบ้านตนเองจนเป็นฝ่ายเอาชนะไปด้วยกฎอเวย์โกล
1972 – แฟนๆทีมยูงทองคงแอบเสียดายหลังพยายามขับเคี่ยวลุ้นแชมป์มากับ ลิเวอร์พูล, แมนฯ ซิตี้ และ ดาร์บี้ เคาน์ตี้ ก่อนที่ฝ่ายหลังสุดที่นำทัพโดย ไบรอัน คลัฟ ยอดกุนซือฝีปากกล้าจะทำคะแนนปาดหน้าคู่แข่งจนคว้าแชมป์ไปครองได้แบบสุดระทึก ถึงแม้จะตกไปอยู่อันดับที่ 2 เป็นปีที่ 3 ติดต่อกันแต่พวกเขาก็ยังคงมีรางวัลติดไม้ติดมือ จากการผ่านเข้าไปชิงชนะเลิศ เอฟเอ คัพ กับ อาร์เซน่อล ก่อนจะเป็นฝ่ายเฉือนเอาชนะไปได้ด้วยสกอร์ 1-0 จากประตูชัยของ อัลลัน คลาร์ก ดาวซัลโวประจำทีมในช่วงครึ่งหลัง และกลายเป็นแชมป์สมัยแรกและสมัยเดียวของพวกเขาในรายการนี้จวบจนถึงปัจจุบัน
1973 – ทีมทำผลงานในลีกดร็อปลงเล็กน้อยจากการได้อันดับที่ 3 รองจาก อาร์เซน่อล และ ลิเวอร์พูล ทีมแชมป์ แต่ก็ยังไปได้ไกลในถ้วยยุโรปจากการผ่านเข้าไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศ ยูฟ่า คัพ วินเนอร์ส คัพ ก่อนจะพ่ายให้กับ เอซี มิลาน ไปแบบฉิวเฉียดจากประตูชัย 1-0 ของ ลูชาโน่ เคียรูจี้ ศูนย์หน้าดีกรีทีมชาติอิตาลี ตั้งแต่นาทีที่ 5 นอกจากนี้พวกเขายังพลาดโอกาสป้องกันแชมป์ เอฟเอ คัพ เมื่อได้ดวลกับ ซันเดอร์แลนด์ ในนัดชิงที่ เวมบลีย์ ก่อนจะพ่ายไปแบบหวุดหวิด 1-0
1974 – ในที่สุดแชมป์ลีกสมัยที่ 2 ที่รอคอยก็มาถึง เมื่อทีมสามารถทำแต้มทิ้งห่าง ลิเวอร์พูล คู่แข่งลุ้นแชมป์ได้ 5 คะแนนหลังจบฤดูกาล 1973-74 และยังเป็นโทรฟี่ทิ้งท้ายของ ดอน เรวี่ หลังอยู่สร้างความยิ่งใหญ่ให้กับสโมสรมายาวนาน 13 ปี ก่อนที่เขาจะตัดสินใจหันไปรับงานคุมทีมชาติอังกฤษในช่วงซัมเมอร์
1975 – สโมสรเปิดตัว ไบรอัน คลัฟ เข้ามาเป็นผจก.ทีมคนใหม่ท่ามกลางความเซอร์ไพรส์ของใครหลายๆคน เนื่องจากก่อนหน้านั้น คลัฟ มักจะเปิดปากวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของ เรวี่ และแทคติกของทีมอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งผลงานเปิดตัวของเขาก็ไม่ค่อยสู้ดีนักจากการพ่ายในการดวลจุดโทษให้กับ ลิเวอร์พูล ในเกม แชริตี้ ชิลด์ อันร้อนระอุที่มีนักเตะฝั่งละคนโดนไล่ออก และแล้ว คลัฟ ก็อยู่ในตำแหน่งได้เพียง 44 วันก่อนจะถูกปลดเนื่องจากทำผลงานได้อย่างยำแย่ ก่อนที่ จิมมี่ อาร์มฟิลด์ อดีตกัปตันทีมสิงโตคำรามจะถูกดึงตัวเข้ามาเสียบแทนและพาทีมจบในอันดับที่ 9 อย่างไรก็ตามพวกเขาสามารถผ่านเข้าไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศ ยูโรเปี้ยน คัพ แต่ก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ให้กับ บาเยิร์น มิวนิค 2-0 ที่สนาม ปาร์ก เดส์ แพร็งซ์ ภายในเกมที่มีประเด็นโต้เถียงมากมาย
1978 – แม้ อาร์มฟิลด์ จะพยายามสร้างทีมใหม่ต่อจากขุนพลนักเตะของ เรวี่ แต่เขาก็ทำได้เพียงประคองทีมให้อยู่ในอันดับท็อป 10 ก่อนจะถูกแทนที่โดย จ็อก สตีน หลังจบฤดูกาล 1977-78 ที่ ลีดส์ อยู่ในอันดับที่ 9
1982 – ในระหว่างนั้นแม้จะมีการผลัดเปลี่ยนผจก.ทีมต่อจาก สตีน ที่อยู่ในตำแหน่งได้ไม่ถึง 2 เดือนมาเป็น จิมมี่ อดัมสัน และ อัลลัน คลาร์ก อดีตดาวยิงของทีมที่ได้แรงซัพพอร์ทในการเสริมทัพมากมาย แต่สุดท้ายก็ไม่อาจพาทีมรอดพ้นจากการตกชั้นหลังจบฤดูกาล 1981-82 ไปได้
1985 – ด้วยงบประมาณที่ร่อยหรอทำให้ เอ็ดดี้ เกรย์ อดีตตำนานแข้งของทีมที่เข้ามารับงานต่อจาก คลาร์ก ต้องหันไปใช้นโยบายพัฒนาทีมจากผู้เล่นเยาวชนสำหรับหนทางในการเลื่อนชั้น และทำได้ดีที่สุดด้วยการคว้าอันดับที่ 7 ในฤดูกาล 1984-85 ก่อนที่เขาจะตัดสินใจลาออกไปในช่วงต้นฤดูกาลถัดไป
1987 – และแล้วภายใต้ซีซั่นที่สองในการคุมทีมของ บิลลี่ เบรมเมอร์ อดีตขุนพลคนสำคัญในยุคของ ดอน เรวี่ ก็สามารถพา ยูงทอง จบในอันดับที่ 4 จนได้ไปลุ้นต่อในเกมเพลย์ออฟเลื่อนชั้น ซึ่งหลังจากผ่าน โอลด์แฮม แอธเลติก มาได้ในรอบตัดเชือก พวกเขาก็ต้องไปชี้ชะตากับ ชาร์ลตัน แอธเลติก ในรอบชิงชนะเลิศ โดยหลังจากผลัดกันเก็บชัยชนะ 1-0 ในบ้านตนเองมาได้ทั้งคู่ ทีมของ เบรมเมอร์ ก็กลับพลาดท่าให้กับคู่แข่งในนัดรีเพลย์ด้วยสกอร์ 2-1 ที่ทั้ง 3 ประตูเกิดขึ้นในช่วงต่อเวลาพิเศษ
1988 – จากการพาทีมออกสตาร์ทฤดูกาล 1988-89 ได้อย่างย่ำแย่ก็ทำให้ เบรมเมอร์ ถูกปลดออกจากตำแหน่ง และก็เป็น โฮเวิร์ด วิลกินสัน ที่เข้ามารับหน้าที่ต่อพร้อมกับเป็นจุดเริ่มต้นในความสำเร็จอีกระลอกที่กำลังจะเกิดขึ้นในภายหลัง
1990 – หลังพยายามประคองตัวจนจบในอันดับที่ 10 เมื่อซีซั่นก่อน วิลกินสัน ก็สามารถพาทีมที่นำโดย กอร์ดอน สตรัคคั่น อดีตดาวเตะของ แมนฯ ยูไนเต็ด ที่ถูกเกลี้ยกล่อมให้ลงมาค้าแข้งอยู่ใน ดิวิชั่น 2 พร้อมรับหน้าที่สวมปลอกแขนกัปตันทีมในช่วงก่อนออกสตาร์ทฤดูกาล 1989-90 ทะยานขึ้นไปรั้งอยู่ในอันดับที่ 1 โดยมีแต้มเท่ากับ เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด แต่มีประตูได้เสียที่ดีกว่า พร้อมตีตั๋วกลับขึ้นไปเล่นใน ดิวิชั่น 1 ได้สำเร็จ
1991 – พวกเขาสร้างผลงานซีซั่นแรกในรอบ 8 ปีของการกลับมาวาดลวดลายในลีกสูงสุดได้อย่างน่าประทับใจด้วยการคว้าอันดับที่ 4
1992 – ในขณะที่ อาร์เซน่อล และ ลิเวอร์พูล ทีมแชมป์และรองแชมป์ในซีซั่นก่อนทำผลงานตกลงไป ก็กลายเป็นโอกาสสำคัญของ ลีดส์ ที่นอกจาก สตรัคคั่น แล้วก็ยังมี ลี แชปแมน, แกรี่ แม็คอัลลิสเตอร์ และ เดวิด แบ็ตตี้ ที่เป็นกำลังสำคัญที่มารวมตัวกับการเสริมทัพภายในซีซั่นนั้นด้วย ร็อด วอลเลซ, โทนี่ โรดริโก้, สตีฟ ฮ็อดจ์ และ เอริค คันโตน่า ที่รายหลังสุดย้ายเข้ามาในช่วงครึ่งหลังของฤดูกาล จนทำคะแนนแซงหน้า แมนฯ ยูไนเต็ด ขึ้นไปคว้าแชมป์ลีกสูงสุดภายใต้ชื่อ ดิวิชั่น 1 ในซีซั่นทิ้งท้ายก่อนจะมีการรีแบรนด์เป็น พรีเมียร์ลีก ในฤดูกาลถัดไป
1993 – แม้จะเปิดหัวฤดูกาลป้องกันแชมป์ด้วยการครองถาด แชริตี้ ชิลด์ จากการเอาชนะ ลิเวอร์พูล ไปแบบสุดมันส์ 4-3 อย่างไรก็ตามทีมของ วิลกินสัน ก็ไม่สามารถรักษามาตรฐานเดิมๆเอาไว้ได้ จนร่วงลงไปอยู่ในอันดับที่ 17 อย่างน่าผิดหวังภาย อีกหนึ่งจุดเปลี่ยนที่สำคัญคือการที่ วิลกินสัน ยอมปล่อยตัว คันโตน่า ไปให้กับ แมนฯ ยูไนเต็ด ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 1992 จนกลายเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความยิ่งใหญ่ของทีมคู่ปรับสำคัญ นอกจากนี้พวกเขายังกระเด็นตกรอบ ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก ไปอย่างรวดเร็วในรอบที่ 2 หลังพ่ายให้กับ เรนเจอร์ส ด้วยสกอร์รวม 4-2
1996 – ถึงต่อจากนั้นพวกเขาจะทำผลงานได้ดีขึ้นด้วยการคว้าอันดับที่ 5 ได้ 2 ปีติดต่อกัน แต่ก็หล่นลงมาจอดป้ายในอันดับที่ 13 ในฤดูกาล 1995-96 ที่แม้จะผ่านเข้าไปชิงชนะเลิศในรายการ ลีก คัพ ได้เป็นหนที่สอง แต่ก็ต้องพ่ายให้กับ แอสตัน วิลล่า ไปแบบยับเยิน 3-0
1997 – แม้จะพยายามเซ็นสัญญากับ เอียน รัช, ลี ชาร์ป, ไนเจล มาร์ติน และ ลี โบว์เยอร์ เข้ามาในช่วงซัมเมอร์ แต่หลังจากออกสตาร์ทฤดูกาล 1997-98 ได้อย่างน่าผิดหวัง ที่รวมถึงการพ่ายคาบ้านต่อทีมคู่อริ แมนฯ ยูไนเต็ด 4-0 ก็ทำให้ วิลกินสัน กระเด็นหลุดออกจากตำแหน่งในช่วงเดือนกันยายน 1996 ก่อนที่สโมสรจะแต่งตั้ง จอร์จ เกรแฮม ให้เข้ามารับงานต่อและพาทีมถูๆไถๆไปจนจนในอันดับที่ 11 ในขณะที่ ปีเตอร์ ริดส์เดล ผู้ที่สร้างจุดเปลี่ยนสำคัญให้กับสโมสรก็ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานภายในปีนั้น
1998 – พวกเขากลับมาทำผลงานได้ดีขึ้นจากการเสริมทัพด้วย จิมมี่ ฟลอยด์ ฮัสเซลเบงค์ และ อัลฟ์ อิงเก้ ฮาแลนด์ จนคว้าสิทธิ์ลงเตะใน ยูฟ่า คัพ ฤดูกาลหน้าจากการจบในอันดับที่ 5 ก่อนที่ จอร์จ เกรแฮม จะตัดสินใจอำลาทีมไปหลังจบซีซั่นนั้นด้วยการย้ายไปคุมทีม สเปอร์ส
1999 – สโมสรประกาศแต่งตั้ง เดวิด โอเลียรี่ ในช่วงออกสตาร์ทฤดูกาล 1998-99 และอดีตดาวเตะทีมชาติไอร์แลนด์ก็สามารถพาลูกทีมสานต่อผลงานของ เกรแฮม ได้อย่างน่าประทับใจ พร้อมกับการดึงตัว เดวิด แบ็ตตี้ กองกลางพันธุ์ดุผู้เป็นอดีตลูกหม้อของทีมกลับมาในช่วงกลางซีซั่น ก่อนจะขยับขึ้นไปจอดป้ายในอันดับที่ 4
2000 – แม้จะต้องสูญเสีย จิมมี่ ฟลอยด์ ฮัสเซลเบงค์ ไปให้กับ แอตเลติโก มาดริด ในช่วงปรีซีซั่น แต่พวกเขาก็ดาหน้าเสริมทัพด้วยการคว้าตัว ไมเคิ่ล บริดเจส และ ดาร์เรน ฮัคเคอร์บี้ เข้ามาทดแทนในแนวรุก นอกจากนี้ก็ยังมี เอริค บัคเค่, แดนนี่ มิลล์ส, ไมเคิ่ล ดูเบอร์รี่ และ เจสัน วิลค็อกซ์ ที่รายหลังสุดย้ายเข้ามาตอนกลางซีซั่น ก่อนที่ทีมจะเบียดแซงหน้า ลิเวอร์พูล และ เชลซี ขึ้นไปจบในอันดับที่ 3 พร้อมคว้าโควตาไปลงเตะใน ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก ฤดูกาลหน้า โดยในระหว่างฤดูกาลนั้น โอเลียรี่ ยังพาทีมผ่านเข้าไปจนถึงรอบตัดเชือก ยูฟ่า คัพ ที่ถูกเขี่ยตกรอบโดย กาลาตาซาราย ท่ามกลางเหตุการณ์อันน่าเศร้าจากการมีแฟนบอล 2 รายเสียชีวิตระหว่างเกมที่ออกไปเยือน ตุรกี
2001 – ด้วยนโยบายที่พร้อมจะกู้เงินเพื่อทุ่มซื้อผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาของ ปีเตอร์ ริดส์เดล ก็ยิ่งทำให้ ยูงทอง ใช้เงินแบบมือเติบหลังมีโอกาสลงเล่นในถ้วยยุโรปใบใหญ่ ด้วยความหวังที่ว่าจะสามารถถอนทอนทุนคืนได้จากลิขสิทธิ์การถ่ายทอดโทรทัศน์รวมถึงเงินสนับสนุนที่หลั่งไหลเข้ามาจากสปอนเซอร์ต่างๆ ทีมเริ่มต้นช็อปกระจายในช่วงปรีซีซั่นด้วยการคว้าตัว โอลิวิเย่ร์ ดากูร์, มาร์ค วิดูก้า, โดมินิค มัตเตโอ และ ริโอ เฟอร์ดินานด์ ที่กลายเป็นสถิติสโมสรในราคา 18 ล้านปอนด์ แต่แล้วจากการทำผลงานในช่วงครึ่งซีซั่นแรกได้อย่างย่ำแย่จนถึงขั้นหล่นลงไปอยู่ในอันดับที่ 13 ตอนช่วงออกสตาร์ทปี 2001 ก็ทำให้อนาคตของพวกเขาตกอยู่ในสถานการณ์ที่ล่อแหลม แม้ทีมจะเสริมทัพอีกครั้งด้วยการยืมตัว ร็อบบี้ คีน มาจาก อินเตอร์ มิลาน ก่อนจะตัดสินใจซื้อขาดในภายหลัง จนกระทั่งเริ่มเรียกฟอร์มเก่งกลับมาได้ด้วยการเก็บชัยชนะได้ถึง 13 จาก 18 เกมที่เหลือ แต่ก็ยังทำได้เพียงคว้าอันดับที่ 4 และหมดสิทธิ์ลงเล่นใน แชมเปี้ยนส์ ลีก ฤดูกาลหน้า ซึ่งหมายความว่าพวกเขาจะพลาดรายได้หลายสิบล้านปอนด์ตามที่หมายมั่นปั้นมือเอาไว้ และแม้ทีมจะไปได้ไกลจนถึงรอบรองชนะเลิศในถ้วยยุโรปซีซั่นปัจจุบันก่อนจะตกรอบด้วยน้ำมือของ บาเลนเซีย ก็ไม่อาจช่วยอะไรได้มากนัก
2002 – บอร์ดบริหารยังยอมอดทนแบกรับภาระหนี้สินและกัดฟันอนุมัติงบราว 20 ล้านปอนด์ในการเซ็นสัญญา 2 นักเตะดีกรีทีมชาติอังกฤษทั้ง ร็อบบี้ ฟาวเลอร์ และ เซ็ธ จอห์นสัน เข้ามาในช่วงก่อนออกสตาร์ทฤดูกาล 2001-02 แม้ทีมของ โอเลียรี่ จะเริ่มต้นได้ดีและมีโอกาสรั้งตำแหน่งจ่าฝูงอยู่หลายสัปดาห์ในช่วงครึ่งซีซั่นแรก แต่พอย่างเข้าสู่กลางเดือนมกราคม 2002 ฟอร์มของพวกเขาก็กลับช็อตไปดื้อๆและเอาชนะใครในลีกไม่ได้เลยเป็นระยะเวลาเกือบ 2 เดือน แม้จะกลับมากู้หน้าด้วยการคว้าชัยชนะ 7 จาก 10 นัดสุดท้าย แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการคว้าสิทธิ์ไปลงเตะใน แชมเปี้ยนส์ ลีก ตามที่หวังจากการจบในอันดับที่ 5 จึงทำให้ โอเลียรี่ ถูกปลดออกจากตำแหน่งโดยมี เทอร์รี่ เวนาเบิ้ลส์ เตรียมเข้ามาเสียบแทนในฤดูกาลถัดไป
2003 – ท่ามกลางวิกฤติทางด้านการเงินของสโมสรที่กำลังเลวร้ายเต็มทีพวกเขาต้องยอมปล่อยตัว ริโอ เฟอร์ดินานด์ ให้กับ แมนฯ ยูไนเต็ด ในราคา 30 ล้านปอนด์ที่กลายเป็นสถิติค่าตัวแพงที่สุดสำหรับนักเตะชาวอังกฤษในเวลานั้น รวมถึงการขาย ร็อบบี้ คีน ให้กับ สเปอร์ส 7 ล้านปอนด์ ภายในช่วงปรีซีซั่น ก่อนจะเจียดเงิน 2.75 ล้านปอนด์เพื่อคว้าตัว นิค บาร์มบี้ มาจาก ลิเวอร์พูล แต่หลังจากนั้นพวกเขายังต้องเสีย โจนาธาน วู้ดเกต ไปให้กับ เรอัล มาดริด รวมถึง ร็อบบี้ ฟาวเลอร์ ที่ไปอยู่กับ แมนฯ ซิตี้ ในช่วงครึ่งฤดูกาลหลัง ก็ทำให้ผลงานของทีมเป็นไปอย่างย่ำแย่จนกระทั่ง เวนาเบิ้ลส์ ถูกปลดออกจากตำแหน่งในวันที่ 21 มีนาคมและได้ตัว ปีเตอร์ รีด เข้ามาคุมทีมแทน ก่อนที่อีก 10 วันให้หลัง ปีเตอร์ ริดส์เดล ก็ต้องยอมสละตำแหน่งเก้าอี้ประธานเพื่อเปิดทางให้ จอห์น แม็คเคนซี่ หนึ่งในผู้อำนวยการของสโมสรก้าวขึ้นมาบริหารงานแทน สุดท้ายแล้วพวกเขาก็ยังสามารถประคองตัวจนจบในอันดับที่ 15 ได้
2004 – ปัญหาทางด้านการเงินของ ลีดส์ เดินมาจนถึงจุดที่ยากเกินจะเยียวยาเมื่อพวกเขายังเป็นหนี้อยู่ร่วม 100 ล้านปอนด์ และผลจากการขายผู้เล่นตัวหลักเพื่อทยอยใช้หนี้ก็ทำให้ขุมกำลังของทีมอ่อนยวบลงไปถนัดตาจนทำให้ ปีเตอร์ รีด ถูกปลดออกไปหลังจากพาทีมเก็บได้เพียง 8 แต้มจาก 12 เกม ซึ่ง เอ็ดดี้ เกรย์ อดีตนักเตะของทีมที่ถูกดึงเข้ามาเสียบแทนก็ไม่อาจช่วยอะไรได้มากนัก เฉกเช่นเดียวกับความพยายามของ เจอรัลด์ คราสเนอร์ นักธุรกิจชาวอังกฤษที่เป็นผู้นำกลุ่มกิจการค้าร่วมที่เข้ามาเทคโอเวอร์สโมสรระหว่างฤดูกาลและพยายามหาทางปลดหนี้ให้ ท้ายที่สุดแล้วทีมก็ร่วงตกชั้นลงไปหลังจบ 38 นัดในซีซั่น 2003-04 ด้วยการอยู่ในอันดับรองบ๊วย
2005 – เควิน แบล็คเวลล์ อดีตผู้ช่วยผจก.ทีมถูกดันขึ้นมารับตำแหน่งคุมทีมอย่างเต็มตัวสำหรับการออกสตาร์ทฤดูกาลใหม่ใน ลีกแชมเปี้ยนชิพ โดยที่เขาต้องยอมปล่อยผู้เล่นตัวหลักออกไปแทบทั้งหมดทั้ง มาร์ค วิดูก้า, อลัน สมิธ, เจมส์ มิลเนอร์, โดมินิค มัตเตโอ, เอียน อาร์ท, แดนนี่ มิลล์ส, นิค บาร์มบี้, สกอตต์ คาร์สัน และ พอล โรบินสัน และเน้นสร้างทีมขึ้นมาใหม่โดยอาศัยการคว้าตัวผู้เล่นที่หมดสัญญามาแบบฟรีๆ โดยในระหว่างซีซั่นนั้นได้มีการเปลี่ยนมือเจ้าของสโมสรมาเป็น เคน เบตส์ นักธุรกิจชื่อดังผู้เป็นอดีตเจ้าของทีม เชลซี เพื่อช่วยในการหลีกเลี่ยงการถูกเข้าควบคุมกิจการ ก่อนที่ทีมจะจอดป้ายอยู่ในอันดับที่ 14
2006 – พวกเขาสามารถทำผลงานได้ดีขึ้น จนขยับขึ้นมาจบในอันดับที่ 5 พร้อมคว้าสิทธิ์ลุ้นเลื่อนชั้นด้วยการลงเตะเกมเพลย์ออฟ ที่แม้จะเริ่มต้นอย่างมีความหวังด้วยการผ่าน เปรสตัน นอร์ธ เอนด์ มาได้ในรอบรองชนะเลิศ แต่สุดท้ายก็ไปพ่ายให้กับ วัตฟอร์ด 3-0 ในนัดชิงที่ มิลเลนเนี่ยม สเตเดี้ยม
2007 – แต่จากการออกสตาร์ทฤดูกาล 2006-07 ได้อย่างย่ำแย่ก็ทำให้สโมสรยกเลิกสัญญากับ แบล็คเวลล์ ในเดือนกันยายนและหันไปทาบทาม จอห์น คาร์เวอร์ เข้ามาทำหน้าที่แทน แต่ก็อยู่ได้เพียงเดือนเศษๆก่อนที่ เดนนิส ไวส์ จะถูกดึงเข้ามาเสียบแทน สุดท้ายแล้วเขาก็ไม่สามารถพาทีมรอดพ้นจากโซนตกชั้น ซึ่งส่งผลต่อเนื่องมาถึงการถูกเข้าควบคุมกิจการในเดือนพฤษภาคม 2007 ที่ทำให้ทีมยังต้องถูกตัดแต้มเพิ่มอีก 10 คะแนน จนออกมาเป็นบทสรุปที่ว่า ยูงทอง ต้องร่วงลงไปอยู่ใน ลีก วัน ฤดูกาลหน้าจากการเป็นทีมบ๊วยของตาราง
2008 – ในช่วงปรีซีซั่น 2007-08 สโมสรตัดสินใจทำเรื่องขอยกเลิกการถูกควบคุมกิจการที่ต้องวัดใจด้วยการยอมแลกกับการถูกตัด 15 แต้ม อย่างไรก็ตามด้วยผลงานอันยอดเยี่ยมในการทำงานร่วมกันของ เดนนิส ไวส์ และ กุสตาโว่ โปเยต์ ผู้ช่วยของเขาก็ทำให้ทีมออกสตาร์ทด้วยสถิติไร้พ่ายไปถึง 13 เกม ก่อนที่ โปเยต์ จะแยกตัวออกไปอยู่กับ สเปอร์ส ในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2007 จนกระทั่ง แกรี่ แม็คอัลลิสเตอร์ อดีตดาวเตะของทีมได้ขยับเข้ามาทำหน้าที่แทน ไวส์ ที่จากไปอยู่กับ นิวคาสเซิ่ล ยูไนเต็ด ในช่วงปลายเดือนมกราคม 2008 ก่อนจะพาทีมจบด้วยอันดับที่ 5 แต่น่าเสียดายที่พวกเขากลับไปพ่ายให้กับ ดอนคาสเตอร์ โรเวอร์ส 1-0 ในเกมเพลย์ออฟเลื่อนชั้นนัดชิงชนะเลิศ
2009 – ไซม่อน เกรย์สัน ขยับเข้ามานั่งเก้าอี้กุนซือแทน แม็คอัลลิสเตอร์ ก่อนช่วงคริสมาสต์เพียงไม่กี่วันหลังทำผลงานในช่วงครึ่งซีซั่นแรกได้น่าผิดหวัง และช่วยพาทีมเร่งเครื่องจนจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 4 แต่ก็อดเข้าชิงในเกมเพลย์ออฟเลื่อนชั้นจากการพ่ายให้กับ มิลล์วอลล์ ตั้งแต่รอบตัดเชือก
2010 – ในที่สุด ลีดส์ ก็สามารถกลับคืนสู่ ลีกแชมเปี้ยนชิพ ได้สำเร็จ ภายในซีซั่นที่พวกเขาสามารถเขี่ย แมนฯ ยูไนเต็ด กระเด็นตกรอบ เอฟเอ คัพ ตั้งแต่รอบที่ 3 ได้อีกด้วย และแม้ทีมจะเริ่มออกอาการสะดุดตั้งแต่ผ่านเข้าสู่ปี 2010 แต่ก็ยังประคองตัวจนคว้าสิทธิ์เลื่อนชั้นได้แบบอัตโนมัติจากการได้อันดับที่ 2 รองจาก นอริช ซิตี้
2011 – แคสเปอร์ ชไมเคิ่ล ถูกดึงตัวเข้ามาเป็นผู้รักษาประตูมือหนึ่งในช่วงปรีซีซั่น ก่อนที่ทีมของ เกรย์สัน จะทำผลงานได้ไม่เลวแต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อการลุ้นโอกาสเลื่อนชั้นจากการจบในอันดับที่ 7 โดยมีแต้มน้อยกว่า ฟอเรสต์ ที่ได้ลงเล่นในเกมเพลย์ออฟ 3 คะแนน
2012 – ทีมจอดป้ายในฤดูกาล 2011-12 ด้วยอันดับที่ 14 ระหว่างซีซั่นที่มีการสับเปลี่ยนผจก.ทีมจาก ไซม่อน เกรย์สัน มาเป็น นีล วอร์น็อค
2013 – วอร์น็อค อยู่ในตำแหน่งได้จนถึงวันที่ 1 เมษายน ก็มีการสับเปลี่ยนกุนซือมาเป็น ไบรอัน แม็คเดอร์มอตต์ ที่สุดท้ายก็พาทีมจบในอันดับที่ 13
2014 – ภายในฤดูกาล 2013-14 มีการเปลี่ยนแปลงนอกสนามเกิดขึ้นมากมาย เริ่มจาก ซาลาห์ นูรัดดิน ผู้นำกลุ่ม GFH Capital ที่เข้ามาเทคโอเวอร์สโมสรตั้งแต่ปลายปี 2012 ขยับขึ้นมาเป็นผู้บริหารใหญ่แทนที่ เคน เบตส์ ในช่วงก่อนออกสตาร์ทซีซั่น จนกระทั่งกลุ่มเงินทุนสัญชาติบาห์เรนมาตัดสินใจขายหุ้นส่วน 75% ให้กับ มัสซิโม่ เชลลิโน่ นักธุรกิจชาวอิตาเลียนที่ยังดำรงตำแหน่งประธานสโมสรกายารี่ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ แต่ขั้นตอนดำเนินการต่างๆกลับยืดเยื้อไปอีกเป็นเวลานานหลายเดือน ก่อนที่ทีมจะจบฤดูกาลนั้นด้วยอันดับที่ 15
2015 – ท่ามกลางการถ่ายโอนกรรมสิทธิ์ให้กับ มัสซิโม่ เชลลิโน่ เจ้าของทีมคนใหม่ที่ล่าช้าจากปัญหาต่างๆ ก็ส่งผลกระทบต่อตำแหน่งผจก.ทีมที่กว่าจะได้ตัว ดาร์โก้ มิลานิช เข้ามาทำหน้าที่อย่างถาวรก็ปาเข้าไปจนถึงช่วงปลายเดือนตุลาคม 2014 และจากข้อขัดแย้งทางด้านกฎหมายก็ทำให้ เชลลิโน่ ต้องพ้นจากตำแหน่งประธานสโมสรชั่วคราวในช่วงปลายเดือนมกราคม 2015 ก่อนที่ทีมจะจอดป้ายในฤดูกาลอันวุ่นวายด้วยอันดับที่ 15
2016 – เชลลิโน่ หวนกลับมารับตำแหน่งผู้บริหารได้อีกครั้งในช่วงปรีซีซั่น 2015-16 และจัดการแต่งตั้ง อูเว่ รอสเลอร์ ให้เข้ามาเป็นผจก.ทีมคนใหม่ แต่จากผลงานอันน่าผิดหวังก็ทำให้เขาอยู่คุมทีมได้ไม่ทันจบเดือนตุลาคม 2015 และถูกแทนที่โดย สตีฟ อีแวนส์ ที่พาทีมถูๆไถๆไปจนจบในอันดับที่ 13
2017 – แกรี่ มังค์ ถูกแต่งตั้งให้เข้ามาเป็นเทรนเนอร์คนใหม่ ก่อนมาถึงเดือนธันวาคม 2016 ที่ มัสซิโม่ เชลลิโน่ เจ้าเก่าจะถูกทาง เอฟเอ สั่งแบนจากกิจกรรมทางลูกหนังไปนานอีก 18 เดือนจากการทำผิดกฎเกี่ยวกับเอเย่นต์นักเตะในการปล่อยตัว รอสส์ แม็คคอร์แม็ค ให้กับ ฟูแล่ม เมื่อปี 2014 ที่ทำให้เขายอมขายหุ้นส่วน 50% ให้กับ อันเดรีย ราดริซซานี่ นักธุรกิจเพื่อนร่วมชาติในเดือนมกราคม 2017 ในขณะที่ทีมก็พลาดโอกาสลุ้นเพลย์ออฟไปอย่างน่าเสียดายจากอาการแผ่วปลายและเอาชนะใครไม่ได้เลยใน 5 นัดสุดท้ายจนจบด้วยอันดับที่ 7
2018 – ในช่วงปรีซีซั่น 2017-18 ราดริซซานี่ จัดการซื้อหุ้นส่วนที่เหลือทั้งหมดจาก เชลลิโน่ จนเป็นฝ่ายถือครองกรรมสิทธิ์ของสโมสร 100% ก่อนที่ แกรี่ มังค์ จะประกาศลาออก และกลายเป็น โธมัส คริสเตียนเซ่น ที่เข้ามาคุมทีมในการออกสตาร์ทซีซั่นใหม่ โดยที่ ราดริซซานี่ ยังจัดการซื้อสนาม เอลแลนด์ โร้ด กลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของสโมสรอีกครั้งนับตั้งแต่ต้องยอมขายทอดตลาดออกไปเมื่อปี 2004 จนกระทั่งย่างเข้าสู่เดือนกุมภาพันธ์ พอล เฮ็คกิ้งบอทท่อม ก็เข้ามาเสียบแทนในตำแหน่งของ คริสเตียนเซ่น ก่อนจะพาทีมจบฤดูกาลในอันดับที่ 13 หลังจากนั้นในวันที่ 1 มิถุนายน ลีดส์ ก็ประกาศแต่งตั้ง มาร์เซลโล่ บิเอลซ่า ขึ้นมาเป็นผจก.ทีมคนใหม่ในฤดูกาลหน้า
ครั้งหนึ่ง ปีเตอร์ รีด เคยออกมาพูดถึงบรรยากาศของกองเชียร์ในถิ่น เอลแลนด์ โร้ด ระหว่างการทำหน้าที่คุมทีมที่นั่นว่า “ตลอด 30 ปีผมไม่เคยเห็นการสนับสนุนใดเทียบเท่ากับกับเกมที่เปิดบ้านต้อนรับ อาร์เซน่อล เมื่อ 2-3 สัปดาห์ก่อน แฟนบอลของ ลีดส์ เป็นอะไรที่น่าทึ่งมาก” ความเห็นของ รีด ยังสอดคล้องกับอดีตผจก.ทีมที่เคยอยู่กับสโมสรในระดับ ดิวิชั่น 3 อย่าง เควิน แบล็คเวลล์ ที่พูดถึงบรรดากองเชียร์ว่า “แฟนๆจะติดตามทีมไปทุกหนทุกแห่ง” ในขณะที่ เดวิด โอเลียรี่ ก็เคยฝากคอมเมนต์ไว้ว่า “สโมสรมีฐานแฟนบอลที่ยิ่งใหญ่และพวกเขาจะยังคงอยู่กับทีมไปตลอด” Marching On Together คือเพลงประจำสโมสรของพวกเขา ในขณะที่กลุ่มแฟนบอลก็มักจะนำเพลง We Are The Champions, Champions of Europe (WACCOE) มาขับร้องกันอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งมันเป็นเพลงที่มีจุดเริ่มต้นมาจากเกมนัดชิงชนะเลิศ ยูโรเปี้ยน คัพ 1975 ที่ทีมพ่ายแพ้ให้กับ บาเยิร์น มิวนิค ท่ามกลางการตัดสินที่ค่อนข้างจะค้านสายตาแฟนบอลส่วนใหญ่
ยูงทอง ยังเป็นเจ้าของสถิติจำนวนผู้เข้าชมเฉลี่ยสูงสุดตลอดกาลเป็นอันดับที่ 10 ของ พรีเมียร์ลีก ในทางกลับกันพวกเขาคือสโมสรที่ถูกแฟนบอลทีมอื่นเกลียดมากที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ของวงการลูกหนังอังกฤษ โดยขึ้นแท่นหมายเลข 1 ของการเป็นทีมที่ถูกเขม่นมากที่สุดในช่วงต้นฤดูกาล 2008-09 ลีดส์ มีทีมคู่อริมากมายทั้งคู่แข่งที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงอย่าง เชฟฟิลด์ เว้นส์เดย์, เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด, แบรดฟอร์ด ซิตี้ และ ฮัดเดอร์สฟิลด์ ทาวน์ แต่เหล่าทีมคู่ปรับที่สำคัญที่สุดก็คือ แมนฯ ยูไนเต็ด, เชลซี และ มิลล์วอล์ ในขณะที่ความสัมพันธ์ด้วยรูปแบบศัตรูระหว่าง กาลาตาซาราย ได้เริ่มก่อตัวขึ้นเมื่อ 2 แฟนบอลของลีดส์ถูกแทงจนเสียชีวิตโดยกลุ่มกองเชียร์ของทีมยักษ์ใหญ่จากตุรกีในเกม ยูฟ่า คัพ รอบรองชนะเลิศที่พวกเขาออกเดินทางไปเยือนที่ อิสตันบูล เมื่อปี 2000 และหลังจากนั้นการย้ายทีมของ แฮร์รี่ คีเวลล์ ที่ไปอยู่กับ กาลาตาซาราย ในปี 2008 ก็ยิ่งสร้างความเดือดดาลให้กับบรรดาสาวกยูงทองขึ้นไปอีก
The post ขุดคุ้ยประวัติ ลีดส์ ยูไนเต็ด พญายูงทองแห่งยอร์คเชียร์ first appeared on ผลบอลสด บ้านผลบอล ผลบอลวันนี้ 7m 888 Livescore.]]>สโมสรฟุตบอลดาร์บี้เคาน์ตี้ (Derby County Football Club) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม ดาร์บี้ เคาน์ตี้ คือทีมฟุตบอลอาชีพที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ใน เมืองดาร์บี้ มณฑลดาร์บีเชียร์ ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันลงเตะอยู่ใน อีเอฟแอล แชมเปี้ยนชิพ ลีกลำดับที่ 2 ของอังกฤษ ทีมเจ้าของฉายา “เดอะ แรมส์” (The Rams) หรือ “แกะเขาเหล็ก” ในบ้านเรา เป็นหนึ่ง 1 ใน 12 สโมสรผู้ร่วมก่อตั้งฟุตบอลลีกขึ้นมาในปี 1888 และยังเป็น 1 ใน 10 ทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันในระบบฟุตบอลลีกมาตลอดทุกฤดูกาล ในปี 2009 พวกเขาถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 137 จาก 200 ทีมระดับท็อปของยุโรปในช่วงศตวรรษที่ 20 จาก สหพันธ์ประวัติศาสตร์และสถิติฟุตบอลระหว่างประเทศ (IFFHS) จากจุดเริ่มต้นเมื่อปี 1884 โดย วิลเลี่ยม มอร์ลี่ย์ ที่ต้องการสร้างสาขาย่อยให้กับ สโมสรคริกเก็ตแห่งดาร์บีเชียร์ (Derbyshire County Cricket Club) หลังจากนั้นทีมใช้เวลาเกือบทั้งหมดยกเว้นเพียงแค่ 4 ฤดูกาลลงเล่นอยู่ในลีกสูงสุด 2 ลำดับแรกของประเทศ
จุดพีคของ ดาร์บี้ อยู่ในช่วงยุคปี 70 จากการคว้าแชมป์ลีกสูงสุดได้ 2 ครั้ง และได้เข้าร่วมแข่งขันในบอลถ้วยยุโรปรายการระดับเมเจอร์ 4 ครั้ง ที่รวมถึงการผ่านเข้าไปจนถึงรอบรองชนะเลิศใน ยูโรเปี้ยน คัพ และยังเคยได้ชูถ้วย เอฟเอ คัพ หนึ่งครั้งหลังจาก สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงหมาดๆ แกะเขาเหล็ก ใช้สนามเหย้า ไพรด์ พาร์ค สเตเดี้ยม มาตั้งแต่ปี 1997 ที่ล่าสุดรองรับความจุ 33,597 ที่นั่ง สีดำและขาวคือสีประจำสโมสรที่ถูกใช้งานมาตั้งแต่หลังปี 1890 พวกเขาหันมาใช้ฉายา เดอะ แรมส์ เพื่อเป็นการรำลึกถึงการก่อตั้งกองกำลัง Derby Militia ที่เลือกใช้ แกะ เป็นสัญลักษณ์ของหน่วยเช่นเดียวกัน
1884 – สโมสรถูกก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกด้วยจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นทางเลือกให้กับเหล่าสมาชิกของ Derbyshire County Cricket Club ที่จะได้ร่วมกิจกรรมกันในช่วงฤดูหนาวและรวมถึงการเป็นรายได้เสริมให้กับกลุ่ม เดิมทีพวกเขาตั้งใจจะใช้ชื่อว่า “Derbyshire County F.C.” หากแต่ด้วยชื่อที่ยาวจนเกินไปและอาจมีผู้ที่สับสนกับ Derbyshire FA ที่พึ่งเปิดตัวขึ้นมาในปีก่อนหน้านั้น จึงทำให้ความคิดนี้ตกไป ก่อนที่ทีมจะมีโอกาสลงแข่งขันในแมตช์อย่างเป็นทางการครั้งแรกในรายการ เอฟเอ คัพ ตอนช่วงเดือนพฤศจิกายนปีนั้นด้วยการพ่ายแพ้คารัง เรซคอร์ส กราวนด์ ให้กับ วอลซอลล์ ทาวน์ 7-0
1885 – จากการโคจรมาพบกับ แอสตัน วิลล่า ในเกม เอฟเอ คัพ รอบ 2 ฤดูกาลถัดมา พวกเขาก็เริ่มกลายเป็นที่รู้จักกันในทันทีหลังสามารถสยบคู่แข่งที่ก้าวขึ้นมาเป็นขาใหญ่ของวงการลูกหนังได้ในขณะนั้นด้วยสกอร์ 2-0 ก่อนจะจอดป้ายในรอบต่อมาด้วยการบุกไปพ่ายให้กับ เบอร์มิ่งแฮม ซิตี้ 4-2
1888 – และแล้ว ดาร์บี้ ก็ได้รับคำเชิญให้เข้าร่วมในการสถาปนาฟุตบอลลีกภายในอังกฤษ และลงเตะแมตช์แรกในซีซั่นแกรนด์โอเพ่นนิ่งด้วยการบุกไปรัวแซง โบลตัน วันเดอเรอร์ส 6-3 จากที่เป็นฝ่ายตามหลัง 3-0 ในทีแรก ก่อนจะจบฤดูกาลนั้นด้วยอันดับที่ 10 จากทั้งหมด 12 ทีม
1891 – พวกเขาจัดการควบรวม Derby Midland F.C. หนึ่งในทีมที่ยังลงเตะอยู่ใน มิดแลนด์ ลีก เข้าด้วยกัน จนทำให้พวกเขามีสถานะเป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพเพียงหนึ่งเดียวของเมือง
1892 – สตีฟ บลูมเมอร์ ตำนานแข้งตลอดกาลของสโมสรเจ้าของสถิติ 291 ประตูจาก 473 เกม เซ็นสัญญาร่วมทีมเป็นครั้งแรกภายในปีนั้น
1895 – สโมสรย้ายเข้าสู่สนามแห่งใหม่ เบสบอล กราวนด์ ที่เคยถูกใช้งานในการแข่งขันเบสบอลมาก่อน และปักหลักอยู่ที่นั่นยาวนานร่วม 102 ปี พร้อมๆกับการเริ่มใช้สีขาวดำสำหรับชุดแข่งเหย้า
1896 – แกะเขาเหล็ก ใกล้เคียงกับการสัมผัสแชมป์ลีกเป็นครั้งหลังเข้าป้ายเป็นที่ 2 รองจาก แอสตัน วิลล่า ในฤดูกาล 1895-96 โดยมีแต้มตามหลังทีมแชมป์อยู่ 4 คะแนน
1898 – หลังยังคงรักษาผลงานด้วยการจบในอันดับที่ 3 ได้ในปีที่ผ่านมา ทีมกลับตกลงไปอยู่ในพื้นที่ครึ่งล่างของตารางในซีซั่น 1897-98 แต่ก็สามารถผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ เอฟเอ คัพ ก่อนจะไปพ่ายให้กับ น็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์ 3-1 โดยที่ บลูมเมอร์ คือผู้ยิงประตูตีไข่แตกให้กับทีม
1899 – ทีมผ่านเข้าไปชิงถ้วย เอฟเอ คัพ เป็นปีที่สองติดต่อกัน แต่ก็ต้องอกหักซ้ำสองเมื่อถูก เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด ถล่มราบคาบ 4-1
1903 – ผลงานส่วนใหญ่ของ เดอะ แรมส์ ในช่วงที่ผ่านมาคือการป้วนเปี้ยนอยู่ไม่ไกลจากพื้นที่กลางตาราง จนกระทั่งมีโอกาสเข้าชิงชนะเลิศ เอฟเอ คัพ อีกครั้งในปีนั้น ก่อนจะพ่ายแพ้ยับเยินให้กับ บิวรี่ 6-0
1906 – จากสถานการณ์ทางการเงินที่ล่อแหลม สโมสรจึงไม่มีทางเลือกนอกจากการปล่อยตัว สตีฟ บลูมเมอร์ ให้กับ มิดเดิ้ลสโบรช์ หลังจบฤดูกาล 1905-06
1907 – การขาดดาวยิงตัวเก่งก็ส่งผลกระทบให้ฟอร์มของพวกเขาดร็อปลงอย่างน่าใจหาย จนกระทั่งจมอยู่ในอันดับรองบ๊วยและร่วงตกชั้นลงไปในซีซั่นต่อมา
1912 – แต่ด้วยความพยายามของ จิมมี่ เมธเว่นส์ ที่ก้าวเข้ามาคุมทีมหลังตกชั้น พร้อมกับการดึงตัว สตีฟ บลูมเมอร์ กลับสู่ทีมอีกครั้งเมื่อ 2 ปีก่อนก็ทำให้พวกเขาคว้าแชมป์ ดิวิชั่น 2 เป็นครั้งแรก และกลับคืนสู่ลีกสูงสุดของประเทศ
1914 – แม้จะถีบตัวเองขึ้นไปอยู่ในอันดับที่ 7 หลังเลื่อนชั้นขึ้นมาได้ในปีแรก แต่จู่ๆในฤดูกาลถัดมาพวกเขากลับโชว์ฟอร์มกันไม่ออกและร่วงตกชั้นลงไปอีกครั้งจากการจมอยู่ท้ายตาราง พร้อมกับการอำลาอาชีพนักเตะของ บลูมเมอร์
1915 – แต่คราวนี้พวกเขาใช้เวลาไม่นานก็สามารถกลับขึ้นมาได้ในฐานะแชมป์ ดิวิชั่น 2 ก่อนที่ประเทศจะก้าวเข้าสู่ภาวะ สงครามโลกครั้งที่ 1 หลังจากนั้นไม่นาน
1920 – ภายในซีซั่นแรกหลังจากฟุตบอลลีกเริ่มกลับมาฟาดแข้งกันอีกครั้ง ดาร์บี้ ก็ประคองตัวเองให้อยู่รอดปลอดภัยใน ดิวิชั่น 1 ได้ต่อไปจากการอยู่ในอันดับที่ 5 นับจากท้าย
1921 – แต่สุดท้ายพวกเขาก็ไปไม่รอดหลังจากตกลงไปอยู่ในอันดับรองบ๊วยเมื่อตอนสิ้นสุดฤดูกาล 1920-21
1924 – ทีมมีลุ้นเลื่อนชั้นเป็นครั้งแรกจากการจบที่ 51 คะแนนเท่ากับ บิวรี่ และเป็นรองพียงแค่ ลีดส์ ยูไนเต็ด ทีมแชมป์เท่านั้น ทั้งๆที่พวกเขามีประตูได้เสียที่ดีกว่าแต่ในช่วงเวลานั้น สมาคมฟุตบอลอังกฤษ (เอฟเอ) ใช้ค่า goal ratio (ประตูได้/ประตูเสีย) จึงทำให้ บิวรี่ ได้รับโอกาสกลับขึ้นไปแทน
1926 – จนกระทั่งการแต่งตั้ง จอร์จ โจบี้ ในช่วงออกสตาร์ทฤดูกาล 1925-26 ที่ทำให้ แกะเขาเหล็ก สามารถกลับคืนสู่ ดิวิชั่น 1 ได้สำเร็จ หลังเข้าป้ายเป็นที่สองรองจาก เชฟฟิลด์ เว้นส์เดย์
1930 – ภายใต้การคุมทีมของ โจบี้ ก็ทำให้ เดอะ แรมส์ กลับมาเป็นทีมที่โชว์ฟอร์มได้อย่างน่าประทับใจอีกครั้ง จนรั้งอยู่ในอันดับที่ 2 รองจาก เชฟฟิลด์ เว้นส์เดย์ ในซีซั่น 1929-30
1936 – เป็นอีกครั้งที่ทีมสามารถจบในอันดับที่ 2 เมื่อเก็บแต้มได้เท่ากับ ฮัดเดอร์สฟิลด์ ทาวน์ แต่มีประตูได้เสียที่ดีกว่า โดยมีแต้มตามหลัง ซันเดอร์แลนด์ ทีมแชมป์อยู่ 8 คะแนน
1939 – ในขณะที่ออกสตาร์ทฤดูกาล 1939-40 ไปเพียงแค่ 3 เกม และทีมเก็บได้ 4 คะแนนจากการชนะ 2 แพ้ 1 ฟุตบอลลีกทั่วทั้งประเทศก็ต้องปิดฉากลง หลัง เยอรมนี กรีฑาทัพบุกเข้าสู่ โปแลนด์ จนกลายเป็นจุดเริ่มต้นของ สงครามโลกครั้งที่ 2
1946 – หลังสงครามสิ้นสุดลงแม้จะยังไม่มีการกลับมาลงเตะกันในเกมลีก แต่ทางสมาคมก็ตัดสินใจเริ่มต้นด้วยการแข่งขัน เอฟเอ คัพ ในซีซั่น 1945-46 ซึ่ง เดอะ แรมส์ ก็สามารถโชว์ฟอร์มได้อย่างยอดเยี่ยมก่อนจะผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศไปพบกับ ชาร์ลตัน แอธเลติก และคราวนี้พวกเขาก็เป็นฝ่ายสมหวังหลังจากถล่มคู่แข่งยับเยิน 4-1 ที่ เวมบลีย์ จนได้ฉลองโทรฟี่ระดับเมเจอร์ใบแรกของสโมสร
1947 – หลังว่างเว้นการแข่งขันไปเป็นระยะเวลาร่วม 7 ปี ฟุตบอลลีก ก็กลับมาเปิดฉากขึ้นออกครั้งในฤดูกาล 1946-47 โดยที่ทีมอยู่ในอันดับที่ 14 จากการมีคะแนนเท่ากับ พอร์ทสมัธ และ อาร์เซน่อล แต่เป็นรองที่ลูกได้เสีย
1949 – พวกเขาค่อยๆพัฒนาฟอร์มขึ้นมาจนสามารถจอดป้ายในอันดับที่ 3 โดยมีคะแนนเท่ากับ แมนฯ ยูไนเต็ด แต่เป็นรองที่ลูกได้เสีย และมีแต้มตามหลัง พอร์ทสมัธ ทีมแชมป์อยู่ 5 คะแนน
1953 – แต่หลังจากนั้นผลงานของทีมก็เริ่มดร็อปลงเรื่อยๆ จนกระทั่งมาจมอยู่ท้ายตารางหลังจบฤดูกาล 1952-53 และร่วงลงไปยัง ดิวิชั่น 2 พร้อมๆกับ สโต๊ค ซิตี้
1955 – สถานการณ์ของ ดาร์บี้ ยังไม่กระเตื้องขึ้น หลังจมลงไปอยู่ก้นตารางจากผลงานที่เอาชนะในเกมนอกบ้านได้เพียงแค่ครั้งเดียวจนร่วงตกชั้นลงสู่ ดิวิชั่น 3
1956 – ภายในซีซั่นแรกที่ลงเตะอยู่ใน ดิวิชั่น 3 โซนทางเหนือ พวกเขาสามารถเข้าป้ายเป็นที่สองรองจาก กริมสบี้ ทาวน์ แต่ก็หมดสิทธิ์เลื่อนชั้นเพราะมีเพียงทีมแชมป์จากลีกทางตอนเหนือและใต้เท่านั้นที่จะได้ขยับขึ้นไป
1957 – และแล้ว แกะเขาเหล็ก ก็เลื่อนชั้นกลับสู่ ดิวิชั่น 2 ได้สำเร็จ หลังคว้าแชมป์ลีกทางตอนเหนือโดยทำแต้มได้มากกว่า ฮาร์เทิลพูลส์ ยูไนเต็ด 4 คะแนน
1967 – พวกเขาใช้เวลา 10 ปีอยู่ใน ดิวิชั่น 2 ด้วยอันดับที่สวิงขึ้นๆลงๆจากผลงานที่ดีที่สุดในการได้ที่ 7 และแย่สุดด้วยการอยู่ในอันดับที่ 18 ในขณะที่ฤดูกาลล่าสุดก็จบด้วยอันดับที่ 17 ก่อนที่ ไบรอัน คลัฟ และ ปีเตอร์ เทย์เลอร์ มือขวาของเขาจะก้าวเข้ามาสร้างจุดเปลี่ยนให้กับทีมในช่วงซัมเมอร์ปีนั้น
1969 – หลังใช้เวลาลองผิดลองถูกและเริ่มต้นสร้างทีมใหม่ของตนเองที่รวมถึงการเซ็นสัญญากับ อลัน ฮินตัน ปีกซ้ายดีกรีทีมชาติอังกฤษ อีกทั้ง จอห์น โอแฮร์ และ เดฟ แม็คเคย์ 2 ดาวเตะชาวสกอต ในที่สุด คลัฟ ก็ช่วยพลิกโฉมหน้าจากทีมที่เคยจบในอันดับที่ 18 ในปีที่ผ่านมาจนก้าวขึ้นไปคว้าแชมป์ ดิวิชั่น 2 พร้อมโอกาสหวนกลับคืนสู่สังเวียนแข้งระดับสูงสุดของประเทศเป็นครั้งแรกในรอบ 16 ปี
1970 – คลัฟ สร้างผลงานในซีซั่นแรกของการกลับคืนสู่ ดิวิชั่น 1 ได้อย่างน่าประทับใจด้วยการพาทีมจบในอันดับที่ 4
1972 – ในที่สุดแชมป์ที่สาวก เดอะ แรมส์ ทุกคนรอคอยก็มาถึง เมื่อ คลัฟ สามารถพาลูกทีมโกยแต้มเบียดตีคู่มากับ ลีดส์ ยูไนเต็ด, ลิเวอร์พูล และ แมนฯ ซิตี้ ก่อนจะปาดหน้าคว้าถ้วย ดิวิชั่น 1 มาครองได้สำเร็จจากคะแนนที่มากกว่าคู่แข่งเหล่านั้นเพียงแค่แต้มเดียว พร้อมโอกาสลงเตะในถ้วยยุโรปเป็นครั้งแรกในซีซั่นหน้า
1973 – ทีมทำผลงานในฤดูกาลป้องกันแชมป์ได้ไม่ดีเท่าไรนักจากการจบในอันดับที่ 7 ซึ่งสวนทางกับผลงานในระดับทวีปที่ไปได้ไกลจนถึงรอบรองชนะเลิศในรายการ ยูโรเปี้ยน คัพ จากการบุกไปเยือนที่ ตูริน และพ่ายให้กับ ยูเวนตุส 3-1 ก่อนจะกลับมาทำได้แค่เสมอ 0-0 ที่ เบสบอล กราวนด์ โดยตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา คลัฟ มักจะเปิดปากวิพากษ์วิจารณ์เรื่องราวต่างๆทั้งในและนอกสโมสรแบบไม่สนหน้าอินทร์หน้าพรหมรวมถึงการกระทำที่ข้ามหน้าข้ามตาบอร์ดบริหารที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งหลายๆครั้ง จนในที่สุดทั้งตัวเขาและ ปีเตอร์ เทย์เลอร์ ก็ตัดสินใจลาออกในเดือนตุลาคมปีนั้น ท่ามกลางความไม่พอใจของแฟนๆที่มีต่อเหล่าผู้บริหาร
1974 – ภายใต้การคุมทีมของ เดฟ แม็คเคย์ อดีตผู้เล่นที่เข้ามาเสียบแทน ไบรอัน คลัฟ เจ้านายเก่าของเขาในช่วงต้นฤดูกาล 1973-74 ก็ช่วยให้ทีมกลับมาทำผลงานในลีกได้ดีขึ้นจากการเข้าป้ายเป็นอันดับที่ 3 โดยที่ เควิน เฮคเตอร์ ดาวยิงตัวเก่งติดอยู่ในลิสต์ดาวซัลโวที่ 19 ประตูและเป็นรองเพียงแค่ แฟรงค์ เวิร์ทธิงตัน ของ เลสเตอร์ ซิตี้ และ มิก แชนน่อน ของ เซาแธมป์ตัน
1975 – แม้ แม็คเคย์ จะพา ดาร์บี้ ไปได้ไกลเพียงรอบ 16 ทีมสุดท้ายในถ้วย ยูฟ่า คัพ หลังถูก เวเลซ โมสตาร์ ทีมจากบอสเนียเขี่ยตกรอบ แต่เขากลับนำลูกทีมโชว์ฟอร์มในลีกได้อย่างยอดเยี่ยมจนกระทั่งเบียดแซงหน้า ลิเวอร์พูล, อิปสวิช ทาวน์ และ เอฟเวอร์ตัน ขึ้นไปคว้าแชมป์ ดิวิชั่น 1 ได้เป็นสมัยที่ 2 และยังสามารถครองถาด แชริตี้ ชิลด์ ได้จากการสยบ เวสต์แฮม ยูไนเต็ด 2-0 ในช่วงก่อนออกสตาร์ทซีซั่นถัดไป
1976 – พวกเขาทำผลงานในฤดูกาลป้องกันแชมป์ได้ไม่เลวนักจากการจอดป้ายในอันดับที่ 4 และไปได้ไกลจนถึงรอบ 16 ทีมสุดท้ายในถ้วย ยูโรเปี้ยน คัพ หลังถล่ม เรอัล มาดริด ในบ้านได้ 4-1 แต่ก็กลับไปพ่ายแพ้ที่ ซานติอาโก เบร์นาเบว 5-1 จนตกรอบไปแบบฉิวเฉียดด้วยผลรวม 6-5
1977 – หลังออกสตาร์ทฤดูกาลใหม่ได้อย่างย่ำแย่ เดฟ แม็คเคย์ ก็ถูกปลดออกจากตำแหน่งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ก่อนที่ โคลิน เมอร์ฟี่ จะเข้ามารับไม้ต่อและพาทีมจบซีซั่น 1976-77 ด้วยอันดับที่ 15
1980 – แม้ในช่วงที่ผ่านมาสโมสรจะลงมือทาบทาม ทอมมี่ โดเชอร์ตี้ อดีตกุนซือ แมนฯ ยูไนเต็ด ให้เข้ามารับตำแหน่ง แต่ผลงานของพวกเขาก็ไม่กระเตื้องขึ้น จนกระทั่งการตัดสินใจลาออกของเจ้าตัวที่ทำได้เพียงพาทีมรอดตกชั้นแบบหวุดหวิดในปีที่ผ่านมา สุดท้ายแล้วทีมก็ตกชั้นลงไปหลังจบฤดูกาล 1979-80 ด้วยอันดับรองบ๊วย
1983 – ท่ามกลางปัญหาหนี้สินพะรุงพะรังและจำนวนผู้ชมที่ค่อยๆลดน้อยถอยลงจากฟอร์มในสนามที่กำลังดิ่งลงเหว จู่ๆ ปีเตอร์ เทย์เลอร์ อดีตมือขวาของ ไบรอัน คลัฟ ก็หวนกลับมารับตำแหน่งเฮดโค้ชอย่างเต็มตัวในเดือนพฤศจิกายน 1982 และช่วยให้ทีมสร้างสถิติไร้พ่าย 15 นัดจนลอยตัวอยู่เหนือโซนตกชั้นหลังจบซีซั่น 1982-83 ในที่สุด
1984 – แต่ในฤดูกาลถัดมา เทย์เลอร์ กลับไม่สามารรีดฟอร์มเก่งของลูกทีมเหมือนในช่วงท้ายซีซั่นที่แล้ว ก่อนจะลาออกไปในช่วงเดือนเมษายนในขณะที่ทีมอยู่ในอันดับที่ 3 จากท้ายตาราง ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว แกะเขาเหล็ก ก็สลัดตำแหน่งนั้นไม่พ้นและร่วงตกชั้นลงสู่ ดิวิชั่น 3 แต่โชคยังดีที่ทีมยังสะสางหนี้สินไปได้เปลาะหนึ่งด้วยเงินรางวัลที่ได้รับจากการผ่านเข้าไปจนถึงรอบ 8 ทีมสุดท้ายในรายการ เอฟเอ คัพ
1986 – ภายใต้การวางแผนของ อาร์เธอร์ ค็อกซ์ ที่เริ่มออกสตาร์ทการทำงานตั้งแต่ที่ทีมลงมาอยู่ใน ดิวิชั่น 3 ก็สามารถพาทีมเลื่อนชั้นขึ้นมาได้สำเร็จในปีที่ 2 จากการคว้าอันดับที่ 3 รองจาก พลีมัธ อาร์ไกล์ และ เรดดิ้ง ทีมแชมป์
1987 – ค็อกซ์ ยังทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมด้วยการพา เดอะ แรมส์ ทะยานกลับขึ้นสู่ ดิวิชั่น 1 ได้สำเร็จภายในซีซั่นต่อมา ด้วยการคว้าแชมป์ ดิวิชั่น 2 เป็นสมัยที่ 4 ของสโมสร
1989 – หลังประคองตัวเองจนจบในอันดับที่ 15 ในปีที่ผ่านมา พวกเขาก็เริ่มเดินหน้าไปในทิศทางบวกทั้งจากแฟนบอลที่กำลังหลั่งไหลกลับคืนมาพร้อมจัดการปัญหาหนี้สินได้อย่างลงตัว และแล้วทีมที่นำโดยขุมกำลังหลักอย่าง ปีเตอร์ ชิลตัน, มาร์ค ไรท์ และ ดีน ซอนเดอร์ส ก็สามารถขยับขึ้นไปรั้งอยู่ในอันดับที่ 5 หลังจบฤดูกาล 1988-89
1991 – แต่จากการบริการงานที่ขาดความต่อเนื่องของผู้บริหารก็ทำให้ทีมเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะขัดสน จนทำให้ผลงานตกต่ำลงอย่างน่าใจหายและร่วงตกชั้นลงไปอีกครั้งด้วยการเป็นทีมบ๊วยของตาราง
1992 – พวกเขามีโอกาสเลื่อนชั้นภายในปีแรกจากการได้อันดับที่ 3 จนได้ไปลุ้นต่อในเกมเพลย์ออฟรอบตัดเชือกและพ่ายให้กับ แบล็กเบิร์น โรเวอร์ส ที่กลายเป็นทีมที่ผ่านขึ้นไปได้ในท้ายที่สุด ก่อนที่พวกเขาจะมาเอาชนะ แบล็กเบิร์น ในการแย่งตัว เคร็ก ชอร์ต กองหลังชาวอังกฤษผู้ย้ายเข้ามาด้วยค่าตัว 2.5 ล้านปอนด์ที่กลายเป็นค่าตัวแพงสุดของผู้เล่นที่อยู่นอกลีกสูงสุด
1993 – มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างในฟุตบอลลีก พร้อมกับการเปิดตัว พรีเมียร์ลีก ในฐานะลีกสูงสุดของประเทศ ในขณะที่ ดิวิชั่น 2 เดิมก็ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น ดิวิชั่น 1 โดยที่พวกเขาจบฤดูกาลแรกใน ดิวิชั่น 1 ยุคใหม่ด้วยอันดับที่ 8
1994 – ทีมมีโอกาสลุ้นเลื่อนชั้นอีกครั้งหลังเข้าป้ายเป็นอันดับที่ 5 โดยหลังจากผ่าน มิลล์วอลล์ ในเกมเพลย์ออฟรอบรองชนะเลิศมาได้ พวกเขากลับไปพ่ายให้กับ เลสเตอร์ ซิตี้ 2-1 ในนัดชิงชนะเลิศ หลังถูก สตีฟ วอลช์ กัปตันทีมจิ้งจอกยิงประตูชัยในนาทีที่ 87
1996 – สโมสรประกาศแต่งตั้ง จิม สมิธ ขึ้นมารับตำแหน่งกุนซือและ สตีฟ แม็คลาเรน ที่เป็นผู้ช่วยในช่วงออกสตาร์ทฤดูกาล 1995-96 พร้อมกับการเซ็นสัญญาที่คุ้มค่าอย่าง อิกอร์ สติมัช ปราการหลังชาวโครแอต ก็ทำให้ดาร์บี้ ได้โอกาสกลับขึ้นไปสัมผัสบรรยากาศใน พรีเมียร์ลีก ดังที่หวัง หลังคว้าอันดับที่ 2 รองจาก ซันเดอร์แลนด์ ที่มีแต้มห่างกันอยู่ 4 คะแนน
1997 – หลังพาตัวเองอยู่รอดปลอดภัยในซีซั่นประเดิม พรีเมียร์ลีก ด้วยการได้อันดับที่ 12 สโมสรก็ประกาศย้ายออกจาก เบสบอล กราวนด์ ที่ใช้งานมายาวนานร่วม 102 ปี เพื่อเข้าสู่สนามเหย้าแห่งใหม่ ไพรด์ พาร์ค สเตเดี้ยม ในช่วงออกสตาร์ทซีซั่นหน้า พร้อมกับการเสริมทัพในช่วงซัมเมอร์ด้วยการดึงตัว เปาโล วันโชเป้ ดาวยิงชาวคอสตาริกา และ สเตฟาโน่ เอรานิโอ มิดฟิลด์ทีมชาติอิตาลี
2001 – หลังย้ายเข้าสู่บ้านใหม่แม้พวกเขาจะสามารถประคองตัวเองให้อยู่ในครึ่งบนของตารางได้ 2 ซีซั่นติดต่อกัน แต่หลังจากนั้นทีมก็เริ่มทำผลงานดร็อปลงซึ่งรวมถึงการจบฤดูกาล 2000-01 ในอันดับที่ 17 ติดๆกับ แมนฯ ซิตี้ ที่ตกชั้นลงไป
2002 – หลังพาทีมดิ้นรนหนีตายมาตลอด 3 ปีหลังสุด ในที่สุด จิม สมิธ ก็ตัดสินใจลาออกในช่วงเดือนตุลาคม 2001 โดยที่ โคลิน ท็อดด์ คือผู้ที่เข้ามารับหน้าที่ต่อ แต่ก็อยู่ได้เพียงแค่ 3 เดือนก่อนจะเปลี่ยนมาเป็น จอห์น เกรกอรี่ ที่สุดท้ายก็ไม่สามารถช่วยให้ทีมหลุดพ้นจากอันดับรองบ๊วยไปได้ ซึ่งภายหลังการตกชั้นทีมก็อยู่ในสภาวะวิกฤติทางด้านการเงินอีกครั้งจนต้องทะยอยขายผู้เล่นคนสำคัญออกไป
2003 – หลังลงมาตั้งต้นใหม่ใน ดิวิชั่น 1 ด้วยการจบในอันดับที่ 18 ก็มีคำสั่งจากศาลให้สโมสรอยู่ในการพิทักษ์ทรัพย์สิน ก่อนจะถูกขายทอดตลาดในช่วงเดือนตุลาคมให้กับ เจเรมี่ คีธ อดีตผอ.ของ พอร์ทสมัธ ในราคา 3 ล้านปอนด์
2005 – แกะเขาเหล็ก กลับมาโชว์ฟอร์มได้ดีขึ้นผิดหูผิดตาภายในซีซั่นแรกของการรีแบรนด์ฟุตบอลลีกที่เปลี่ยนชื่อ ดิวิชั่น 1 ไปเป็น ลีกแชมเปี้ยนชิพ จากการเข้าป้ายในอันดับที่ 4 จนได้ไปลุ้นต่อในเกมเพลย์ออฟเลื่อนชั้น แต่ก็ต้องสะดุดตั้งแต่รอบรองชนะเลิศหลังพ่ายให้กับ เปรสตัน นอร์ธ เอนด์ ด้วยสกอร์รวม 2-0
2006 – ในช่วงปลายฤดูกาล 2005-06 กลุ่มกิจการค้าร่วมที่นำโดย ปีเตอร์ แกดสบี้ นักธุรกิจชาวท้องถิ่นก้าวเข้ามาเป็นเจ้าของสโมสรรายใหม่ พร้อมกับช่วยหักลบหนี้จนนำสนาม ไพรด์ พาร์ค สเตเดี้ยม กลับคืนมาเป็นกรรมสิทธิ์ของทีมได้อีกครั้ง ก่อนจะประกาศแต่งตั้ง บิลลี่ เดวี่ส์ เข้ามาเป็นผจก.ทีมคนใหม่ในซีซั่นหน้า
2007 – และแล้วภายในซีซั่นเปิดตัวของ เดวี่ส์ เขาก็สามารถพาทีมจบในอันดับที่ 3 พร้อมคว้าสิทธิ์ไปลงเตะในเกมเพลย์ออฟ ซึ่งหลังจากผ่าน เซาแธมป์ตัน มาได้ในรอบตัดเชือก ก็ต้องไปดวลกับ เวสต์บรอมวิช อัลเบี้ยน ในนัดชี้ชะตาที่ เวมบลีย์ และจากประตูโทนในนาทีที่ 61 ของ สตีเฟ่น เพียร์สัน ก็ทำให้ เดอะ แรมส์ ทะยานกลับคืนสู่ พรีเมียร์ลีก ได้อีกครั้งพร้อมกับเงินอัดฉีดที่หลั่งไหลเข้ามาราว 60 ล้านปอนด์
2008 – หลังจากสะกดคำว่าชนะไม่เป็นตลอด 5 เกมแรก พวกเขามาเก็บ 3 คะแนนแรกได้จากการเอาชนะ นิวคาสเซิ่ล ยูไนเต็ด ในช่วงกลางเดือนกันยายน ในเดือนต่อมา ปีเตอร์ แกดสบี้ ตัดสินใจก้าวลงจากตำแหน่งประธานสโมสรและประกาศแต่งตั้ง อดัม เพียร์สัน ขึ้นมาทำหน้าที่แทน หลังการออกสตาร์ทที่ย่ำแย่ บิลลี่ เดวี่ส์ ก็ถูกปลดออกไปในเดือนพฤศจิกายน และได้ตัว พอล จีเวลล์ เข้ามาเสียบแทน จนกระทั่งเดือนมกราคม 2008 สโมสรก็ถูกเทคโอเวอร์โดยกลุ่มนักลงทุนต่างชาติที่นำโดย General Sports and Entertainment โดยให้ เพียร์สัน ยังคงดำรงตำแหน่งประธานต่อไป ท้ายที่สุดแล้วพวกเขาก็ไม่สามารถรอดพ้นจากการตกชั้นด้วยสถิติอันเลวร้ายที่สุดจากการปิดฉากรูดม่านตั้งแต่เดือนมีนาคมและยังสร้างสถิติเก็บแต้มได้น้อยที่สุดในประวัติศาสตร์พรีเมียร์ลีก รวมถึงทำสถิติในรอบ 108 ปีของฟุตบอลลีกในการเก็บชัยชนะได้เพียงแค่ครั้งเดียวตลอดทั้งซีซั่นเทียบเท่ากับ ลาฟโบโร่ ที่เคยตกชั้นจาก ดิวิชั่น 2 ในฤดูกาล 1899-1900
2009 – ช่วงต้นซีซั่น 2008-09 ในเกมที่เปิดบ้านต้อนรับ เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด ตอนกลางเดือนกันยายน 2008 สื่อทั้งหลายต่างให้ความสนใจในเกมนี้เนื่องจากใกล้จะถึงวันครบรอบ 1 ปีหลังจากหนสุดท้ายที่ ดาร์บี้ เอาชนะในเกมลีก พร้อมทำลายสถิติเอาชนะใครในลีกไม่ได้เลยยาวนานที่สุดโดยคิดตามจำนวนแมตช์ จนกระทั่งประตูชัยในช่วงครึ่งหลังของ ร็อบ ฮัลส์ ที่ยิงใส่ต้นสังกัดเก่าก็ทำให้ทีมเจ้าถิ่นเก็บ 3 คะแนนเต็มได้ด้วยสกอร์ 2-1 พร้อมกับเป็นชัยชนะครั้งแรกของ พอล จีเวลล์ ที่ผ่านการคุมทีมมาแล้วถึง 27 นัด แม้จะสามารถพาทีมผ่านเข้าไปจนถึงรอบรองชนะเลิศในรายการ ลีก คัพ ที่สุดท้ายก็ต้องตกรอบด้วยน้ำมือของ แมนฯ ยูไนเต็ด แต่เขาก็ตัดสินใจลาออกในช่วงเดือนธันวาคม 2008 หลังพาทีมเก็บชัยชนะได้เพียง 2 ครั้งจาก 11 เกมที่ผ่านมา และก็เป็น ไนเจล คลัฟ ลูกชายของ ไบรอัน คลัฟ อดีตตำนานกุนซือของทีมที่เข้ามารับไม้ต่อและพาทีมประคองตัวจนจบในอันดับที่ 18
2014 – ผลงานตลอด 4 ปีที่ผ่านมาของ คลัฟ คือการพาทีมขึ้นมาได้สูงสุดแค่อันดับที่ 10 ก่อนจะตัดสินใจลาออกไปในช่วงต้นซีซั่น 2013-14 โดยที่ สตีฟ แม็คราเลน ขยับเข้ามารับหน้าที่ต่อ พร้อมกับผลงานที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจนทำให้ขยับขึ้นไปจอดป้ายอยู่ในอันดับที่ 3 แต่น่าเสียดายที่แม้จะผ่าน ไบรท์ตัน แอนด์ โฮฟ อัลเบี้ยน มาได้ในเกมเพลย์ออฟเลื่อนชั้นรอบตัดเชือก แต่ก็ไปพ่ายแบบฉิวเฉียดให้กับ ควีนส์ปาร์ค เรนเจอร์ส 1-0 ในนัดชิงที่ เวมบลีย์
2015 – ในซีซั่นต่อมา แกะเขาเหล็ก พลาดโอกาสลุ้นเพลย์ออฟหลังทำได้เพียงอันดับที่ 8 จนทำให้ เมล มอร์ริส เจ้าของทีมคนล่าสุดที่เข้ามาถือครองหุ้นส่วนใหญ่ในช่วงหลังจบฤดูกาลที่แล้วตัดสินใจปลด แม็คราเลน และก็เป็น พอล คลีเมนต์ ที่เข้ามาแทนที่
2016 – กุนซือคนใหม่พาทีมออกสตาร์ทในช่วงครึ่งซีซั่นแรกได้อย่างน่าประทับใจและสามารถขึ้นไปรั้งอยู่ในตำแหน่งจ่าฝูงได้ 1 สัปดาห์ในช่วงปลายปี 2015 แต่หลังจากย่างเข้าสู่ปี 2016 ด้วยการชนะใครไม่ได้เลยตลอดทั้งเดือนมกราคม ก็ทำให้ คลีเมนต์ กระเด็นหลุดออกจากตำแหน่งและเปลี่ยนเป็น ดาร์เรน วาสซอลล์ ที่เข้ามาคุมทีมต่อจนกระทั่งจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 5 ก่อนจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ฮัลล์ ซิตี้ ด้วยสกอร์รวม 3-2 ในเกมเพลย์ออฟรอบรองชนะเลิศ
2018 – หลังผ่านการใช้งานกุนซือถึง 3 คนในซีซั่นที่ผ่านมา แกรี่ โรเวตต์ ที่เข้ามารับตำแหน่งในเดือนมีนาคม 2017 ก็ได้โอกาสคุมทีมตั้งแต่ช่วงออกสตาร์ทซีซั่น 2017-18 จนคว้าสิทธิ์ลุ้นเลื่อนชั้นได้หลังจากอยู่ในอันดับที่ 6 แต่สุดท้ายก็พ่ายให้กับ ฟูแล่ม ในเกมเพลย์ออฟรอบตัดเชือกด้วยสกอร์รวม 2-1 ก่อนที่คู่แข่งของพวกเขาจะกลายเป็นทีมที่คว้าตั๋วขึ้นไปเล่นใน พรีเมียร์ลีก ได้ในที่สุด หลังจากจบฤดูกาลนั้นสโมสรก็ประกาศแต่งตั้ง แฟรงค์ แลมพาร์ด ตำนานแข้งทีมเชลซี ขึ้นมาเป็นผจก.ทีมคนใหม่
ดาร์บี้ มักจะเป็นที่กล่าวขานในด้านดีถึงเรื่อง “เมืองที่มีคลั่งไคล้ในเกมลูกหนัง” จากทั้งกองเชียร์คู่แข่งและสื่อต่างๆ โทนี่ ฟรานซิส คอลัมนิสต์ชื่อดังของ เดอะ เทเลกราฟ ได้เคยกล่าวไว้ว่า “ดาร์บี้ คือเมืองที่คลั่งไคล้ในเกมลูกหนัง แม้แต่ตอนที่พวกเขาจะอยู่ใน ดิวิชั่น 2 ก็ตาม มันเป็นเรื่องที่สามารถพนันกันได้เลยว่าจำนวนผู้ชมใน ไพรด์ พาร์ค สเตเดี้ยม จะไม่มีทางต่ำกว่า 20,000 คน มันเป็นเรื่องของประวัติศาสตร์ เป็นเรื่องของภูมิศาสตร์ และเป็นสิ่งที่อยู่ในสายเลือด ซึ่งจะมีอยู่เฉพาะในบางพื้นที่เท่านั้น” ระหว่าง พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2007-08 สาวกของ เดอะ แรมส์ ต่างถูกยกย่องว่าเป็นแฟนบอลที่จงรักภักดีมากที่สุดท่ามกลางผลงานอันเลวร้ายตลอดทั้งซีซั่นนั้น แทบจะทุกเกมในบ้านของพวกเขาต่างขายตั๋วได้หมดเกลี้ยง ในขณะที่กลุ่มผู้คนที่ออกไปให้กำลังใจในนัดเยือนก็ยังถือว่ามีจำนวนมาก จากการแสดงออกอันยอดเยี่ยมนี้ก็ทำให้กองเชียร์ของ ดาร์บี้ ถูกยกย่องให้เป็นแฟนบอลยอดเยี่ยมประจำฤดูกาลจากสื่อหลายๆสำนักที่รวมถึงผลโหวตของ สกาย สปอร์ตส์ อีกด้วย อีกทั้งในปี 2013 นิก เว็บสเตอร์ แฟนบอลพันธุ์แท้ของทีมก็สามารถคว้าตำแหน่ง แฟนบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของลีกแชมเปี้ยนชิพ
จากข้อมูลทางสถิติ แกะเขาเหล็ก มีจำนวนแฟนบอลเฉลี่ยในสนามสูงที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของประเทศในซีซั่น 2007-08, 2008-09 และ 2009-10 ที่แม้รังเหย้าของพวกเขาจะมีขนาดรองรับผู้ชมได้มากที่สุดเป็นอันดับที่ 15 ของประเทศ และจบด้วยอันดับต่ำกว่าที่ 18 หรือน้อยกว่าจากลำดับทั้งหมดของระบบฟุตบอลลีก ในฤดูกาล 2008-09 พวกเขามีสถิติแฟนบอลเข้ามาชมเกมมากที่สุดใน ลีกแชมเปี้ยนชิพ ด้วยตัวเลขเฉลี่ยที่สูงกว่า 9 สโมสรใน พรีเมียร์ลีก พร้อมสถิติยอดคนดูสูงสุดในเกมที่พบกับ วูล์ฟแฮมป์ตัน วันเดอเรอร์ส เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2009 พวกเขามีคู่ปรับที่สำคัญหลายทีม เช่น น็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์, ลีดส์ ยูไนเต็ด และ เลสเตอร์ ซิตี้ โดยที่รายแรกถูกมองว่าเป็นคู่อริหมายเลขหนึ่งจากการสำรวจในปี 2008 ที่มีการเปิดเผยข้อมูลว่า 9 ใน 10 ของแฟนบอลจากทั้งสองทีมต่างระบุฝั่งตรงข้ามว่าเป็นศัตรูตัวฉกาจของพวกเขา การพบกันระหว่างคู่ต่อสู้ที่มีระยะห่างเพียง 14 ไมล์ไปทางตะวันออกของ ดาร์บี้ มีชื่อเรียกว่า ดาร์บี้แห่งมิดแลนด์สตะวันออก (East Midlands derby) ซึ่งผู้ชนะก็จะเป็นฝ่ายได้ครอบครองรางวัล Brian Clough Trophy
เป็นที่รู้กันว่าทั้ง 2 ฝ่ายต่างเริ่มไม่ลงรอยกันตั้งแต่ช่วงยุคปี 70 ซึ่งสาเหตุก็มาจาก ไบรอัน คลัฟ อดีตผจก.ทีมที่ย้ายไปอยู่กับ ฟอเรสต์ จนทำให้เกิดความโกรธแค้นกันในหมู่แฟนๆของ ดาร์บี้ ในขณะที่นักวิจารณ์บางคนได้ให้ความเห็นว่าการเป็นศัตรูกันของทั้งคู่มาจากการแย่งชิงกันว่าฝ่ายไหนคือผู้ที่กุมหัวใจของยอดกุนซือได้มากกว่ากัน ลีดส์ ถูกมองว่าเป็นศัตรูจากการที่ทั้งคู่เคยเป็น 2 ทีมที่ทำผลงานอยู่ในระดับแถวหน้าตอนช่วงยุคปี 70 และบ้างก็ว่ามาจากการประชันผลงานกันระหว่าง ไบรอัน คลัฟ และ ดอน เรวี่ กุนซือผู้ยิ่งใหญ่ของทีมยูงทอง ซึ่งเรื่องราวระหว่างทั้ง 2 ฝ่ายเคยถูกนำมาทำเป็นบทประพันธ์และภาพยนตร์เรื่อง The Damned United ในขณะที่ ดาร์บี้ มองอีกฝ่ายเป็นคู่ปรับตัวฉกาจและถึงขั้นยกให้เป็นทีมอริหมายเลข 2 แต่ทางฝั่ง ลีดส์ กลับหันไปโฟกัสที่ศัตรูอย่าง แมนฯ ยูไนเต็ด และ เชลซี เสียมากกว่า ส่วนทาง เลสเตอร์ ที่ถูกมองว่าเป็นอีกหนึ่งคู่แข่งที่สำคัญก็เนื่องมาจากระยะทางที่อยู่ใกล้กันมากกว่าเรื่องราวในประวัติศาสตร์
The post พลิกประวัติ ดาร์บี้ เคาน์ตี้ แกะเขาเหล็กแห่งมิดแลนด์ส first appeared on ผลบอลสด บ้านผลบอล ผลบอลวันนี้ 7m 888 Livescore.]]>โซซีเอต้าสปอร์ตีว่าลัตซีโย (Società Sportiva Lazio) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม ลาซิโอ คือสโมสรกีฬาที่ตั้งถิ่นฐานใน กรุงโรม แคว้นลัตซีโย ประเทศอิตาลี โดยในส่วนที่สร้างชื่อเสียงให้กับสโมสรมากที่สุดก็คือทีมฟุตบอล ทีมเจ้าของฉายา “เบียงโคเชเลสติ” หรือที่บ้านเราเรียกกันว่า “อินทรีฟ้าขาว” ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1900 และใช้เวลาส่วนใหญ่ลงชิงชัยอยู่ในลีกสูงสุดของประเทศมาโดยตลอด พวกเขาเคยได้แชมป์ลีกของประเทศ 2 ครั้ง (1974, 2000), แชมป์ โคปปา อิตาเลีย 6 สมัย และ ซูเปอร์โคปปา อิตาเลียน่า อีก 4 ครั้ง นอกจากนี้ยังเคยคว้าแชมป์ ยูฟ่า คัพ วินเนอร์ส คัพ และ ยูฟ่า ซูเปอร์ คัพ อีกอย่างละสมัย
ลาซิโอ ประสบความสำเร็จในรายการระดับเมเจอร์ครั้งแรกเมื่อปี 1958 จากการชนะเลิศในฟุตบอลถ้วย ก่อนจะคว้าแชมป์ เซเรีย อา ได้เป็นสมัยแรกในปี 1974 จนกระทั่งยุคปี 90 ที่ถือเป็นช่วงเวลาทองของพวกเขาอย่างแท้จริงจากการผ่านเข้าไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศ ยูฟ่า คัพ ในปี 1998 และได้ครองถ้วยยุโรป 2 ใบในปี 1999 ก่อนจะมาคว้าแชมป์ลีกได้อีกในปี 2000 แต่จากวิกฤติทางด้านการเงินในปี 2002 ก็กลายเป็นสาเหตุที่บีบบังคับให้ แซร์โจ้ ครันญ็อตติ ประธานสโมสรในเวลานั้นต้องลาออกไปพร้อมกับการปล่อยตัวแข้งสตาร์เด่นออกไปเป็นจำนวนมาก จนทำให้ผลงานในลีกของพวกเขาค่อยๆถดถอยลง
แม้จะถูกรัดเข็มขัดในด้านของงบประมาณแต่ อินทรีฟ้าขาว กลับสามารถคว้าแชมป์ อิตาเลียน คัพ ได้ถึง 3 สมัยในปี 2004, 2009 และ 2013 ซึ่งก็ถือเป็นเครดิตของ เคลาดิโอ โลติโต้ ประธานสโมสรคนปัจจุบันที่ก้าวเข้ามาดำรงตำแหน่งนับตั้งแต่ปี 2004 ซึ่งเป็นระยะเวลา 2 ปีหลังการจากไปของ ครันญ็อตติ ที่ได้ฝากสถานการณ์ที่ย่ำแย่เอาไว้
ชุดแข่งที่เป็นเอกลักษณ์ของทีมคือเสื้อสีท้องฟ้าที่มาพร้อมกับกางเกงและถุงเท้าสีขาว ซึ่งเป็นสีที่แสดงถึงชนชาติกรีก เชื้อสายดั้งเดิมของชาวโรมัน ก่อนที่ถุงเท้าสีฟ้าจะถูกเปลี่ยนมาใช้กับชุดแข่งทีมเหย้า ปัจจุบันพวกเขาลงเตะอยู่ใน สตาดิโอ โอลิมปิโก สนามเหย้าความจุ 70,643 ที่นั่ง ที่ใช้งานร่วมกับ โรม่า ไปจนถึงปี 2020 ก่อนที่ทีมคู่ปรับร่วมเมืองจะแยกตัวออกไปใช้สนาม สตาดิโอ เดลล่า โรม่า ของตนเอง แม้จากจุดเริ่มต้น ลาซิโอ จะไม่ได้มีการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับทีมกีฬาระดับอาชีพใดๆก็ตาม แต่กลุ่มผู้ก่อตั้งสโมสรก็อนุญาตให้สมาชิกมีส่วนร่วมกับกิจกรรมด้านกีฬาต่างๆกว่า 40 ประเภท ซึ่งถือว่ามากที่สุดจากบรรดาสโมสรกีฬาทั่วทั้งโลก
1900 – จากสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งทั้งหมด 9 คนได้เริ่มเปิดตัวสโมสรในวันที่ 9 มกราคม 1900 และเลือกใช้ชื่อ ลาซิโอ ตามชื่อแคว้นที่อยู่ของพวกเขา ซึ่งสีท้องฟ้าที่ถูกนำมาใช้เป็นสีประจำสโมสรก็เพื่อเป็นการรำลึกถึงชนชาวกรีกโบราณและเพื่อเป็นการร่วมเฉลิมฉลองให้กับมหกรรมกีฬา โอลิมปิก เกมส์
1902 – สโมสรลงเตะแมตช์แรกกับ เวอร์ทัส ที่ถูกกล่าวถึงว่าเป็น โรมัน ดาร์บี้ นัดแรกอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งทีมก็เป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ 3-0
1907 – สหพันธ์ฟุตบอลอิตาลี หรือ FIGC ให้การสนับสนุนการแข่งขันชิงแชมป์ลูกหนังแห่งกรุงโรม โดยที่ ลาซิโอ เป็นผู้ที่คว้าชัยในรายการนี้จากการปราบ เวอร์ทัส คู่ปรับเก่าในรอบชิงชนะเลิศ แต่ทีมกลับไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมแข่งขันในรายการระดับประเทศ
1910 – หลังจากลงเตะในระดับสมัครเล่นมานานครบ 10 ปี พวกเขาก็ตัดสินใจเปิดตัวทีมฟุตบอลระดับอาชีพและเข้าร่วมแข่งขันในเกมลีกอย่างเป็นทางการในปีนั้น
1913 – หลัง FIGC เปิดตัวลีกการแข่งขันภูมิภาคตอนกลางและตอนใต้ของประเทศขึ้นมาในฤดูกาล 2012-13 อินทรีฟ้าขาว ก็สามารถผ่านเข้าสู่รอบสุดท้ายในฐานะแชมป์ภูมิภาค ก่อนจะไปพ่ายแบบย่อยยับให้กับ โปร แวร์เชลลี่ 6-0 ในนัดชิงชนะเลิศ
1914 – พวกเขาผ่านเข้ารอบสุดท้ายอีกครั้งในฐานะแชมป์จากทางตอนใต้และทะลุเข้าไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศเป็นปีที่สองติดต่อกัน แต่ก็ยังคงต้องผิดหวังจากการปราชัยให้กับ คาซาเล่ ด้วยสกอร์ที่เละเทะยิ่งกว่าเดิม 9-1
1915 – แม้ทีมจะยังรักษามาตรฐานด้วยการเป็นแชมป์ภูมิภาค แต่การแข่งขันรอบสุดท้ายเพื่อชิงแชมป์ของประเทศกลับถูกยกเลิกไปก่อนเนื่องจาก อิตาลี ย่างเข้าสู่ภาวะ สงครามโลกครั้งที่ 1
1923 – หลังสงครามสงบลงและลีกการแข่งขันก็กลับมาลงเตะกันต่อเป็นปีที่ 4 ลาซิโอ ก็สามารถฟันฝ่าเข้าไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศในระดับประเทศได้อีกครั้ง แต่ก็ไม่อาจต้านทานความร้อนแรงของ เจนัว ที่สยบพวกเขาลงได้อย่างราบคาบ 6-1
1926 – จากการพยายามปรับโครงสร้างลีกก็ทำให้ทีมร่วงตกลงไปสู่ ดิวิชั่น 2 หรือ ปรีม่า ดีวีซีโอเน่ ในฤดูกาลถัดไป
1927 – ลาซิโอ สามารถกลับขึ้นมายังลีกสูงสุดของประเทศได้หลังเข้าป้ายเป็นที่หนึ่งของกลุ่ม D ใน ปรีม่า ดีวีซีโอเน่ ฤดูกาล 1926-27 ต่อมาในช่วงซัมเมอร์ปีนั้นด้วยนโยบายทางการเมืองของ ลัทธิฟาสซิสต์ ที่กำลังเรืองอำนาจอยู่ใน อิตาลี ก็ได้มีความพยายามที่จะรวบรวมสโมสรทั้งหมดใน กรุงโรม ให้มีความแข็งแกร่งเพียงพอที่จะไปต่อกรกับทีมระดับบิ๊กเนมทางตอนเหนือ แต่ด้วยมุมมองที่เห็นต่างของ นายพลจอร์โจ้ วัคคาโร่ นายทหารใหญ่ของลัทธิฟาสซิสต์ผู้รับบทบาทหัวเรือใหญ่ที่ช่วยผลักดันให้ ลาซิโอ ยังคงรักษาอัตลักษณ์ของตัวเองเอาไว้ได้ต่อไป ก่อนที่การรวมตัวของสโมสรที่เหลือจะกลายเป็นจุดกำเนิดของ อาแอส โรม่า ทีมคู่ปรับตลอดกาลของพวกเขา
1929 – เบียงโคเชเลสติ มีโอกาสเป็นหนึ่งในสโมสรที่ร่วมเปิดตัว เซเรีย อา อย่างเป็นทางการ และสามารถเอาชนะ โบโลญญ่า 3-0 ในนัดเปิดฤดูกาล แต่สุดท้ายแล้วพวกเขากลับทำได้เพียงจบฤดูกาล 1929-30 ด้วยอันดับที่ 15 และหมิ่นเหม่ต่อการตกชั้น
1932 – พวกเขากลายเป็นทีมแรกใน เซเรีย อา ที่ชักนำชาวบราซิลเข้ามาสู่วงการลูกหนังภายในประเทศ เริ่มต้นด้วย อมิลการ์ บาบาย อดีตกองกลางทีมชาติบราซิล ที่เข้ามานั่งเก้าอี้กุนซือในช่วงออกสตาร์ทฤดูกาล 1931-32 แต่ก็ทำได้แค่พาทีมจบในอันดับที่ 13
1934 – หลังจบด้วยอันดับที่ 10 สองฤดูกาลซ้อนภายใต้การคุมทีมของ คาร์ล สตวร์มเมอร์ ก็ทำให้เขาถูกแทนที่ด้วย วอลเตอร์ อัลท์ ในช่วงออกสตาร์ทซีซั่น 1934-35 ที่เข้ามาพร้อมกับ สเตฟาโน่ ปิโอลี่ ยอดดาวยิงที่กลายเป็นตำนานดาวซัลโวสูงสุดตลอดกาลของ เซเรีย อา จวบจนทุกวันนี้
1937 – ด้วยฟอร์มอันร้อนแรงของ ปิโอลี่ ที่กระหน่ำไปทั้งหมด 21 ประตูจนผงาดขึ้นมาเป็นดาวซัลโวในฤดูกาล 1936-37 ก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้ทีมเข้าป้ายเป็นอันดับที่ 2 โดยมีแต้มตามหลัง โบโลญญ่า เพียง 3 คะแนน
1938 – แม้ทีมจะตกลงมาอยู่ในอันดับที่ 8 ในซีซั่นต่อมา แต่ด้วยผลงานส่วนตัวของ ปิโอลี่ ก็ยังยอดเยี่ยมเพียงพอที่จะทำให้เขากลายเป็นผู้เล่นหนึ่งเดียวของสโมสรที่ติดทีมชาติอิตาลีไปลงเตะใน ฟุตบอลโลก 1938 และสามารถคว้าตำแหน่งรองดาวซัลโวที่ช่วยให้ อัซซูร์รี่ ก้าวขึ้นไปเป็นแชมป์โลกสมัยที่ 2
1941 – หลังเข้าป้ายเป็นอันดับที่ 4 ได้ในฤดูกาลที่ผ่านมา จู่ๆทีมก็ทำผลงานร่วงลงอย่างน่าใจหาย จนทำให้มีการเปลี่ยนแปลงผจก.ทีมถึง 2 ครั้ง ก่อนที่พวกเขาจะยังเอาตัวรอดได้จากการจบด้วยอันดับที่ 14 โดยทำแต้มได้เท่ากับ โนวาร่า ทีมตกชั้นแต่ยิงประตูได้มากกว่า
1943 – ลาซิโอ จบฤดูกาลสุดท้ายก่อนเข้าสู่ภาวะ สงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยอันดับที่ 9 พร้อมๆกับการอำลาทีมไปอยู่กับ โตริโน่ ของ สเตฟาโน่ ปิโอลี่ ที่ช่วยทำประตูในลีกให้กับพวกเขารวมกัน 143 ลูกจาก 227 เกม
1949 – หลังจากเกมลูกหนังกลับมาลงเตะกันอีกครั้งตั้งแต่ฤดูกาล 1945-46 พวกเขาก็กลายเป็นทีมที่ประคองตัวอยู่ตรงกลางตารางมาโดยตลอด ไม่เว้นแม้แต่ฤดูกาล 1948-49 ที่ทีมจบในอันดับที่ 13 ท่ามกลางการก่อหวอดประท้วงของผู้เล่นหลายคนเนื่องจากวิกฤติทางเศรษฐกิจที่ทำให้สโมสรหั่นค่าเหนื่อยนักเตะลงไปที่เรทต่ำสุด
1951 – แต่ภายใน 2 ซีซั่นต่อมาพวกเขากลับทำผลงานดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากการเข้าป้ายเป็นอันดับที่ 4 ได้ติดต่อกัน นอกจากนี้แฟนๆของ อินทรีฟ้าขาว ยังได้สะใจกันเต็มที่จากการได้เห็น โรม่า ร่วงตกชั้นลงไปหลังจบฤดูกาล 1950-51
1956 – หลังทำผลงานดร็อปลงไปอยู่กลางตารางตลอด 3 ปีที่ผ่านมา พวกเขาขยับกลับขึ้นมาอยู่ที่ 3 ได้หลังจบ 34 นัดในฤดูกาล 1955-56
1958 – แม้ทีมจะรั้งอันดับที่ 3 ได้ใน 2 ซีซั่นที่ผ่านมาแต่ฟอร์มในลีกฤดูกาลนี้กลับสาละวันเตี้ยลงจนไปจบอยู่อันดับที่ 12 ซึ่งสวนทางกับผลงานในถ้วย โคปปา อิตาเลีย ที่สามารถทะลุเข้าไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศ ก่อนจะคว้าโทรฟี่ระดับเมเจอร์ใบแรกมาประดับสโมสรได้จากการเฉือนเอาชนะ ฟิออเรนติน่า 1-0 ด้วยประตูชัยของ เมาริลิโอ ปรินี่ ดาวเตะที่ตัดสินใจย้ายไปอยู่กับ ทีมม่วงมหากาฬ ในภายหลัง
1961 – เบียงโคเชเลสติ เปิดหัวทศวรรษปี 60 ได้อย่างน่าผิดหวัง จากการร่วงลงไปอยู่ในอันดับบ๊วยในฤดูกาล 1960-61 โดยมีแต้มห่างจากทีมที่รอดตกชั้นถึง 11 คะแนน
1963 – หลังพลาดโอกาสเลื่อนชั้นไปแบบหวุดหวิดเมื่อซีซั่นที่ผ่านมา ในที่สุดพวกเขาก็ทำสำเร็จด้วยการเข้าป้ายเป็นที่ 3 รองจาก บารี่ และ เมสซิน่า ทีมแชมป์ เซเรีย บี
1964 – ภายใต้การฝึกสอนและพาทีมเลื่อนชั้นโดย ฮวน คาร์ลอส ลอเรนโซ่ ผลงานในปีแรกของการกลับคืนสู่ เซเรีย อา ก็ยังพอไปวัดไปวาได้จากการจบในอันดับที่ 8 และมีสถิติเกมรับอันเหนียวแน่นเป็นอันดับ 3 ของลีกรองจาก โบโลญญ่า และ อินเตอร์ มิลาน 2 ทีมที่อยู่บนหัวตาราง
1965 – เริ่มเกิดสภาวะวิกฤติทางการเงินขึ้นในสโมสรอีกครั้ง จนกระทั่ง อุมแบร์โต้ เลนซินี่ นักธุรกิจ 2 สัญชาติ อเมริกัน-อิตาเลียน จะกระโจนเข้ามาช่วยเหลือและก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานสโมสรในเวลาต่อมา
1967 – และแล้วทีมก็ร่วงลงสู่ เซเรีย บี อีกครั้งจากการเป็นทีมบนสุดที่ติดอยู่ในพื้นที่สีแดง และมีคะแนนน้อยกว่า เบรสชา ที่รอดตกชั้นเพียงแค่แต้มเดียว
1969 – แม้เริ่มต้น ลาซิโอ จะถูกวางให้เป็นทีมเต็งที่จะกลับขึ้นไปได้ในซีซั่นที่ผ่านมาแต่พวกเขากลับทำได้เพียงจบอยู่ในพื้นที่กลางตาราง จนทำให้ เลนซินี่ แก้ปัญหาด้วยการตามตัว ฮวน คาร์ลอส ลอเรนโซ่ ที่จากทีมไปเมื่อ 4 ปีก่อนกลับมานั่งเก้าอี้อีกครั้ง จนกระทั่งแผนการมาบรรลุผลตามที่ตั้งไว้จากการคว้าแชมป์ เซเรีย บี ได้เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของสโมสร
1971 – แต่หลังจากพาทีมประคองตัวอยู่ใน เซเรีย อา ได้ไม่นาน พวกเขาก็หล่นลงมาอยู่ใน เซเรีย บี อีกครั้งจากการจบในอันดับรองบ๊วยพร้อมกับการจากไปของ ลอเรนโซ่
1972 – แต่แฟนๆก็ใช้เวลารอคอยไม่นาน เมื่อพวกเขาสามารถกลับคืนสู่ลีกสูงสุดได้ในฤดูกาลต่อมาจากการเข้าป้ายเป็นที่ 2 รองจาก แตร์นาน่า
1973 – อินทรีฟ้าขาว หวนกลับมาเปิดตัวในลีกสูงสุดของประเทศได้อย่างสง่าผ่าเผย จากความโดดเด่นในเกมรับของ จูเซปเป้ วิลสัน กองหลังกัปตันทีมลูกครึ่งอังกฤษ-อิตาลี, ลูชาโน่ เร เชคโคนี่ และ มาริโอ ฟรุสตาลูปิ 2 คีย์แมนในแดนกลาง รวมถึง จอร์โจ้ คินาญญ่า ที่ยืนค้ำในแดนหน้า ภายใต้การวางแทคติกของ ตอมมาโซ่ มาเอสเตรลลี่ ก็ทำให้พวกเขาเบียดลุ้นแชมป์มากับ เอซี มิลาน และ ยูเวนตุส ทีมแชมป์ ก่อนจะเข้าป้ายเป็นอันดับที่ 3 โดยมีแต้มตามหลัง 2 ทีมหัวตารางเพียง 1 และ 2 คะแนนตามลำดับ
1974 – ลาซิโอ ยังคงรักษาฟอร์มอันน่าตื่นตะลึงเอาไว้ได้ในฤดูกาลต่อมา ในขณะที่ คินาญญ่า ก็ยิงประตูได้เป็นกอบเป็นกำจนทำให้ทีมขยับขึ้นไปรั้งอยู่ในตำแหน่งจ่าฝูงก่อนวันคริสต์มาสต์เพียงไม่กี่วัน จนกระทั่งนัดรองสุดท้ายของฤดูกาลที่ทีมมาได้จุดโทษที่กลาย
เป็นประตูโทนในเกมที่พบกับ ฟอจจา ตอนช่วงครึ่งหลัง ก็ทำให้พวกเขาคว้าแชมป์ สคูเด็ตโต้ ได้เป็นสมัยแรก พร้อมกับการครองตำแหน่งดาวซัลโลในฤดูกาล 1973-74 ของ คินาญญ่า ที่ซัดไปทั้งหมด 24 ประตู
1976 – หลังจบด้วยอันดับที่ 4 ในฤดูกาลป้องกันแชมป์ ในการออกสตาร์ทฤดูกาลใหม่ทีมที่กำลังระส่ำระสายจากอาการป่วยด้วยโรคมะเร็งของ มาเอสเตรลลี่ จนต้องหยุดพักรักษาตัวชั่วคราวก็ทำได้เพียงหนีรอดการตกชั้นไปได้แบบหวุดหวิด โดยมีคะแนนเท่ากับ อัสโคลี่ ทีมที่ร่วงลงไปแต่มีประตูได้เสียและผลเฮด-ทู-เฮดที่ดีกว่า จนกระทั่งหลังจบฤดูกาลก็มีข่าวเศร้าสำหรับแฟนๆทั้งการอำลาทีมไปด้วยปัญหาส่วนตัวของ จอร์โจ้ คินาญญ่า ที่ย้ายไปเล่นอยู่ใน สหรัฐอเมริกา และการเสียชีวิตของ มาเอสเตรลลี่ ที่พ่ายแพ้ต่อโรคร้ายในช่วงปลายปีนั้น
1977 – แม้ทีมจะกลับมาทำผลงานได้ดีขึ้นจากการคว้าโควตาไปลงเตะ ยูฟ่า คัพ ด้วยการอยู่ในอันดับที่ 5 แต่ในระหว่างฤดูกาลนั้นก็มีเรื่องราวที่ช็อคแฟนๆเกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อ ลูชาโน่ เร เชคโคนี่ มิดฟิลด์ตัวหลักของทีมเกิดเสียชีวิตกะทันหันจากเหตุการณ์ตลกไม่ออกที่เขาและเพื่อนร่วมทีมอีกคนแกล้งเป็นคนร้ายทำทีบุกเข้าไปในร้านเพชรพลอยที่เพื่อนของเขาเป็นเจ้าของอยู่ แต่สิ่งที่ เร เชคโคนี่ ไม่ทันได้คาดคิดก็คือเพื่อนที่เป็นเจ้าของร้านกำลังอยู่ในอาการหวั่นวิตกหลังพึ่งถูกปล้นมาเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้านี้ จึงทำให้เขาตัดสินใจใช้อาวุธปืนที่เตรียมไว้ยิงสวนเข้าไปที่กลางหน้าอกของ เร เชคโคนี่ ที่ใส่หน้ากากอำพรางอยู่ ก่อนที่ กองกลางดีกรีทีมชาติอิตาลี จะไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาลด้วยวัยเพียง 28 ปีอย่างน่าเศร้า
1980 – หลังเกาะกลุ่มอยู่ในพื้นที่กลางตารางตลอด 2 ซีซั่นที่ผ่านมา แม้พวกเขาจะทำผลงานได้ไม่ค่อยดีจนตกลงไปอยู่ในอันดับที่ 15 แต่จากการมีส่วนพัวพันกับคดีล็อคผลการแข่งขันที่เกี่ยวโยงถึงสโมสรจาก เซเรีย อา 5 ทีมและ เซเรีย บี 2 ทีมรวมถึงผู้เล่นและสตาฟฟ์โค้ชรวมกว่า 20 คน ก็ได้บทสรุปออกมาว่า ลาซิโอ และ เอซี มิลาน คือ 2 ทีมที่ถูกปรับตกชั้นลงไปในฤดูกาลนั้น ในขณะที่ทีมอื่นโดนลงโทษตัดแต้ม ส่วนบรรดาผู้เล่นและทีมงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องก็ถูกโทษแบนระหว่าง 3 เดือนถึง 6 ปี โดยหนึ่งในนั้นก็คือ เปาโล รอสซี่ ฮีโร่ของทีมชาติอิตาลีในอีก 2 ปีต่อมา
1983 – จากที่เกือบจะเลื่อนชั้นขึ้นมาได้ตั้งแต่ปีแรกจนตกลงไปอยู่กลางตารางในปีต่อมา จนกระทั่งหลังใช้เวลาใน เซเรีย บี อยู่นาน 3 ปี ทีมก็ได้สิทธิ์กลับคืนสู่ เซเรีย อา ได้สำเร็จจากการได้อันดับที่ 2 รองจาก เอซี มิลาน
1984 – ด้วยความพยายามดิ้นรนอย่างสุดความสามารถ ในที่สุดพวกเขาก็รอดพ้นการตกชั้นได้สำเร็จจากการเปิดบ้านยันเสมอ ยูเวนตุส ทีมที่คว้าแชมป์ไปแล้ว 1-1 ในนัดปิดฤดูกาล โดยมีแต้มเท่ากับ เจนัว ทีมที่ร่วงลงไปแต่มีผลเฮด-ทู-เฮดที่เหนือกว่า
1985 – แต่สุดท้ายพวกเขาก็ไปไม่รอด เมื่อเก็บได้เพียง 15 คะแนนจากการลงเตะ 30 นัดและจมอยู่ในอันดับรองบ๊วยโดยมีแต้มเท่ากับ เครโมเนเซ่ ทีมท้ายตาราง จนต้องไปนับหนึ่งใหม่ใน เซเรีย บี ฤดูกาลหน้า
1987 – จากการตกชั้นมาในคราวนี้ ลาซิโอ อยู่ในสภาพทีมที่ดูไร้ทิศทางกับโอกาสในการเลื่อนชั้น แถมยังเจอเคราะห์ซ้ำกรรมซัดจากวีรกรรมของ เคลาดิโอ วินาซซินี่ ผู้เล่นกองกลางของทีมที่ดันไปมีส่วนพัวพันกับคดีพนันฟุตบอลจนทำให้พวกเขาต้องถูกตัดแต้ม 9 คะแนน แต่ยังดีที่ ยูเจนิโอ ฟัสเช็ตติ ที่พึ่งเข้ามารับตำแหน่งกุนซือยังช่วยให้ทีมรอดพ้นการร่วงลงไปอยู่ใน เซเรีย ซี ได้จากการลงเตะเกมเพลย์ออฟหนีตายร่วมกับ ทารันโต้ และ คัมโปบาสโซ่ โดยที่รายหลังสุดคือทีมที่ต้องตกชั้นลงไป
1988 – และก็เป็นผลงานของ ฟัสเช็ตติ ที่ช่วยพาทีมกลับคืนสู่ เซเรีย อา ได้สำเร็จ จากการเข้าป้ายเป็นอันดับที่ 3 ในฤดูกาล 1987-88 บวกกับการเข้ามาบริหารงานของ จานมาร์โก้ คาลเลรี่ ในช่วงเวลานั้นก็ทำให้ทีมค่อยๆมีสถานะทางบัญชีที่มั่นคงยิ่งขึ้น
1992 – ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาพวกเขาประคับประคองตัวเองอยู่ในพื้นที่กลางตารางมาโดยตลอด จนกระทั่งการก้าวเข้ามาเป็นเจ้าของสโมสรคนใหม่ของ แซร์โจ้ ครันญ็อตติ ก็ช่วยพลิกประวัติศาสตร์ให้กับทีมไปอีกขั้นจากนโยบายที่พร้อมจะทุ่มซื้อสตาร์เข้ามาสู่ทีม
1993 – จากการคุมทีมเป็นฤดูกาลที่ 3 ของ ดิโน่ ซอฟฟ์ และได้ตัวดาวเตะหน้าใหม่เข้ามาทั้ง พอล แกสคอยน์ สตาร์ตัวแสบทีมสิงโตคำราม และ อารอน วินเทอร์ มิดฟิลด์ชาวดัตช์ ที่มาแจมร่วมกับ 2 แข้งชาวเยอรมัน คาร์ล ไฮนซ์ รีดเล่ และ โทมัส ดอลล์ ก็ช่วยให้ทีมขยับขึ้นมาจนคว้าสิทธิ์ไปลงเตะ ยูฟ่า คัพ ได้จากการจบในอันดับที่ 5
1994 – เบียงโคเชเลสติ ปล่อยตัว รีดเล่ กลับไปเล่นให้กับ โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ในบ้านเกิด และดึงตัว อเลน บอคซิช หัวหอกชาวโครแอตเข้ามาแทนที่ ก่อนที่ ซอฟฟ์ จะพาทีมขยับขึ้นมาได้อีกหนึ่งอันดับจากการได้ที่ 4 ในฤดูกาล 1993-94
1955 – ทันทีที่ ซเดเน็ค ซีแมน กุนซือชาวเช็กเข้ามารับหน้าที่ต่อจาก ดิโน่ ซอฟฟ์ ในช่วงออกสตาร์ทฤดูกาลใหม่ ก็เริ่มมีปัญหาไม่ลงรอยกับ แกสคอยน์ ที่มักมีปัญหาเรื่องความฟิต โดยที่เขายังหนีบ โฮเซ่ ชาม็อต กองหลังคู่บุญที่ติดตามมาจาก ฟอจจา ด้วยเช่นกัน ซึ่งก็มาช่วยประสานงานร่วมกับ โรแบร์โต้ ดิ มัตเตโอ ในแดนกลางที่บวกกับความร้อนแรงในการทำประตูของ จูเซปเป้ ซินญอรี่ และ ปิแอร์ลุยจิ คาซิรากี้ ก็ช่วยให้ทีมเข้าป้ายเป็นที่ 2 รองจาก ยูเวนตุส ที่ทิ้งห่างไปไกลถึง 10 คะแนน
1996 – ทีมตัดสินใจปล่อยตัว พอล แกสคอยน์ ไปให้กับ เรนเจอร์ส ในช่วงซัมเมอร์ และใช้ผู้เล่นตัวหลักเดิมๆก่อนจะจบฤดูกาล 1995-96 ในอันดับที่ 3 โดยที่ ซินญอรี่ คว้าตำแหน่งดาวซัลโวที่ 24 ประตูเท่ากับ อิกอร์ ปร็อตติ ดาวยิงจาก บารี่
1997 – อินทรีฟ้าขาว จัดการเสริมทัพด้วยการดึงตัว ปร็อตติ ดาวซัลโวลีกในซีซั่นที่ผ่านมา พร้อมเซ็นสัญญากับ พาเวล เนดเวด สตาร์ทีมชาติเช็กที่ย้ายมาจาก สปาร์ต้า ปราก แต่หลังจากออกสตาร์ทด้วยความพ่ายแพ้ 2 นัดรวดและยังมีผลงานต่อจากนั้นที่ขึ้นๆลงๆก็ทำให้ ซีแมน กระเด็นหลุดออกจากตำแหน่งในช่วงปลายเดือนมกราคม โดย ดิโน่ ซอฟฟ์ ได้ย้อนกลับมารับหน้าที่ต่อในช่วงเวลาที่เหลือ จนกระทั่งพาทีมจบฤดูกาลในอันดับที่ 4
1998 – สโมสรประกาศแต่งตั้ง สเวน-โกรัน อีริคส์สัน เข้ามาทำหน้าที่กุนซือ และจัดการเสริมทัพด้วย โรแบร์โต้ มันชินี่, วลาดิเมียร์ ยูโกวิช, มาเทียส อัลเมย์ด้า และ จูเซปเป้ ปันคาโร่ พร้อมกับการฟอร์มที่เริ่มเปล่งประกายสดใสของ อเลสซานโดร เนสต้า ก็ทำให้ทีมเริ่มกระโจนเข้าสู่เส้นทางลุ้นแชมป์มาโดยตลอด จนกระทั่งมามีจุดเปลี่ยนในช่วงต้นเดือนเมษายนจากการพ่ายคารัง สตาดิโอ โอลิมปิโก ให้กับ ยูเวนตุส 1-0 ก็ทำให้ฟอร์มของพวกเขาเกิดช็อตไปดื้อๆและเก็บได้เพียงแค่แต้มเดียวจาก 6 นัดที่เหลือจนร่วงลงไปอยู่ในอันดับที่ 7 ซึ่งเป็นผลงานที่แย่ที่สุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา แต่ อีริคส์สัน ยังคงได้ไปต่อเนื่องจากสามารถพาทีมเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศอีก 2 รายการ และสามารถคว้าแชมป์ โคปปา อิตาเลีย มาครองได้จากการเอาชนะ เอซี มิลาน ด้วยสกอร์รวม 3-2 แต่ก็เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ย่อยยับให้กับ อินเตอร์ มิลาน 3-0 ในนัดชิงถ้วย ยูฟ่า คัพ ที่ ปาร์ก เดส์ แพร็งซ์ กรุงปารีส
1999 – ทีมออกสตาร์ทฤดูกาลใหม่ได้อย่างคึกคักจากการเฉือนเอาชนะ ยูเวนตุส 2-1 ในถ้วย ซูเปอร์โคปปา อิตาเลียน่า ในขณะที่มีการทุ่มซื้อ 2 ผู้เล่นในแดนหน้าเข้ามาเสริมทีมทั้ง คริสเตียน วิเอรี่ ในราคา 25 ล้านยูโรที่กลายเป็นสถิติโลกในขณะนั้น โดยจับคู่กับ มาร์เซโล่ ซาลาส ดาวยิงชาวชิลีที่ย้ายมาจาก ริเวอร์ เพลท บวกกับ เดยัน สแตนโกวิช และ ซินิซ่า มิไฮโลวิช 2 สตาร์ชาวเซอร์เบียที่ย้ายเข้ามาสร้างชื่อได้ในทันที แม้ทีมจะเปิดตัวได้แบบตะกุกตะกักแต่หลังจากเครื่องติดก็เริ่มทำผลงานแล่นฉิวและรั้งอยู่ในตำแหน่งจ่าฝูงจนมาสะดุดด้วยการพ่าย 2 เกมติดในช่วงก่อนจะถึง 5 นัดสุดท้าย ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ เอซี มิลาน กลับมาแรงปลาย ก่อนที่จุดหักเหสำคัญจะอยู่ที่การบุกไปเสมอกับ ฟิออเรนติน่า 1-1 ในนัดรองสุดท้ายจนทำให้ ปีศาจแดงดำ ปาดหน้าคว้าแชมป์ไปครองโดยมีคะแนนมากกว่าเพียงแค่แต้มเดียว อย่างไรก็ตามทีมยังได้รางวัลปลอบใจจากการคว้าแชมป์ ยูฟ่า คัพ วินเนอร์ส คัพ หลังจากเอาชนะ เรอัล มายอร์ก้า 2-1 ได้ในนัดชิงที่ วิลล่า พาร์ค เมืองเบอร์มิ่งแฮม
2000 – คริสเตียน วิเอรี่ ที่ซัดไป 12 ประตูจาก 22 นัดในซีซั่นที่ผ่านมา ตัดสินใจย้ายทีมไปอยู่กับ อินเตอร์ มิลาน หลังมีปัญหาผิดใจกับ แซร์โจ้ ครันญ็อตติ ประธานสโมสร แต่ทีมก็นำเงินค่าตัวของเขาไปแลกเป็นผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามาทั้ง ฮวน เซบาสเตียน เวรอน, ซิโมเน่ อินซากี้ และ ดีเอโก้ ซิเมโอเน่ โดยช่วยกันประเดิมคว้าแชมป์แรกด้วยการเอาชนะ แมนฯ ยูไนเต็ด 1-0 ในถ้วย ยูฟ่า ซูเปอร์ คัพ ก่อนจะทำแต้มไล่ตามหลัง ยูเวนตุส มาโดยตลอด ในขณะที่ช่วงปลายเดือนมีนาคม ยูเว่ ยังคงมีแต้มนำห่างอยู่ 9 คะแนน แต่หลังจากการพ่ายแพ้ให้กับทั้ง เอซี มิลาน, ลาซิโอ และ เฮลลาส เวโรน่า โดยที่ทีมทำแต้มหล่นหายไปกับ ฟิออเรนติน่า เท่านั้น จึงทำให้ก่อนลงสนามนัดสุดท้ายเหลือช่องว่างเพียงแค่ 2 คะแนน ซึ่ง ลาซิโอ ก็สามารถคว้าแชมป์ สคูเด็ตโต้ สมัยที่ 2 ได้สำเร็จจากการเปิดบ้านสอนบอล เรจจิน่า 3-0 ในขณะที่ทีมจ่าฝูงดันไปพลิกพ่ายให้กับ เปรูจา 1-0 ท่ามกลางแมตช์ที่มีสายฝนเทกระหน่ำจนแทบจะท่วมสนาม นอกจากนี้แล้วทีมยังเป็นฝ่ายครองถ้วย อิตาเลียน คัพ เป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 3 ปีจากการออกนำ อินเตอร์ มิลาน ในบ้านไปก่อน 2-1 ด้วยการทำประตูของ เนดเวด และ ซิเมโอเน่ ก่อนจะบุกไปยันเสมอ 0-0 ที่ ซาน ซีโร่ ได้ในนัดต่อมา ภายในปีนั้นพวกเขายังเป็นสโมสรแรกที่กระโจนเข้าสู่ตลาดหุ้นของ อิตาลี
2001 – พวกเขาเปิดฤดูกาลด้วยการย้ำแค้น อินเตอร์ มิลาน ไปแบบสุดมันส์ 4-3 ในรายการ อิตาเลียน ซูเปอร์ คัพ ท่ามกลางการเสริมทัพด้วย 2 ดาวยิงเลือดฟ้าขาว เอร์นาน เครสโป และ เคลาดิโอ โลเปซ ที่ยังมาพร้อมกับ ดิโน่ บาจโจ้ มิดฟิลด์โปรไฟล์สูงจาก ปาร์ม่า ก่อนจะมีปัญหาคลื่นใต้น้ำขึ้นมาเมื่อ อีริคส์สัน เกิดไปเซ็นสัญญารับงานคุมทีมชาติอังกฤษในช่วงซัมเมอร์หน้ากับ เอฟเอ จนส่งผลกระทบให้ฟอร์มของทีมเริ่มดร็อปลง จนกระทั่งเจ้าตัวตัดสินใจลาออกในช่วงต้นปี ก่อนที่ ดิโน่ ซอฟฟ์ จะถูกตามตัวกลับมาอีกครั้งและช่วยให้ทีมกลับไปรั้งอยู่ในอันดับที่ 3 ตามหลัง ยูเวนตุส และ โรม่า ทีมคู่ปรับร่วมเมืองที่ผงาดขึ้นไปคว้าแชมป์ได้ในที่สุด
2002 – จากการออกสตาร์ท 4 นัดแรกโดยควานหาชัยชนะไม่เจอเลย ก็ทำให้ อัลแบร์โต้ ซัคเคโรนี่ ถูกดึงตัวเข้ามาคุมทีมแทน ซอฟฟ์ และแม้จะมีการทุ่มงบเสริมทัพด้วย กาอิซก้า เมนดิเอต้า, ดาร์โก้ โควาเซวิช และ ยาป สตัม เข้ามา แต่ 2 รายแรกโดยเฉพาะ เมนดิเอต้า ที่ย้ายเข้ามาด้วยค่าตัว 47.7 ล้านยูโรกลับไม่สามารถทดแทนการจากไปของ พาเวล เนดเวด และ ฮวน เซบาสเตียน เวรอน ได้เลยซักนิด ก่อนที่ทีมจะทำได้ดีที่สุดด้วยการคว้าโควตาไปลงเตะ ยูฟ่า คัพ หลังจบในอันดับที่ 6 ซึ่งภายในปีนั้นเกิดมีคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินและกิจการส่วนตัวของ แซร์โจ้ ครันญ็อตติ ที่บีบบังคับให้เขาต้องลาออกจากตำแหน่งประธาน และเริ่มส่งผลกระทบถึงปัญหาการเงินของสโมสรจนทำให้ต้องทยอยขายผู้เล่นคนสำคัญออกไป
2003 – ทีมยอมปล่อยตัว อเลสซานโดร เนสต้า และ เอร์นาน เครสโป ให้กับ เอซี มิลาน ในช่วงปรีซีซั่น พร้อมกับได้ตัว โรแบร์โต้ มันชินี่ อดีตศูนย์หน้าของทีมเข้ามารับบทเทรนเนอร์และสามารถพาทีมจบในอันดับที่ 4 จนได้โอกาสลงเตะใน ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก โดยต้องไปเริ่มต้นจากเกมคัดเลือกในรอบที่ 3
2004 – หลังผ่าน เบนฟิก้า ไปได้ในรอบคัดเลือก ลาซิโอ ก็ได้เข้าไปอยู่ในกรุ๊ป G ของรอบแบ่งกลุ่มร่วมกับ เชลซี, สปาร์ต้า ปราก และ เบซิคตัส แต่หลังจากเป็นฝ่ายเอาชนะ เบซิคตัส 2-0 ได้ที่ ตุรกี พวกเขาก็ไม่ชนะใครอีกเลยและตกรอบแบ่งกลุ่มไปด้วยการอยู่ในตำแหน่งรั้งท้าย ส่วนผลงานในลีกก็ขยับลงมาจบด้วยอันดับที่ 6 แต่ มันชินี่ สามารถพาทีมผ่านเข้าไปชิงชนะเลิศในถ้วย โคปปา อิตาเลีย และคว้าแชมป์สมัยที่ 4 มาครองได้สำเร็จจากการเหมาคนเดียว 2 ประตูของ สเตฟาโน่ ฟิออเร่ ที่ กรุงโรม ก่อนจะบุกไปยันเสมอ 2-2 ที่บ้านของ ยูเวนตุส โดยที่ ฟิออเร่ ยังเป็นคนยิงตีเสมอในช่วง 4 นาทีสุดท้ายของเกม จนมาถึงช่วงซัมเมอร์ เคลาดิโอ โลติโต้ นักธุรกิจชาวโรมัน ก็ก้าวเข้ามาเป็นผู้ถือครองสโมสรรายใหม่และช่วยยุติการถูกควบคุมกิจการโดยสถาบันการเงินที่เริ่มดำเนินมาตั้งแต่ปี 2002
2005 – ในช่วงก่อนออกสตาร์ทซีซั่นใหม่ทีมเหลือนักเตะอยู่ไม่ถึง 15 คน ในขณะที่ โรแบร์โต้ มันชินี่ ก็สละเรือไปอยู่กับ อินเตอร์ มิลาน ซึ่ง โลติโต้ ก็พยายามหาทางออกด้วยการหันไปทาบทาม เปาโล ดิ คานิโอ ดาวยิงวัย 36 ปี ให้ยอมกลับมาอยู่กับทีมขวัญใจในวัยเด็ก ซึ่งเจ้าตัวยังยอมลดค่าเหนื่อยลงไปถึง 75% อีกด้วย และขยับ โดเมนิโก้ คาโซ่ ที่กำลังดูแลทีมเยาวชนให้ขึ้นมาทำหน้าที่เฮดโค้ช ก่อนที่ จูเซปเป้ ปาปาโดปูโล่ จะเข้ามาเสียบแทนระหว่างฤดูกาลจนกระทั่งพาทีมจบในอันดับที่ 13
2006 – อินทรีฟ้าขาว สูญเสียผู้เล่นตัวหลักออกไปอีกทั้ง แฟร์นานโด คูโต้, เปาโล เนโกร และ จูเลียโน่ จานนิเค็ดด้า ในขณะที่ เดลิโอ รอสซี่ ถูกตั้งแต่งให้เป็นผจก.ทีมคนใหม่ที่ได้ทำงานร่วมกับ อันเจโล่ เปรุสซี่, ลูชาโน่ ซาอูรี่, มัสซิโม่ อ็อดโด้, ฟาบิโอ ลิเวรานี่, อุสมาน ดาโบ และ ตอมมาโซ่ ร็อคคี่ ที่ยังคงยืนหยัดอยู่กับทีมต่อและยินดีที่จะลดค่าเหนื่อยลงด้วย ก่อนจะจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 6 จนกระทั่งคดี กัลโช่โปลี ที่ได้บทสรุปออกมาในช่วงซัมเมอร์ ก็ทำให้พวกเขาโดนหางเลขจากโทษปรับ 30 แต้มจนร่วงลงมาอยู่ที่ 16 พร้อมถูกตัดสิทธิ์ลงเตะในรายการ ยูฟ่า คัพ
2007 – แม้ทีมจะต้องสูญเสีย อุสมาน ดาโบ และ ฟาบิโอ ลิเวรานี่ ไปให้ แมนฯ ซิตี้ และ ฟิออเรนติน่า แบบไม่มีค่าตัวตามลำดับ รวมถึงต้องยอมขาย มัสซิโม่ อ็อดโด้ กองหลังกัปตันทีมให้ เอซี มิลาน ในช่วงหน้าหนาว แต่ภายใต้การคุมทีมของ รอสซี่ กลับสามารถพานักเตะที่เหลือทำผลงานได้ดีเกินคาดจนทะยานขึ้นไปจบอยู่ในอันดับที่ 3 และได้โอกาสลงเตะใน แชมเปี้ยนส์ ลีก รอบคัดเลือกซีซั่นหน้า
2008 – พวกเขาผ่าน ดินาโม บูคาเรตส์ จนได้ลงเตะในรอบแบ่งกลุ่มที่อยู่กรุ๊ปเดียวร่วมกับ เรอัล มาดริด, โอลิมเปียกอส และ แวร์เดอร์ เบรเมน และก็เหมือนเมื่อ 4 ปีก่อนที่ทีมคว้าชัยชนะได้เพียงแค่ครั้งเดียวจากเกมในบ้านกับ เบรเมน และจอดอยู่แค่รอบนั้นจากการเป็นทีมบ๊วยของตาราง ในระหว่างฤดูกาลมีเหตุน่าเศร้าเกิดขึ้นเมื่อ กาบริเอลเล่ ซานดรี แฟนบอลของทีมเสียชีวิตขณะนั่งอยู่ในรถยนต์จากการถูกกระสุนปืนลูกหลงที่มีประจักษ์พยานมากมายยืนยันว่ามาจากเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ยิงใส่กลุ่มแฟนบอลอุลตร้าของ ลาซิโอ ที่กำลังไล่ปาก้อนหินใส่กองเชียร์ของ ยูเวนตุส บนถนนมอเตอร์เวย์
2009 – หลังจบในอันดับที่ 12 เมื่อฤดูกาลก่อน รอสซี่ ก็ยังประคองผลงานจนจบในอันดับที่ 10 แต่กองเชียร์ของพวกเขาก็ยังมีโอกาสได้เฉลิมฉลองกันเต็มที่ หลังผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ อิตาเลียน คัพ เพื่อไปดวลกับ ซามพ์โดเรีย ซึ่งหลังจากจบ 90 นาทีด้วยสกอร์ 1-1 และยังทำอะไรกันไม่ได้อีกในช่วงต่อเวลาพิเศษจนต้องหาผู้ชนะด้วยการดวลจุดโทษ ลาซิโอ ก็เป็นฝ่ายที่แม่นเป้ากว่าก่อนจะคว้าแชมป์สมัยที่ 5 ในรายการนี้ได้สำเร็จ
2010 – ดาวิเด้ บัลลาร์ดินี่ ย้ายเข้ามาเป็นผจก.ทีมคนใหม่แทนที่ เดลิโอ รอสซี่ และประเดิมผลงานชิ้นแรกด้วยการคว้าถ้วย ซูเปอร์โคปปา อิตาเลียน่า ที่เดินทางไปฟาดแข้งกันไกลถึง กรุงปักกิ่ง ในแมตช์ที่เฉือนเอาชนะ อินเตอร์ มิลาน 2-1 ก่อนจะพาทีมจบฤดูกาลนั้นด้วยอันดับที่ 12 แบบเงียบๆ
2011 – ด้วยผลงานอันยอดเยี่ยมของ แอร์นาเนส จอมทัพชาวบราซิลที่ย้ายเข้ามาในช่วงซัมเมอร์ด้วยค่าตัว 8.2 ล้านปอนด์ บวกกับฝีไม้ลายมือของ เอโดอาร์โด้ เรย่า ที่เข้ามารับตำแหน่งกุนซือคนใหม่ก็ช่วยให้ทีมขยับขึ้นไปรั้งอยู่ในอันดับที่ 5 และคว้าโควตาลงเตะ ยูฟ่า คัพ ในซีซั่นถัดไป
2012 – เบียงโคเชเลสติ จัดการเสริมทัพในช่วงปรีซีซั่นด้วยการคว้าตัว มิโรสลาฟ โคลเซ่ มาจาก บาเยิร์น มิวนิค, ฌิบริล ซิสเซ่ จาก พานาธิไนกอส และ เซนาด ลูลิช จาก ยัง บอยส์ ในขณะที่ยอมปล่อยตัว สเตฟาน ลิคท์สไตเนอร์ ให้กับ ยูเวนตุส และเซ็นสัญญากับ เฟเดริโก มาร์เค็ตติ มาจาก กายารี่ ก่อนจะขาย แฟร์นานโด้ มุสเลร่า ให้กับ กาลาตาซาราย ซึ่งพวกเขาก็ยังรักษามาตรฐานการเล่นของตัวเองเอาไว้ได้ก่อนจะเข้าป้ายเป็นอันดับที่ 4 หลังจบฤดูกาล 2011-12
2013 – อันโตนิโอ คันเดรว่า กลายเป็นดีลสุดคุ้มประจำช่วงซัมเมอร์ เมื่อปีกทีมชาติอิตาลีที่ย้ายเข้ามาด้วยสัญญายืมตัวจาก อูดิเนเซ่ สามารถโชว์ฟอร์มได้อย่างยอดเยี่ยมและกลายเป็นผู้เล่นตัวหลักของ วลาดิเมียร์ เพทโควิช กุนซือป้ายแดงที่พึ่งย้ายเข้ามาก่อนหน้าเขาไม่นาน ในระหว่างซีซั่นทีมถึงขั้นทะยานขึ้นไปรั้งอยู่ในตำแหน่งรองจ่าฝูงตอนช่วงออกสตาร์ทปี 2013 แต่กลับทำฟอร์มแผ่วลงไปในช่วงครึ่งฤดูกาลหลังก่อนจะปิดฉากด้วยการอยู่ในอันดับที่ 7 อย่างไรก็ตามพวกเขาก็สามารถผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ โคปปา อิตาเลีย และสามารถสยบ โรม่า ทีมคู่ปรับตัวฉกาจลงได้ 1-0 จากประตูชัยในนาทีที่ 71 ของ ลูลิช
2014 – เพทโควิช ยังไม่สามารถพาลูกทีมกลับไปโชว์ฟอร์มได้เหมือนช่วงครึ่งแรกในซีซั่นที่ผ่านมาจนถูกปลดออกไปในเดือนมกราคม ก่อนที่ เอโดอาร์โด้ เรย่า จะหวนกลับมารับตำแหน่งอีกครั้งและช่วยประคองทีมไปจนจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 9
2015 – ลาซิโอ ประกาศแต่งตั้ง สเตฟาโน่ ปิโอลี่ เข้ามาทำหน้าที่คุมทีมตั้งแต่ช่วงปรีซีซั่น โดยที่ทีมยังได้ตัว มาร์โก้ ปาโรโล่ มาจาก ปาร์ม่า และ สเตฟาน เดอ ฟราย มาจาก เฟเยนูร์ด ซึ่งก็ช่วยกันทำผลงานจนกลับขึ้นไปผงาดอยู่ในอันดับที่ 3 รองจาก โรม่า และ ยูเวนตุส ทีมแชมป์ นอกจากนี้พวกเขายังผ่านเข้าสู่นัดชิงถ้วย โคปปา อิตาเลีย แต่ก็ตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ให้กับ ยูเวนตุส 2-1 จากประตูชัยของ อเลสซานโดร มาตรี้ ในช่วงต่อเวลาพิเศษ
2016 – ซิโมเน่ อินซากี้ อดีตศูนย์หน้าของทีมขยับเข้ามาเป็นเทรนเนอร์คนใหม่ให้กับ ลาซิโอ แทนที่ ปิโอลี่ ที่ถูกปลดออกไปหลังพาทีมพ่ายให้กับ โรม่า 4-1 ในช่วงต้นเดือนเมษายน ก่อนจะเข็นทีมจนจบฤดูกาลในอันดับที่ 8
2017 – ชิโร่ อิมโมบิเล่ หัวหอกทีมชาติอิตาลี ที่เซ็นสัญญามาจาก โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ในราคา 8.75 ล้านยูโร สามารถคืนฟอร์มเก่งได้อีกครั้งหลังช่วยถล่มไป 23 ประตูจากการลงสนาม 36 เกม และช่วยให้ทีมเข้าป้ายในอันดับที่ 5 พร้อมพาทีมเข้าชิงชนะเลิศในรายการ อิตาเลียน คัพ กับ ยูเวนตุส เป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 3 ปี แต่ก็ไม่อาจช่วยให้ทีมรอดพ้นจากการพ่ายแพ้ไปได้ 2-0
2018 – อย่างไรก็ตาม อินซากี้ ก็พาลูกทีมล้างแค้น ยูเว่ ได้สำเร็จหลังเป็นฝ่ายเฉือนเอาชนะไป 3-2 ในเกม ซูเปอร์โคปปา อิตาเลียน่า ที่ อิมโมบิเล่ ช่วยเหมาคนเดียว 2 ประตู โดยบทสรุปในซีซั่น 2017-18 แม้ทีมจะจบในอันดับที่ 5 แต่ด้วยฟอร์มอันยอดเยี่ยมของ หลุยส์ อัลแบร์โต้ และ เซอร์เก มิลินโควิช-ซาวิช ที่ช่วยกันสร้างสรรค์เกมในแดนกลางก็ส่งผลให้ อิมโมบิเล่ ผงาดขึ้นไปคว้ารางวัลดาวซัลโวร่วมกับ เมาโร อิคาร์ดี้ ด้วยผลงาน 29 ประตูในลีก
ลาซิโอ คือสโมสรที่มีแฟนบอลซัพพอร์ทมากที่สุดเป็นอันดับ 6 ของประเทศและมากเป็นอันดับที่ 2 ของ กรุงโรม หรือคิดเป็นตัวเลขราว 2% จากจำนวนแฟนบอลชาวอิตาเลียนทั้งหมด Irriducibili Lazio คือกลุ่มแฟนบอลอุลตร้าที่ใหญ่ที่สุดของสโมสรโดยก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1987 พวกเขาคือกลุ่มกองเชียร์ที่คอยสร้างสีสันมากที่สุดระหว่างเกม ดาร์บี้ เดลล่า คาปิตาเล่ (Derby della Capitale) หรือ ดาร์บี้แห่งกรุงโรม โดยเป็นการเผชิญหน้ากันระหว่าง ลาซิโอ และ โรม่า ที่ถือเป็นหนึ่งในเกมฟาดแข้งระหว่างทีมคู่อริที่ดุเดือดเลือดพล่านมากที่สุดในวงการลูกหนังทั่วโลก
ครั้งหนึ่งในเกมดาร์บี้ที่แสนจะร้อนระอุระหว่างซีซั่น 1979-80 วินเซนโซ่ ปาปาเรลลี่ คุณพ่อลูกสองวัย 33 ปีผู้เป็นแฟนบอลของ ลาซิโอ เสียชีวิตคาที่ระหว่างเกมจากการถูกพลุไฟฉุกเฉินที่จุดมาจากฝั่งกองเชียร์ โรม่า พุ่งปักเข้าที่เบ้าตา ในขณะที่กลุ่มอุลตร้าของ อินทรีฟ้าขาว ก็เคยใช้สัญลักษณ์สวัสดิกะประดับอยู่ในแผ่นป้ายแบนเนอร์เพื่อแสดงออกถึงการเหยียดผิวที่บรรดาผู้เล่นผิวสีของ หมาป่าแห่งกรุงโรม มักจะตกเป็นเป้าหมายมาโดยตลอด
นอกจากนี้ทั้ง นาโปลี, ลิวอร์โน่, เปสคาร่า และ อตาลันต้า ก็ถือเป็นทีมคู่แข่งที่สำคัญของพวกเขา และยังรวมไปถึง ฟิออเรนติน่า, ยูเวนตุส และ เอซี มิลาน อีกด้วย อย่างไรก็ตามกลุ่มอุลตร้าของพวกเขากลับมีความสัมพันธ์อันดีกับบรรดากองเชียร์ของ อินเตอร์ มิลาน, ตริเอสติน่า และ เวโรน่า นอกจากนี้แฟนๆของทีมก็ยังคงความเป็นมิตรสหายที่เกี่ยวดองกันมานานกับ เลฟสกี้ โซเฟีย ที่ครั้งหนึ่ง ลาซิโอ เคยถูกรับเชิญให้ไปลงเตะในแมตช์ฉลองครบรอบ 100 ปีของสโมสรจาก บัลแกเรีย
The post ล้วงลึกประวัติ ลาซิโอ พญาอินทรีฟ้าขาวแห่งกรุงโรม first appeared on ผลบอลสด บ้านผลบอล ผลบอลวันนี้ 7m 888 Livescore.]]>สโมสรแอตเลติโก มาดริดนั้น รู้จักกันในชื่อหลายชื่อเช่นแอตเลติโก เดอ มาดริด หรือว่าแอตแลนติก หรือแอตเลติโก้ ซึ่งเป็นสโมสรฟุตบอลของสเปน และมีฐานของสนามและแฟนบอลอยู่ที่กรุงมาดริด พวกเขาเล่นในศึกลาลีกา ส่วนเกมในบ้านนั้นพวกเขามีสนามที่เปิดรองรับนั่นก็คือสนามเอสตาดิโอ เมโตรโปลิตาโน ซึ่งจุคนได้มากถึง 68,000 คน
แอตเลติโก มาดริด เคยได้แชมป์ลีกของสเปน โดยครั้งล่าสุดที่ได้คือปี 2014 เป็นสโมสรลำดับสามที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลสเปน ตามหลังเรอัล มาดริดและบาร์เซโลน่า และแอตเลติโก เคยได้แชมป์ในศึกลาลีกา 10 สมัย นั่นรวมถึงการได้แชมป์ลีกและลีกคัพในปีเดียวกัน นั่นก็คือปี 1996 โดยทีมนั้นได้แชมป์โคปาเดอเรไป 10 สมัยและได้แชมป์ยูโรเปี้ยนคัพวินเนอร์คัพในปี 1962 และได้รองแชมป์ในปี 1963 และ 1986 ทีมตราหมีแห่งนี้เคยเป็นรองแชมป์แชมเปี้ยนลีกในปี 1974, 2014 และ 2016 และได้แชมป์ยูโรป้าลีกในปี 2010, 2012 และ 2018 และได้แชมป์ยูฟ่าซุปเปอร์คัพในปี 2010, 2012 และ 2018 นั่นรวมถึงแชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัล คัพ ในปี 1974
ชุดเหย้าของแอตเลติโก มาดริด เป็นเสื้อเชิ้ตลายทางแนวตั้งสีแดงและสีขาว และกางเกงสีน้ำเงินและถุงเท้าสีน้ำเงินและสีแดง ชุดนี้ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ 1911 ตลอดประวัติศาสตร์ของสโมสรแอตเลติโก มาดริด ทีมนั้นมีชื่อเล่นจำนวนมาก เช่น “ผู้ทำที่นอน” เนื่องจากลายเสื้อของทีมเป็นสีเดียวกับที่นอนสมัยโบราณ
ในช่วงปี 1970 พวกเขากลายเป็นที่รู้จักในชื่อ Los Indios ซึ่งมาจากการที่สโมสรที่ลงทะเบียนผู้เล่นชาวอเมริกาใต้จำนวนมาก หลังจากที่กฎในการเซ็นและลงทะเบียนผู้เล่นต่างชาติถูกยกเลิก อย่างไรก็ตามมีหลายทฤษฎีทางเลือกที่อ้างว่าพวกเขาได้รับการตั้งชื่อดังกล่าว เพราะสนามกีฬาของพวกเขาคือค่ายทหารบนฝั่งแม่น้ำ อีกทฤษฎีหนึ่งของชื่อนี้คือการที่ Los Indios (ชาวต่างชาติ) เป็นศัตรูดั้งเดิมของ Los Blancos (ชายชุดขาว) ซึ่งเป็น ชื่อเล่นของทีมคู่แข่งอย่างสโมสร เรอัล มาดริด ซึ่ง เฟลิเป้ที่ห้า กษัตริย์ของสเปนเป็นประธานกิตติมศักดิ์ของสโมสรมาตั้งแต่ปี 2546 ทีมตราหมีเป็นเจ้าของแฟรนไชส์กับทีมในอินเดียนซูเปอร์ลีกในโกลกาตา โดยทีมนั้นมีชื่อว่า แอตเลติโก เดอ โกลกาตา ซึ่งชนะการแข่งขันสองครั้ง แต่ในปี 2017 แอตเลติโกตัดสินใจที่จะยุติการเป็นหุ้นส่วนแฟรนไชส์กับทีมในสเปนเนื่องจาก การทำผิดข้อตกลง
สโมสรก่อตั้งเมื่อวันที่ 26 เมษายน 1903 ในฐานะสโมสรกีฬา โดยนักศึกษาชาวบาสก์สามคนที่อาศัยอยู่ในกรุงมาดริด ผู้ก่อตั้งเหล่านี้ทำให้สโมสรใหม่เป็นทีมของเยาวชนในขั้นแรก โดยในปี 1903 แอธเลนติก บิลเบา ได้แชมป์โคปาเดลเรย์ และพวกเขาไม่ลงรอยกับเรอัล มาดริด และเริ่มเล่นในเสื้อสีน้ำเงินและสีขาว และกลายเป็นสีของแอธเลนติก บิลเบา แต่ในปี 1911 และในปัจจุบัน แอตเลติโก มาดริดใช้แถบสีแดงและสีขาว บางคนเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเพราะเสื้อลายทางสีแดงและสีขาว เป็นสิ่งที่สามารถใช้ได้ง่าย เนื่องจากมีการใช้สีแบบเดียวกันเพื่อทำที่นอนจากผ้าที่ไม่ได้ใช้ และถูกดัดแปลงเป็นเสื้อฟุตบอลได้อย่างง่ายดาย สิ่งนี้มีส่วนทำให้เกิดการสร้างชื่อเล่นของพวกเขาอย่าง Los Colchoneros
อย่างไรก็ดี มีคำอธิบายที่ว่า ทั้งแอธเลนติก บิลเบา และแอตเลติโก มาดริด เคยพยายามที่จะซื้อชุดสีน้ำเงินและสีขาวของแบล็กเบิร์น โรเวอร์ส ในอังกฤษ ปลายปี 1909 โจนิโต้ อโลดาอูร์ อดีตผู้เล่นและสมาชิกคณะกรรมการกีฬาแอตเลติโก มาดริด ไปอังกฤษเพื่อซื้อชุดสำหรับทั้งสองทีม แต่ไม่สามารถหาซื้อชุดแบล็กเบิร์นได้ เขาจึงซื้อเสื้อเชิ้ตสีแดงและสีขาวของเซาแธมป์ตัน (สโมสรจากเมืองท่าเรือที่เขาต้องกลับไปสเปน) แอตเลติโก มาดริดใช้เสื้อแดงและขาว และนำไปสู่การเป็นที่รู้จักในนาม Los Rojiblancos แต่ตัดสินใจที่จะใช้กางเกงขาสั้นสีน้ำเงิน ในขณะที่ทีมบิลเบาเปลี่ยนกางเกงขาสั้นเป็นสีดำ แอธเลนติก บิลเบาชนะการแข่งขันโคปาเดลเรย์รอบชิงชนะเลิศในปี 1911 โดยใช้ผู้เล่นหลายคนที่ยืมมาจากแอตเลติโก มาดริด รวมถึงนักเตะอย่าง มาโนลอน ที่ยิงประตูให้พวกเขาไปหนึ่งประตู
รอนดา เดอ วาเซลเลส เป็นสนามกีฬาแห่งแรกของแอธเลนติก บิลเบา อยู่ในด้านทิศใต้ของเมือง ประเทศสเปน ในปี 1919 บริษัท คอมปาเนีย เออร์บานิซอร่า เมโทรโพลิตาน่า ซึ่งเป็น บริษัทระบบสื่อสารใต้ดิน ได้ซื้อที่ดินเพื่อให้แอตเลติโก มาดริดใช้เพื่อเป็นสนามของตนเองจนในปี 1921 แอตเลติโก มาดริด กลายเป็นอิสระจากการบริหารของสโมสรแอธเลนติก บิลเบาและย้ายสนามไปอยู่ที่สนามกีฬา 35,800 ที่นั่ง ซึ่งสร้างโดย บริษัท เอสตาดิโอ เมโทรโพทาโน เดอ มาดริด และถูกนำมาใช้จนถึงปี 1966
ในช่วงปี 1920 แอตเลติโก้ มาดริดได้แชมป์ แคมแปนาโต เดล แคนโตร ไปถึงสามสมัยและได้รองแชมป์โคปาเดอเรย์ ในปี 1921 ซึ่งนั่นทำให้พวกเขาเผชิญหน้ากับทีมแม่อย่าง แอตแลนติก บิลเบาและพวกเขาได้ประสบความสำเร็จในช่วงปี 1926 ซึ่งจะผลงานที่ดีในปี 1928 แอตเลติโก้ มาดริดถูกเชิญให้เข้าร่วมการแข่งขันลีกอย่างเป็นทางการ และได้เล่นลาลีกาในปีถัดมา ซึ่งในช่วงแรกที่ได้เล่นในลาลีกาทางสโมสรได้ถูกควบคุมการฝึกซ้อมและการทำทีมโดยเฟรด เพ้นท์แลนด์ แต่หลังจากนั้น 2 ฤดูกาลทีมก็ได้ตกชั้นลงไปสู่เซกุนด้าดิวิชั่นแต่พวกเขาก็สามารถกลับมาอย่างไรลีกาได้อีกครั้งในปี 1934 และตกชั้นไปอีกครั้งในปี 1936 หลังจากที่โจเซฟ ซามิทิแอร์ เข้ามาคุมทีมในครึ่งฤดูกาลแทนเพ้นท์แลนด์
และในช่วงนั้นเกิดเหตุการณ์สงครามกลางเมืองของสเปนซึ่งทำให้แอตเลติโก้ มาดริด ถูกพักการแข่งขันและทางทีมเรอัล โอเวียโด ไม่สามารถลงเล่นได้ เนื่องจากการสร้างสนามอยู่ในพื้นที่สงครามและเกิดเหตุวางระเบิดซึ่งทำให้การตกชั้นของแอตเลติโก้ มาดริดและเรอัล โอเวียโด ถูกพักเอาไว้ก่อนและหลังจากนั้นทีมตราหมีได้เอาชนะรอบเพลย์ออฟในการเจอกับโอซาซูน่าซึ่งเป็นแชมป์เซกุนด้า ดิวิชั่น
ในปี 1939 หลังจากที่ลาลีกากลับมาแข่งขัน แอตเลติโก้ มาดริด ได้ควบรวมกับอเวซิรอน เนชั่นเนล ออฟ ซาราโกซ่า แล้วกลายมาเป็นแอตเลติโก้ เดอ มาดริด อเวซิรอน เนชั่นเนล ในปี 1939 โดยเป็นสมาชิกของกองทัพอากาศของสเปน ซึ่งพวกเขาได้รับการสัญญาว่าจะขยับขึ้นมาเล่นยังมีสูงสุดในฤดูกาล 1939-40 แต่พวกเขาโดนปฏิเสธจากสมาพันธ์ฟุตบอลสเปน และในระหว่างการจัดตั้งลาลีกาและเกิดเหตุสงครามกลางเมืองนั้นได้มีนักเตะเสียชีวิตไปถึง 8 คน หลังจากนั้น ทีมก็ได้เล่นในลีกในฤดูกาล 1939-40 เพิ่งเข้ามาแทนที่ทีมอย่าง เรอัล โอเวียโด โดยผู้จัดการทีมนั่นก็คือ ริคาร์โด ซาโมร่า และหลังจากนั้น ทีมก็ได้แชมป์ลาลีกาในฤดูกาลนั้นและสามารถรักษาแชมป์ได้อีกครั้งในปี 1941 นักเตะที่มีความสำคัญและมีอิทธิพลอย่างมากต่อปีในขณะนั้นนั่นก็คือกัปตันของทีมอย่างเจอร์มาน โกเมซ ซึ่งทีมได้เซ็นสัญญามาจากเรซิ่ง ซานตาเดย์ เมื่อ 1939 และเล่นต่อเนื่องถึง 8 ฤดูกาลติดต่อกัน เขาเล่นให้กับทีมตราหมีจนกระทั่งเมื่อปี 1947-1948 โดยถือว่าเป็นตำนานกองกลางของทีมคนหนึ่ง ควบคู่ไปกับมาร์ชินและรามอน กาบิลอยโด ในปี 1941 มีนักเตะที่ถูกแบนไม่ให้ลงสนามนั่นคือฟรานซิสโก้ ฟรังโก้ เนื่องจากการใช้ชื่อนักเตะต่างประเทศในการลงทะเบียน และทางสโมสรได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น อเวียคอย เดอ มาดริด ในปี 1947 สโมสรได้ตัดสินใจที่จะยุติการมีส่วนร่วมเกี่ยวกับกิจการพลทหารกับทางด้านสโมสร และได้มีการเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น คลับ แอตเลติโก เดอ มาดริด ในปีเดียวกันนี้ แอตเลติโก้ มาดริด ชนะเรอัล มาดริดไปได้ 5 ประตูต่อ 0 ที่สนามเหย้าของพวกเขาเองซึ่งเป็นการแข่งขันดาร์บี้ แมตช์เมืองมาดริดที่มีผลชนะเยอะที่สุด
ภายใต้การคุมทีมของ เฮเลียโน่ เฮอร์เรร่า และด้วยความช่วยเหลือของลาร์บี้ เบนบาเรค แอตเลติโก้ มาดริดได้แชมป์ลาลีกาอีกครั้งในปี 1950 และ 1951 แต่การจากไปของเฮอร์เรร่าในปี 1953 สโมสรก็เริ่มมีผลงานที่ตามหลังเรอัล มาดริดและบาร์เซโลน่า
และภายหลังของสงคราม ช่วงนี้เป็นช่วงที่สโมสรอย่างแอตเลติโก้ มาดริด และแอธแลนติก บิลเบาเพื่อได้ตำแหน่งที่สามในลีกสเปน
อย่างไรก็ตามในช่วงปี 1960 และ 1970 แอตเลติโก มาดริด ได้ท้าทายบาร์เซโลน่าอย่างหนักสำหรับตำแหน่งทีมที่สอง ฤดูกาล 1957-58 เฟอร์ดินานด์ โดคลิก เข้ามาคุมทีมแอตเลติโก้ มาดริด เขาพาสโมสรได้ที่สองในศึกลาลีกา ส่งผลให้แอตเลติโก มีคุณสมบัติในการเข้าร่วมการแข่งขันชิงถ้วยยุโรปในปี 1958–59
ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ยิ่งใหญ่ของเรอัล มาดริด โดยเป็นผู้ครองแชมป์ยุโรป ซึ่งมีนักเตะที่ยิ่งใหญ่อย่างศูนย์หน้าชาวบราซิลอย่าง วาร์วาและเอ็นริเก้ โคเลอร์ แอตเลติโก้ มาดริดเข้าไปถึงรอบรองชนะเลิศหลังจากเอาชนะ ดรัมคอนดรา, เซเอสเคเอ โซเฟีย และชาลเก้ 04 แต่ในรอบรองชนะเลิศพวกเขาพบกับเรอัล มาดริด ทีมราชันชุดขาวเอาชนะเลกแรกที่ซานติอาโกเบอร์นาเบวไปได้ 2-1 ในขณะที่แอตเลติโกชนะ 1-0 ที่เมโทรโพลิทาโน ก่อนที่จะเล่นนัดรีเพลย์และมาดริดเอาชนะไปได้ 2 ประตูต่อ 1 ที่ซาราโกซา
แอตเลติโก้ มาดริดได้กลับมาแก้แค้น เมื่อทีมถูกนำทีมโดยอดีตผู้จัดการทีมเรอัล มาดริดอย่าง โจเซ่ วิลลลองก้า พวกเขาพ่ายแพ้ในสองครั้งติดต่อกันในรอบรองชนะเลิศในศึกโคปาเดลเรย์ต่อเนื่องในปี 1960 และ 1961 และในปี 1962 พวกเขาได้แชมป์ถ้วยยุโรป โดยการเอาชนะฟิออเรนติน่าไปได้ 3-0 ความสำเร็จนี้มีความสำคัญต่อสโมสร เนื่องจากคัพวินเนอร์คัพเป็นถ้วยรางวัลสำคัญของยุโรปที่เรอัล มาดริดไม่เคยได้ หลังจากนั้นในปีต่อมา สโมสรได้เข้าไปสู่รอบชิงชนะเลิศในปี 1963 แต่ว่าแพ้ต่อท็อตแนมฮ็อต สเปอร์ไป 5 ประตูต่อ 1 เอ็นริเก คัลลอท ยังคงเป็นผู้เล่นที่มีอิทธิพลในช่วงยุคนี้ ได้เล่นร่วมโดยชอบมิเกล โจนส์และกองกลางอย่าง อเดร์ลาโด
ปีที่ดีที่สุดของแอตเลติโกที่ใกล้เคียงกับทีมเรอัล มาดริด ระหว่างปี 1961-1980 เรอัล มาดริดได้ครองแชมป์ลาลีกา โดยได้แชมป์ลาลีกาทั้งหมด 14 ครั้ง ในยุคนี้มีเพียงแอตเลติโกเท่านั้นที่ได้การท้าทายมาดริดอย่างจริงจัง โดยได้แชมป์ลาลีกาในปี 1970, 1973 และ 1977 โดยได้รองแชมป์ในปี 1961, 1963 และ 1965 สโมสรประสบความสำเร็จโดยการได้แชมป์โคปาเดลเรย์สามครั้งในปี 1965, 1972 และ 1976 ในปี 1965 พวกเขาจบการแข่งขันลาลีกาในอันดับรองแชมป์ หลังนั้นเกิดจากการแข่งขันอย่างเข้มเข้น และแอตลาติโกกลายเป็นทีมแรกที่เอาชนะเรอัล มาดริดในที่ซานติอาโก เบอร์นาเบว ในรอบ 8 ปี
ในช่วงนั้นทีมตราหมีมีนักเตะที่สำคัญหลายคนเช่น อเดร์ลาโด และนักเตะจอมทำประตูอย่างหลุยส์ อราโกเรส ฮาเวียร์ อรูเอต้า และ โจเซ่ อูโลกิโอ การาเต้ ซึ่งได้รางวัลปิชีชี่มาถึงสามสมัยติดต่อกัน โดยได้รางวัลในปี 1969 1970 และ 1971 และในช่วงปี 1970 แอต มาดริดได้ควานหานักเตะที่มาจากทวีปอเมริกาใต้จนได้เซ็นกับนักเตะสัญชาติอาร์เจนตินาอย่าง รูเบน อยาล่า, ปานาเดโร่ ดิเอซ และรามอน ฮีเรียดก และผู้จัดการทีมอย่าง ฮวน คาร์ลอส ลอเรนโซ่ ลอเรนโซ่ซึ่งเป็นผู้จัดการทีมเชื่อว่าการมีกฎระเบียบที่ดีและการเล่นที่รัดกุมจะสร้างความลำบากให้กับคู่ต่อสู้ แม้ว่าจะเป็นวิธีที่โบราณ แต่ปรัชญาการคุมทีมของเขาได้พิสูจน์ว่าส่งผลสำเร็จอย่างยิ่งโดยทีมนั้นได้แชมป์ลาลีก้าในปี 1973 หลังจากนั้นได้เข้าไปสู่การแข่งขัน ยูโรเปียนคัพนัดชิงชนะเลิศในปี 1974 โดนในรอบน็อคเอาท์ แอตเลติโก้ มาดริด เอาชนะกาลาตาซาราย, ดินาโม บูคูเรสติ, เร้ดสตาร์ เบลเกรด และเซลติก ซึ่งทำให้ทีมงานเข้าไปสู่รอบ 4 ทีมสุดท้ายและพบกับเซลติก และด้วยผลงานที่ยอดเยี่ยมนั่นทำให้ทีมตราหมีสามารถผ่านเข้ารอบไปสู่รอบชิงชนะเลิศได้ โดยนัดแรกพวกเราเสมอไป 0 ประตูต่อ 0 แต่นัดผ่านมาทีมตราหมีสามารถเอาชนะไปได้ 2 ประตูต่อ 0 โดยได้ประตูจากการาเต้และอเดลาร์โด้ และในนัดชิงชนะเลิศแอตเลติโก้ มาดริดต้องเจอกับบาเยิร์น มิวนิคที่สนามเฮย์แซล ซึ่งในขณะนั้น บาเยิร์น มิวนิค เป็นทีมที่แข็งแกร่ง เนื่องจากพวกเขามีกองกำลังที่ยอดเยี่ยมอย่างฟรานซ์ เบคเคนบาวเออร์, เซปป์ ไมเออร์, พอล แบรทเนอร์, อูลี เฮอร์เนสและเกรดมุลเลอร์ แอตเลติโก้ มาดริด มีปัญหาบางประการ เนื่องจากผู้เล่นบางส่วนของทีมถูกแบนอย่างเช่น อยาล่า, ดิแอซ, กีเก้ เกมดำเนินไปถึงช่วงเวลาการต่อเวลาพิเศษเหลือเพียงแค่ 7 นาทีเท่านั้น อราโกเนสทำประตูด้วยลูกยิงที่สุดยอดจากการยิงฟรีคิก แล้วเหมือนว่าทีมจากสเปนจะเป็นผู้ชนะ แต่ในนาทีสุดท้ายกองหลังของบาเยิร์น มิวนิค อย่าง ฮาน จอร์จ ซวาเซอร์แบก ทำประตูจากการยิงระยะไกลกว่า 25 หลา เนื่องจากผลการแข่งขันที่เสมอกันทำให้ทั้งสองทีมต้องเตะนัดรีเพลย์ที่สนามเดิมใน 2 วันหลังจากนั้น บาเยิร์น มิวนิคเอาชนะไปได้ 4 ประตูต่อ 0 โดยได้ 2 ประตูจากมุลเลอร์และอีก 2 ประตูจากเฮอร์เนส
หลังจากที่พ่ายแพ้ในนัดชิงชนะเลิศยูโรเปี้ยนคัพ แอตเลติโก้ มาดริดได้ตัดสินใจที่จะให้ ลุยส์ อราโกเนส เข้ามาคุมทีมเป็นผู้จัดการทีมแทน ซึ่งความเป็นจริง การเข้ามาของผู้จัดการทีมดังนี้เป็นการเข้ามาแทนอย่างชั่วคราว โดยคุมทีมตั้งแต่ปี 1974 ถึง 1980 และจาก 1982 ถึง 1987 และอีกครั้งจาก 1991 ถึง 1993 และครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อ 2002-2003 ความสำเร็จของทีมเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อ บาเยิร์น มิวนิคปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการแข่งขันในศึกอินเตอร์คอนติเนนทัล คัพ และในฐานะรองแชมป์ยูโรเปี้ยนคัพ แอตเลติโก้ มาดริด ได้เข้าร่วมการแข่งขันแทน โดยคู่ต่อสู้ของเขาคืออินดิเพนเดนเต้ของอาร์เจนตินา หลังจากที่พวกเขาแพ้ในนัดแรกไป 1 ประตูต่อ 0 ทีมตราหมีก็สามารถกลับมาชนะได้ด้วยสกอร์ 2 ประตูต่อ 0 โดยได้ประตูจากฮาร์เวียร์ อิรูเรต้าและรูเบน อยาล่า ภายใต้การคุมทีมของอราโกเนส สามารถทำทีมให้ประสบความสำเร็จในการแข่งขันโกปาเดลเรย์ในปี 1976 และได้แชมป์ลาลีกาในปี 1977 ตอนนี้เป็นช่วงที่รุ่งเรืองของทีม ถ้าพวกเขาได้รองแชมป์ลาลีกาและได้แชมป์โคปาเดลเรย์ ซึ่งทั้งสองอย่างเกิดขึ้นในปี 1985 และพวกเขาได้รับการช่วย อย่างมหาศาลจากฮูโก้ ซานเชส ซึ่งทำประตูไป 9 ประตูและได้รางวัลปิชีชี่ ซึ่งสามารถทำได้ถึง 2 ประตูในการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศบอลถ้วยภายในประเทศ ในการเจอกับแอธเลติก บิลเบา โดยพวกเขาเอาชนะไปได้ 2 ประตูต่อ 1 แต่ฮูโก้ ซานเชส ก็อยู่กับทีมได้เพียงแค่ปีเดียว หลังจากนั้นเขาก็ย้ายข้ามฟากไปยังทีมเรอัล มาดริด ถึงแม้ทีมตราหมีจะเสียนักเตะสำคัญอย่าง ซานเชซแ ต่ภายใต้การคุมทีมของอราโกเนส พวกเขาก็สามารถทำให้ทีมประสบความสำเร็จได้ โดยได้แชมป์ซูเปอร์โคปา เดอ เอสปานา ในปี 1985 และสามารถนำทีมเข้าไปถึงการแข่งขันยูโรเปี้ยนคัพ วินเนอร์คัพ รอบชิงชนะเลิศในปี 1986 ถึงแม้ว่าพวกเขาจะพลาดท่าพ่ายแพ้และพลาดโอกาสในการได้แชมป์ยูโรเปี้ยนคัพโดยการแพ้ต่อดินาโมเคียฟไป 3 ประตูต่อ 0
ในปี 2006 แอตเลติโก มาดริดได้เซ็นสัญญากับกองกลางชาวโปรตุเกสอย่าง คอสตินญ่าและมานิเช่ เช่นเดียวกับกองหน้าสัญชาติอาร์เจนตินา อย่าง เซอร์จิโอ อเกวโร่ ในเดือนมิถุนายนปี 2007 หลังจากที่เฟอร์นานโด ตอร์เรส ได้ย้ายออกจากสโมสร เพื่อย้ายเข้าไปยังทีมลิเวอร์พูลด้วยราคาก่อน 26.5 ล้านปอนด์ ขณะที่หลุยส์ การ์เซีย ได้ย้ายไปยังทีมแอตเลติโก มาดริด สลับฝั่งกันกับตอเรสและทางสโมสรได้ซื้อกองหน้าทีมชาติอุรุกวัยและอดีตนักเตะรองเท้าทองคำของยุโรปซึ่งเคยได้รางวัลปิชีชี่ นั่นก็คือ ดิเอโก้ ฟอร์ลัน ซึ่งทีมตราหมีซื้อมาด้วยราคามากกว่า 21 ล้านยูโรจากทีมบีอาเรอัล แล้วนอกจากนั้น ทีมยังได้ซื้อตัวปีกชาวโปรตุเกสอย่าง ซิเมา จากสโมสรเบนฟิก้าและปีกอีกคนอย่างโจเซ่ อันโตนิโอ เรเยส ด้วยราคากว่า 12 ล้านยูโร
ในเดือนมิถุนายนปี 2004 บอร์ดบริหารของแอตเลติโก้ มาดริด ได้บรรลุข้อตกลงในการขายที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของสนาม และมีความตั้งใจที่จะย้ายไปยังที่ดินใหม่ ซึ่งถูกเรียกที่ตั้งสนามตรงนั้นว่าโอลิมปิก สเตเดี้ยม อย่างไรก็ดี สนามแห่งนี้ได้ถูกเปลี่ยนเจ้าของและทำให้แอตเลติโก้ มาดริด เป็นเจ้าของสนามอย่างเต็มตัว ซึ่งทำให้ประเทศสเปนได้ยื่นขอเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนปี 2016 แต่นั้นก็ไม่สำเร็จ ทำให้โอลิมปิกถูกทำการแข่งขันที่ริโอ เดอ จาเนโรแทน
ในฤดูกาล 2017-2018 เป็นฤดูกาลที่ทีมตราหมีพิสูจน์ตนเองว่าเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุดทีมหนึ่งในช่วงปัจจุบัน เนื่องจากทีมสามารถเข้าไปสู่รอบ 32 ทีมในการแข่งขันยูฟ่าคัพ และแพ้ต่อโบลตัน วันเดอเรอร์สไปและสามารถเข้าไปสู่รอบ 4 ทีมสุดท้ายในศึกโคปาเดเรย์ ก่อนที่จะแพ้ต่อสโมสรร่วมลีกอย่างสโมสรบาเลนเซียและในฤดูกาลอย่างเดียวกัน พวกเขาจบด้วยลำดับที่ 4 ในการแข่งขันลาลีกา ซึ่งทำให้ทีมเข้าไปสู่การแข่งขันแชมป์เปียนลีกได้เป็นครั้งแรกตั้งแต่ฤดูกาล 1996-97
ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ปี 2009 ฮาเวียร์ อกูเร่ ถูกไล่ออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมดังจากการมีผลงานที่ย่ำแย่ โดยไม่สามารถเอาชนะใครได้เลยการแข่งขัน 6 นัดแรกของฤดูกาล โดยเขาออกมาบอกภายหลังว่า ข้อมูลนั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากเขาตัดสินใจที่จะออกจากทีมก่อนที่จะโดนไล่ออก ซึ่งสิ่งที่สื่อนั้นสื่อสารออกไปเป็นเรื่องที่ผิด แต่หลายๆคนเชื่อว่าการกระทำที่ไล่ออกนั้นเป็นสิ่งที่การกระทำที่ถูกต้องของแอตเลติโก้ มาดริด นักเตะคนสำคัญของทีมอย่าง ดีเอโก้ ฟอร์ลัน ออกมาปกป้องอดีตผู้จัดการทีมและบอกว่า “การแก้ปัญหาโดยการไล่ฮาเวียร์ออกนั้น มันเป็นเรื่องที่ง่าย แต่มันไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ปัญหาที่ถูกต้องก็คือการเล่นของพวกเราโดยผู้เล่นนั้นสมควรที่จะถูกตำหนิในการทำผลงานที่แย่ และการผิดพลาดของพวกนักเตะเอง” และหลังจากนั้นทางสโมสรก็ได้นำตัวอเบล เรซิโน่ ซึ่งเป็นผู้จัดการทีมแอตเลติโก้ มาดริดคนใหม่
ความสำเร็จของแอตเลติโก้ มาดริด ทำให้สามารถกลับไปเล่นในยูฟ่า แชมเปียนส์ลีกได้อีกครั้ง เนื่องจากพวกเขาจบอันดับที่ 4 ซึ่งสามารถทำให้ทีมเข้าไปสู่การเล่นรอบเพลย์ออฟ เพื่อเข้าไปแข่งขันในรอบต่อไปได้ ซึ่งทำให้กองหน้าอย่าง ดิเอโก้ ฟอร์ลัน ทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม โดยได้รับรางวัลปิชีชี่และในปีเดียวกันอย่างได้รางวัลรองเท้าทองคำของยุโรป โดยทำประตูไป 32 ประตูให้แก่ทีมตราหมีในฤดูกาลนั้น ความสำเร็จของแอตเลติโก้ มาดริด นั้นเป็นโอกาสในการกลับเข้าสู่การแข่งขันแชมป์เปียนลีก ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทีมอยากเห็นได้ชัด นั่นก็คือการแทนที่ตัวผู้รักษาประตู โดยคนที่มาแทนตัวผู้รักษาประตูคนเดิมอย่าง ลีโอ ฟรังโกโดยแทนที่โดยดาบิด เด เคอา ซึ่งเป็นนักเตะจากเยาวชนของทีมและสโมสรได้เซ็นสัญญากับนักเตะดาวรุ่งอย่างเซอร์จิโอ อเซ็นโจ้ จากสโมสรเรอัล บายาโดลิด และทีมก็ได้ซื้อกองหลังจากทีมเรอัล เบติสและเป็นนักเตะชาติสเปนอย่าง ฮัวนิโต้ ซึ่งเป็นการซื้อขายโดยไม่จ่ายค่าตัว และในขณะนั้นมีความกดดันจากสโมสรใหญ่ให้ขายนักเตะดาวดังของทีม ทั้งตัวของอเกวโร่และฟอร์ลัน แต่ทางสโมสรก็ยังคงรั้งนักเตะ 2 คนเอาไว้กับทีม เพื่อรอที่จะเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่จะประสบความสำเร็จในฤดูกาลถัดไป
ในฤดูกาล 2009-2010 แอตเลติโก มาดริด มีการเริ่มต้นฤดูกาลที่ยากลำบาก โดยทีมนั้นพ่ายแพ้และเสียประตูจำนวนมาก แต่ในวันที่ 21 ตุลาคม ทีมตราหมีก็ได้เจอกับคู่ปรับที่มาจากเกาะอังกฤษ นั่นก็คือ เชลซี ในศึกแชมเปี้ยนลีก รอบแบ่งกลุ่ม และเชลซีได้ยัดเยียดความพ่ายแพ้ให้แก่แอตเลติโก มาดริดโดยที่พวกเขาแพ้ไป 4 ประตูต่อ 0 และจากความพ่ายแพ้ในนั้น ทำให้บอร์ดบริหารของทีมจำเป็นต้องปลดอเบล เรซิโน่ ออกจากการทำทีม หลังจากที่พลาดท่าในการเซ็นสัญญากับอดีตนักเตะเดนมาร์กอย่างไมเคิล เลารูป ทีมตราหมีได้ประกาศผู้จัดการทีมคนใหม่ที่จะมาคุมทีมในฤดูกาลที่เหลือนั้นก็คือ กีเก้ ซานเชส ฟลอเรส
ภายใต้การเข้ามาคุมทีมของ กีเก้ ซานเชส ฟลอเรส ในเดือนตุลาคมปี 2009 ก็มีการเปลี่ยนแปลงของทีมตราหมีอย่างยิ่งใหญ่ โดยเกิดปัญหาในช่วงฤดูกาล 2009-2010 ในการแข่งขันลาลีกา โดยพวกเขาจบอันดับที่ 9 ในตารางการแข่งขัน และในรอบแบ่งกลุ่มแอตเลติโก้ มาดริดก็ได้อันดับที่ 3 ในการแข่งขันยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก ซึ่งทำให้ทีมตกไปสู่การแข่งขันยูโรป้าลีก โดยในรอบ 32 ทีมของการแข่งขันยูโรป้าลีก พวกเขาต้องเจอกับทีมจากอังกฤษ ซึ่งก็คือลิเวอร์พูล ในการแข่งขันรอบ 4 ทีมสุดท้าย ซึ่งทีมตราหมีก็สามารถเอาชนะลิเวอร์พูลไปได้และในนัดชิงชนะเลิศพวกเขาก็เจอกับทีมจากอังกฤษอีกครั้ง นั่นก็คือ ฟูแล่ม ซึ่งการแข่งขันนั้นถูกจัดขึ้นที่เมืองฮัมบูร์ก ที่สนามน็อตแบงค์อารีน่า ในวันที่ 12 พฤษภาคมปี 2010 โดยดีเอโก้ ฟอร์ลัน ทำไป 2 ประตูและเป็นการทำประตูในช่วงต่อเวลาพิเศษในนาทีที่ 116 ซึ่งส่งผลทำให้แอตเลติโก้ มาดริดเอาชนะไปได้ 2 ประตูต่อ 1
นี่เป็นครั้งแรกตั้งแต่การแข่งขันยูโรเปี้ยนคัพ วินเนอร์คัพ ในปี 1962 ซึ่งแอตเลติโก้ มาดริดได้แชมป์ยุโรปและยังสามารถเข้าไปสู่การแข่งขันนัดชิงชนะเลิศของศึกโคปาเดเรย์ ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2010 แต่ว่าพวกเขาได้แพ้ต่อบาร์เซโลน่าที่คัมป์นูไป 2 ประตูต่อ 0 และเนื่องจากการที่พวกเขาได้แชมป์ยูโรป้าลีก ทำให้สามารถเข้าไปสู่การแข่งขันยูฟ่า ซูเปอร์คัพในปี 2010 ได้โดยที่ทีมตราหมีนั้นต้องเจอกับอินเตอร์นาซิอองนาลจากอิตาลี ซึ่งเป็นผู้ชนะในศึกยูฟ่าแชมเปี้ยนลีกปี 2010 ซึ่งการแข่งขันถูกจัดขึ้นที่โมนาโกในวันที่ 27 สิงหาคม 2010 โดยแอตเลติโก้ มาดริดเอาชนะไปได้ 2 ประตูต่อ 0 โดยได้ประตูจากโจเซ่ อันโตนิโอ เรเยซ และเซอร์จิโอ อเกวโร่ ซึ่งเป็นชัยชนะนัดแรกของแอตเลติโก้ มาดริดในศึกซุปเปอร์คัพ
แอตเลติโก้ มาดริด มีผลงานที่น่าผิดหวังในช่วงปี 2010-2011 โดยจบได้เพียงแค่อันดับที่ 7 ในตารางการแข่งขัน และตกรอบ 4 ทีมสุดท้ายในศึกโกปาเดลเรย์ และตกรอบอีกครั้งในการแข่งขันยูโรป้าลีก นี่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ทางสโมสรได้ตัดสินใจปลดซานเชซ ฟลอเรซ ออกจากการทำทีม และหลังจากนั้นทีมได้หาผู้จัดการทีมซึ่งมาแทนที่ซึ่ งก็ได้ตัวเกรกอริโอ แมนซาโน ซึ่งเป็นอดีตผู้จัดการทีมเซบีย่า ผู้ซึ่งสามารถพาทีมเข้าไปสู่การแข่งขันยูโรป้านัดชิงชนะเลิศได้ และหลังจากนั้นไม่นานทีมก็ได้ตัดสินใจนำตัวดีเอโก้ ซิเมโอเน่ เข้ามาแทนที่ในเดือนธันวาคมปี 2011 จากผลการแข่งขันที่ค่อนข้างแย่ในศึกลาลีก้า ของอดีตผู้จัดการทีมเซบีย่า
ซิเมโอเน่ พาแอตเลติโก มาดริดได้แชมป์ยูโรป้าลีกเป็นสมัยที่ 2 ในรอบ 3 ปี ซึ่งพวกเขาสามารถเอาชนะแอตแลนติก บิลเบาไปได้ 3 ประตูต่อ 0 ในนัดชิงชนะเลิศ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคมปี 2012 โดยได้ประตู 2 ประตูจากราดาเมล ฟัลเกาและได้ประตูจากดีเอโก้ ฟอร์ลันอีกหนึ่งประตู และเมื่อได้แชมป์ยูโรป้าลีกแล้วพวกเขาสามารถเข้าไปแข่งขันยูฟ่า ซูปเปอร์ คัพ ในปี 2012 โดยแอตเลติโก มาดริดเอาชนะเชลซี ซึ่งเป็นอดีตแชมป์แชมเปี้ยนลีกไปได้ 4 ประตูต่อ 1 ซึ่งเป็นการทำแฮตทริกของราดาเมล ฟัลเกา ในช่วงครึ่งแรก ซึ่งการแข่งขันครั้งนี้ถูกจัดขึ้นที่โมนาโกเมื่อวันที่ 31 สิงหาคมปี 2012 และเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมปี 2013 ทีมตราหมีสามารถเอาชนะทีมราชันชุดขาวไปได้ 2 ประตูต่อ 1 ในศึกโกปาเดลเรย์ รอบชิงชนะเลิศ ซึ่งทั้ง 2 ทีมเหลือผู้เล่นเพียงแค่ 10 คนและแอตเลติโก้ มาดริด สามารถเอาชนะไปได้ นี่เป็นการหยุดสถิติอันเลวร้ายของทีมตราหมีที่พวกเขาไม่สามารถเอาชนะเรอัล มาดริดได้ในศึกมาดริด ดาร์บี้เป็นเวลา 14 ปีและ 15 นัด
ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2014 ทีมตราหมีได้เจอกันที่คัมป์นู ในการเจอกับบาร์เซโลน่าไป 1 ประตูต่อ 1 ซึ่งทำให้แอตเลติโก้ มาดริดได้แชมป์ลาลีกาไปครอบครองเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 1996 และเป็นแชมป์ลาลีกาเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2003 ถึง 2004 ซึ่งผู้ที่ได้แชมป์ไม่ใช่เรอัล มาดริดหรือว่าบาร์เซโลน่า และหนึ่งสัปดาห์หลังจากนั้น แอตแลนติโก มาดริดต้องเจอกับเรอัล มาดริดในศึกยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก นัดชิงชนะเลิศ และนี่เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 1974 ซึ่งทั้งสองทีมเป็นทีมที่มาจากเมืองเดียวกัน โดยทีมตราหมีได้ประตูขึ้นนำก่อนจากการทำประตูของดีเอโก้ โกดิน พวกเขานำจนไปถึง 3 นาทีสุดท้าย ก่อนจะถึงช่วงทดเวลาบาดเจ็บแ ละเซอร์จิโอ รามอสสามารถทำประตูจากการโยนมาจากเตะมุม และการแข่งขันเข้ามาสู่การต่อเวลาพิเศษและผลโดยท้ายที่สุดแล้วเรอัล มาดริด เอาชนะไปได้ 4 ประตูต่อ 1 และทำให้พวกเขาได้แชมป์แชมเปี้ยนลีกเป็นครั้งที่ 2 ใน 3 ฤดูกาล และพวกเขาเจอกันอีกครั้งในการ 2015-2016 และท้ายที่สุดแล้วเรอัล มาดริดก็เอาชนะจากการยิงจุดโทษ หลังจากที่ในเวลาเสมอกันไป 1 ประตูต่อ 1 และในปี 2018 พวกเขาก็ได้แชมป์ยูโรป้าลีกเป็นสมัยที่ 3 ในการเอาชนะมาร์กเซยไปได้ 3 ประตูต่อ 0 ในนัดชิงชนะเลิศ และพวกเขายังได้แชมป์ยูฟ่า ซุปเปอร์คัพ หลังจากที่เอาชนะเรอัล มาดริดไป 4 ประตูต่อ 2 ในปีเดียวกัน
เรอัล มาดริด และแอตเลติโก้ มาดริด นั้นมีอัตลักษณ์และความแตกต่างของทีมอย่างชัดเจน โดยที่เรอัล มาดริดใช้สนามเหย้าที่ชื่อว่าซานติอาโก้ เบอร์นาบิว และทีมนั้นได้รับการสนับสนุนจากราชวงศ์ของสเปนมาอย่างยาวนาน ส่วนแอตเลติโก้ มาดริดนั้นใช้สนามชื่อ บิเซนเต้ คาลเดร่อน ซึ่งอยู่ทางใต้ของกรุงมาดริดและคนที่สนับสนุน นั่นก็คือ ชนชั้นแรงงานในละแวกนั้น เรอัล มาดริด มีประวัติศาสตร์การตั้งสโมสรมาอย่างยาวนาน พวกเขาภูมิใจในความเก่าแก่ขณะที่แอตเลติโก้ มาดริดนำเสนอตัวเองว่าเป็นการต่อสู้ของชนชั้นรากหญ้า และมีความเป็นกบฏ โดยทีมตราหมีนั้นถูกมองว่าเป็นทีมที่ตามหลังทีมราชันชุดขาวมาโดยตลอด จนกระทั่งในช่วงยุครุ่งเรืองของแอตเลติโก้ มาดริด ซึ่งนำทีมโดยฟรานซิสโก้ ฟรังโก้ และทีมตราหมีก็เคยเกี่ยวข้องกับกองทัพอากาศของสเปนซึ่งชื่อเดิมก็คือแอตเลติโก้ อวาลอง
ในขณะนั้น สเปนในฐานะที่เป็นรัฐเผด็จการและสเปนได้ทำให้เรอัล มาดริด เป็นทีมประจำเมืองหลวง และส่งทีมราชันชุดขาวไปแข่งการแข่งขันยุโรป ขณะที่การแข่งขันทีมชาติสเปนถูกทอดทิ้งและความยิ่งใหญ่ของเรอัล มาดริด ทำให้รัฐมนตรีต่างประเทศออกมาพูดว่า เรอัล มาดริด เป็นสถานกงสุลที่ดีที่สุดที่เราเคยมีมา เนื่องจากพวกเขาได้สร้างวัฒนธรรมการเชียร์ฟุตบอลของแฟนบอลในแถบเมืองหลวงขึ้นมา ในขณะที่แอตเลติโก้ มาดริดนั้น เป็นตัวแทนของทีมจากชนชั้นแรงงาน และพวกเขาได้เขียนเพลงขึ้นมาล้อแฟนฟุตบอลเรอัล มาดริดซึ่งแปลว่า “ไปเลย ไปเลย มาดริด ทีมของรัฐบาล แต่เป็นความอับอายของชาติ”
ความสำเร็จล่าสุดที่เกิดขึ้นในการเจอกันของทั้งสองทีม คือ แอตเลติโก้ มาดริดทำได้โดยการที่หยุดสถิติที่ไม่สามารถเอาชนะถึง 14 ปีติดต่อกัน จนในฤดูกาล 2012-13 โดยพวกเขาเอาชนะคู่ปรับอย่างเรอัล มาดริดที่สนามซานติอาโก้ เบอร์นาบิวด้วยสกอร์ 2 ประตูต่อ 1 ในนัดชิงชนะเลิศของศึกโคปา เดอ เรย์ และอีกครั้งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2013 เมื่อผู้เขาชนะไปได้ 1 ประตูต่อ 0 ที่สนามเหย้าของทีมราชันชุดขาว
ลาลีกา แชมป์ 10 สมัย : 1939–40, 1940–41, 1949–50, 1950–51, 1965–66, 1969–70, 1972–73, 1976–77, 1995–96, 2013–14
รองแชมป์ 9 สมัย : 1943–44, 1957–58, 1960–61, 1962–63, 1964–65, 1973–74, 1984–85, 1990–91, 2017–18
เซกุนด้า ดิวิชั่น แชมป์ 1 สมัย : 2001-2002
รองแชมป์ : 1932–33, 1933-34
โคปา เดล เรย์ แชมป์ 10 สมัย : 1959–60, 1960–61, 1964–65, 1971–72, 1975–76, 1984–85, 1990–91, 1991–92, 1995–96, 2012–13
รองแชมป์ 9 สมัย : 1920–21, 1925–26, 1955–56, 1963–64, 1974–75, 1986–87, 1998–99, 1999–00, 2009–10
ซุปเปอร์โคปา แชมป์ : 1985 และ 2014
รองแชมป์ : 1991, 1992, 1996, 2013
รองแชมป์ยูฟ่าแชมเปี้ยนลีก : 1973-74 , 2013-14, 2015-16
ยูโรเปี้ยน คัพ วินเนอร์ คัพ แชมป์ : 1961-62
รองแชมป์ : 1962–63, 1985–86
ยูฟ่า ยูโรป้า ลีก แชมป์ : 2009–10, 2011–12, 2017–18
ยูฟ่า ซุปเปอร์ คัพ แชมป์ : 2010, 2012, 2018
The post ค้นประวัติเจ้าแห่งลาลีก้า แอตเลติโก มาดริด [Atletico Madrid] first appeared on ผลบอลสด บ้านผลบอล ผลบอลวันนี้ 7m 888 Livescore.]]>เรอัล คลับ เดปอร์ติโว่ เอสปันญ่อล เดอ บาร์เซโลน่า นี่คือชื่อเต็มของสโมสรอาร์ซีดี เอสปันญ่อลซึ่งเป็นสโมสรที่ได้รับการลงเล่นอย่างเป็นทางการลาลีกาของสเปน โดยถิ่นฐานของสโมสรอยู่ที่เมืองคอร์เนล่า เดอโลเบรกาส ประเทศสเปน โดยสโมสรถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1900 ในขณะนี้สโมสรได้เล่นอยู่ในลีกลาลีกา ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของการแข่งขันฟุตบอลของสเปน โดยมีสนามอยู่ที่ อาร์ซีดีอี สเตเดียม ซึ่งสามารถจุผู้คนได้มากถึง 40,500 คน เอสปันญ่อลได้แชมป์โคปาเดอเร 4 สมัย โดยครั้งหลังสุดเมื่อปี 2006 สโมสรได้เข้าไปสู่การแข่งขันยูฟ่าคัพรอบชิงชนะเลิศและในปี 1988 และ 2007 เอสปันญ่อลได้เอาชนะบาร์เซโลน่าในศึกบาร์เซโลน่า ดาร์บี้
เอสปันญ่อลถือเป็นทีมที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน โดยผ่านเรื่องราวต่างๆมามากมาย ก่อนที่จะคงอยู่ในศึกลาลีกาได้อย่างสง่าผ่าเผยดังเช่นทุกวันนี้
สโมสรเอสปันญ่อลถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 1900 โดย เองเจล โรดริเกซ ลุยซ์ ซึ่งเป็นนักเรียนวิศวกรอยู่ที่มหาวิทยาลัยของบาร์เซโลน่า ซึ่งเดิมนั้นสนามเหย้าของทีมอยู่ที่แค้วนซาร์เรีย และถูกรู้จักอีกชื่อหนึ่งในนามชื่อว่า โซเซียดาด เอสปาโนล่า เดอ ฟุตบอล ใน 1 ปีหลังจากนั้นเข้าสโมสรได้เปลี่ยนชื่อเป็น คลับ เอสปันญ่อล เดอ ฟุตบอล เอสปันญ่อลเป็นสโมสรแรกในสเปนที่ถูกก่อตั้งขึ้นโดยแฟนบอลชาวสเปนเองและสามารถเข้าไปสู่การแข่งขันระดับอาชีพได้
โดยในเดิมทีนั้น ทางสโมสรได้ใส่เสื้อสีเหลืองสดใส ส่วนกางเกงนั้นได้ให้อิสระแก่ผู้เล่นในการเลือกใส่ ซึ่งการใส่เสื้อสีเหลืองนั้นเกิดมาจากกลุ่มผู้ก่อตั้งเป็นกลุ่มนักธุรกิจที่ใช้วัสดุอุปกรณ์ในการทำงานซึ่งเป็นสีเหลืองเป็นหลัก จนเมื่อปี 1910 ทางสโมสรได้เปลี่ยนชื่อเป็น คลับ เดปอร์ติโว่ เอสปันญ่อล ซึ่งใช้สัญลักษณ์สีฟ้าตัดกับสีขาว ส่วนตรงกลางนั้นปล่อยให้เป็นที่ของตราสโมสร ซึ่งที่มาของสีฟ้าและสีขาวนั้นถูกเลือกมาจากโล่ของนายพลที่ยิ่งใหญ่ในเขตซิซิเลียน อราโกเนส ที่มีชื่อว่า โรเจอร์ เดอ ลูเรีย ผู้ซึ่งล่องเรือข้ามทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเพื่อปกป้องชนชั้นสูงของอาราก้อนในช่วงยุคกลาง สโมสรได้มีผลงานที่ประสบความสำเร็จในช่วงแรก โดยได้แชมป์ของเขตคาตาลุนญ่าในปี 1903 ก่อนที่จะได้แชมป์โกปาเดลเรย์ในเวลาต่อมา
ในปี 1906 สโมสรมีปัญหาเรื่องสภาพเศรษฐกิจของสโมสร ซึ่งทำให้นักเตะส่วนใหญ่ได้ย้ายไปยังสโมสร เอ็กซ์ สปอร์ติ้งคลับ ซึ่งสโมสรนี้ได้แชมป์ในการแข่งขันในเขตคาตาลุนญ่าในระหว่างปี 1906 ถึง 1908 และในปี 1909 สโมสรได้มีการตัดสินใจที่จะเปลี่ยนชื่อโดยใช้ชื่อเต็มว่าคลับ เดปอร์ติโว่ เอสปันญ่อลและในปี 1910 พวกเขาได้เปลี่ยนสีของทีมและเป็นสีที่ใช้มาจนถึงทุกวันนี้ เอสปันญ่อลเป็นหนึ่งในไม่กี่ทีมของสโมสรฟุตบอลสเปนที่ได้รับการรับรองจากเหล่าราชวงศ์ของสเปนและมีสิทธิ์ ที่สามารถใช้คำว่า เรอัล นำหน้าทีม และนำหน้าสโมสร ที่ใช้คำว่ารอยัล คราวน์ ในตราสัญลักษณ์ของพวกเขา ซึ่งสิทธิ์ในการใช้นี้ได้รับการรับรองในปี 1912 จากอัลฟอนโซที่ 3 ซึ่งชื่อของสโมสรทั้งหมดนั้นถูกรู้จักกันในนามเรอัล คลับ เดปอร์ติโว่ เอสปันญ่อล
หลังจากได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและมีการจัดตั้งสาธารณรัฐสเปนที่ 2 ขึ้นมาได้มีการงดเว้นการใช้สัญลักษณ์ที่แสดงถึงความเชื่อมโยงต่อราชวงศ์สเปน ทางสโมสรและได้มีการปรับเปลี่ยนโดยใช้ชื่อให้เหมาะกับความเป็นชาวคาตาลัน ทำให้ชื่อนั้นถูกเปลี่ยนเป็น คลับ เอสปอร์ติโว่ เอสปันญ่อล ซึ่งเป็นชื่อที่เกิดขึ้นหลังจากสงครามกลางเมืองของสเปน โดยสโมสรได้ตั้งชื่อในเดือนกุมภาพันธ์ 1995 โดยคำที่เรียกว่าเดปอร์ติโว ถูกนำมาใช้แล้วมันอยู่ในชื่อเต็มของทางสโมสรที่ถูกย่อว่า rcd และในปี 1994 เอสปันญ่อลได้สร้างทีมสำรองนั่นก็คือเอสปันญ่อล B ซึ่งเล่นอยู่ในเซกุนด้าดิวิชั่นบี
หลังจากที่เอสปันญ่อลได้แชมป์โคปา เดลเรย์ ในฤดูกาลก่อน ทำให้พวกเขาสามารถเข้าไปสู่การแข่งขันยูฟ่าคัพ โดยเอาชนะทีมจากสโลวาเกียอย่าง อาร์ทมิเดีย บราติสลาฟวา และพวกเขาอยู่ในการแข่งขันรอบแบ่งกลุ่ม กลุ่ม f ร่วมกับอาแจ็ค สปาร์ตัก ปราก และออสเตรีย เวียนนา เอสปันญ่อลได้แชมป์ของกลุ่มจากผลการแข่งขันที่ยอดเยี่ยมหรือเอาชนะทั้ง 4 ทีมได้ทั้งหมด ซึ่งส่งผลให้เอสปันญ่อลเข้าไปถึงรอบชิงชนะเลิศที่กลาสโกลว์
แต่อย่างไรก็ดี เอสปันญ่อลได้เข้าเอาชนะต่อเบนฟิก้า ซึ่งเป็นแชมป์ยูโรเปี้ยนคัพถึง 2 สมัย ซึ่งเป็นผลการแข่งขันที่น่าเหลือเชื่อ เนื่องจากพวกเขานำไปก่อนถึง 3 ประตูต่อ 0 ในสเปน อย่างไรก็ดีเบนฟิก้าสามารถกลับมาทำ 2 ประตู ซึ่งทำให้เบนฟิก้าได้แต้มนอกบ้าน เมื่อนัดที่ 2 เกิดขึ้นเอสปันญ่อลต้องไปเยือนเบนฟิก้าที่ลิสบอนผลการแข่งขันเสมอกันไป 0 ประตูต่อ 0 ทำให้เอสปันญ่อลสามารถผ่านเข้าสู่ระดับไปได้ซึ่งเป็นรอบ 4 ทีมสุดท้าย
ในการแข่งขันรอบ 4 ทีมสุดท้าย เอสปันญ่อลต้องไปเจอกับทีมยักษ์ใหญ่แดนเยอรมันอย่างแวร์เดอร์ เบรเมน เอสปันญ่อลทำผลงานได้ดีอย่างเหลือเชื่อในการแข่งขันในบ้านของพวกเขา โดยพวกเขาเอาชนะไปได้ถึง 3 ประตูต่อ 0 ก่อนที่นัดที่ 2 นั้นจะไปเล่นที่เยอรมันซึ่งทีมได้แพ้ต่อเบรเมนไป 2 ประตูต่อ 1 แต่นั่นก็ไม่เพียงพอที่จะทำให้เบรเมนเอาชนะไปได้ เอสปันญ่อลสามารถเข้าไปสู่รอบชิงชนะเลิศ
แต่ในนัดชิงชนะเลิศนั้นเอสปันญ่อลได้ไปแพ้ต่อเซบีย่า โดยในเวลา ทั้งสองทีมเสมอกันไป 2 ประตูต่อ 2 และเมื่อเกิดการยิงจุดโทษเซบีย่าสามารถเอาชนะไปด้วยสกอร์ 3 ประตูต่อ 1 ทำให้พวกเขากลายเป็นทีมแรกในศึกยูฟ่าคัพที่ไม่เคยแพ้ใครตลอดทั้งทัวร์นาเม้นต์ ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การแข่งขันของสโมสรที่ทีมสามารถทำผลงานได้ดีขนาดนี้แล้วไม่สามารถคว้าแชมป์ได้ และทำให้เตะอย่างวอลเตอร์ พาลเดียนี่ ออกจากสโมสรเมื่อสิ้นสุดฤดูกาล ซึ่งเขาเป็นคนที่ทำประตูมากที่สุดในการแข่งขันยูฟ่าคัพในฤดูกาลนั้น
ส่วนเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2007 ราอูล ทามูโด การเป็นนักเตะของเอสปันญ่อลที่ทําประตูมากที่สุด ซึ่งทำประตูไปมากถึง 111 ประตู ซึ่งหนึ่งในประตูที่ยอดเยี่ยมที่สุดของเขา นั้นเกิดขึ้นในนาทีที่ 90 เมื่อเอสปันญ่อลต้องเจอกับคู่ปรับตลอดกาลอย่างบาร์เซโลน่าในปี 2006-2007 ประตูนั้นทำให้ทีมเสมอกันไป 2 ประตูต่อ 2 ซึ่งจากผลการแข่งขันทำให้บาร์เซโลน่า กลายเป็นรองแชมป์ลาลีกา เนื่องจากเรอัล มาดริดมีแต้มเท่ากับบาร์เซโลน่าแต่มีผลการแข่งขันเฮดทูเฮดที่ดีกว่า
ในวันที่ 31 เมษายน 2009 เอสปันญ่อลได้เล่นนัดสุดท้ายที่สนามเก่าของพวกเขาอย่าง เอสตาดิโอ โอลิมปิโก เดอ มอนเตอร์ยุค ซึ่งแพ้ต่อมาลาก้าไปได้ 3 ประตูต่อ 0 เอสปันญ่อลได้เล่นที่สนาม โอลิมปิก สเตเดี้ยม ออฟ มอนเตอร์ยุค หลังจากที่ย้ายสนามไปอยู่ที่ซาเรีย ซึ่งจากการย้ายสนามทำให้ผู้ที่เป็นตำนานของสโมสรอย่าง ราอูล ทามูโด ได้กลายเป็นนักเตะที่มีความสำคัญของทีมและเป็นตำนานทีมเนื่องจากเขาได้เล่นเกมเหย้าทั้ง 3 สนามที่แตกต่างกัน
หลังจาก 12 ปีที่เอสปันญ่อลได้ใช้สนาม เอสตาดิโอ โอลิมปิโก เดอ มอนเตอร์ยุคย์ เอสปันญ่อลได้ย้ายสนามไปยังสนามเอสตาดีกูร์ เนยาเอลปรัต ซึ่งสนามใหม่ถูกใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2009 นัดระหว่างเอสปันญ่อลเจอกับลิเวอร์พูลโดยสุดท้ายแล้วเอสปันญ่อลเอาชนะทีมหงส์แดงไปได้ 3 ประตูต่อ 0 จากการทำประตูของหลุยส์ การ์เซีย ซึ่งทำประตูแรกให้กับทีมหงส์แดงก่อนที่จะตามมาด้วยการยิงประตูตามมาอีก 2 ลูกของเบน ซาฮาร์
ในวันที่ 8 สิงหาคม 2009 กัปตันทีมเอสปันญ่อล อย่าง ดานิเอล ฆาร์เก้ ซึ่งตอนนั้นมีอายุ 26 ปีเสียชีวิตจากอาการหัวใจวายที่บริเวณสวนหย่อมประเทศอิตาลีที่โคเวอร์เซียโน่ เป็นที่ที่ทางสโมสรให้นักเตะได้พักผ่อนก่อนที่จะมีเตะนัดต่อไปที่ประเทศอิตาลี และในนาทีที่ 21 ซึ่งเป็นเบอร์เสื้อของนักเตะคนนี้มีการยืนขึ้นตบมือเพื่อเป็นเกียรติแก่เขาทั้งสนาม เหล่าแฟนบอลเอสปันญ่อลต่างก็อุทิศความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของทีมให้กับเขาพร้อมกับการตบมืออย่างเกรียงไกร
ในวันที่ 10 สิงหาคม 2009 ได้มีการจัดอันดับทีมที่ยอดเยี่ยมที่สุดในยุโรปแห่งศตวรรษที่ 20 ซึ่งเอสปันญ่อลนั้นอยู่ในลำดับที่ 98 เนื่องจากผลงานที่สามารถเข้าไปสู่การแข่งขันยุโรปได้บ่อยๆและอดีตนักเตะของทีมอย่างเมาริซิโอ โปเช็ตติโน่ ได้มาเป็นผู้จัดการทีมในช่วงปี 2008-2009 ซึ่งเป็นการคุมทีมเพื่อป้องกันให้ทีมรอดจากการตกชั้นลงไปสู่ดิวิชั่น 2 และเขาก็สามารถทำได้สำเร็จ เอสปันญ่อลสามารถเล่นอยู่ในลีกสูงสุดอย่างลาลีก้าได้ต่อไป ทางสโมสรมีนโยบายในการนำผู้เล่นระดับท้องถิ่นเข้ามาเล่นในสโมสรเพื่อให้มีเหล่านักเตะที่เกิดจากการปั้นของอเคเดมี่มากขึ้น ซึ่งอยู่ภายใต้การคุมทีมของเมาริซิโอ โปเช็ตติโน่ แต่อย่างไรก็ดี หลังจาก 14 นัดในฤดูกาล 2012-13 ผู้บริหารของทีมเอสปันญ่อลก็มีมติในการปลดเมาริซิโอ โปเช็ตติโน่ ออกจากการทำทีม และไม่กี่วันหลังจากนั้นทีมก็ได้มีผู้จัดการทีมคนใหม่ซึ่งเป็นชาวเม็กซิกันอย่าง ฮาเวียร์ อกูเร่ เข้ามาควบคุมการคุมทีมของสโมสรเพื่อให้ทำผลงานให้ดี
ฮาเวียร์ อกูเร่ เข้ามาคุมทีมได้เพียงหนึ่งฤดูกาลและสามารถทำให้ทีมนั้นอยู่ในการแข่งขันดิวิชั่นหนึ่ง โดยที่ไม่ตกชั้นได้ และหลังจากนั้นก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงของทีมอีกครั้ง โดยสโมสรตัดสินใจที่จะจ้างเซอร์จิโอ กอนซาเลซเข้ามาคุมทีมในตำแหน่งผู้จัดการทีม ในช่วงฤดูร้อนปี 2014 และในปีแรกของเขานี่เอง เขาทำให้ทีมผ่านเข้าสู่รอบ 4 ทีมสุดท้ายในบอลถ้วย ภายใต้การคุมทีมของผู้จัดการทีมคนใหม่ เขาสามารถทำผลงานได้ดีและทำให้ทีมอยู่รอดโดยไม่ตกชั้นได้ แต่เมื่อเดือนธันวาคมปี 2015 ทางบริหารของสโมสรตัดสินใจที่จะไล่ผู้จัดการทีมคนนี้ออก เนื่องจากผลการแข่งขันในช่วงหลังที่ย่ำแย่และทีมได้แต่งตั้งคอนสแตนติน กัลกา ผู้จัดการทีมซึ่งเคยเป็นอดีตกัปตันทีมของเอสปันญ่อลมาเป็นผู้จัดการทีมคนใหม่
และในขณะเดียวกันก็มีการเปลี่ยนแปลงภายในของทีม โดยประธานของสโมสรอย่าง โจเอน คอลเลท และบอร์ดบริหารของสโมสรได้ลาออกเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2016 และทำให้เชน เยนเช็ง นักธุรกิจชาวจีนเข้ามาเทคโอเวอร์สโมสร เมื่อกลุ่มทุนเข้ามาเทคโอเวอร์สโมสร และมีหุ้นส่วนในสโมสรเกินกว่า 50% ซึ่งสามารถทำให้เขามีสิทธิ์ในการควบคุมทีมอย่างเต็มรูปแบบได้ โดยการเซ็นสัญญานั้นเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2016 ซึ่งหน้าที่ของประธานและบอร์ดบริหารแห่งใหม่นั้นก็คือการไล่ใช้หนี้ที่เกิดขึ้นในฤดูกาลก่อนๆ
ในช่วงแรกของศตวรรษที่ 20 สเปนอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลเผด็จการของ เมเกล พริโม่ เดอ วิเลร่า ซึ่งได้หมายมั่นปั้นมือให้ทีมบาร์เซโลน่านั้นเป็นสโมสรที่มีความเชื่อแบบค่านิยมในแนวทางของคาตาลัน ซึ่งต่างกับทีมเอสปันญ่อลที่ส่งเสริมการใช้อำนาจโดยผ่านศูนย์กลาง
ในปี 1918 หน่วยฝ่ายบริหารงานของคาตาลันได้ส่งยื่นเรื่องไปทางรัฐบาลสเปน ในการขออิสระในการปกครองแคว้นคาตาลันด้วยตัวเอง และทีมบาร์เซโลน่านั้นได้ร่วมสนับสนุนข้อเสนอที่จะแยกคาตาลันออกจากสเปน โดยผู้สื่อข่าวชาวคาตาลันได้ออกมาพูดว่า “สโมสรบาร์เซโลน่านั้นเป็นสโมสรที่เป็นตัวแทนของชาวคาตาโลเนีย” ซึ่งเป็นทีมที่ยิ่งใหญ่ ส่วนอาร์ซีดี เอสปันญ่อล ไม่ใช่หนึ่งในนั้น
และในปัจจุบันบาร์เซโลน่านั้น เป็นศูนย์กลางอำนาจของชาวคาตาโลเนียและประธานของสโมสรบาร์เซโลน่าคนล่าสุดได้เป็นหนึ่งในผู้ที่เคลื่อนไหวในการแยกตัวให้แค้นคาตาลันออกมาเป็นอิสระจากการปกครองของสเปน และบาร์เซโลน่านั้นกำลังพยายามอย่างต่อเนื่องในการแยกตัวมาจากลาลีกา แม้ว่าประธานสโมสรของอาร์ซีดี เอสปันญ่อล ก็มีความคิดที่จะแยกตัวออกมาจากสเปนเช่นกัน แต่ว่าเราแฟนบอลส่วนใหญ่นั้นก็สนับสนุนให้ทีมนั้นเล่นอยู่กับสเปนต่อไป โดยไม่จำเป็นต้องมีแยกตัวไปเล่นในการแข่งขันลีกอื่น
มีการรายงานข่าวออกมาบอกว่าอาร์ซีดี เอสปันญ่อลนั้น ได้มีการบ่นและไม่พอใจในการให้ความสำคัญของนักข่าวหรือสื่อสารมวลชนในการให้ความสนใจกับทีมบาเซโลน่ามากเกินไป และไม่มาทำข่าวทีมของเขา โดยบาร์เซโลน่านั้นมีช่องทางในการแสดงออกในสำนักงานข่าวของแดนคาตาลันเอง นั่นก็คือ Tv3 แม้ว่าจะมีความแตกต่างทางด้านอุดมการณ์ของทั้งสองทีมจะแตกต่างกัน แต่เมื่อบาร์เซโลน่าต้องเจอกับเอสปันญ่อลนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นการกระชับความสัมพันธ์มากกว่าการเคียดแค้นกันเนื่องจากความแค้นส่วนตัว
แม้ว่าจะเป็นการแข่งขันกันของทีมที่มีละแวกอยู่ใกล้กัน และเป็นทีมในประวัติศาสตร์ของลาลีกาทั้งสองทีม แต่ว่าผลงานกับไม่ใกล้เคียงกัน โดยที่บาร์เซโลน่าเอาชนะเอสปันญ่อลไปได้แทบทุกครั้งโดยเอสปันญ่อลเอาชนะบาร์เซโลน่าไปได้เพียง 3 ครั้งในรอบเกือบ 70 ปี และเคยเกิดดาร์บี้แมตในนัดชิงชนะเลิศในศึกโกปาเดลเรย์ แต่สุดท้ายแล้วบาร์เซโลน่าก็ชนะเอสปันญ่อลไปได้ในปี 1957 โดยสรุปแล้วนัดที่บาร์เซโลน่าชนะเยอะที่สุดนั่นก็คือการเอาชนะไปได้ถึง 6 ประตูต่อ 0
เอสปันญ่อลเคยเอาชนะต่อบาร์เซโลน่าไปได้ 2 ประตูต่อ 1 ในระหว่างฤดูกาล 2008-2009 และกลายมาเป็นทีมแรกที่เอาชนะบาร์เซโลน่าได้ที่คัมป์นู ในปีที่บาร์เซโลน่านั้นได้ 3 แชมป์
อาร์ ซีดี สเตเดี้ยม รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งนั่นก็คือสนาม เอสตาดีกูร์ เนยาเอลปรัต เป็นสถานที่อยู่ในแถบบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน ซึ่งใช้เวลาสร้างมากกว่า 3 ปี โดยสร้างเสร็จแล้วใช้งบประมาณไปมากถึง 60 ล้านยูโร โดยสร้างเสร็จพร้อมใช้ในฤดูร้อนปี 2009 และได้รับรางวัลการเป็นสนามที่ดีที่สุดวันที่ 18 มิถุนายนปี 2010 ที่กรุงดับลินประเทศไอร์แลนด์ สนามแห่งนี้จุคนได้มากถึง 40,500 คนซึ่งเป็นสนามใหม่ของสโมสรเอสปันญ่อล ซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อแทนสนามเดินอย่าง เอสตาดิโอ โอลิมปิโก เดอ มอนเตอร์ยุคย์
เล่นใน ลีกลาลีกา 80 ฤดูกาล
เล่นในเซกุนด้า ดิวิชั่น 4 ฤดูกาล
เข้าไปสู่การแข่งขันยูฟ่า คัพ 7 ครั้ง
เข้าไปสู่การแข่งขันอินเตอร์ ซิตี้ แฟร์ คัพ 2 ครั้ง
เข้าไปสู่การแข่งขันยูฟ่า อินเตอร์โตโต้ คัพ 1 ครั้ง
1.ในปี 1928 เอสปันญ่อลเป็นหนึ่งในกลุ่มซึ่งก่อตั้งลาลีกาและในปี 1929 เอสปันญ่อลได้แชมป์แรกของทีมแล้วก็คือแชมป์โคปาเดอเร และเอสปันญ่อลเป็นทีมที่ทำแต้มมากที่สุดในลาลีกาซึ่งไม่ได้แชมป์ซึ่งเป็นสถิติจนถึงทุกวันนี้
2.ทางสโมสรได้เข้าไปสู่การแข่งขันยูฟ่าคัพ 7 สมัยรวมถึงในปี 2006-2007 เนื่องจากปี 2006 พวกเขาได้แชมป์สเปนิชคัพและสามารถเข้าไปสู่รอบชิงชนะเลิศได้ในปี 1988 ก่อนที่จะไปแพ้ต่อเบเยอร์ เลเวอร์คูเซ่น ในการยิงลูกจุดโทษโดยแพ้ไป 3 ประตูต่อ 2 แต่ก่อนหน้านั้นพวกเขาชนะไปได้ 3 ประตูต่อ 0 ทำให้พวกเขาสามารถผ่านเข้ารอบไป ก่อนที่ทีมจะไปแพ้ในนัดชิงชนะเลิศต่อเซบีย่า
โคปาเดอเรย์ 4 สมัย ปี 1929, 1940, 2000, 2006
เซกุนด้า ดิวิชั่น 1 สมัย ปี 1993–94
ชิงแชมป์คาตาลุนญ่า 11 สมัย ปี 1903–04, 1905–06, 1906–07, 1907–08, 1911–12, 1914–15, 1917–18, 1928–29, 1932–33, 1936–37, 1939–40
ซูเปอร์ โคปา เดอ คาตาลุนญ่า 1 สมัย ปี 1993–94
The post ขุดเจาะประวัติ อาร์ซีดี เอสปันญ่อล [RCD Espanyol] first appeared on ผลบอลสด บ้านผลบอล ผลบอลวันนี้ 7m 888 Livescore.]]>Borussia VfL 1900 Mönchengladbach eV หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม โบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัค หรือ กลัดบัค เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพเยอรมันใน มึนเช่นกลัดบัค ลีกสูงสุดของฟุตบอลเยอรมัน สโมสรได้แชมป์ลีก 5ครั้ง DFB-Pokals 3 ครั้ง และยูฟ่ายูโรปาลีก 2ครั้ง
ก่อตั้งขึ้นในปี พ. ศ. 1900 โดยมีชื่อมาจากภาษาละตินของปรัสเซีย ซึ่งเป็นชื่อที่ได้รับความนิยมสำหรับสโมสรเยอรมันในอดีต ทีมได้เข้าร่วมกับบุนเดสลีกาในปี 1965 และได้ความสำเร็จส่วนใหญ่ในปี 1970 ที่ภายใต้การคุมทีมของ Hennes Weisweiler พวกเขาได้รับฉายาว่า Die Fohlen คำประกาศเกียรติคุณในทีมยังเป็นเด็ก ที่มีสไตล์การเล่นที่รวดเร็วและดุดัน มึนเช่นกลัดบัคยังได้แชมป์ยูฟ่าคัพ 2 ครั้งในช่วงเวลานี้
ตั้งแต่ปี 2004 โบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัค เคยเล่นที่ โบรุสเซีย-พาร์ค ก่อนหน้านี้เคยเล่นที่ Bökelbergstadion มาตั้งแต่ปี 1919 โบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัค เป็นสโมสรที่ใหญ่เป็นอันดับห้าในประเทศเยอรมนี มีสมาชิกมากกว่า 75,000 คน คู่แข่งหลักของสโมสรคือ FC Köln ซึ่งพวกเขาแข่งขันกับนในนาม Rheinland Derby
ผู้บุกเบิกของสโมสร โบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัค เป็นกลุ่มผู้เล่นที่ออกจากสโมสรกีฬา Germania ก่อตั้งสโมสรใหม่ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 1899 ในร้านอาหาร “Anton Schmitz” บน Alsstraße ในเขต Eicken มึนเช่นกลัดบัค ชื่อในตอนนั้นคือ เอฟซี โบรุสเซีย 1900
ชื่อ “Borussia” มาจากรูปแบบ Latinized ของ ปรัสเซีย ราชอาณาจักร ซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองมึนเช่นกลัดบัคในปี 1815 โดยปี 1912 Die Borussen พบว่าตัวเองอยู่ใน Verbandsliga ในที่ที่สูงที่สุดของสโมสรที่สามารถเล่นได้
ในเดือนมีนาคมปี 1914 สโมสรได้ซื้อ De Kull ซึ่งเป็นพื้นที่ที่จะสร้าง Bökelbergstadion สงครามโลกครั้งที่หนึ่งหยุดความคืบหน้าของทั้งสนามกีฬาและสโมสรฟุตบอล โบรุสเซีย แต่เมื่อถึงปลายปี 1917 ทีมก็เริ่มอีกครั้ง ในปี 1919 สโมสรฟุตบอล โบรุสเซีย ได้รวมกับสโมสรท้องถิ่นอีกแห่งคือ Turnverein Germania 1889 และกลายเป็น 1899 VfTuR M.Gladbach สโมสรประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกในปี 1920 ชนะ Kölner BC 3-1 และชนะ Westdeutsche Meisterschaft ในรอบชิงชนะเลิศ
การรวมตัวกันระหว่าง Germania และ โบรุสเซีย ใช้เวลาเพียงสองปีเท่านั้น หลังจากนั้นสโมสรก็รู้จักกันในนาม โบรุสเซีย VfL 1900 e.V. M.Gladbach.
1933-1945 : Football under the Third Reich
หลังพรรคนาซีขึ้นสู่อำนาจในปี 1933 ระบบลีกของเยอรมันได้รับการปฏิรูปให้ประกอบด้วย 16 Gauligen กลับดบัค พบว่าพวกเขาเล่นใน Gauliga Niederrhein และต่อมาใน Bezirksklassen (ลีกระดับท้องถิ่น) ในขณะที่อยู่ภายใต้ Third Reich ผู้เล่นต่างชาติคนแรกขอ งมึนเช่นกลัดบัค คือ Heinz Ditgens ที่ลงเล่นเล่นในเยอรมนีการชนะลักเซมเบิร์ก 9-0 ในโอลิมปิกเกมส์ 1936 หลังจากการระบาดของสงครามโลกครั้งที่สองเล่นต่อตามปกตินอกเหนือจากฤดูกาล 1944-45
1945-1959 : สร้างใหม่หลังสงคราม
ในที่สุด มึนเช่นกลัดบัค กลับมาเล่นอีกครั้งในเดือนมิถุนายน 1946 ได้รับการเลื่อนชั้น ไปดิวิชั่นที่สองของ Landesliga Niederrhein (ระดับที่สองของภูมิภาค) ในปี 1949 และลีกสูงสุดของ Oberliga West ในปี 1950 หลังจากการเลื่อนชั้นและการตกชั้นเป็นเวลานาน ในฤดูกาล 1958–59
1959-1965: ขึ้นสู่บุนเดสลีกา
Seasons 1959–60 – 1964–65
ในเดือนสิงหาคมปี 1960 โบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัค แพ้ 1 FC Köln ในถ้วยเยอรมันตะวันตก สัปดาห์ต่อมาสโมสรคว้าแชมป์ DFB-Pokal คว้าแชมป์ครั้งแรกของระดับชาติ หลังจากเอาชนะ Karlsruher SC 3-2 ในรอบชิงชนะเลิศ
ปีต่อมาสโมสรใช้ชื่อ โบรุสเซีย VfL มึนเช่นกลัดบัค ที่คุ้นเคยในปัจจุบัน หลังจากเมือง München-Gladbach กลายเป็น มึนเช่นกลัดบัค
ฤดูกาล 1961–562 ใน Oberliga สิ้นสุดลงอีกครั้งกับ โบรุสเซีย ได้อันดับที่ 13 ในตาราง ในปี 1962–63 สโมสรหวังที่จะเข้าร่วมวงของสโมสร DFB ซึ่งจะเริ่มในปีหน้าในการก่อตั้งบุนเดสลีกาใหม่ เฮลมุท เบเยอร์ ซึ่งดำรงตำแหน่งมา 30 ปีได้เข้ารับตำแหน่งประธานสโมสรในฤดูกาลนั้น และ เฮลมุท กราฟอฟฟ์ ดำรงตำแหน่งประธานคนที่สอง ในกรกฏาคม 1962 โบรุสเซีย เซ็นฟริตซ์ แลงเนอร์ ซึ่งได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขันกับเยอรมันตะวันตก 1959 กับ Westfalia Hern กลายเป็นโค้ชคนใหม่ของพวกเขา สำหรับความผิดหวังของ แลงเนอร์ ได้ขาย อัลเบิร์ต บรูลล์ ทำสถิติสูงสุด 250,000 DM ให้กับสโมสรฟุตบอลโมเดน่าในอิตาลี เพื่อฟื้นฟูสโมสรทางการเงิน เฮลมุท กราฟอฟฟ์ เป็นผู้เก็บค่าธรรมเนียมในอิตาลีลีร่าเป็นเงินสด ในกระเป๋าเดินทาง กล่าวในภายหลังว่า เขากลัวหลังจากโอนเงิน “ถูกคิดว่าเป็นโจรปล้นธนาคาร” เงินที่ได้จากการถ่ายโอนทำให้แลงเนอร์ สามารถสร้างทีมใหม่ได้ด้วยการเซ็นสัญญากับผู้เล่นอย่าง Heinz Lowin, Heinz Crawatzo และ Siegfried Burkhardt ในปีนั้นทีม A-Youth ชนะการแข่งขันชิงแชมป์เยอรมันตะวันตก ด้วยทีมซึ่งรวมถึงนักฟุตบอลอาชีพในอนาคต Jupp Heynckes และ Herbert Laumen
เกียรตินิยมเพิ่มเติมต้องรออีกทศวรรษ ผลของ โบรุสเซีย ในช่วง 10 ปีที่นำไปสู่การก่อตั้งบุนเดสลีกาในปี 1963 นั้นยังไม่แข็งแกร่งพอที่จะทำให้พวกเขาได้แชมป์ในลีกอาชีพสูงสุดของของประเทศใหม่และสโมสรเล่นในดิวิชั่นสอง
ในฤดูกาลถัดไป 1964-65 สโมสรเซ็นสัญญากับเยาวชน Jupp Heynckes และ Bernd Rupp และทีมเยาวชนบางคนเข้าร่วมทีมอาชีพ อายุเฉลี่ยของพวกเขาคือ 21.5 ปีต่ำที่สุดของทีมลีกภูมิภาคทั้งหมด พวกเขาได้รับฉายา “ลูก” เนื่องจากอายุเฉลี่ยต่ำเช่นเดียวกับการเล่นที่ไร้กังวลและประสบความสำเร็จ ผู้สื่อข่าว วิลเฮล์ม August Hurtmanns ชื่อว่าชื่อเล่นในบทความของเขาใน Rheinische โพสต์ เขาถูกนำไปใช้กับสไตล์ของ โบรุสเซีย และเขียนว่าพวกเขาจะเล่นเหมือนลูกเล็กๆ เมื่อเมษายน 1965 ทีมคว้าแชมป์ Regionalliga ตะวันตกและการมีส่วนร่วมในการเลื่อนชั้นสู่บุนเดสลีกา กลุ่ม 1 เจอกับคู่แข่งWormatia Worms (ที่สองใน Regionalliga Südwest), SSV Reutlingen (ที่สองใน Regionalliga Süd) และ Holstein Kiel (ผู้ชนะในการแข่งขัน Regionalliga Nord) ในนัดแรกและนัดที่สอง ในหกเกม โบรุสเซีย ชนะสาม (5-1 ใน Worms, 1-0 กับ Kiel และ 7-0 กับ Reutlingen) ความสำเร็จเลื่อนชั้นสู่บุนเดสลีกา ร่วมกับ โบรุสเซีย บาร์เยิร์น มิวนิค จากการชนะกลุ่ม 2
ฤดูกาลแรกของบุนเดสลีกาในฤดูกาล 1965–66 ได้รับการเลื่อนชั้นพร้อมๆกับ บาเยิร์น มิวนิค ในอนาคต ทั้งสองสโมสรจะมีส่วนร่วมในการต่อสู้ที่ดุเดือดในขณะที่พวกเขาท้าทายซึ่งกันและกันเพื่ออำนาจสูงสุดในประเทศตลอดปี 1970 บาเยิร์น ทำสำเร็จครั้งแรกในการต่อสู้เพื่ออำนาจสูงสุดระหว่างสองทีม ชนะการแข่งขันบุนเดสลีกาในปี 1969 มึนเช่นกลัดบัค สวนกลับทันทีในฤดูกาลหน้าด้วยแชมป์ของพวกเขาเองและตามด้วยรองแชมป์ในปี 1971 กลายเป็นสโมสรบุนเดสลีกาทีมแรก ที่ป้องกันแชมป์ของพวกเขาสำเร็จ
1965-1969 : ปีแรกในบุนเดสลีกาและการดิ้นรน
ความมุ่งมั่นของ Weisweiler ในฐานะโค้ชชี้ทางสู่ความสำเร็จในการเล่นของสโมสรในบุนเดสลีกา สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของสโมสรไม่อนุญาตให้ใช้เงินกับทีมมากนัก สอดคล้องกับความต้องการของสมาคมกับทัศนคติของเขาเพื่อส่งเสริมการศึกษาและการพัฒนาความสามารถพิเศษ เขากดผู้เล่นที่ไม่ได้อยู่ในระบบเกมคงที่ แต่ได้เลื่อนขั้นปัจเจกนิยมและให้อิสระแก่พวกเขาในสนาม สิ่งนี้ส่งผลให้รูปแบบการเล่นที่ไร้กังวลและเป็นจุดเด่นของ Fohlenelf
สโมสรเซ็นสัญญากับ Berti Vogts และ Heinz Wittmann ผู้เล่นทั้งสองมีส่วนกับความสำเร็จด้านการกีฬาของโบรุสเซีย
การแข่งขันในบุนเดสลีกาครั้งแรกในฤดูกาล 1965/66 เกิดขึ้นกับ Borussia Neunkirchen และเสมอกัน 1-1 ด้วยการทำประตูแรกของบุนเดสลีกาคือ Gerhard Elfert เกมในบ้านครั้งแรกกับ เซาท์แทสเมเนีย 1900 เบอร์ลิน โบรุสเซีย ชนะ 5-0 Weisweiler รู้วิธีที่จะให้อิสระทางยุทธวิธีของทีมและเพื่อส่งเสริมความกระตือรือร้นของผู้เล่นแต่ละคน เสรีภาพเหล่านี้ทำให้ทีมที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะในฤดูกาลแรกของบุนเดสลีกาที่มีความพ่ายแพ้สูงบางครั้ง โบรุสเซีย จบฤดูกาลแรกในบุนเดสลีกาที่ 13 ในตาราง
ในฤดูกาลถัดไป 1966/67 แสดงพลังการทำประตูของทีม มึนเช่นกลัดบัค ซึ่งยิงได้ 70 ประตู เฮอร์เบิร์ต Laumen กองหน้าทำไป 18 ประตู, Bernd Rupp 16 ประตู และ Jupp Heynckes 14 ประตู ทีมสามารถจบฤดูกาลด้วยอันดับที่แปดในตาราง ด้วยการชนะในบ้าน 11-0 กับสโมสรฟุตบอล ชาลเก้ 04 ในแมทช์เดย์ที่ 18 ทีมได้ฉลองชัยชนะครั้งแรกสูงสุดในประวัติศาสตร์บุนเดสลีกา
ความสำเร็จมีผลข้างเคียงกับเงินเดือนของผู้เล่นที่เพิ่มขึ้น และทำให้ผู้เล่นดีไม่ใช่เรื่องง่าย Jupp Heynckes ย้ายมาจากค่าธรรมเนียมการย้าย 275,000 DMไปยัง Hannover 96, Bernd Rupp ย้ายไป SV SV Werder Bremen และ Eintracht Braunschweig ได้เซ็นสัญญา Gerhard Elfert สโมสรซื้อ ปีเตอร์เมเยอร์ และ ปีเตอร์ ทริช ชดเชยผู้เล่นที่มีประสบการณ์ ด้วยการชนะ 10-0 ในนัดที่สิบสองของฤดูกาล 1967/68 เหนือ โบรุสเซีย Neunkirchen ทีมได้แสดงพลังการทำประตูอีกครั้ง ในฤดูกาล 1968/69 สโมสรเซ็นสัญญา โค้ช Horst Köppel ซึ่งเคยมีประสบการณ์ครั้งแรกในทีมชาติและจากมือสมัครเล่นที่ไม่รู้จัก VfL Schwerte ผู้รักษาประตูนานแล้ว Wolfgang Kleff และ Hartwig Bleidick, Gerd Zimmermann และ Winfried Schäfer ที่เล่นสิบฤดูกาลที่ โบรุสเซีย
1970-1980: ทศวรรษทอง : การปกครองในลีกและประสบความสำเร็จในยุโรป
ฤดูกาล 2512-2570 – 2522-23
ปี 1970 ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสโมสร ภายใต้โค้ช เฮนส์ไวส์ ไวเลอร์ หนุ่มน้อยคนนี้แสดงให้เห็นถึงปรัชญาและการเล่นที่ทรงพลังที่ดึงดูดแฟนๆ จากทั่วเยอรมนี โบรุสเซีย ชนะการแข่งขัน 5 ครั้งบ่อยกว่าทีมอื่นในเวลานี้ ในเวลาเดียวกันการต่อสู้กับเอฟซี บาเยิร์น มิวนิค ซึ่ง โบรุสเซีย รวมตัวกันขึ้นในปี 1965 ในบุนเดสลีกาได้รับการพัฒนา หลังจากสโมสรเสร็จสองครั้งในปีก่อนหน้าด้วยอันดับสามในตารางโค้ชเฮนส์ไวส์ ไวเลอร์ ในฤดูกาล 1969/70 โดยเฉพาะการป้องกัน เบี่ยงเบนไปจากแนวคิด “foal” โบรุสเซีย ซื้อเป็นครั้งแรกสำหรับผู้เล่นฝ่ายรับประสบการณ์อย่าง Luggi Müller และ Klaus-Dieter Sieloff กับ Ulrik le Fevre สโมสรได้เซ็นสัญญาผู้เล่นคนแรกของเดนมาร์กหลังจากนั้นตามด้วย Henning Jensen และ Allan Simonsen ฤดูกาลนี้เห็นชัยชนะครั้งแรกของบุนเดสลีกาเหนือ บาเยิร์น หลังจากชนะ Alemannia Aachen ไป 5-1 ในวันที่ 31 ตุลาคม 1969 เป็นครั้งแรกที่อยู่กลุ่มผู้นำของบุนเดสลีกา วันนี้ (ณ เดือนธันวาคม 2018) โบรุสเซีย เป็นอันดับสามในผู้นำลีกในบุนเดสลีกาตามหลัง บาเยิร์น และ ดอร์ทมุนด์ ด้วยการชนะที่บ้านเหนือ Hamburger SV เมื่อวันที่ 30 เมษายน 1970 นัดที่ 33 ของฤดูกาล โบรุสเซีย ได้แชมป์
วันที่ 16 กันยายน 1970 Herbert Laumen ทำประตูในเกมส์เอาชนะ EPA Larnaka 6-0 เป็นประตูแรกสำหรับ โบรุสเซีย ในเกมฟุตบอลสโมสรยุโรป รอบแรกของฤดูกาลถัดไป 1970/71 สโมสรแพ้เพียงครั้งเดียว ในประวัติศาสตร์ของบุนเดสลีกาที่ไม่เหมือนใครคือ เหตุการณ์ในเกมนัดที่ 27 ของการแข่งขันกับ Werder Bremen หรือที่รู้จักกันในชื่อ post break จาก Bökelberg ในเกมเมื่อวันที่ 3 เมษายน 1972 หลังจากเกิดเหตุเขตโทษในนาทีที่ 88 Herbert Laumen กองหน้าปะทะกับผู้รักษาประตูเบรเมน Günter Bernardinto เสาประตูด้านซ้ายพลิก หลังจากความพยายามในการซ่อมแซมไม่สำเร็จ และไม่สามารถตั้งประตูได้ ผู้ตัดสินหยุดเกมด้วยสกอร์ 1: 1 DFB ใน แฟรงค์เฟิร์ต ได้ตัดสินให้เป็นเกมที่ชนะ 2-0 จาก เบรเมน ด้วยเหตุนี้ DFB จึงกำหนดให้สโมสรต้องเปลี่ยนประตูทั้งสอง การแข่งขันชิงแชมป์ถูกตัดสินในวันแข่งขันนัดสุดท้ายในฐานะการแข่งขันแบบตัวต่อตัวกับ บาเยิร์น มิวนิค 9 สัปดาห์หลังจากเกมโพสต์เบรกเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 1972 โบรุสเซีย เป็นฝ่ายที่ปกป้องประวัติศาสตร์บุนเดสลีกาในตำแหน่งแชมป์ด้วยชัยชนะที่ Eintracht Frankfurt
นัดแรกระหว่างประเทศ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 1973 ลิเวอร์พูล ชนะถ้วยยูฟ่านัดแรก 3-0 ในนัดที่สอง เกมถูกยกเลิกเนื่องจากฝนตก นัดที่สองวันที่ 23 พฤษภาคม 1973 โบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัค ชนะ 2-0 พลาดถ้วยนั้น ไปด้วยการชนะนัดแรกของ Liverpool
ฤดูกาลต่อไปนี้มีการทำเครื่องหมายการจากไปของผู้เล่นที่รู้จักกันดี แม้ว่ากองหน้าหลัก มึนเช่นกลัดบัค ยังคงอยู่ Jupp Heynckes ชนะในฤดูกาล 1973/74 โดยมี 30 ประตูในตำแหน่งผู้ทำประตูสูงสุดคนแรกในบุนเดสลีกาสำหรับ โบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัค โบรุสเซีย ประสบความสำเร็จในปีแรกหลังจาก Günter Netzer เพื่อจบการแข่งขัน ด้วยจำนวน 93 ประตู สร้างสถิติสโมสรใหม่ โบรุสเซีย จบฤดูกาลในปี 1972 ถึง 1974 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สามและห้าและรองแชมป์
ในฤดูกาล 1974/75 ซึ่งเป็นรากฐานสำหรับซีรีส์ที่ประสบความสำเร็จที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนในบุนเดสลีกา ในนัดที่ 17 ที่ “ลูก” บนโต๊ะลีกและไม่ละทิ้งนำลีกจนกระทั่งชนะแชมป์ที่ 14 มิถุนายน 1975 ความสุขกับแชมป์ ถูกบดบังด้วยการจากไปของโค้ช Hennes Weisweiler ซึ่งออกจากสโมสรหลังจากสิบเอ็ดปี ไปคุมสโมสรฟุตบอล บาร์เซโลน่า การแข่งขันระหว่างประเทศที่ใกล้ที่สุดซึ่งมีส่วนร่วมกับ มึนเช่นกลัดบัค เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 1975นัดแรกของฟุตบอลยูฟ่าที่ Düsseldorf ระหว่าง โบรุสเซีย และ Twente Enschede จบลงด้วยการทำประตูนัดที่สองเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 1975 ได้รับชัยชนะจาก VfL 5: 1 ด้วยชัยชนะสูงสุดในการคว้าถ้วยยูฟ่ารอบชิงชนะเลิศ โบรุสเซีย คว้าแชมป์ระดับนานาชาติเป็นครั้งแรก
Udo Lattek ผู้ซึ่งมาจากคู่แข่ง บาเยิร์น มิวนิค ถึงแม้ว่าเขาจะเซ็นสัญญากับ Rot-Weiss Essen แล้วก็ตาม เขาก็ได้เข้าครอบครองสโมสรในฤดูกาล 1975/76 ในทางตรงกันข้ามกับการแทนที่ Weisweiler Lattek แสดงถึงปรัชญาความปลอดภัยเป็นอันดับแรก ทีมได้เข้าสู่รอบที่สิบสองของฤดูกาลด้วยชัยชนะเหนือ Werder Bremen และ Eintracht Braunschweig ซึ่งเป็นผู้นำการแข่งขันชิงแชมป์และยังคงเป็นผู้นำการรณรงค์จนกระทั่งสิ้นสุดฤดูกาล
ในวันที่ 3 มีนาคม 1976 Ash Wednesday ก็มาถึงครั้งต่อไปของ โบรุสเซีย ในศึก European Champions Cup โบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัค เล่นกับ Real Madrid ซึ่งตอนนี้ Günter Netzer และ Paul Breitner อยู่ภายใต้สัญญา 2: 2 ในนัดที่สอง (17 มีนาคม 1976) ซึ่งจบลงด้วย 1-1 ผู้ตัดสิน Leonardus van der Kroft ทีมยังคงอยู่ในการโจมตีและจับคู่ความสำเร็จของ บาเยิร์น กับแชมป์สามปีติดต่อกันของพวกเขาเองจาก 1975-1977 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 1976 มึนเช่นกลัดบัค ได้แชมป์ลีกครั้งที่สี่
ในฤดูกาล 1976/77 Lattek ไปกับทีมที่แทบจะไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเริ่มต้น เนื่องจาก Wolfgang Kleff ได้รับบาดเจ็บสโมสรจึงเซ็นสัญญากับผู้รักษาประตูคนใหม่ Wolfgang Kneib ผู้ซึ่งมาจาก SV Wiesbaden Lattek พบว่าตัวเลือกที่ปลอดภัย โบรุสเซีย ต้องการ 1 แต้มเพื่อป้องกันแชมป์ ในนัดสุดท้าย การแข่งขันกับ บาเยิร์น มิวนิค อันดับที่หกในตาราง และจบลงด้วยการเสมอที่ 2 : 2 โดยทำเข้าประตูของตัวเองในนาทีที่ 90 ของ Hans-Jürgen Wittkamp โบรุสเซีย คว้าทริปเปิ้ลแชมป์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ในวันที่ 21 พฤษภาคม 1977 เป็นครั้งที่สามติดต่อกันและเป็นครั้งที่ห้าที่รวมตำแหน่งแชมป์เยอรมัน Dane Allan Simonsen ได้รับรางวัลในฐานะนักฟุตบอลยอดเยี่ยมแห่งปีของยุโรปจาก Ballon d’Or
ในฤดูกาล1978/79 Udo Lattek คุมทีม โบรุสเซีย เป็นครั้งสุดท้าย โบรุสเซีย เซ็นสัญญากับ Jupp Heynckes เป็นผู้ช่วยโค้ชของ Lattek ในฤดูกาลนี้เริ่มต้น วันที่ 9 พฤษภาคม 1979 เลกแรกในศึกยูฟ่าคัพกับ Red Star Belgrade จบลงด้วยผลเสมอ ในเลกที่สองเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 1979 โบรุสเซีย ชนะ 1-0 ที่บ้านเพื่อคว้าถ้วยยูฟ่าเป็นครั้งที่สอง
หลังจากการจากไปของ Lattek ในฤดูกาล 1979/80 สโมสรได้แต่งตั้งหัวหน้าโค้ช Jupp Heynckes สโมสรเซ็นสัญญากับ Harald Nickel จาก Eintracht Braunschweig ด้วยค่าธรรมเนียมการย้ายทีม 1.15 ล้าน DM นี่คือการซื้อที่แพงที่สุด จาก Herzogenaurach Lothar Matthäus มา โบรุสเซีย จบฤดูกาลในอันดับที่เจ็ด เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 1980 โบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัค อีกครั้งในรอบสุดท้ายสำหรับยูฟ่าคัพ ที่บ้านทีมชนะกับ Eintracht Frankfurt 3-2 ในเลกที่สองเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 1980 ไอน์ทรัค แฟรงค์เฟิร์ต ชนะ 1-0 จาก โบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัค และได้แชมป์เนื่องจากจำนวนประตูที่ทำได้สูงกว่า
1980-1996 : ช้าลง
ในปี 1980 โบรุสเซีย ไม่สามารถสร้างชื่อของทศวรรษที่ผ่านมาอีกต่อไปและสูญเสียความต่อเนื่อง ในฤดูกาล 1983-84 โบรุสเซีย เล่นด้วย Bernd Krauss, Michael Frontzeck และ Uli Borowka โบรุสเซีย มุ่งมั่นกับผู้เล่นที่เล่นมาเป็นเวลานานสำหรับสโมสร ในตอนท้ายพวกเขาได้ผูกติดอยู่กับ VfB Stuttgart และ Hamburger SV ในอันดับสาม มันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของบุนเดสลีกาที่สามสโมสรมีผลในตารางจนถึงนัดสุดท้าย ใน DFB Cup รอบชิงชนะเลิศ พบกับทีม บาเยิร์น มิวนิค มีการยิงจุดโทษ และเป็น บาเยิร์น มิวนิค ที่ชนะ
ถึงกระนั้นพวกเขาก็สามารถจบฤดูกาลส่วนใหญ่ในครึ่งบนของตารางลีก ในฤดูกาล 1984-85 โบรุสเซีย ชนะ 10-0 ใน Matchday 8 กับ Eintracht Braunschweig ซึ่งเป็นครั้งที่สอง ฤดูกาล 1985-86 โบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัค ชนะ เรอัล มาดริด 5-1 วันที่ 27 พฤศจิกายน 1985 ในเมืองดูสเซลดอร์ฟ (11 ธันวาคม 1985) เมื่อสโมสรแพ้ 4-0 ในกรุงมาดริดและหลุดจากถ้วยยูฟ่าในฤดูกาล 1986-87 ได้มีการเปลี่ยนโค้ชอีกครั้ง Jupp Heynckes ประกาศย้ายไป บาเยิร์น มิวนิค สโมสรเสนอชื่อ Wolf Werner เป็นโค้ชคนใหม่ เมื่อสิ้นสุดฤดูกาล โบรุสเซีย ได้อันดับสามในตารางเป็นครั้งสุดท้ายในทศวรรษนี้ของยูฟ่าคัพ สมาคมนักข่าวกีฬาเยอรมันโหวตให้Uwe Rahn โบรุสเซีย เป็นนักเตะยอดเยี่ยมแห่งปี หลังจากการจากไปของ Jupp Heynckes ยุคยาวนานของหัวหน้าโค้ชสิ้นสุดลง ในช่วง 23 ปีแรกจากปี 1964 ถึงปี 1987 โบรุสเซีย มีโค้ชเพียงสามคนเท่านั้น ตั้งแต่ออกเดินทางจาก Heynckes โบรุสเซีย ได้มอบหมายผู้ฝึกสอนใหม่ 16 คนจนถึงปี 2008 ยกเว้นการแก้ปัญหาชั่วคราว ต่อมาโค้ชที่ประสบความสำเร็จในการคุมทีม มึนเช่นกลัดบัค มานานกว่าสามปี Bernd Krauss (1992-1996), ฮันส์เมเยอร์ (1999-2003) และลูเซีย Favre (2011-2015)
ในฤดูกาลถัดไป โบรุสเซีย เซ็นสัญญา Stefan Effenberg ผู้เล่นที่ทำงานมานานและประสบความสำเร็จกับสโมสร โบรุสเซีย จบฤดูกาลในอันดับที่ 7 และพลาดการเข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ ในปี 1993 สโมสรได้เซ็นสัญญากับผู้เล่น Heiko Herrlich และ Patrik Andersson และในปี 1994 สเตฟานเอฟเฟนเบิร์ก กลับมาเล่นให้กับ โบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัค จากปี 1987 ถึง 1990 ภายใต้โค้ช เบอร์นาร์ด อูสส์ ในฤดูกาล 1994/95พวกเขาชนะ DFB-Pokal ด้วยชัยชนะเหนือ VfL Wolfsburg 3-0 โบรุสเซีย จะชนะ Supercup กับ โบรุสเซีย Dortmund แชมป์เยอรมันในอีกไม่กี่เดือนต่อมา
1996-2010 : มั่นคงและสนามใหม่
ประสิทธิภาพของทีมลดลงอย่างมีนัยสำคัญในปี 1990 และในไม่ช้า Die Fohlen ก็พบว่าตัวเองกำลังดิ้นรนในครึ่งล่างของตารางบุนเดสลีกา หลังจากรอบแรกของฤดูกาล 1996/97 โบรุสเซีย จบอันดับที่ 17 ในตาราง สโมสรไล่โค้ชอูสเนื่องจากความล้มเหลว เมื่อสิ้นสุดฤดูกาล มึนเช่นกลัดบัค อยู่ในอันดับที่ 11 ไม่มีโค้ชที่อยู่ในออฟฟิศมานานกว่าหนึ่งปี
ในที่สุดในปี 1999 กลัดบัค ตกชั้นไป บุนเดสลีกา2 ซึ่งพวกเขาจะใช้เวลาสองฤดูกาล กลับมาสู่บุนเดสลีกาในปี 2001 ฤดูกาลแรกในบุนเดสลีกาที่ 2 เริ่มต้นด้วยวิธีเดียวกันกับฤดูกาลก่อนที่จบลง ใน DFB Cup ทีมถูกเขี่ยออกมาก่อนหลังจากยิงลูกโทษแพ้กับ SC Verl ลีกในระดับภูมิภาค จบฤดูกาล 1999/2000 ด้วยอันดับที่ห้าในตาราง ห่างจากกลุ่มเลื่อนชั้นสี่คะแนน
วันที่ 1 สิงหาคม 2000 โบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัค ฉลองครบรอบ 100 ปีของสโมสร เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองถัดจากโค้ช Hennes Weisweiler ผู้เล่นดังต่อไปนี้ได้รับเลือกจากผู้สนับสนุน โบรุสเซีย ในศตวรรษที่เรียกว่า Elf: ในฐานะผู้รักษาประตู Wolfgang Kleff ในการป้องกัน Berti Vogts, Hans-Günter Bruns, Wilfried Hannes และ Patrik Andersson Rainer Bonhof, Stefan Effenberg, Herbert Wimmer และ Günter Netzer และโจมตี Jupp Heynckes และ Allan Simonsen ต่อมาโปสเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีภาพของผู้เล่นทางด้านทิศเหนือและทิศตะวันออกติดอยู่กับเหล็กด้านนอกของสนามกีฬาใน โบรุสเซียพาร์ค
ในฤดูกาล 2000-01 ทีมสามารถฉลองในฐานะรองแชมป์บุนเดสลีกา 2 อีกครั้งในบุนเดสลีกาและมาถึงรอบรองชนะเลิศของถ้วย DFB
ในปี 2004 มึนเช่นกลัดบัค ได้แต่งตั้ง Dick Advocaat ผู้ซึ่งนำทีมชาติเนเธอร์แลนด์ไปสู่รอบรองชนะเลิศของยูฟ่ายูโร 2004 และเป็นผู้จัดการที่ประสบความสำเร็จในเรนเจอร์ในฐานะโค้ชคนใหม่ อย่างไรก็ตาม Advocaat ไม่สามารถเปลี่ยนโชคชะตาของทีม และลาออกได้ในเดือนเมษายนของปีถัดไป อดีตผู้เล่น มึนเช่นกลัดบัค และ Horst Köppelจากประเทศเยอรมันได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ดูแลในห้าฤดูกาลที่เหลือ โบรุสเซีย ได้ดำเนินการปรับปรุงสถานการณ์ทางการเงินด้วยการสร้างสนามกีฬาแห่งใหม่ที่เรียกว่า โบรุสเซีย-พาร์ค ด้วยความสามารถที่จุผู้ชมได้ 59,771 คน (จำกัด 54,067 สำหรับเกมบุนเดสลีกาและ 46,249 สำหรับเกมระหว่างประเทศ) ด้วยการเปิดสนามใหม่ในปี 2004 สามารถเพิ่มรายได้ผ่านการขายตั๋วที่สูงขึ้น
ในวันแข่งขันที่ 31 ของฤดูกาล 2006-07 โบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัค ตกชั้นจากบุนเดสลีกา พวกเขาได้รับการเลื่อนชั้นกลับสู่บุนเดสลีกาในการแข่งขันนัดที่ 32 ของฤดูกาล 2007-08 หลังจากชนะการแข่งขันกับ SV Wehen 3-0
2010-2560 : การฟื้นฟู
สำหรับวันครบรอบปีที่ 110 ของสโมสรนำดีวีดีที่เล่าเรื่องราวของสโมสรในภาพยนตร์ความยาว 110 นาที เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2010 ถูกฉายรอบปฐมทัศน์ในโรงภาพยนตร์ใน มึนเชนกลัดบัค ใน DFB Cup 2010/11 เป็นครั้งแรกหลังจากห้าปีที่ผ่านมาถึงรอบ 16 ทีม ในบุนเดสลีกาพวกเขาประสบความสำเร็จหลังจาก 16 ปีในการได้รับชัยชนะครั้งแรกกับ ไบเออร์ 04 เลเวอร์คูเซ่น
ภายใต้โค้ช Lucien Favre ซึ่งเข้ามารับตำแหน่งในเดือนมกราคม 2011 โบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัค ได้แสดงความทะเยอทะยานที่จะสร้างตัวเองขึ้นมาใหม่ในภูมิภาคชั้นนำของบุนเดสลีกา ในฤดูกาล 2010-11 หลังจากหายนะในช่วงครึ่งแรกของฤดูกาล โบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัค ต้องมาหนีตกชั้น
ในฤดูกาลถัดไป 2011-12 ตามมาด้วยฤดูกาลที่แข็งแกร่งซึ่งพวกเขา ใช้เวลาส่วนใหญ่ในการแข่งขันเพื่อชิงแชมป์และจบในอันดับที่สี่ในที่สุด พวกเขาพลาดคุณสมบัติในการแข่งขันยูฟ่าแชมเปี้ยนส์ลีก 2012-13 หลังจากแพ้ 4-3 โดยรวมกับสโมสรจาก ยูเครน ไดนาโมอิฟ ในรอบเพลย์ออฟ
ในฤดูกาลบุนเดสลีกา 2013-14 พวกเขาประสบความสำเร็จอย่างมากในปีที่ผ่านมาประสบความสำเร็จในอันดับที่สามหลังจากจบครึ่งแรกของฤดูกาลและจบฤดูกาลที่หกจากนั้นเข้าสู่การแข่งขันยูโรป้าลีก 2014-15 ในอันดับที่สามช่วยให้สโมสรเข้าสู่รอบแบ่งกลุ่มยูฟ่าแชมเปี้ยนส์ลีกปี 2015-16 สโมสรพบว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มที่ยากพร้อมกับ ยูเวนตุส, แมนเชสเตอร์ ซิตี้ และ เซบีญ่า พวกเขาจะอยู่ด้านล่างสุดของกลุ่ม
หลังจากเข้าสู่ฤดูกาลบุนเดสลีกาปี 2015-2016 รวมถึงการพ่ายแพ้ห้าครั้ง Lucien Favre ลาออกถูกแทนที่ด้วย André Schubert ในฐานะโค้ชชั่วคราว ความมั่งคั่งของสโมสรเปลี่ยนไปทันทีเมื่อชนะการแข่งขันบุนเดสลีกาหกครั้งและในที่สุดก็จบฤดูกาลในตำแหน่งที่สี่ได้รับคุณสมบัติจากแชมเปี้ยนส์ลีกเป็นฤดูกาลที่สองติดต่อกัน
ในฤดูกาล 2016–17 โบรุสเซีย จัดการได้อันดับสามที่เหนือ เซลติก และมีคุณสมบัติในการเข้าร่วมยูฟ่ายูโรป้าลีก อย่างไรก็ตามหลังในบุนเดสลีกาสโมสรประสบปัญหาการฟอร์มที่แย่ลงเนื่องจากอาการบาดเจ็บและตกลงไปสู่ตำแหน่งที่ 14 ในช่วงฤดูหนาว เป็นผลให้ André Schubert ลาออกและถูกแทนที่ด้วยอดีตผู้จัดการ VfL Wolfsburg Dieter Hecking เริ่มต้นด้วยการชนะสามครั้งในการแข่งขันบุนเดสลีกาสี่ครั้ง ขึ้นสู่อันดับเก้าและยังได้รับตำแหน่งในรอบรองชนะเลิศของ DFB-Pokal
2017– ปัจจุบัน : ขึ้นไปถึงครึ่งบนของตาราง
มีการซื้อผู้เล่นทำลายสถิติใหม่โดยสโมสร สำหรับ Mattias Ginter ในราคา 17 ล้านยูโรบวกกับการจ่ายโบนัสให้ Borussia Dortmund ข้อมูลทางการเงินในปีงบประมาณ 2017 เป็นบวกมากขึ้น แม้จะขาดการมีส่วนในการแข่งขันระดับนานาชาติ แต่ผลการแข่งขันที่ดีที่สุดเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 179.3 ล้านยูโรและมีกำไรหลังหักภาษี 6.56 ล้านยูโรหลังจากบันทึกปี 2016 ฤดูกาล 2017/18 สิ้นสุดลงสำหรับ โบรุสเซีย หลังจากที่พ่ายแพ้ไปกับ Hamburger SV 1: 2 ทำให้พวกเขาอยู่ในอันดับที่เก้า และพลาดคุณสมบัติของการแข่งขันในยุโรป เกมนี้เป็นเกมสุดท้ายสำหรับ ฮัมบูร์ก ในลีกเยอรมันสูงสุดหลังจาก 55 ปีของการติดต่ออย่างต่อเนื่อง
ในเดือนกรกฎาคม 2018 กองหน้าชาวฝรั่งเศส Alassane Pléa จาก OGC Nice มาด้วยค่าตัวสถิติสูงสุดที่ 23 ล้านยูโร ในรอบแรกของ DFB Cup 2018/19 มึนเช่นกลัดบัค พ่ายแพ้ BSC Hastedt 11: 1 ดังนั้น โบรุสเซีย มีสถิติสูงกว่าสถิติก่อนหน้านี้ซึ่งกำหนดโดยสโมสรในชัยชนะ 8-0 ในเกมเยือนที่ 1 FC Viersen ในรอบแรกของ DFB Cup 1977/78
The post สืบประวัติ โบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัค (Borussia Monchengladbach) first appeared on ผลบอลสด บ้านผลบอล ผลบอลวันนี้ 7m 888 Livescore.]]>ราเซนบอลสปอร์ต ไลป์ซิก (RasenBallsport Leipzig e.V.) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม แอร์เบ ไลป์ซิก คือสโมสรฟุตบอลอาชีพที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ใน เมืองไลป์ซิก รัฐแซกโซนี ประเทศเยอรมนี ปัจจุบันพวกเขาลงเตะอยู่ในสนามเหย้า เร้ด บูลล์ อารีน่า ที่รองรับความจุ 42,959 ที่นั่ง สโมสรถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2009 จากความริเริ่มของ เร้ด บูลล์ จีเอ็มบีเอช บริษัทเครื่องดื่มชูกำลังยักษ์ใหญ่สัญชาติอออสเตรีย ที่ซื้อสิทธิ์ทีมฟุตบอลมาจาก เอสเอสเฟา มาร์ครานสเตดท์ สโมสรเล็กๆในระดับดิวิชั่น 5 ด้วยความตั้งใจที่จะปลุกปั้นให้ทีมก้าวขึ้นมาอยู่ในลีกสูงสุดของประเทศภายในระยะเวลา 8 ปี พวกเขายังใช้ช่องทางของกฎหมายตั้งองค์กรชื่อ RasenballSport Leipzig GmbH เพื่อเข้ามาบริหารทีมฟุตบอลชายโดยตรง
นับตั้งแต่เปิดตัวในฤดูกาล 2009-10 ไลป์ซิก สามารถครองแชมป์ระดับดิวิชั่น 5 และโปรโมทขึ้นสู่ดิวิชั่น 4 หลังจากนั้นในฤดูกาล 2012-13 ทีมก็สร้างสถิติไร้พ่ายและขยับขึ้นมายัง ลีกา 3 ก่อนจะกลายเป็นทีมแรกที่ได้เลื่อนชั้นขึ้นสู่ บุนเดสลีกา 2 ภายในปีเดียวหลังจากเปิดตัวในระดับดิวิชั่น 3 จนกระทั่งวันที่ 8 พฤษภาคม 2016 ไลป์ซิก ก็การันตีการเลื่อนชั้นขึ้นสู่ บุนเดสลีกา ได้สำเร็จ หลังเป็นฝ่ายเอาชนะ คาร์ลสรูห์ 2-0 โดยหลังจากนั้นอีก 1 ปีพวกเขาก็สามารถคว้าสิทธิ์ลงเตะใน ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก หลังจบจบฤดูกาลด้วยอันดับรองแชมป์
ก่อนการลงหลักปักฐานที่ ไลป์ซิก บริษัท เร้ด บูลล์ จีเอ็มบีเอช ที่นำโดย ดีทริช เมเทสซิทซ์ ผู้ก่อตั้งร่วมได้ใช้ระยะเวลาราว 3 ปีครึ่งในการเสาะแสวงหาทำเลเพื่อการลงทุนในวงการลูกหนังเยอรมัน ซึ่งนอกจากที่ ไลป์ซิก แล้วพวกเขายังพิจารณาหลายๆพื้นที่ทางแถบตะวันตกของประเทศและได้ไปสำรวจยังเมืองต่าง เช่น ฮัมบูร์ก, มิวนิค และ ดุสเซลดอร์ฟ และแล้วด้วยคำแนะนำของ ฟร้านซ์ เบ็คเค่นบาวเออร์ ตำนานแข้งชาวเยอรมันที่สนิทสนมเป็นการส่วนตัวกับ เมเทสซิทซ์ ก็ทำให้บริษัทตัดสินใจลงทุนใน ไลป์ซิก เมื่อปี 2006 โดยเริ่มต้นจาก เอฟซี ซัคเซน ไลป์ซิก ทีมที่กำลังลงเตะอยู่ใน โอเบอร์ลีกา หรือ ลีกระดับดิวิชั่น 4 ในเวลานั้น โดยมีประวัติถือกำเนิดขึ้นมาใหม่ตามรอยทางของ เบเอสเก เชมี่ ไลป์ซิก อดีตทีมแชมป์เยอรมันฝั่งตะวันออก ที่ประสบปัญหาทางการเงินจนต้องปิดตัวลงไปในปี 1990 ทางบริษัทได้วางแผนที่จะอัดฉีดเงินลงทุนร่วม 50 ล้านยูโร จัดเตรียมแผนการที่จะเทคโอเวอร์และปรับเปลี่ยนชื่อและสีประจำสโมสร และได้มีการเจรจาร่วมกับ มิชาเอล โคลเมล ผู้ที่เป็นเจ้าของสนาม เซ็นทรัลสตาดิโอน และยังสปอนเซอร์หลักของ ซัคเซน ไลป์ซิก
หลังจากส่งเรื่องให้กับ สมาคมฟุตบอลเยอรมันเข้ามาตรวจสอบ ในขณะที่กระบวนการต่างๆกำลังจะเสร็จสิ้นลงพวกเขาก็ถูก เดเอฟเบ ปฏิเสธการรับรอง เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับวัตถุประสงค์ที่เข้ามาเปลี่ยนชื่อสโมสรรวมทั้งเกรงกลัวว่าบริษัทจะเข้ามามีอำนาจภายในทีมมากเกินไป ต่อเนื่องด้วยการประท้วงที่มีเหตุรุนแรงของแฟนบอล ซัคเซน ไลป์ซิก นานหลายเดือน ในที่สุดทางบริษัทก็ตัดสินใจยกเลิกแผนการนี้ เร้ด บูลล์ บีเอ็มจีเอช เริ่มต้นใหม่ด้วยการออกตระเวนไปทางฝั่งตะวันตกของเยอรมัน พวกเขาตัดสินใจเข้าพบ ซังต์ เพาลี สโมสรสุดพั้งค์ที่ขึ้นชื่อด้วยกลุ่มผู้สนับสนุนฝั่งซ้าย ซึ่งหลังจากการเข้าพบกับกลุ่มตัวแทนสโมสรได้ไม่นานบรรดาแฟนบอลที่รู้ข่าวก็ออกมาประท้วงถึงเรื่องการเข้าเทคโอเวอร์ เอสวี ออสเตรีย ซัลซ์บวร์ก จนพวกเขาต้องถอยทัพกลับไป
จากนั้นบริษัทพยายามติดต่อเข้าไปเป็นสปอนเซอร์ให้กับ ฮัมบูร์ก ก่อนที่การเจรจาจะจบลงอย่างรวดเร็วโดยที่ไม่มีการยื่นเรื่องเข้าที่ประชุมของทีมบริหารด้วยซ้ำ พวกเขายังเดินหน้าเข้าพบ เทเอสเฟา 1860 มิวนิค ที่มีการเจรจาแบบปิดห้องประชุมแต่สุดท้ายข้อเสนอก็ถูกบอกปัดไป ในปี 2017 เร้ด บูลล์ หันไปให้ความสนใจกับ ฟอร์ทูน่า ดุสเซลดอร์ฟ สโมสรที่มีประวัติเก่าแก่กว่า 100 ปี ซึ่งแผนการที่ต้องการเข้ามาถือครองหุ้นกว่า 50% ก็ถูกแพร่กระจายออกสู่สาธารณะ รวมถึงข่าวลือที่พวกเขาต้องการจะเปลี่ยนชื่อทีมใหม่เป็น “เร้ด บูลล์ ดุสเซลดอร์ฟ” หรืออะไรในทำนองนี้ และแล้วบทสรุปก็ไม่แตกต่างจากที่ ซัคเซน ไลป์ซิก เมื่อเกิดการประท้วงอย่างรุนแรงจากแฟนบอลเจ้าถิ่น อีกทั้งแผนการของพวกเขาก็ยากที่จะผ่านข้อกำหนดจาก เดเอฟเบ ที่ไม่ต้องการให้มีการเปลี่ยนชื่อสโมสรเพื่อผลปะโยชน์ในการโฆษณาต่างๆ รวมถึงการป้องกันนักลงทุนจากต่างประเทศที่จะเข้ามาถือครองสิทธิ์ส่วนใหญ่ สุดท้ายพวกเขาก็ต้องเก็บพับโครงการและหันหัวเรือกลับสู่ เยอรมันฝั่งตะวันออก
ไลป์ซิก กลับมาเป็นยุทธศาสตร์หลักในการลงทุนของพวกเขาจากโอกาสและความเป็นไปได้ที่ค่อนข้างสูง นี่ยังเป็นเมืองที่อุดมไปด้วยประวัติศาสตร์ของเกมลูกหนัง เป็นทั้งสถานที่จัดการประชุมของ เดเอฟเบ และยังเป็นถิ่นฐานของทีมแชมป์ระดับประเทศรายแรกสุดอย่าง เฟาเอฟแอล ไลป์ซิก ระหว่างยุคการปกครองของรัฐบาลเยอรมันตะวันออก บรรดาสโมสรบิ๊กเนมในพื้นที่ทั้ง โลโคโมทีฟ ไลป์ซิก และ เชมี่ ไลป์ซิก ต่างลงประชันฝีเท้ากันอยู่ใน เดเดแอร์-โอเบอร์ลีกา หรือลีกสูงสุดของฝั่งตะวันออกและแม้แต่ในเกมระดับทวีป แต่สถานการณ์ในปัจจุบันกลับเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือเมื่อไม่เคยมีทีมใดที่ได้ลงเตะใน บุนเดสลีกา อีกเลยนับตั้งแต่ปี 1994 และที่หนักกว่านั้นคือไม่มีทีมใดที่ได้ลงแข่งขันในรายการระดับอาชีพตั้งแต่ปี 1998 เป็นต้นมา
ในขณะที่ปัจจุบัน 2 ทีมดังในอดีตก็ยังคงป้วนเปี้ยนอยู่ใน โอเบอร์ลีกา ที่อุดมไปด้วยความรุนแรงของเกมลูกหนังในระดับท้องถิ่น ประชากรในเมืองราว 500,000 คนต่างก็กระหายเกมฟุตบอลในระดับสูงสุด อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจภายในเมืองที่ค่อนข้างมั่นคง รวมถึงไม่มีสโมสรอื่นๆใน บุนเดสลีกา ที่มีถิ่นฐานอยู่ในละแวกใกล้เคียงเลย จึงทำให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับการก่อสร้างรากฐานทีมขึ้นมาเพื่อดึงดูดแฟนบอลและเหล่าผู้สนับสนุนภายในพื้นที่ ตัวเมืองไลป์ซิกยังมีสาธารณูปโภคต่างๆครบครัน ทั้งสนามบินขนาดใหญ่ เส้นทางมอเตอร์เวย์ และที่สำคัญคือสนามฟุตบอลร่วมสมัยที่โอ่โถง เซ็นทรัลสตาดิโอน คือสถานที่ที่เคยใช้ในศึก ฟุตบอลโลก 2006 และยังเป็นสังเวียนฟาดแข้งที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของฝั่งตะวันออกรองจาก โอลิมเปียสตาดิโอน ที่ กรุงเบอร์ลิน
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้พวกเขารู้ว่า การดำเนินงานกับสโมสรเก่าแก่กลับกลายเป็นข้อเสียจากการถูกต่อต้านได้ง่ายๆ และยังเข้าใจดีว่าการลงทุนกับทีมที่ลงเตะอยู่ในดิวิชั่นระดับบนๆก็เสี่ยงที่จะขัดกับข้อกฎหมาย ดังนั้นแทนที่จะดึงดันเดินหน้าในรูปแบบเดิมๆพวกเขากลับเลือกที่จะก่อตั้งสโมสรขึ้นมาใหม่ที่สามารถออกแบบให้รองรับกับแนวทางการบริหารของบริษัท และแล้วในปี 2009 เร้ด บูลล์ บีเอ็มจีเอช ก็ติดต่อขอเข้าเจรจากับ สมาคมฟุตบอลรัฐแซกโซนี เพื่อหาหนทางในการก่อตั้งสโมสรฟุตบอลขึ้นมาใหม่ในพื้นที่ ซึ่งสิ่งที่จำเป็นสำหรับการเริ่มต้นก็คือตัวนักเตะและสิทธิ์ที่จะได้ลงแข่งขัน ซึ่งถ้าหากพวกเขาไม่ได้รับการเห็นชอบที่จะลงเตะร่วมกับทีมอื่นๆ ก็คงต้องไปเริ่มต้นกับ ไครส์ลีกา หรือลีกระดับตำบล
บริษัทเริ่มต้นแผนงานด้วยการมองหาสโมสรที่ลงเตะอยู่ใน โอเบอร์ลีกา เนื่องจากหลังปี 2008 เป็นต้นมาเกมฟุตบอลในระดับดิวิชั่น 5 ลงมาไม่ได้ขึ้นตรงกับสารบบของ เดเอฟเบ และแล้วจากการช่วยเหลือของ มิชาเอล โคลเมล พวกเขาก็ได้ค้นพบ เอสเอสเฟา มาร์ครานสเตดท์ ทีมเล็กๆในหมู่บ้านที่อยู่ห่างจากตัวเมือง ไลป์ซิก ไปทางตะวันตก 13 กม. ทางสโมสรเองก็มีความกระตือรือร้นที่จะได้มีส่วนร่วมกับกิจการใหญ่ระดับนานาชาติ โดย โฮลเกอร์ นูสส์บอม ประธานสโมสร ก็ต้องการที่จะเสริมสร้างความมั่งคงให้กับสถานะทางบัญชีและมีแผนการที่จะรองรับการบริหารของ เร้ด บูลล์ บีเอ็มจีเอช โดยนำเสนอแผนการนี้ให้กับ โคลเมล ที่เล็งเห็นช่องทางและพร้อมจะเข้ามาร่วมวงด้วย ด้วยการจุดประกายของ โคลเมล ก็ทำให้บริษัทสามารถบรรลุข้อตกลงกับ มาร์ครานสเตดท์ และหลังจากนั้นอีก 5 สัปดาห์ต่อมาทีมก็ตกลงขายสิทธิ์การลงเตะใน โอเบอร์ลีกา ให้กับ เร้ด บูลล์ บีเอ็มจีเอช ด้วยตัวเลขที่คาดว่าจะมีมูลค่าราว 350,000 ยูโร
ราเซนบอลสปอร์ต ไลป์ซิก ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2009 โดยสมาชิกผู้ก่อตั้งทั้งหมด 7 คนที่เป็นบุคลากรหรือตัวแทนของบริษัททั้งสิ้น โดยที่ อันเดรียส ซาดโล ถูกโหวตให้ขึ้นมาเป็นประธาน และได้ทำการว่าจ้าง โยอาคิม ครู้ก เข้ามาช่วยในตำแหน่งผู้อำนวยการกีฬา ซาดโล เคยมีชื่อเสียงจากการเป็นเอเย่นต์นักเตะและทำงานให้กับบริษัทนายหน้า “สตาร์ส แอนด์ เฟรนด์ส” และเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตกับ เดเอฟเบ ก็ทำให้เขาลาออกจากการเป็นเอเย่นต์ก่อนจะเข้ามารับตำแหน่ง เนื่องจากมีกฎข้อห้ามไม่ให้พวกนายหน้าเข้ามามีส่วนในการทำงานของสโมสร ในขณะที่ ครู้ก ก็เคยทำหน้าที่เป็นเฮดโค้ชให้กับ ร็อต-ไวส์ อาห์เลน
จากวันนั้นก็ทำให้ ไลป์ซิก กลายเป็นทีมฟุตบอลันดับที่ 5 ภายใต้อาณาจักรการลงทุนของ เร้ด บูลล์ ถัดจาก เร้ด บูลล์ ซัลซ์บวร์ก ใน ออสเตรีย, นิวยอร์ก เร้ด บูลล์ส ใน สหรัฐอเมริกา, เร้ด บูลล์ บราซิล ใน บราซิล และ เร้ด บูลล์ กาน่า ใน กาน่า แต่สิ่งที่แตกต่างจากทีมอื่นๆก็คือ พวกเขาไม่เคยเปิดเผยชื่อบริษัทออกมาแบบตรงๆ จากข้อกำหนดของ เดเอฟเบ ที่ไม่อนุญาตให้มีชื่อขององค์กรรวมอยู่ในชื่อของสโมสร จึงทำให้พวกเขาคิดค้นชื่อ ราเซนบอลสปอร์ต ที่มีความหมายประมาณว่า “กีฬาลูกบอลบนสนามหญ้า” เพื่อที่จะได้ใช้ชื่อย่อ “RB” ที่สอดคล้องกับชื่อย่อของบริษัทและกลายเป็นที่จดจำในที่สุด ในการเข้าร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ทำให้ มาร์ครานสเตดท์ จัดเตรียมความพร้อมทุกอย่างให้กับ ไลป์ซิก เพื่อที่จะผ่านกฎข้อบังคับด้วยการมีทีมฟุตบอลชายในระดับสูงสุด 3 ขั้นเพื่อมีสิทธิ์ลงเตะในดิวิชั่น 5 ซึ่งนอกจากการเทคโอเวอร์ทีมชุดใหญ่ทั้งหมดของ มาร์ครานสเตดท์ แล้วก็ยังครอบคลุมไปถึงบรรดาสตาฟฟ์โค้ชและ ติโน่ โฟเกิ้ล เฮดโค้ชของทีมที่เป็นลูกชายของ เอเบอร์ฮาร์ด โฟเกิ้ล ตำนานแข้งชาวเยอรมันตะวันออก
ในที่สุดสิทธิ์การลงเตะใน โอเบอร์ลีกา ก็ถูกรับรองโดย สมาคมฟุตบอลเยอรมันภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NOFV) หากแต่สโมสรยังต้องการทีมระดับเยาวชนอีกอย่างน้อย 4 ขั้นเพื่อได้รับสิทธิ์อย่างสมบูรณ์ ในขณะที่ มาร์ครานสเตดท์ ก็ค่อนข้างมีปัญหากับทีมระดับเยาวชนจึงทำให้ ไลป์ซิก ขาดแคลนกลุ่มผู้เล่นรุ่นเยาว เพื่อจะแก้ปัญหานี้ เร้ด บูลล์ ก็ได้หันกลับไปเจรจากับ ซัคเซน ไลป์ซิก ที่กำลังประสบปัญหาทางด้านการเงินและไม่สามารถพัฒนาทีมระดับเยาวชนได้อีก ในขณะที่ NOFV อนุมัติสิทธิ์การลงเตะให้กับพวกเขาในวันที่ 13 มิถุนายน 2009 และเปิดโอกาสให้สามารถสร้างทีมเยาวชนให้ครบถ้วนได้ภายในเวลา 1 ปี พวกเขาจึงร้องขอผู้เล่นเยาวชนจาก ซัคเซน ไลป์ซิก 4 คน เข้ามาร่วมทีม ไลป์ซิก มีแผนที่จะเปิดตัวใน โอเบอร์ลีกา ด้วยการลงเตะในสนามเหย้าเดิมของ มาร์ครานสเตดท์ ที่รองรับความจุ 5,000 ที่นั่ง แต่แผนการดั้งเดิมของพวกเขาก็คือการได้เห็นทีมชุดใหญ่ย้ายไปเล่นอยู่ใน เซ็นทรัลสตาดิโอน โดยเร็วที่สุด ตามความคาดหมายภายในปี 2010 หลังผ่านขึ้นไปสู่ เรกิโอนาลลีกา หรือดิวิชั่น 4 เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเจ้าของสนามแห่งนี้ก็ไม่ใช่ใครอื่นไกลนอกจาก มิชาเอล โคลเมล ผู้ที่เข้ามามีบทบาทในการก่อตั้งสโมสรตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา จากความต้องการที่อยากจะเห็นทีมที่แข็งแกร่งลงเตะอยู่ในสนามของตนเอง หลังจากหนสุดท้ายที่มีเพียง ซัคเซน ไลป์ซิก ที่ได้ใช้สนามแห่งนี้ในเกม เรกิโอนาลลีกา และการเจรจาระหว่าง เร้ด บูลล์ และ โคลเมล ก็เป็นไปอย่างเปิดเผยนับตั้งแต่การก่อตั้งสโมสร ก่อนที่ เร้ด บูลล์ จะได้ถือครองสิทธิ์ชื่อของสนามในปี 2009 จากแผนการเริ่มต้นของ ไลป์ซิก ได้ตั้งเป้าหมายที่จะลงแข่งขันใน บุนเดสลีกา ภายในระยะเวลา 8 ปี ซึ่งเป็นแนวทางที่ตามรอยมาจากสโมสรรุ่นพี่ใน ออสเตรีย และ สหรัฐอเมริกา มีการคาดการณ์กันว่า เร้ด บูลล์ เตรียมเงินลงทุนกว่า 100 ล้านยูโรสำหรับทีมภายในช่วงระยะเวลา 10 ปี ในขณะที่ ดีทริช เมเทสซิทซ์ ก็ออกมาเปิดเผยถึงโอกาสการคว้าแชมป์ลีกสูงสุดภายในระยะยาว หลังจากที่ เฟาเอสแอล ไลป์ซิก คือทีมสุดท้ายของเมืองที่เคยทำได้เมื่อปี 1903
หลังมีการยกเลิกโปรแกรมเตะไปหลายนัดเนื่องจากปัญหาเรื่องของความปลอดภัย ในที่สุด ทีมกระทิงแดง ก็ได้เปิดตัวเป็นครั้งแรกในเกมอุ่นเครื่องในบ้านกับ เอสเฟา บานเนวิทซ์ ทีมระดับดิวิชั่น 6 ที่จบลงด้วยชัยชนะ 5-0 ของพวกเขา ก่อนจะมาลงเตะแมตช์แรกอย่างเป็นทางการในรายการ แซกโซนี คัพ กับ เบลา-ไวซ์ ไลป์ซิก ซึ่งหลังจากกลับมาเตะกันในเลกที่สองภายในถิ่นของตนเอง ไลป์ซิก ก็เป็นฝ่ายไล่ต้อนคู่แข่งยับเยิน 5-0 ไลป์ซิก มาลงเตะในเกมลีกนัดแรกกับ คาร์ล ไซส์ เยน่า เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2009 ที่จบลงด้วยผลเสมอ 1-1 ในระหว่างฤดูกาลทีมพบกับความพ่ายแพ้ครั้งแรกให้กับ บูดิสซ่า เบาท์เซ่น เมื่อวันที่ 13 กันยายน อย่างไรก็ตามพวกเขาก็ยังสามารถพาตัวเองจบครึ่งฤดูกาลแรกด้วยการรั้งอยู่ในตำแหน่งจ่าฝูง
ระหว่างนั้นในช่วงเดือนมกราคม 2010 อันเดรียส ซาดโล ก็ตัดสินใจอำลาตำแหน่งประธานสโมสร ก่อนที่ ดีทมาร์ ไบเออร์สดอร์เฟอร์ อดีตผอ.กีฬาของ ฮัมบูร์ก ที่ผันตัวเองมาเป็นผอ.กีฬาฝ่ายฟุตบอลของ เร้ด บูลล์ จะขยับเข้ามาทำหน้าที่แทน ทีมออกสตาร์ทครึ่งซีซั่นหลังได้อย่างดุดันยิ่งกว่าหลังเซ็นสัญญากับ ติโม่ รอสต์ มิดฟิลด์ผู้มีประสบการณ์จาก เอเนอร์กี้ ค็อตบุส ใน บุนเดสลีกา 2 ระหว่างเดือนมกราคม 2010 จนกระทั่งเข้าป้ายเป็นอันดับที่ 1 ของ โอเบอร์ลีกา ทางตอนใต้ ตั้งแต่เกมนัดที่ 25 ด้วยผลต่างประตู 74-17 และแพ้ไปเพียงแค่ 2 นัด จนได้สิทธิ์เลื่อนขึ้นไปเตะใน เรกิโอนาลลีกา ทางตอนเหนือ ในซีซั่นหน้าจากการรับรองของ เดเอฟเบ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2010 เพียง 1 วันหลังลงเตะนัดปิดฤดูกาล ไบเออร์สดอร์เฟอร์ ก็จัดการปลด ติโม่ โฟเกิ้ล ผจก.ทีมและผู้ช่วยของเขา รวมถึง โยอาคิม ครู้ก ผอ.กีฬาออกจากตำแหน่ง ซึ่งมีที่มาจากการปรับเปลี่ยนแผนการบริหารจาก เมเทสซิทซ์ ที่หมายมั่นปั้นมือจะให้ ไลป์ซิก กลายเป็นโปรเจ็คท์หลักของกลุ่มธุรกิจลูกหนังแทนที่ เร้ด บูลล์ ซัลซ์บวร์ก และได้ทำการทาบทาม โทมัส ออรัล เข้ามาคุมทีมแทนในวันที่ 18 มิถุนายน 2010 นอกจากนี้ยังมีเหล่าผู้เล่นตัวหลัก 5 คนที่ไม่ได้รับการต่อสัญญาให้ไปต่อในฤดูกาลหน้า ในขณะที่มีนักเตะอีก 2 รายประกาศอำลาสนาม
ก่อนเปิดฉากการฟาดแข้งในระดับดิวิชั่น 4 มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ 2 อย่างกับสโมสร ทีมได้ดำเนินการส่งคืนนักเตะชุด 2, 3 และ 4 ให้กับ มาร์ครานสเตดท์ และใช้วิธีดึงตัวนักเตะตัวหลักทั้งหมดของ เอเอสเฟา เดลิทซช์ เข้ามาเป็นทีมสำรองชุดใหม่ และซื้อสิทธิ์การลงเตะในดิวิชั่นสมัครเล่นให้กับพวกเขา ไลป์ซิก ยังจัดการย้ายทีมชุดใหญ่ทั้งหมดไปลงเตะอยู่ใน เซ็นทรัลสตาดิโอน ตามที่ตั้งใจเอาไว้ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อรังเหย้าเสียใหม่เป็น เร้ด บูลล์ อารีน่า และเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการในวันที่ 24 กรกฎาคม 2010 ด้วยเกมอุ่นเครื่องกับ ชาลเก้ 04 ต่อหน้าฝูงชน 21,566 คน ที่จบลงด้วยความพ่ายแพ้ของเจ้าถิ่น 2-1 ก่อนจะลงเตะนัดสั่งลาในสนามเหย้าเดิมอีก 6 วันต่อมาด้วยเกมอุ่นเครื่องที่สามารถเอาชนะ แฮร์ธ่า เบอร์ลิน 2-1
ฤดูกาล 2010-11 เปิดฉากขึ้นด้วยผลเสมออย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มจากการเจ๊ากับ ทูร์กิเยมสปอร์ เบอร์ลิน ต่อหน้าแฟนบอลในบ้านเพียง 4,028 คน ก่อนจะสามารถเก็บ 3 คะแนนแรกได้จากการบุกไปเฉือนเอาชนะ โฮลสไตน์ คีล 2-1 ในนัดที่ 4 และต่อเนื่องด้วยชัยชนะในบ้านนัดแรกเหนือ มักเดบูร์ก 2-1 หลังออกสตาร์ทซีซั่นได้ไม่เลวนักพวกเขาก็กลายเป็นหนึ่งในทีมเต็งที่จะได้เลื่อนชั้น จนกระทั่งช่วงปลายปี 2010 ไลป์ซิก ก็ยิ่งตอกย้ำความทะเยอทะยานด้วยการเซ็นสัญญากับ ธิอาโก้ โรคเคนบัค กองกลางชาวบราซิล โดยก่อนหน้านั้นก็มีการดึงตัว คาร์สเท่น คามม์ลอตต์ หัวหอกดาวรุ่ง และ ทิม เซบาสเตียน กองหลังตัวเก๋าจาก ฮันซ่า รอสต๊อค มาตั้งแต่ช่วงซัมเมอร์ ทีมกระทิงแดง จบฤดูกาลแรกในดิวิชั่น 4 ด้วยการได้อันดับที่ 4 และพลาดโอกาสเลื่อนชั้น อย่างไรก็ตามผลงานของ ออรัล ก็คือการพาทีมชนะเลิศในรายการ แซกโซนี คัพ จากการเอาชนะ เคมนิทเซอร์ เอฟซี 1-0 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2011 ท่ามกลางแฟนบอล 13,958 คนในสนาม เร้ด บูลล์ อารีน่า และจากการครองถ้วยแชมป์ใบแรกนี้ก็ทำให้ทีมมีสิทธิ์ลงแข่งขัน
ใน เดเอฟเบ โพคาล 2011-12
แต่เนื่องจากที่ทีมหมดลุ้นโอกาสเลื่อนชั้นมาตั้งแต่ช่วงท้ายซีซั่น ก็เลยมีการประกาศแต่งตั้ง ปีเตอร์ พาคูลท์ ที่จะย้ายมาจาก ราปิด เวียนนา เพื่อเข้ามาทำหน้าที่คุมทีมแทน ออรัล ในฤดูกาลหน้าตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2011 ในขณะเดียวกันทางสโมสรก็มีประกาศปลด โธมัส ลิงเค่ อดีตปราการหลังทีมชาติเยอรมัน หลังพึ่งเข้ามารับหน้าที่ผอ.กีฬาได้เพียง 10 สัปดาห์ตั้งแต่ช่วงกุมภาพันธ์ 2011 จนทำให้บรรดาสื่อต่างพากันตั้งข้อสงสัยถึงการเข้ามาของ พาคูลท์ ว่าน่าจะมีผลต่อการจากไปของ ลิงเค่ หลังจบฤดูกาลยังมีการปล่อยผู้เล่นที่มีส่วนร่วมในการคว้าแชมป์ แซกโซนี คัพ ออกไปหลายคน จนทำให้เหลือนักเตะที่เคยอยู่ในทีมที่เลื่อนชั้นมาจาก โอเบอร์ลีกา เพียงแค่ 3 คน ในขณะที่ อิงโก้ แฮร์ทช์ อดีตกองหลังดีกรีทีมชาติเยอรมัน ก็คือผู้เล่นคนที่ 4 ที่เหลืออยู่ แต่เขาเลือกที่จะยุติอาชีพค้าแข้งและย้ายไปทำงานร่วมกับทีมสำรองแทน
ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2011 ไลป์ซิก มีโอกาสลงเล่นในเกม เดเอฟเบ โพคาล เป็นนัดแรกในบ้านตนเอง และเอาชนะใจแฟนๆที่แห่เข้ามาเชียร์ถึง 31,212 คนด้วยการปราบ โวล์ฟสบวร์ก คู่แข่งจาก บุนเดสลีกา ได้ด้วยการทำแฮตทริกของ ดาเนี่ยล ฟราห์น ที่ช่วยให้ทีมเอาชนะไป 3-2 แต่สุดท้ายพวกเขาก็ไปจอดอยู่แค่รอบถัดไปจากการพ่ายแพ้ต่อ เอาก์สบวร์ก 1-0 ระหว่างซีซั่นที่สองใน เรกิโอนาลลีกา ทีมสร้างสถิติเอาชนะคู่แข่งด้วยสกอร์สูงสุดจากการสอนบอล เอสเฟา วิลเฮล์มชาเฟน 8-2 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2012 จนกระทั่งผลเสมอกับ ทีมสำรองโวล์ฟสบวร์ก 2-2 ในนัดที่ 33 ก็ทำให้พวกเขาหมดสิทธิ์ที่จะได้เลื่อนชั้นหลังจบฤดูกาลด้วยการรั้งอยู่ในอันดับที่ 3
ในการออกสตาร์ทฤดูกาลใหม่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อ ราล์ฟ รังนิก อดีตเฮดโค้ช ชาลเก้ 04 ก้าวเข้ามาดำรงตำแหน่งผอ.กีฬาคนใหม่ ก่อนที่เขาจะทำการปลด พาคูลท์ และดึงตัว อเล็กซานเดอร์ ซอร์นิเกอร์ มาจาก เอสเก ซอนเนนโฮฟ โกรสส์อัสพัค เพื่อทำหน้าที่กุนซือแทน จากนั้น ไลป์ซิก ก็สามารถสร้างผลงานได้ร้อนแรงกว่าใน 2 ซีซั่นที่ผ่านมา และสามารถรั้งอยู่ในตำแหน่งจ่าฝูงได้หลังจบครึ่งฤดูกาลแรก จนกระทั่งการพ่ายแพ้ของ คาร์ล ไซส์ เยน่า ทีมอันดับสองเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2013 ก็ทำให้พวกเขาทำแต้มทิ้งขาดคู่แข่งไปในที่สุด นอกจากนี้ทีมยังสามารถคว้าแชมป์ แซกโซนี คัพ ได้เป็นปีที่สองติดต่อกัน หลังเอาชนะ เคมนิทเซอร์ คู่ต่อสู้ในนัดชิงเมื่อปีที่แล้วไปด้วยสกอร์ 4-2 พร้อมตีตั๋วไปลงเล่นใน เยอรมัน คัพ ฤดูกาลหน้า ในขณะที่ยอดคนดูใน เร้ด บูลล์ อารีน่า สังเวียนนัดชิงที่สูงถึง 16,864 คน ก็ยังเป็นการทำลายสถิติจำนวนผู้ชมในนัดชิงชนะเลิศที่สนามแห่งนี้เมื่อปีก่อนอีกด้วย
จากการเป็นทีมแชมป์ของ เรกิโอนาลลีกา ตะวันออกเฉียงเหนือ (หลังการปรับเปลี่ยนเมื่อช่วงต้นซีซั่น) ก็ทำให้ทีมได้สิทธิ์ลงเตะเกมเพลย์ออฟเพื่อเลื่อนชั้นขึ้นสู่ ลีกา 3 กับ สปอร์ตฟรอยน์เดอ ลอตเต้ ผู้ชนะจากโซนตะวันตก โดยที่เกมแรกเตะกันใน เร้ด บูลล์ อารีน่า ท่ามกลางผู้ชม 30,104 คน ซึ่งกลายเป็นสถิติใหม่ของเกมในระดับดิวิชั่น 4 ก่อนที่เจ้าถิ่นจะเป็นฝ่ายเอาชนะไปก่อน 2-0 เลกที่สองเตะกันเมื่อ 2 มิถุนายน 2013 ก่อนจะจบลงด้วยผลเสมอ 2-2 โดยที่ ทีมกระทิงแดง ได้ 2 ประตูจากในช่วงต่อเวลาพิเศษ ซึ่งจากผลรวม 4-2 ก็ทำให้พวกเขาขยับขึ้นสู่ ลีกา 3 ได้สมดั่งใจ
ในฤดูกาล 2013-14 ไลป์ซิก ได้มีโอกาสลงเตะในเกมระดับดิวิชั่น 3 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ พวกเขาเสริมทัพด้วยการดึงตัว อันโตนี่ ยุง จาก เอสเอฟเฟา แฟร้งค์เฟิร์ต, โทเบียส วิลเลอร์ส จาก สปอร์ตฟรอยน์เดอ ลอตเต้, โจชัว คิมมิช จาก สตุ๊ตการ์ท ทีมชุด U-19, อันเดร ลูเก้ จาก เอสเอฟเฟา ซวิกเคา, คริสตอส ปาปาดิมิทริอู จาก เออีเค เอเธนส์, ยุสซุฟ โพลเซ่น จาก ลิงบี้ บีเค และ เดนิส โธมัลล่า จาก ฮอฟเฟ่นไฮม์ ในช่วงซัมเมอร์ พวกเขาถูก เอาก์สบวร์ก เขี่ยตกรอบ เดเอฟเบ โพคาล อีกครั้งตั้งแต่รอบแรกจากการพ่ายคาบ้าน 2-0 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2013 และยังเป็นการสิ้นสุดสถิติไร้พ่ายในรังเหย้าที่นานนับปี อย่างไรก็ตามทีมก็สามารถออกสตาร์ทในลีกได้อย่างน่าประทับใจ เปิดหัวด้วยการบุกไปเอาชนะ ฮัลเลสเชอร์ เอฟซี 1-0 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม และเดินหน้าเก็บสถิติไร้พ่ายไปจนกระทั่งวันที่ 31 สิงหาคมที่พวกเขาเพลี่ยงพล้ำให้กับทีมจ่าฝูง วีเฮน วีสบาเดิน 2-1
ในวันที่ 5 ตุลาคม ไลป์ซิก ลงเตะแมตช์เยือนกับทีมจ่าฝูงอีกครั้ง โดยที่ตำแหน่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนมาเป็น ไฮเดนไฮม์ ที่แย่งอันดับที่ 1 มาจาก วีเฮน วีสบาเดิน ได้เพียงสัปดาห์เดียวหลังจากเอาชนะ ไลป์ซิก ในบ้านได้ และในคราวนี้ ไลป์ซิก ก็สามารถบุกไปเอาชนะจ่าฝูงได้ 2-0 จนขยับขึ้นมาสู่อันดับที่ 3 ระหว่างช่วงพักเบรกหนีหนาวทีมปล่อยตัวผู้เล่นออกไป 4 คน และทดแทนด้วยการเซ็นสัญญากับ ดีเอโก้ เดมเม่ จาก พาเดอร์บอร์น 07, เฟเดริโก้ ปาลาซิออส มาร์ติเนซ จาก โวล์ฟสบวร์ก, มิกโก้ ซูมูซาโล่ จาก เอชเจเค เฮลซิงกิ และ ยอร์ก ไทเกิ้ล จาก เร้ด บูลล์ ซัลซ์บวร์ก หลังจากพ่ายแพ้ในการออกไปเยือน ดุ๊ยส์บวร์ก 2-1 ก็ทำให้ทีมตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่อาจจะแพ้ได้อีกแล้ว เนื่องจากมี ดาร์มสตัดท์ อีกหนึ่งทีมที่กำลังตามขับเคี่ยวเพื่อลุ้นอันดับที่ 2 อยู่เช่นกัน จนกระทั่งทั้งคู่โคจรมาพบกันในนัดที่ 35 เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2014 ที่ ไลป์ซิก เปิดรัง เร้ด บูลล์ อารีน่า สยบผู้มาเยือน 1-0 ต่อหน้ากองเชียร์ 39,147 คน จากชัยชนะในนัดนี้ก็ทำให้ ทีมกระทิงแดง สามารถรักษาอันดับที่ 2 และคว้าสิทธิ์เลื่อนชั้นขึ้นสู่ บุนเดสลีกา 2 ได้แบบอัตโนมัติ ก่อนที่ 2 สัปดาห์ต่อมาพวกเขาจะเปิดบ้านไล่ถล่ม ซาร์บรุคเค่น ทีมบ๊วยของตาราง 5-1 พร้อมสร้างสถิติยอดผู้ชมขึ้นมาใหม่ที่ 42,713 ที่นั่ง และจากการจบด้วยตำแหน่งรองแชมป์ก็ทำให้ ไลป์ซิก กลายเป็นทีมแรกที่เริ่มเปิดตัวใน ลีกา 3 และสามารถเลื่อนชั้นขึ้นไปได้ภายในปีเดียว
ผู้รับผิดชอบในการอนุมัติทีมที่ลงแข่งขันใน บุนเดสลีกา 2 ได้เปลี่ยนจาก เดเอฟเบ มาเป็น บริษัทฟุตบอลลีกเยอรมัน (Deutsche Fußball Liga) หรือ เดเอฟแอล โดยมีประกาศแรกออกมาเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2014 ว่าจะยอมอนุญาตให้ ไลป์ซิก ลงแข่งขันใน บุนเดสลีกา 2 ได้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด เนื่องจากในช่วงเวลานั้นพวกเขากำลังถูกโจมตีอย่างหนักจากประเด็นที่มีเพียงคนกลุ่มเล็กๆที่มีสิทธิ์บริหารจัดการภายในองค์กร อีกทั้งสโมสรยังไม่มีความเป็นเอกเทศเพียงพอจาก เร้ด บูลล์ จีเอ็มบีเอช และเพื่อปรับปรุงข้อครหาต่างๆให้สอดคล้องกับข้อกำหนด เดเอฟแอล ได้ยื่นข้อเรียกร้อง 3 เรื่องให้สโมสรปฏิบัติตามเพื่อที่จะมีสิทธิ์ลงเล่นใน บุนเดสลีกา 2 ข้อแรก ต้องมีการปรับเปลี่ยนดีไซน์ของตราสโมสรเนื่องจากมีรูปแบบที่ใกล้เคียงกับ เร้ด บูลล์ จีเอ็มบีเอช มากจนเกินไป ข้อสอง ต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของทีมบริหาร และข้อสุดท้าย คือการลดค่าธรรมเนียมสมาชิกเพื่อเปิดรับสมาชิกผู้สนับสนุนทีมหน้าใหม่เข้ามาเพิ่ม สโมสรยื่นอุทธรณ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 30 เมษายน ก่อนที่ ราล์ฟ รังนิก จะออกมาแถลงกับสื่อมวลชนถึงความตั้งใจของพวกเขาที่จะยอมทำตามข้อเรียกร้องของ เดเอฟแอล โดยย้ำว่าสิ่งสำคัญไม่ใช่ว่ามีอะไรที่เขียนอยู่บนชุดทีมแต่มันคือสิ่งที่อยู่ข้างในนั้น
อย่างไรก็ตามคำอุทธรณ์ได้ถูกปฏิเสธไปในวันที่ 8 พฤษภาคม ก่อนที่ ดีทริช เมเทสซิทซ์ เจ้าของร่วม เร้ด บูลล์ จะออกมาวิจารณ์การตัดสินของ เดเอฟแอล อย่างเผ็ดร้อน และเปรียบเทียบข้อเรียกร้องดังกล่าวว่าเหมือนการถูกลากไปตัดหัว ทั้งยังปฏิเสธที่จะลงแข่งขันใน ลีกา 3 ต่อไป รวมถึงยังมีการข่มขู่ทิ้งท้ายว่าอาจจะยกเลิกโปรเจ็คท์ทั้งหมดใน ไลป์ซิก ทันทีหากไม่ได้รับการอนุมัติ ในที่สุดสโมสรก็ยอมยื่นข้ออุทธรณ์เป็นครั้งที่สองในวันที่ 12 พฤษภาคม โดยที่คณะกรรมการของ เดเอฟแอล ได้ร่วมกันลงมติอีกครั้งในวันที่ 15 พฤษภาคม ก่อนจะมีข้อสรุปสุดท้ายออกมาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม ซึ่งในระหว่างนั้น รังนิก ก็ออกมายืนยันว่า สโมสรยังคงติดต่อพูดคุยกับ เดเอฟแอล เพื่อหาทางออกที่ลงตัว จนกระทั่งการประนีประนอมบรรลุผลและประกาศออกมาตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม ซึ่งก็ความหมายว่า พวกเขาต้องยอมปรับเปลี่ยนดีไซน์ตราสโมสรและต้องสร้างความเชื่อมั่นให้ได้ว่าการบริหารทีมต้องอยู่คนละส่วนกับ เร้ด บูลล์ จีเอ็มบีเอช
ในส่วนของทีมก็มีการเซ็นนักเตะเข้ามาใหม่ทั้ง รานี่ เคดิร่า จาก สตุ๊ตการ์ท, ลูคัส คลอสเตอร์มันน์ จาก โบคุ่ม, มาร์เซล ซาบิตเซอร์ จาก เร้ด บูลล์ ซัลซ์บวร์ก, เทอร์เรนซ์ บอยด์ จาก ราปิด เวียนนา และ มัสซิโม บรูโน่ จาก อันเดอร์เลชท์ โดยที่มีการโละนักเตะออกไปหลายคนเช่นกัน ในขณะที่ ซาบิตเซอร์ และ บรูโน่ ที่พึ่งย้ายเข้ามาก็ถูกส่งออกไปให้ เร้ด บูลล์ ซัลซ์บวร์ก ยืมใช้งานในทันที ไลป์ซิก ลงทุนไปกับการซื้อนักเตะในช่วงหน้าร้อนปีนั้นถึง 12 ล้านยูโร ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดเป็นอันดับที่ 8 จากทั้งสองลีกสูงสุดของประเทศ ทั้งยังเป็นจำนวนที่มากกว่าค่าใช้จ่ายในการเสริมทัพจากบรรดาทีมครึ่งหนึ่งใน บุนเดสลีกา เสียอีก พวกเขาจัดโปรแกรมอุ่นเครื่องในช่วงปรีซีซั่นยาวเป็นหางว่าว หนึ่งในแมตช์สำคัญคือการเอาชนะ ปารีส แซงต์-แชร์กแมง 4-2 ต่อหน้าแฟนบอล 35,796 คนและผู้สื่อข่าวราว 150 ชีวิตในบ้านของตนเอง เทอร์เรนซ์ บอยด์ ยิงประตูแรกให้กับทีมและยังเป็นประตูที่สองของเขานับตั้งแต่ย้ายเข้ามา หลังเกมเขายังได้รับเสื้อจาก ซลาตัน อิบราฮิโมวิช อีกด้วย ก่อนที่ทีมจะเอาชนะ ควีนส์ปาร์ค เรนเจอร์ส 2-0 ได้อีกในอีก 8 วันต่อมาจาก 2 ประตูของ ยุสซุฟ โพลเซ่น
ทีมกระทิงแดง ออกสตาร์ทในลีกด้วยการเสมอแบบไร้สกอร์กับ เฟาเอฟแอร์ อาเล่น เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2014 ก่อนจะเก็บชัยชนะได้ 3 จาก 4 เกมต่อมาจนมาพ่ายเป็นนัดแรกในการออกไปเยือน ยูเนี่ยน เบอร์ลิน 2-1 และกลับมารั้งอันดับที่ 2 ได้อีกครั้งในเกมถัดมาที่เปิดบ้านเอาชนะ คาร์ลสรูห์ 3-1 พวกเขาถูกประกบคู่ให้พบกับ พาเดอร์บอร์น ใน เดเอฟเบ โพคาล รอบแรก ก่อนจะเฉือนชนะคู่แข่งในถิ่นตนเองไปได้ 2-1 เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม จากนั้นก็ได้ไปเผชิญหน้ากับ แอร์ซเกเบียร์เก้ เอา และเอาชนะไปได้หลังการต่อเวลาพิเศษ 3-1 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม จนผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสโมสร แต่หลังจากทำผลงานได้ขึ้นๆลงๆทีมก็จบช่วงพักครึ่งฤดูกาลด้วยการอยู่ในอันดับที่ 7 และมีการเสริมทัพเข้ามาอีกในช่วงหน้าหนาวทั้ง โอเมอร์ ดามารี่ จาก ออสเตรีย เวียนนา, เอมิล ฟอร์สเบิร์ก จาก มัลโม่ รวมถึง รอดเนย์ และ ยอร์ดี้ เรย์น่า มาจาก เร้ด บูลล์ ซัลซ์บวร์ก ทั้งคู่ ก็ทำให้ยอดรวมของการช็อปนักเตะระหว่างเดือนมกราคมของพวกเขาอยู่ที่ 10.7 ล้านยูโร ซึ่งเป็นจำนวนที่มากเกือบจะเท่ากับยอดใช้จ่ายทั้งหมดของทีมที่เหลือใน บุนเดสลีกา 2 ภายในช่วงเวลานั้น
ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2015 ทีมพ่ายแพ้ให้กับ แอร์ซเกเบียร์เก้ เอา และกลายเป็นเกมที่ 4 ติดต่อกันที่พวกเขาควานหาชัยชนะไม่เจอจนถูกทิ้งห่างจากโซนเลื่อนชั้นไปไกล และแล้วช่วงเย็นวันถัดมาทางสโมสรก็ได้เรียกตัว อเล็กซานเดอร์ ซอร์นิเกอร์ เข้ามาพูดคุยเพื่อแจ้งว่าสโมสรต้องการจะแยกทางกับเขาหลังจบฤดูกาลนี้ ซึ่งบทสรุปของเรื่องนี้ทางทีมบริหารได้ผ่านการปรึกษากับ เมเทสซิทซ์ เจ้าของทีมเป็นที่เรียบร้อยอย่างไรก็ตามเช้าวันรุ่งขึ้น ซอร์นิเกอร์ ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งในทันที ท่ามกลางเสียงโจมตีที่ถาโถมเข้าใส่สโมสรจากสื่อหลายๆแห่งที่มองว่า ภายใต้การคุมทีมของ ซอร์นิเกอร์ ได้ช่วยทำให้พวกเขาทะยานจาก เรกิโอนาลลีกา ขึ้นสู่ บุนเดสลีกา 2 ได้อย่างรวดเร็ว มันจึงดูเป็นการตัดสินใจที่โหดร้ายไปหน่อย หลังจากนั้น อาคิม ไบเออร์ลอร์เซอร์ โค้ชทีมชุด U-17 ก็ถูกแต่งตั้งให้ขึ้นมาทำหน้าที่รักษาการณ์ไปจนจบฤดูกาล
ในวันที่ 5 มีนาคม ไลป์ซิก ถูกประกบคู่ให้มาเจอกับ โวล์ฟสบวร์ก ในเกม เดเอฟเบ โพคาล รอบที่ 3 ก่อนจะกระเด็นตกรอบด้วยการพ่ายคารัง เร้ด บูลล์ อารีน่า 2-0 ในแมตช์ที่พวกเขาสร้างประวัติศาสตร์การขายตั๋วให้กับแฟนบอลที่เข้ามานั่งชมเกม 43,348 ที่นั่งจนหมดเกลี้ยง ตัวเลือกกุนซือคนใหม่ที่อยู่ในใจของ ราล์ฟ รังนิก ก็คือ โธมัส ทูเคิ่ล อดีตเฮดโค้ช ไมนซ์ 05 หากแต่การเจรจากลับล้มเหลว ก่อนจะพยายามติดต่อไปยังตัวเลือกถัดไปอย่าง ซาช่า เลวานดอฟสกี้ ผู้ที่เคยรับตำแหน่งกับ ไบเออร์ เลเวอร์คูเซ่น แต่ก็ถูกปฏิเสธไปเช่นกัน จนกระทั่งในเดือนพฤษภาคม 2015 รังนิก ก็ออกมาประกาศว่าเขาจะรับหน้าที่เป็นเฮดโค้ชคนใหม่ควบคู่ไปกับตำแหน่งผอ.กีฬาที่ทำอยู่ภายในฤดูกาลหน้า โดยมี อาคิม ไบเออร์ลอร์เซอร์ คอยเป็นผู้ช่วย ท้ายที่สุด ไลป์ซิก ก็จบฤดูกาลแรกใน บุนเดสลีกา 2 ด้วยการอยู่ในอันดับที่ 5
ก่อนออกสตาร์ทซีซั่นใหม่ ทีมทุ่มเงินเสริมทัพอีกครั้งด้วยการเซ็นสัญญากับ ดาวี่ เซลเก้ จาก แวร์เดอร์ เบรเมน, อาทินช์ นูคาน จาก เบซิคตัส, มาร์เซล ฮัลสเทนแบร์ก จาก ซังต์ เพาลี และ วิลลี่ ออร์บาน จาก ไกเซอร์สเลาเทิร์น ในขณะที่มีการปล่อยตัว โจชัว คิมมิช ให้กับ บาเยิร์น และ รอดเนย์ ก็หมดสัญญาและย้ายไปอยู่กับ 1860 มิวนิค แบบไม่มีค่าตัว ไลป์ซิก ยังทำการดึงนักเตะมาจาก ซัลซ์บวร์ก สโมสรในเครือ เร้ด บูลล์ ซึ่งก็เหมือนกับหลายครั้งที่ผ่านสำหรับการได้ตัว สเตฟาน อิลซังเกอร์ ดาวเตะทีมชาติออสเตรีย ที่พึ่งหมดสัญญามาแบบฟรีๆ และยังเข้ามาพร้อมๆกับ มัสซิโม่ บรูโน่ และ มาร์เซล ซาบิตเซอร์ ที่กลับมาจากสัญญายืมตัว
การย้ายทีมในครั้งนี้ได้สร้างความขุ่นเคืองให้กับแฟนบอลของ ซัลซ์บวร์ก หลังต้องเสียนักเตะฝีเท้าดีออกไปให้กับ ไลป์ซิก หลายคน จนทำให้บรรดากองเชียร์ของ ซัลซ์บวร์ก ตะโกนร้องเพลงต่อต้านทีมกระทิงแดงรุ่นน้องระหว่างเกม ออสเตรีย คัพ หลังสื่อในประเทศพากันประโคมข่าวเรื่องที่ อิลซังเกอร์ เตรียมตัวจะย้ายไปอยู่กับ ไลป์ซิก ในช่วงซัมเมอร์ ด้วยค่าตัวในการย้ายทีมของ เซลเก้ ที่อยู่ราวๆ 8 ล้านยูโร ก็ทำให้เขากลายเป็นนักเตะค่าตัวแพงที่สุดของ บุนเดสลีกา 2 สรุปยอดการใช้เงินของพวกเขาในช่วงเปิดตลาดซัมเมอร์ 2015 ก็อยู่ที่ประมาณ 18.5 ล้านยูโร ซึ่งมากกว่ายอดรวมค่าใช้จ่ายของทีมอื่นๆใน บุนเดสลีกา 2 ทั้งหมดรวมกัน
ระหว่างช่วงปรีซีซั่นพวกเขาเอาชนะ เซาแธมป์ตัน 5-4 ในเกมอุ่นเครื่องที่ ออสเตรีย เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2015 และมาชนะ รูบิน คาซาน 1-0 ได้อีกใน 4 วันถัดมา ก่อนจะมาเปิดบ้านถล่ม ฮาโปเอล เทล อาวีฟ 3-0 เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ทีมกระทิงแดง ถูกจับฉลากให้ต้องออกไปเยือน เฟาเอฟแอล ออสนาบรุ๊ค ในเกม เยอรมัน คัพ รอบแรก เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม หลังจากเกมเริ่มไปได้เพียงนาทีเดียวเจ้าบ้านก็เป็นฝ่ายขึ้นนำไปก่อนท่ามกลางการฉลองประตูกันอย่างบ้าคลั่งของกองเชียร์เจ้าถิ่นที่ทำให้รั้วและตาข่ายกั้นในสนามบางส่วนพังลงมาจนทำให้เกมต้องยุติลงชั่วคราว
จนกระทั่งเกมดำเนินต่อไปจนถึงช่วงครึ่งหลังที่ ออสนาบรุ๊ค ยังเป็นฝ่ายนำอยู่ จนกระทั่งนาทีที่ 71 ผู้ตัดสิน มาร์ติน ปีเตอร์เซ่น ก็ได้รับบาดเจ็บที่ศรีษะจากการถูกไฟแช็คที่ปาลงมาจากอัฒจันทร์ฝั่งเจ้าถิ่น เหตุการณ์เกิดขึ้นขณะที่ผู้ตัดสินพยายามเข้าไปเคลียร์การโต้เถียงกันระหว่าง ดาวี่ เซลเก้ และ มิชาเอล ฮอห์นสเตดท์ ผู้เล่นสำรองของเจ้าบ้านจากเหตุความวุ่นวายในบริเวณกรอบเขตโทษฝั่ง ออสนาบรุ๊ค จนทำให้เกมต้องหยุดชะงักลงอีกครั้งก่อนจะถูกยกเลิกไปในที่สุด แม้ทางฝั่ง ไลป์ซิก จะเรียกร้องให้มีการรีแมตช์ แต่ทาง เดเอฟเบ กลับตัดสินให้ ออสนาบรุ๊ค เป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไปเลยด้วยสกอร์ 2-0 ในขณะที่ ไลป์ซิก ยังต้องได้รับเงินชดใช้จากคู่แข่งเพิ่มอีก 50,500 ยูโร ก่อนที่พวกเขาจะใจดียอมลดให้และขอรับเงินก้อนนั้นเพียงแค่ 30,500 ยูโร และอนุญาตให้ ออสนาบรุ๊ค มีเวลาชำระเงินจนถึงปีหน้า
ระหว่างเหตุการณ์ผู้ลี้ภัยในยุโรปช่วงปี 2015 ทั้งสโมสร, ทีมงาน, นักเตะ และกองเชียร์ของ ไลป์ซิก ต่างพากันสนับสนุนกลุ่มผู้อพยพ โดยที่สโมสรตัดสินใจมอบเงินช่วยเหลือ 50,000 ยูโรให้กับสภาเมืองในการช่วยจัดหางานให้กับคนกลุ่มนั้น พวกเขายังยอมเซ้งต่อตู้คอนเทนเนอร์ 60 ใบจากศูนย์ฝึกของทีมที่ติดตั้งเครื่องสุขภัณฑ์ไว้พร้อมสำหรับใช้เป็นที่อยู่อาศัย หลังจากที่ลงทุนไปกับตู้คอนเทนเนอร์เหล่านี้ในตอนแรกราว 500,000 ยูโร บรรดาสตาฟฟ์และนักเตะยังช่วยกันบริจาคอุปกรณ์กีฬาและเครื่องนุ่งห่ม ในขณะที่ ราล์ฟ รังนิก ก็ยอมบริจาคเงินส่วนตัวจากเหตุฝังใจในวัยเด็กที่เขาก็เคยเป็นเด็กที่เติบโตมาในค่ายผู้อพยพหลังพ่อและแม่ของเขาพบรักกันในค่ายแห่งหนึ่งที่ แซกโซนี นอกจากนี้ทีมยังได้เชิญผู้อพยพ 450 คนเข้ามาชมเกมลีกในบ้านที่พบกับ พาเดอร์บอร์น เมื่อวันที่ 11 กันยายนอีกด้วย
หลังถูกตัดสินให้ชนะผ่านคู่แข่งใน เดเอฟเบ โพคาล รอบแรกเข้ามา สุดท้ายทีมก็ไปจอดป้ายในรอบ 2 หลังบุกไปพ่ายแพ้ อุนเตอร์ฮัคกิ้ง ทีมจาก เรกิโอนาลลีกา ที่โชว์ฟอร์มได้อย่างยอดเยี่ยม 3-0 เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม แต่หลังจากตกรอบบอลถ้วยและกลับมาลงเตะในเกมลีกนัดถัดมา ไลป์ซิก ก็สามารถยึดตำแหน่งจ่าฝูงได้เป็นครั้งแรก จากการบุกไปชนะ เอสเฟา แซนด์เฮาเซ่น 2-1 เมื่อวันที่ 1 พฤศติกายน แต่ก็ร่วงลงจากบัลลังก์ในสัปดาห์ต่อมาเมื่อพ่ายคาบ้านให้กับ ไกเซอร์สเลาเทิร์น 2-0 จนกระทั่งกลับมาทวงตำแหน่งคืนได้ก่อนปิดพักเบรกฤดูหนาวหลังสามารถสยบ เอฟเอสเฟา แฟร้งค์เฟิร์ต 3-1 เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พวกเขามีการเคลื่อนไหวในตลาดเดือนมกราคมเล็กน้อย โดยมีเพียง ทิม เซบาสเตียน กองหลังจอมเก๋าที่อยู่กับทีมมาตั้งแต่ปี 2010 ตัดสินใจย้ายไปอยู่กับ พาเดอร์บอร์น และ โซลท์ คัลมาร์ แข้งชาวฮังการี ที่จากไปร่วมทีม เอฟเอสเฟา แฟร้งค์เฟิร์ต ด้วยสัญญายืมตัว
ไลป์ซิก รั้งตำแหน่งจ่าฝูงยาวไปจนถึงเกมนัดที่ 27 โดยหลังจากพ่ายแพ้ให้กับ เนิร์นแบร์ก 3-1 เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2016 พวกเขาก็ตกลงไปเป็นที่ 2 และมีอยู่ 3 คะแนนเหนือ เนิร์นแบร์ก ทีมอันดับที่ 3 แต่ทีมก็มาหายใจได้สะดวกขึ้นเมื่อชนะรวดในอีก 2 เกมถัดมาจนทำแต้มทิ้งห่างไปเป็น 6 คะแนนและลดลงเหลือ 4 คะแนนในขณะที่เหลือการแข่งขันอีกเพียง 3 เกม สุดท้ายทีมก็สามารถการันตีตำแหน่งรองแชมป์ได้ในเกมที่ 33 หลังเอาชนะ คาร์ลสรูห์ 2-0 ในถิ่น เร้ด บูลล์ อารีน่า ต่อหน้าแฟนๆ 42559 คนเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ก่อนที่พิธีฉลองการเลื่อนชั้นขึ้นสู่ บุนเดสลีกา จะถูกจัดขึ้นในย่านการค้าด้านหน้าศาลากลางเมือง ไลป์ซิก พร้อมกับแฟนๆร่วม 20,000 คนในวันที่ 16 พฤษภาคม
หลังจบฤดูกาล รังนิก ประกาศลาออกจากตำแหน่งเฮดโค้ชและกลับมาโฟกัสที่งานผอ.กีฬาเพียงอย่างเดียว ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาสื่อภายในประเทศต่างพากันเก็งผู้ที่จะเข้ามารับหน้าที่คมทีมต่อ ทั้ง มาร์คุส กิสดอล ของ ฮัมบูร์ก, ซานโดร ชวาร์ซ ของ ไมนซ์ 05, โฌซแล็ง กูร์กเวนเน็ก ของ แก็งก็อง, เรเน่ ไวเลอร์ ของ เนิร์นแบร์ก และ มาร์คุส ไวน์ซีเริ่ล ของ เอาก์สบวร์ก ในที่สุดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2016 ก็มีประกาศแต่งตั้ง ราล์ฟ ฮาเซนฮุตเติล เข้ามาเป็นเฮดโค้ชคนใหม่ หลังจากเคยฝากผลงานอันน่าประทับใจเอาไว้กับ อิงโกลสตัดท์ นับตั้งแต่ปี 2013 ด้วยการพาทีมที่อยู่ท้ายตาราง บุนเดสลีกา 2 ผงาดขึ้นสู่ บุนเดสลีกา ได้สำเร็จ และยังช่วยให้ทีมอยู่รอดในลีกสูงสุดได้ต่อในซีซั่นที่ผ่านมา
ทีมกระทิงแดง เสริมทัพในช่วงก่อนออกสตาร์ทซีซั่นด้วยการคว้าตัว เบนโน่ ชมิตซ์, นาบี เกอิต้า และ ดาโย่ต์ อูปาเมกาโน่ จาก ซัลซ์บวร์ก, ติโม แวร์เนอร์ จาก สตุ๊ตการ์ท, มาริอุส มุลเลอร์ จาก ไกเซอร์สเลาเทิร์น และ โอลิเวอร์ เบิร์ก จาก น็อตติ้งแฮม ฟอเรสต์ รวมถึง โซลท์ คัลมาร์ ที่กลับมาจากการยืมตัว ทีมเปิดตัวใน บุนเดสลีกา ได้อย่างน่าตื่นตะลึงเมื่อสามารถสร้างสถิติไร้พ่ายได้ใน 13 เกมแรกโดยเป็นการเสมอเพียงแค่ 3 นัดเท่านั้น และยังเป็นการทำลายสถิติไร้พ่ายของทีมที่พึ่งเลื่อนชั้นขึ้นมาอีกด้วย หลังจบนัดที่ 11 พวกเขาก็ผงาดขึ้นไปเป็นจ่าฝูงและกลายเป็นทีมแรกจากฝั่งตะวันออกต่อจาก ฮันซ่า รอสต๊อค ที่เคยทำได้ระหว่างฤดูกาล 1991-92 พวกเขาขึ้นแท่นอยู่ได้อีก 3 นัดก่อนจะเสียตำแหน่งผู้นำหลังพ่ายให้กับ อิงโกลสตัดท์ 1-0 เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2016
จนกระทั่ง ไลป์ซิก ก็กลายเป็นทีมแรกนับตั้งแต่การรวมประเทศที่ได้เปิดตัวใน บุนเดสลีกา และสามารถคว้าโควต้าไปลงเตะในเวทียุโรป หลังเปิดบ้านไล่ถล่ม ไฟร์บวร์ก 4-0 เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2017 พวกเขายังเป็นทีมแรกจากฝั่งตะวันออกที่ได้ไปลงเตะในเกมยุโรปนับตั้งแต่ที่ ยูเนี่ยน เบอร์ลิน เคยตีตั๋วเข้าไปเล่นใน ยูฟ่า คัพ 2001-02 สุดท้ายแล้วทีมก็ได้สิทธิ์ไปเล่นใน ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก หลังบุกไปถล่ม แฮร์ธ่า เบอร์ลิน 4-1 ที่ โอลิมเปียสตาดิโอน เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม และจบฤดูกาลแรกในลีกสูงสุดของประเทศด้วยการได้อันดับที่ 2 รองจาก บาเยิร์น มิวนิค ในขณะที่ ติโม แวร์เนอร์ ผู้ที่ช่วยกระหน่ำไปถึง 21 ประตูก็กลายเป็นนักเตะชาวเยอรมันที่ยิงประตูได้มากที่สุดในซีซั่นนั้น พร้อมๆกับที่ นาบี เกอิต้า และ เอมิล ฟอร์สเบิร์ก ก็พากันติดอยู่ในทีมยอดเยี่ยมบุนเดสลีกาประจำฤดูกาล
ไลป์ซิก เสริมตัวผู้เล่นครั้งใหญ่เพื่อเตรียมตัวลงฟาดแข้งในเวทียุโรปที่นำโดย เควิน คัมเพิ่ล จาก ไบเออร์ เลเวอร์คูเซ่น 20 ล้านยูโร, ฌอง-เกวิน ออกุสแต็ง จาก ปารีส แซงต์-แชร์กแมง 13 ล้านยูโร, บรูม่า จาก กาลาตาซาราย 12.5 ล้านยูโร, คอนราด ไลเมอร์ จาก ซัลซ์บวร์ก 7 ล้านยูโร และ อีฟง เอ็มโวโก้ จาก ยัง บอยส์ 5 ล้านยูโร พวกเขายังไปได้ไม่ไกลใน เดเอฟเบ โพคาล เช่นเคยหลังจับสลากไปพบกับ บาเยิร์น ตั้งแต่รอบที่ 2 ก่อนจะพ่ายคารังด้วยการดวลจุดโทษตัดสินหลังต่อเวลาพิเศษเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2017 ทีมกระทิงแดง เปิดตัวนัดแรกในลีกด้วยการบุกไปพ่ายให้กับ ชาลเก้ 2-0 ก่อนจะกลับมาเอาชนะได้ในอีก 2 นัดถัดมา และขึ้นไปรั้งในอันดับที่ 2 ได้หลังเอาชนะ ฮันโนเวอร์ 2-1 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน แต่กลับจบครึ่งซีซั่นแรกด้วยการตกลงมาอยู่ในอันดับที่ 5 หลังพ่ายคาบ้านให้กับ แฮร์ธ่า เบอร์ลิน 3-2 ในนัดสุดท้ายของปี
ทีมอยู่ในกลุ่ม G ของ แชมเปี้ยนส์ ลีก ร่วมกับ เบซิคตัส, ปอร์โต้ และ โมนาโก แต่หลังจากเก็บชัยชนะในบ้านได้เพียงแค่นัดเดียวก็เลยหมดสิทธิ์ผ่านเข้าสู่รอบน็อคเอาท์ แต่ก็ยังได้โอกาสไปต่อใน ยูฟ่า ยูโรปา ลีก หลังได้อันดับที่ 3 ของกลุ่ม ก่อนจะเดินหน้าไปจนถึงรอบก่อนรองชนะเลิศและพ่ายให้กับ โอลิมปิก มาร์กเซย ด้วยสกอร์รวม 5-3 แม้จะกลับมาอยู่ในอันดับที่ 2 ในลีกได้อีกครั้งหลังเกมที่เอาชนะ เอาก์สบวร์ก 2-0 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2018 แต่หลังจากนั้นพวกเขาก็ทำผลงานได้ขึ้นๆลงๆโดยที่เอาชนะใครไม่ได้เลยตลอดทั้งเดือนเมษายน จนกระทั่งพาตัวเองจบฤดูกาลที่สองใน บุนเดสลีกา ด้วยอันดับที่ 6
การถือกำเนิดของ แอร์เบ ไลป์ซิก ได้กลายเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอย่างดุเดือดภายใน เยอรมัน ข้อโต้แย้งหลักๆก็มาจากบทบาทของ เร้ด บูลล์ จีเอ็มบีเอช และนโยบายกีดกันสมาชิกผู้สนับสนุน ซึ่งล้วนแต่เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับธรรมเนียมปฏิบัติทั่วไปของบรรดาสโมสรภายใน เยอรมัน เมื่อโดยปกติแล้วทีมฟุตบอลในประเทศจะต้องขึ้นอยู่กับกลุ่มอาสาสมัครที่เข้ามาลงทะเบียนอย่างเป็นทางการและบางครั้งกลุ่มคนเหล่านั้นก็มักจะมีจำนวนมหาศาล นอกจากนี้ยังมีกฎ 50+1 ที่ช่วยวางรากฐานการบริหารที่มั่นคงให้กับทีมต่างๆใน เยอรมัน แต่สิ่งที่ ไลป์ซิก ถูกมุ่งเป้าโจมตีก็คือการที่ถูกมองว่าเป็นแค่เพียงเครื่องมือทางการตลาดและอาจจะชักนำวงการลูกหนังเยอรมันเข้าสู่วงเวียนธุรกิจในรูปแบบใหม่
ในการเปิดตัวของ ไลป์ซิก ยังก่อให้เกิดการประท้วงจากเหล่าแฟนบอลของสโมสรอื่นๆในละแวกใกล้เคียง โดยเฉพาะจาก โลโคโมทีฟ ไลป์ซิก และ ซัคเซน ไลป์ซิก ที่มองว่าพวกเขากำลังจะทำลายวัฒนธรรมดั้งเดิมของกลุ่มแฟนบอล โดยการมุ่งเน้นที่จะนำพาแต่เรื่องธุรกิจเข้ามา ทั้งสโมสรและ เร้ด บูลล์ จีเอ็มบีเอช ยังต้องเผชิญหน้ากับการต่อต้านจากแฟนบอลทีมอื่นๆทั่วทั้งประเทศ หลายๆคนตราหน้าพวกเขาว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะของเงินตราที่อยู่เหนือวัฒนธรรมดั้งเดิม รวมถึงการปฏิเสธพวกเขาและมองว่าเป็นเพียงแค่ “ทีมพลาสติก” บรรดาฝูงชนยังประท้วงเรื่องโมเดลธุรกิจที่ เร้ด บูลล์ เข้ามามีส่วนล้วงลูกในการบริหารทีมมากจนเกินไปภายหลังจากที่ทีมสามารถเลื่อนชั้นขึ้นสู่ บุนเดสลีกา 2 ได้ในปี 2014 กลุ่มผู้สนับสนุนจาก 10 สโมสรใน บุนเดสลีกา 2 ต่างรวมตัวกันสร้างแคมเปญต่อต้านพวกเขาภายใต้ชื่อ “Nein zu RB” (“No to RB”) หรือ “ไม่เอาแอร์เบ” และนับจากวันนั้นกลุ่มผู้สนับสนุนจากหลากหลายทีมทั่วประเทศก็พากันมาเข้าร่วมแคมเปญนี้ จนกระทั่งวันที่ 15 มีนาคม 2015 ในหน้าเว็บเพจของแคมเปญก็ได้มีการประกาศรายชื่อกลุ่มผู้สนับสนุนว่ามีจำนวนที่มากถึง 182 กลุ่มจากทั้งหมด 29 สโมสร
นอกเหนือจากการประท้วงระหว่างเกมด้วยป้ายแบนเนอร์และสัญลักษณ์ในรูปแบบต่างๆแล้ว ยังมีวิธีการแสดงออกอย่างอื่นอีกเช่น ในนัดที่ทีมเปิดบ้านต้อนรับ ฮันซ่า รอสต๊อค เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2013 บรรดากองเชียร์ฝั่งทีมเยือนเลือกวิธีประท้วงด้วยการไม่ยอมเข้ามาในสนามแข่งตลอด 7 นาทีแรกของเกม ในขณะที่ผู้สนับสนุนบางทีมถึงกับเลือกที่จะไม่เดินทางไปยัง เร้ด บูลล์ อารีน่า ในเกมนัดเยือนกันเลยทีเดียว ในบางครั้งการต่อต้านก็ทวีความรุนแรงถึงขั้นมีการใช้กำลัง ย้อนไปในปี 2009 ไลป์ซิก ต้องยกเลิกเกมอุ่นเครื่องหลายนัดด้วยเหตุผลของความปลอดภัย โดยเริ่มจากแพลนที่จะพบกับ คาร์ล ไซส์ เยน่า เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2009 ก็ปรากฏกลุ่มผู้ประท้วงที่ต้องใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาช่วยเปิดทางให้รถบัสของทีมเคลื่อนตัวเข้าสู่สนามแข่งขัน โดยระหว่างทางรถบัสก็ถูกขว้างปาด้วยขวดและฝั่งตำรวจก็ต้องใช้สเปรย์พริกไทยเพื่อช่วยในการรับมือกับเหล่าฝูงชน ส่วนบรรดานักเตะก็ถูกตะโกนด่าทอและถูกขว้างปาด้วยแก้วพลาสติกระหว่างในช่วงวอร์มอัพ ก่อนจะต้องใช้กำลังอารักขาจากเจ้าหน้าที่ในการเดินทางออกจากสนามหลังเกม
The post ค้นประวัติ แอร์เบ ไลป์ซิก ทีมดังนอกคอกแห่งลีกเยอรมัน first appeared on ผลบอลสด บ้านผลบอล ผลบอลวันนี้ 7m 888 Livescore.]]>สโมสรฟุตบอลมิลาน (Associazione Calcio Milan) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม เอซี มิลาน หรือที่เรียกกันสั้นๆว่า มิลาน คือทีมฟุตบอลอาชีพที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ใน เมืองมิลาน แคว้นลอมบาร์ดี้ ประเทศอิตาลี
ทีมเจ้าของฉายา “ปีศาจแดงดำ” ในบ้านเรา หรือ “รอสโซเนรี่” ในบ้านเขา ใช้เวลาแทบทั้งหมดยกเว้นฤดูกาล 1980-81 และ 1982-83 ลงเล่นอยู่ในลีกสูงสุดของวงการลูกหนังอิตาลี หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ เซเรีย อา
เอซี มิลาน เป็นทีมเจ้าของรวม 18 ถ้วยรางวัลจากทั้ง ฟีฟ่า และ ยูฟ่า ซึ่งมากที่สุดเป็นอันดับ 4 (ร่วมกับ โบค่า จูเนียร์ส) และมากที่สุดจากบรรดาทีมใน อิตาลี พวกเขาเคยครองแชมป์ อินเตอร์คอนติเนนตัล คัพ 3 ครั้งและ ฟีฟ่า คลับ เวิลด์ คัพ อีก 1 สมัย, ครอบครองถ้วย ยูโรเปี้ยนคัพ/แชมเปี้ยนส์ ลีก 7 สมัย, ยูฟ่า ซูเปอร์ คัพ 5 สมัย และ คัพ วินเนอร์ส คัพ อีก 2 ครั้ง
พวกเขายังครองแชมป์ลีกสูงสุดในประเทศมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ร่วมกับ อินเตอร์ มิลาน คู่ปรับร่วมเมืองที่ 18 ครั้ง โดยตามหลัง ยูเวนตุส ที่ครองแชมป์ได้มากที่สุด 34 ครั้ง และยังเคยคว้าแชมป์ โค้ปปา อิตาเลีย 5 ครั้ง รวมถึง ซูเปอร์ โคปปา อิตาเลียนา อีก 7 สมัย
มิลาน ลงเตะเกมในบ้านที่สนาม ซาน ซีโร่ หรือที่รู้จักอย่างเป็นทางการในชื่อ สตาดิโอ จูเซ็ปเป้ เมอัซซ่า นี่ยังเป็นสนามที่ใช้แชร์ร่วมกัน อินเตอร์ มิลาน โดยถือว่าเป็นสนามฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดใน อิตาลี ด้วยความจุ 80,018 ที่นั่ง ในขณะที่พวกเขามี อินเตอร์ มิลาน เป็นทีมคู่แข่งสำคัญ เกมที่ทั้ง 2 ฝ่ายเผชิญหน้ากันในสังเวียนที่ถือได้ว่าเป็นรังเหย้าของทั้งคู่จะถูกเรียกว่า “ดาร์บี้ เดลล่า มาดอนนิน่า” ซึ่งถูกจัดให้เป็นสุดยอดดาร์บี้แมตช์คู่หนึ่งในวงการลูกหนังโลก
พวกเขายังเป็นหนึ่งในสโมสรฟุตบอลที่ร่ำรวยที่สุดใน อิตาลี ทั้งยังเคยเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม G-14 องค์กรของทีมลูกหนังระดับท็อปในยุโรปที่ดำเนินกิจกรรมอยู่ระหว่างปี 2000 ถึง 2008 ก่อนจะแปรเปลี่ยนสภาพไปเป็น สมาคมสโมสรฟุตบอลยุโรป (European Club Association) ที่ปัจจุบันมีสโมสรเป็นสมาชิกจากประเทศต่างๆรวม 232 ทีม
1899 – สโมสรถูกก่อตั้งขึ้นครั้งแรกภายใต้ชื่อ สโมสรฟุตบอลและคริกเก็ตแห่งมิลาน (Milan Foot-Ball and Cricket Club) โดย อัลเฟร็ด เอ็ดเวิร์ดส์ และ เฮอร์เบิร์ต คิลพิน 2 คู่หูจาก เมือง น็อตติ้งแฮม ประเทศอังกฤษ แม้ทางสโมสรเองจะยึดวันที่ 16 ธันวาคม 1899 เป็นเสมือนวันสถาปนาตัว แต่จากหลักฐานที่มีการบันทึกไว้กลับระบุว่าวันที่ 13 ธันวาคม 1899 คือวันตั้งไข่ของสโมสร ในขณะที่ เอ็ดเวิร์ดส์ ผู้ที่เคยถูกส่งมาดำรงตำแหน่งรองกงสุลในเมืองมิลาน ก็กลายเป็นประธานสโมสรคนแรก โดยในส่วนของฟุตบอลก็ได้ คิลพิน เป็นผู้ดูแล และทางด้าน คริกเก็ต ที่เพิ่มเข้ามาก็ให้ เอ็ดเวิร์ด เบอร์ร่า เป็นผู้รับผิดชอบ
1900 – ภายใต้การชี้นำของ คิลพิน ทีมฟุตบอลก็เริ่มสร้างชื่อเสียงในทันทีหลังคว้าแชมป์แรกในรายการ Medaglia del Re ในช่วงต้นปีนั้น
1901 – เอซี มิลาน เริ่มลงแข่งขันในระดับประเทศ และประเดิมคว้าแชมป์ อิตาลี หนแรกได้ในทันที
1907 – ทีมประกาศศักดาครองแชมป์ประเทศหรือที่เรียกว่า ปรีม่า คาเตกอเรีย ได้ 2 ปีซ้อน เริ่มจากเอาชนะ ยูเวนตุส 2-0 ในเกมเพลย์ออฟเมื่อปีที่ผ่านมา ก่อนจะมาทำแต้มเฉือนชนะ โตริโน่ จนกลายเป็นแชมป์สมัยที่ 3 ของพวกเขา
1908 – จากแนวคิดที่ขัดแย้งกันของกลุ่มสมาชิกเรื่องการเซ็นสัญญากับผู้เล่นต่างชาติ ทำให้เกิดการแยกตัวออกมาและกลายเป็นจุดกำเนิดของสโมสร อินเตอร์ มิลาน
1916 – มิลาน คว้าแชมป์ในรายการ เฟเดอรัล คัพ ที่จัดขึ้นเพื่อทดแทน ปรีม่า คาเตกอเรีย ที่ถูกว่างเว้นไปในระหว่าง สงครามโลกครั้งที่ 1 แต่สุดท้ายแล้วผู้ที่ครองถ้วยรางวัลนี้ก็ไม่เคยถูกนับให้เป็นแชมป์ของ อิตาลี
1919 – หลังลีกในประเทศกลับมาเตะกันอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ทีมที่หันมาใช้ชื่อใหม่ว่า Milan Football Club ก็ไม่สามารถเรียกฟอร์มเก่งเหมือนในสมัยเริ่มต้นได้ และถึงแม้จะยังยืนหยัดอยู่ในลีกสูงสุดได้โดยตลอด 20 ปีหลังจากนั้น แต่พวกเขาก็เป็นเพียงทีมที่ป้วนเปี้ยนอยู่ตรงกลางตารางเท่านั้น
1939 – ในยุคที่ ลัทธิฟาสซิสต์ เริ่มเข้ามามีบทบาทในด้านการปกครองของประเทศ ก็ทำให้สโมสรจัดการเปลี่ยนชื่อเป็น Associazione Calcio Milano เพื่อให้ดูชาตินิยมมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามชื่อนี้ก็ค่อยๆถูกลบเลือนไปหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อนจะปรับมาใช้เป็น Associazione Calcio Milan จวบจนถึงปัจจุบันนี้
1951 – หลังห่างหายความสำเร็จมายาวนานนับตั้งแต่ปี 1907 ปีศาจแดงดำ ที่นำทัพโดย สามประสานเกร-นอ-ลี กุนนาร์ เกร็น, กุนนาร์ นอร์ดาห์ล และ นิลส์ ลีดโฮล์ม ที่เคยพา สวีเดน คว้าแชมป์โอลิมปิก 1948 มาแล้ว พร้อมกับผู้เล่นคุณภาพอย่าง ลอเรนโซ่ บุฟฟ่อน, เซซาเร่ มัลดินี่ และ คาร์โล อันโนวาซซี่ ก็ช่วยให้ทีมคว้าแชมป์ลีกสูงสุดภายใต้ชื่อ เซเรีย อา เป็นครั้งแรก โดยหนึ่งในแมตช์สุดประทับใจภายในซีซั่น 1950-51 ก็คงเป็นการบุกไปถล่ม ยูเวนตุส 7-1 ที่ ตูริน จากการทำแฮตทริกของ กุนนาร์ นอร์ดาห์ล
1955 – จากผลงาน 27 ประตูใน เซเรีย อา ก็ทำให้ นอร์ดาห์ล คว้าตำแหน่งดาวซัลโวในปีนั้นไปครอง แถมยังช่วยให้ รอสโซเนรี่ ครองแชมป์ลีกสมัยที่ 5 ได้สำเร็จ
1957 – หลังการจากไปของ นอร์ดาห์ล ที่ย้ายไปอยู่กับ โรม่า ทีมก็ทดแทนด้วยการหันไปดึง 2 ดาวยิง กัสโตเน่ เบอัน เด็กปั้นที่กลับมาจากการยืมตัวกับ ปิอาเซนซ่า และ คาร์โล กัลลี่ ที่ย้ายสลับขั้วมาจาก โรม่า เข้ามาทดแทน ซึ่งทั้งสองก็ช่วยกันถล่มประตูจนทำให้พวกเขาคว้าแชมป์ เซเรีย อา เป็นสมัยที่ 6
1959 – หลังว่างเว้นไปหนึ่งปี มิลาน ก็กลับมาอีกครั้ง โดยในคราวนี้ทีมได้ขุมพลังในแนวรุกอย่าง โชเซ่ อัลตาฟินี่ หรือ “มาซโซล่า” หัวหอกชาวแซมบ้าที่ย้ายเข้ามาในซีซั่นก่อน ช่วยกระหน่ำไปถึง 28 ประตูจนขึ้นแท่นเป็นรองดาวซัลโว และยังช่วยให้ทีมโกยแต้มหนี ฟิออเรนติน่า 3 คะแนนจนเข้าป้ายเป็นที่ 1 ได้ในที่สุด
1962 – ภายใต้การชี้นำของ เนเรโอ ร็อคโค่ เฮดโค้ขผู้ปฏิวัติวงการลูกหนังและยังได้ชื่อว่าเป็นผู้ให้กำเนิดแทคติก คาเตนัชโช่ อันลือลั่น ก็ช่วยพาทีมที่นำทัพโดย จานนี่ ริเวร่า จอมทัพดาวรุ่ง และ มาซโซล่า จอมถล่มประตู กลับมาคว้าถ้วย สคูเด็ตโต้ ได้อีกครั้ง
1963 – จากการคว้าแชมป์ลีกในซีซั่นที่ผ่านมา ก็ทำให้ มิลาน ได้เข้าไปลงเตะในรายการ ยูโรเปี้ยน คัพ ที่ถือว่าเป็นแม่แบบของ ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก ในปัจจุบัน และด้วยฟอร์มอันสุดฮอทของ มาซโซล่า ที่ซัดไปทั้งหมด 14 ประตูตลอดทั้งรายการ ซึ่งรวมถึงการเหมาคนเดียว 2 เม็ดจากชัยชนะ 2-1 ในนัดชิงชนะเลิศกับ เบนฟิก้า ที่ เวมบลี่ย์ ก็ทำให้ทีมคว้าแชมป์ใหญ่ระดับทวีปได้เป็นครั้งแรก
1967 – หลังจากบุกไปปราบ ยูเวนตุส 2-1 ได้ในรอบตัดเชือก โค้ปปา อิตาเลีย พวกเขาก็ได้เดินลงสู่สนาม สตาดิโอ โอลิมปิโก เพื่อลงเตะนัดชิงกับ ปาโดว่า ที่ผ่าน อินเตอร์ มิลาน มาได้ ก่อนจะเฉือนเอาชนะไปแบบฉิวเฉียด 1-0 และได้ครองแชมป์ในรายการนี้เป็นสมัยแรก
1968 – ในยุค 60 ถือเป็นช่วงเวลาแห่งความยิ่งใหญ่ของ อินเตอร์ มิลาน ที่ครองตำแหน่งแชมป์ในประเทศได้หลายครั้ง จนกระทั่งสิ้นสุดฤดูกาล 1967-68 ที่ รอสโซเนรี่ กลับมาคว้าแชมป์ เซเรีย อา ได้อีกครั้ง โดยที่ ปิเอริโน่ ปราติ ดาวยิงเด็กถิ่น ยังสามารถคว้าตำแหน่งดาวซัลโวได้ในฤดูกาลนั้น นอกจากนี้ทีมยังคว้าถ้วยรางวัลยุโรปได้อีกจากการผ่านเข้าไปจนถึงรอบชิงชะเลิศ ยูฟ่า คัพ วินเนอร์ส คัพ ก่อนจะเอาชนะ ฮัมบูร์ก มาได้ 2-0
1969 – ปีศาจแดงดำ กลับคืนสู่สังเวียนยุโรปอีกครั้ง และสามารถประกาศศักดาได้ด้วยการไล่ถล่ม อาแจ็กซ์ 4-1 ในนัดชิงชนะเลิศ ยูโรเปี้ยน คัพ จากการทำแฮตทริกของ ปราติ พร้อมกับก้าวขึ้นไปครองบัลลังก์ยุโรปเป็นสมัยที่ 2 ผ่านพ้นไปจนถึงช่วงเดือนตุลาคมปีนั้น ทีมก็ได้ลงเตะในรายการ อินเตอร์ คอนติเนนตัล คัพ โดยหลังจากถล่ม เอสตูเดียนเตส 3-0 ในเลกแรกที่ ซาน ซีโร่ ก็ต้องเดินทางไปเตะแมตช์เยือนที่ กรุงบัวโนสไอเรส ก่อนจะพ่ายไปแบบฉิวเฉียด 2-1 ท่ามกลางความโกลาหลวุ่นวายในสนาม เมื่อสองผู้เล่นของพวกเขาถูกทำร้ายจนบาดเจ็บสาหัส โดยที่ อัลเบร์โต้ โปเล็ตติ นายทวารเลือดฟ้าขาวของฝั่งเจ้าถิ่นที่ไปสาวหมัดใส่ จานนี่ ริเวร่า และเตะใส่ เนสเตอร์ กอมบิน แถมยังเข้าไปบวกกับกองเชียร์ของฝั่งทีมเยือนหลังเกม ถูกตัดสินโทษแบนตลอดชีวิต ในขณะที่ รามอน ซัวเรซ ผู้ที่ลงไม้ลงมือจนจมูกของ กอมบิน หักก็ถูกลงโทษห้ามแข่งเป็นเวลา 5 ปี แถมยังมาเกิดเหตุดราม่าหลังจากนั้นอีกเมื่อ กอมบิน ที่เป็นชาวอาร์เจนติน่าโดยกำเนิด แต่ย้ายไปค้าแข้งในยุโรปจนเลือกเล่นให้กับ ทีมชาติฝรั่งเศส ก็ถูกตั้งข้อหาหลบหนีการเกณฑ์ทหาร
1972 – ทีมประเดิมความสำเร็จแรกในยุค 70 ด้วยการคว้าแชมป์ โค้ปปา อิตาเลีย เป็นสมัยที่ 2 หลังผ่านเข้าไปดวลกับ นาโปลี ในนัดชิงชนะเลิศ และเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ 2-0
1973 – มิลาน เก็บถ้วยรางวัล คัพ วินเนอร์ส คัพ ได้เป็นสมัยที่ 2 หลังโคจรไปพบกับ ลีดส์ ยูไนเต็ด ที่ คาฟตานโซโญ่ สเตเดี้ยม ประเทศกรีซ ก่อนจะเฉือนเอาชนะไปด้วยสกอร์ 1-0 และยังสามารถป้องกันแชมป์ อิตาเลียน คัพ ได้สำเร็จจากการดวลจุดโทษเอาชนะ ยูเวนตุส หลังเสมอกันในเวลา 1-1 โดยในฤดูกาล 1972-73 พวกเขายังหวุดหวิดที่จะได้แชมป์ลีกสมัยที่ 10 แต่ก็พลาดไปอย่างน่าเสียดายหลังพ่ายให้กับ เฮลลาส เวโรน่า ในนัดปิดฤดูกาลจนถูก ยุเวนตุส ปาดหน้าคว้าถ้วย สคูเด็ตโต้ ไปครอง
1977 – เกิดศึก มิลาน ดาร์บี้ ในนัดชิงชนะเลิศ โค้ปปา อิตาเลีย เมื่อ 2 ทีมจากเมืองมิลาน โคจรมาพบกัน ก่อนที่ รอสโซเนรี่ จะเป็นฝ่ายกำชัยไปด้วยสกอร์ 2-0 และกลายเป็นแชมป์สมัยที่ 4 ในรายการนี้ของพวกเขา
1979 – ปีศาจแดงดำ ต้องรอจนถึงฤดูกาล 1978-79 จึงสามารถคว้าแชมป์ เซเรีย อา สมัยที่ 10 จากการทำแต้มเหนือ เปรูจา 3 คะแนน จนกระทั่งได้รับรางวัลติดดาวบนตราสโมสรตรงหน้าอกเสื้อจากการเป็นแชมป์ลีกครบ 10 สมัยเป็นทีมที่ 3 ต่อจาก ยูเวนตุส และ อินเตอร์ มิลาน
1980 – แต่แล้วหลังจบฤดูกาลต่อมาทีมกลับถูก สหพันธ์ฟุตบอลอิตาลี หรือ FIGC ปรับให้ตกชั้นลงไปเล่นใน เซเรีย บี พร้อมกับ ลาซิโอ้ หลังทั้งสองทีมถูกตรวจพบว่ามีส่วนพัวพันกับการพนันฟุตบอล
1981 – พวกเขาใช้เวลาเพียงแค่ปีเดียวก็สามารถกลับคืนสู่ เซเรีย อา ได้ หลังคว้าแชมป์ เซเรีย บี ประจำฤดูกาล 1980-81 ได้สำเร็จ
1982 – แต่กลับมาคราวนี้ทุกอย่างก็ไม่เหมือนเดิม เมื่อทีมทำผลงานได้อย่างย่ำแย่และตกชั้นลงไปตั้งแต่ปีแรกที่ขึ้นมา หลังทำแต้มน้อยกว่า เจนัว ทีมที่อยู่เหนือพื้นที่สีแดงแค่คะแนนเดียว
1983 – มิลาน ยังคงใช้เวลาเพียงแค่ซีซั่นเดียวในการกลับคืนสู่ลีกสูงสุดของประเทศ หลังเข้าป้ายเป็นที่ 1 โดยในคราวนี้ยังมี ลาซิโอ้ ทีมที่รับโทษลงมาพร้อมกับพวกเขาเมื่อ 3 ปีก่อนตามกลับขึ้นไปด้วย
1986 – จากผลกระทบทางด้านการเงินที่ย่ำแย่ก็ทำทีมห่างหายจากความสำเร็จไปในช่วงเวลาที่ผ่านมา จนกระทั่งการก้าวเข้ามาครอบครองสโมสรของ ซิลวิโอ แบร์ลุสโคนี่ นักธุรกิจชาวมิลาน ในเดือนกุมภาพันธ์ 1986 ก็ช่วยพลิกชะตากรรมให้กับพวกเขา โดยเริ่มจากการทาบทาม อาร์ริโก้ ซาคคี่ เข้ามาคุมทีม และยังดึงตัว สามทหารเสือชาวดัตช์ มาร์โก แวน บาสเท่น, รุด กุลลิท และ แฟร้งค์ ไรจ์การ์ด ที่เคียงข้างสตาร์ชาวอิตาเลียน อย่าง โรแบร์โต้ โดนาโดนี่, คาร์โล อันเชล็อตติ และ โจวานนี่ กัลลี่ ด้วยความหวังจะกลับมาตามล่าถ้วยรางวัลอีกครั้ง
1988 – ในที่สุด ปีศาจแดงดำ ก็กลับมาผงาดอีกครั้ง หลังสามารถกระชากแชมป์มาจาก นาโปลี ที่นำทัพด้วยดาวเด่นอย่าง ดีเอโก้ มาราโดน่า ผู้ที่ยังคว้ารางวัลดาวซัลโวได้ในซีซั่นนั้น ก่อนที่ทีมจะมาเอาชนะ ซามพ์โดเรีย 3-1 และครองแชมป์ ซูเปอร์โค้ปปา อิตาเลียน่า เป็นสมัยแรกในช่วงกลางเดือนมิถุนายน 1988
1989 – รอสโซเนรี่ หวนกลับคืนสู่เวทียุโรป และฝ่าฟันเข้าไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศ ยูโรเปี้ยน คัพ ก่อนจะถล่ม สเตอัว บูคาเรสต์ 4-0 ที่ คัมป์ นู จากการทำคนละ 2 ประตูของ แวน บาสเท่น และ กุลลิท จนกลายเป็นแชมป์ยุโรปใบใหญ่สมัยที่ 3 ของทีม และต่อเนื่องด้วยการปราบ บาร์เซโลน่า ด้วยสกอร์รวม 2-1 ในเกม ยูโรเปี้ยน ซูเปอร์ คัพ ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ก่อนจะปิดท้ายปีด้วยการเฉือนเอาชนะ อัตเลติโก้ นาซิอองนาล 1-0 ในถ้วย อินเตอร์คอนติเนนตัล คัพ ที่เริ่มหันมาจัดในประเทศ ญี่ปุ่น
1990 – ปีศาจแดง ได้สิทธิ์ลงเตะในรายการ ยูโรเปี้ยน คัพ ในฐานะแชมป์เก่า ก่อนจะเดินหน้าต่อจนมีโอกาสได้ป้องกันแชมป์ด้วยการผ่านเข้าไปพบกับ เบนฟิก้า ในนัดชิงชนะเลิศที่ แอนสท์-ฮัพเพิล-สตาดิโอน กรุงเวียนนา และมาได้ประตูชัย 1-0 จาก แฟร้งค์ ไรจ์การ์ด ในช่วงครึ่งหลังที่ทำให้พวกเขาคว้าแชมป์ยุโรปเป็นสมัยที่ 4 ก่อนจะเดินตามรอยซีซั่นที่ผ่านมาด้วยการเอาชนะรายการ ยูโรเปี้ยน ซูเปอร์ คัพ จากการสยบ ซามพ์โดเรีย ด้วยผลรวม 3-1 และมาถล่ม คลับ โอลิมเปีย จาก อุรุกวัย 3-0 ในเกม อินเตอร์คอนติเนนตัล คัพ ที่ เนชั่นแนล สเตเดี้ยม กรุงโตเกียว
1992 – หลังการจากไปของ อาร์ริโก้ ซาคคี่ ในช่วงซัมเมอร์ที่ผ่านมาเพื่อไปรับตำแหน่งผจก.ทีมชาติอิตาลี พวกเขาก็ได้ ฟาบิโอ คาเปลโล่ เข้ามาสืบทอดตำแหน่งและสานต่อความยิ่งใหญ่ด้วยการพาทีมสร้างสถิติไร้พ่ายตลอดทั้งฤดูกาล 1991-92 จนคว้าแชมป์ เซเรีย อา ได้อย่างยิ่งใหญ่ ด้วยขุมกำลังในแนวรับที่ขึ้นหิ้งเป็นตำนานของวงการลูกหนัง อย่าง ฟรังโก้ บาเรซี่, อเลสซานโดร คอสตาคูร์ต้า และ เปาโล มัลดินี่ และยังเป็นซีซั่นสุดท้ายที่ 3 ทหารเสือชาวดัตช์ สามารถยึดตำแหน่งผู้เล่นตัวจริงได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะ แวน บาสเท่น ที่ซัดไปคนเดียวถึง 25 ประตูจนกลายเป็นดาวซัลโวสูงสุดในฤดูกาลนั้น ก่อนจะเปิดหัวฤดูกาลต่อมาด้วยการเอาชนะ ปาร์ม่า 2-1 ในรายการ ซูเปอร์โคปปา อิตาเลียน่า
1993 – มิลาน เสริมทัพในช่วงซัมเมอร์โดยการดึงตัว ฌอง-ปิแอร์ ปาแปง มาจาก โอลิมปิก มาร์กเซย และ สร้างสถิติโลกในเวลานั้นด้วยการทำศึกนอกสนามกับ ยูเวนตุส ในการยื้อแย่งตัว จานลุยจิ เลนตินี่ ปีกฟอร์มเทพ จาก โตริโน่ มาในราคา 13 ล้านปอนด์ ก่อนที่ทีมจะเดินหน้าป้องกันแชมป์ลีกได้สำเร็จ ในขณะที่ยังผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ยูโรเปี้ยน คัพ แต่ก็กลับพ่ายแพ้ให้กับ มาร์กเซย ไปแบบหวุดหวิด 1-0 พวกเขามาได้รางวัลปลอบใจในถ้วย ซูเปอร์โค้ปปา อิตาเลียน่า ที่เอาชนะ โตริโน่ 1-0 ในช่วงเดือนสิงหาคม
1994 – ทีมของ คาเปลโล่ สามารถสร้างสถิติคว้าแชมป์ลีกได้ 3 สมัยติดต่อกัน ซึ่งนอกจากจะต้องขอบคุณแผงหลังระดับพระกาฬที่ยังอยู่กันพร้อมหน้าแล้ว ในแดนกลางก็ยังขับเคลื่อนด้วย เดเมตริโอ อัลแบร์ตินี่, โรแบร์โต้ โดนาโดนี่, ซโวนิเมียร์ โบบัน และ เดยัน ซาวิเซวิช โดยมี ดานิเอเล่ มัซซาโร่ คอยค้ำอยู่ในแดนหน้า และด้วยขุมกำลังชุดนี้ก็ยังทำให้พวกเขากลับมาครองบัลลังก์จ้าวยุโรปได้เป็นสมัยที่ 5 หลังเปิดฉากไล่ถล่ม บาร์เซโลน่า 4-0 ในนัดชิง ยูโรเปี้ยน คัพ ที่ โอลิมปิก สเตเดี้ยม กรุงเอเธนส์ และต่อด้วยการเอาชนะ ซามพ์โดเรีย ในการดวลจุดโทษหลังเสมอกันในเวลา 1-1 จนเป็นฝ่ายครองถ้วย ซูเปอร์โค้ปปา อิตาเลียน่า เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน แต่กลับปิดท้ายปีได้ไม่สวยหลังพ่ายให้กับ เบเลซ ซาร์สฟิลด์ ที่นำทัพโดย โฮเซ่ หลุยส์ ชิลาเวิร์ต 2-0
1995 – ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 1995 ทีมลงเตะแมตช์เหย้า-เยือนกับ อาร์เซน่อล ในรายการ ยูโรเปี้ยน ซูเปอร์ คัพ ก่อนจะเอาชนะไปได้จากผลรวม 2-0 และยังสามารถผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ ยูโรเปี้ยน คัพ เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน แต่ก็พ่ายให้กับ อาแจ็กซ์ 1-0 จากทีเด็ดของ แพทริค ไคลเวิร์ต หัวหอกดาวรุ่งที่ลงมาเป็นซูเปอร์ซับและยิงประตูชัยได้ในนาทีที่ 85
1996 – แม้การประสานงานในแนวรุกของคู่หัวหอกป้ายแดงอย่าง จอร์จ เวอาห์ และ โรแบร์โต้ บาจโจ้ อาจจะยังไม่เปรี้ยงปร้างอย่างที่คิด แต่ด้วยแนวรับอันแข็งแกร่งก็ยังเพียงพอที่จะทำให้ ปีศาจแดงดำ กลับมาเข้าป้ายเป็นที่ 1 อีกครั้ง และกลายเป็นแชมป์ลีกสมัยที่ 15 ของพวกเขา พร้อมการจากไปของ ฟาบิโอ คาเปลโล่ ที่ไปอยู่กับ เรอัล มาดริด ในช่วงซัมเมอร์
1997 – ออสการ์ ตาบาเรซ ที่เข้ามารับตำแหน่งแทน คาเปลโล่ อยู่กับทีมได้ไม่กี่เดือนก่อนจะถูกปลดออกไปหลังทำผลงานได้อย่างย่ำแย่ ก่อนที่ ซาคคี่ จะถูกดึงตัวกลับมาแต่ก็ยังไม่สามารถเรียกฟอร์มเดิมๆกลับมาได้จนกระทั่งจบฤดูกาล 1996-97 ในอันดับที่ 11
1998 – คาเปลโล่ หวนกลับมาคุมทีมอีกครั้งในซีซั่นต่อมา และแม้จะพยายามเสริมทัพด้วยเหล่าสตาร์อย่าง คริสเตียน ซีเก้, แพทริค ไคลเวิร์ต, เจสเปอร์ บลอมควิสต์ และ เลโอนาร์โด้ แต่ผลงานโดยรวมก็ยังห่างไกลจากที่เคยทำไว้เมื่อไม่กี่ไปก่อนหน้านี้จนกระทั่งจบฤดูกาลในอันดับที่ 10 พร้อมกับการถูกยกเลิกสัญญาจากสโมสร
1999 – ในที่สุด รอสโซเนรี่ ก็หันไปคว้าตัว อัลแบร์โต้ ซัคเคโรนี่ ผู้ที่เคยพา อูดิเนเซ่ เข้าป้ายเป็นที่ 3 ในซีซั่นที่ผ่านมา พร้อมกับหนีบลูกรักจากต้นสังกัดเก่าอย่าง โอลิเวอร์ เบียร์โฮฟฟ์ และ โธมัส เฮลเว็ก มาด้วย รวมถึงการเสริมทัพด้วย โรแบร์โต้ อยาล่า, ลุยจิ ซาล่า และ อันเดรส กูเยลมินปิเอโตร พร้อมปรับแผนรูปแบบการเล่นใหม่เป็น 3-4-3 จนทำให้ทีมกลับมาทำผลงานได้อย่างร้อนแรงโดยเฉพาะในช่วงครึ่งฤดูกาลหลัง จนกระทั่งปาดหน้า ลาซิโอ้ ทีมเต็งคว้าถ้วย สคูเด็ตโต้ สมัยที่ 16 ไปครอง โดยที่ เบียร์โฮฟฟ์ หัวหอกตัวเป้าสามารถซัดไปถึง 20 ประตูในฤดูกาลนั้นและเป็นรองเพียงแค่ มาร์โช่ อโมโรโซ่ และ กาเบรียล บาติสตูต้า เท่านั้น
2000 – แม้ อังเดร เชฟเชนโก้ หัวหอกป้ายแดงชาวยูเครน จะเปิดตัวได้อย่างยิ่งใหญ่ด้วยการคว้าตำแหน่งดาวซัลโวไปครอง แต่ทีมของ ซัคเคโรนี่ ก็ไม่อาจทำแต้มไล่ตาม ลาซิโอ้ และ ยูเวนตุส ที่เบียดลุ้นแชมป์กันตลอดเส้นทางก่อนจะจบฤดูกาล 1999-2000 ด้วยการรั้งอยู่ในอันดับที่ 3 แบบห่างๆ
2001 – หลังผ่าน ดินาโม ซาเกร็บ ด้วยผลรวม 6-1 จากรอบคัดเลือก 2 นัดจนผ่านเข้าสู่รอบแบ่งกลุ่มสเตจแรกในรายการ ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก และกลายเป็นจ่าฝูงของกลุ่มที่ประกอบด้วย ลีดส์ ยูไนเต็ด, บาร์เซโลน่า และ เบซิคตัส แต่พวกเขาก็ไปสะดุดอยู่ในสเตจที่สอง ในขณะที่ผลงานในลีกก็ไม่ค่อยดีนักจนทำให้ ซัคเคโรนี่ กระเด็นหลุดออกจากตำแหน่ง ก่อนที่ เซซาเร่ พ่อของ เปาโล มัลดินี่ กองหลังกัปตันทีม จะเข้ามาเสียบแทนแต่ก็ทำได้ดีที่สุดเพียงแค่พาทีมจบในดันดับที่ 6
2002 – สโมสรแต่งตั้ง ฟาติห์ เตริม ที่เคยประสบความสำเร็จกับ กาลาตาซาราย โดยเริ่มต้นซีซั่นได้ไม่เลวนัก แต่หลังจากย่างเข้าสู่เดือนพฤศจิกายน 2001 ในขณะที่ทีมเริ่มถูกทิ้งห่างจาก 5 อันดับแรก กุนซือชาวตุรกี ก็ถูกปลดออกจากตำแหน่ง ท่ามกลางข่าวลือว่า ฟรังโก้ บาเรซี่ จะเข้ามารับหน้าที่แทน แต่สุดท้ายก็เป็น คาร์โล อันเชล็อตติ ที่ได้สืบทอดตำแหน่งและสามารถพาทีมคว้าโควต้าไป แชมเปี้ยนส์ ลีก ซีซั่นหน้าด้วยการคว้าอันดับที่ 4
2003 – ผลงานในลีกของทีมเริ่มดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดก่อนจะแผ่วปลายในช่วง 8 นัดสุดท้ายที่พ่ายไปถึง 5 ครั้ง แต่ก็ยังเพียงพอที่จะทำให้พวกเขาจบในอันดับที่ 3 อย่างไรก็ตามฤดูกาล 2002-03 ก็ยังถือว่าเป็นปีที่ มิลาน ประสบความสำเร็จมากที่สุดจากการเดินตบเท้าลงสู่สนาม โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด เพื่อดวลแข้งกับ ยูเวนตุส ในนัดชิงชนะเลิศ แชมเปี้ยนส์ลีก ก่อนจะเป็นฝ่ายแม่นเป้ากว่าในการดวลจุดโทษตัดสินจนกลายเป็นแชมป์ยุโรปใบใหญ่สมัยที่ 6 ของทีม นอกจากนี้พวกเขายังสามารถคว้าแชมป์ โค้ปปา อิตาเลีย ได้เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 30 ปีหลังเอาชนะ โรม่า ได้ด้วยสกอร์รวม 6-3 และมาถล่ม ลาซิโอ้ 3-0 ในเกม ซูเปอร์โค้ปปา อิตาเลียน่า ก่อนออกสตาร์ทซีซั่นถัดไป
2004 – จากฟอร์มอันร้อนแรงของ อังเดร เชฟเชนโก้ ที่สอดประสานงานในเกมรุกได้อย่างยอดเยี่ยมกับ ริคาร์โด้ กาก้า บวกกับแผงหลังอันเหนียวแน่นที่ดูแล โดย อเลสซานโดร เนสต้า และ เปาโล มัลดินี่ ก็ช่วยให้ ปีศาจแดงดำ กลับมาครองแชมป์ เซเรีย อา เป็นสมัยที่ 17 ด้วยการโกยแต้มทิ้งห่าง โรม่า ไปไกลถึง 11 คะแนน อย่างไรก็ตามยังคงมีข้อกังขาเกี่ยวกับความปวกเปียกในแดนกลางของพวกเขาที่ส่งผลชัดเจนในการกระเด็นตกรอบ 8 ทีมสุดท้ายในเวที แชมเปี้ยนส์ ลีก หลังพ่ายแพ้ให้กับ เดปอร์ติโบ ลา คอรุนญ่า 4-0 จากที่เคยเอาชนะมาก่อน 4-1 ในเลกแรกที่ ซาน ซีโร่
2005 – จากฟอร์มถล่มประตูอันสุดฮอทของ เอร์นาน เครสโป ที่ยืมตัวมาจาก เชลซี ก็กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ผลงานของทีมติดลมบนแม้จะไม่เพียงพอต่อการไล่ตาม ยูเวนตุส ทีมแชมป์ที่ทำแต้มอยู่เหนือพวกเขา 7 คะแนน ในขณะที่ประตูสำคัญตอนช่วงทดเวลาบาดเจ็บในเกมที่ออกไปเยือน พีเอสวี ไอนด์โฮเฟ่น ในรอบตัดชือกเลกที่สองของ มัสซิโม่ อัมโบรซินี่ ก็ทำให้ทีมผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ แชมเปี้ยนส์ ลีก เป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 3 ปี แต่สุดท้ายการออกนำ ลิเวอร์พูล ไปก่อน 3-0 ในช่วง 45 นาทีแรกที่ อตาเติร์ก สเตเดี้ยม กรุงอิสตันบูล ก็ไม่ได้ช่วยให้พวกเขาเป็นฝ่ายคว้าแชมป์ยุโรปสมัยที่ 6 ได้อย่างที่ตั้งใจ เมื่อเกมจบลงด้วยความพ่ายแพ้ในการดวลจุดโทษหลังเสมอกัน 3-3 ภายในเวลา 120 นาที
2006 – เป็นอีกหนึ่งซีซั่นที่ทีมทำผลงานไล่เบียดไปกับ ยูเวนตุส และแม้จะสามารถเก็บชัยชนะไปได้ถึง 28 นัดตลอดทั้งฤดูกาลแต่ก็ยังคงมี 3 แต้มตามหลัง ทีมม้าลาย ที่เก็บไปได้สูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ถึง 91 คะแนน แต่แล้วหลังจากการโป๊ะแตกของคดี กัลโช่โปลี ที่สั่นสะเทือนไปทั้งวงการลูกหนังอิตาลี ก็ทำให้ ยูเว่ ถูกปรับตกชั้น ในขณะที่ มิลาน ก็ถูกตัดไป 44 จาก 88 คะแนนที่ทำได้พร้อมกับการถูกหักอีก 15 แต้มภายในฤดูกาลหน้า อย่างไรก็ตามโทษของพวกเขาถูกลดหย่อนลงในภายหลังเหลือเพียงตัด 30 คะแนนและ -8 แต้มในซีซั่นหน้า ซึ่งจาก 58 คะแนนที่เหลือก็ยังเพียงพอที่จะทำให้ทีมจบในอันดับที่ 3 และได้ไปเตะใน แชมเปี้ยนส์ ลีก ฤดูกาลหน้า
2007 – รอสโซเนรี่ ออกสตาร์ทฤดูกาล 2006-07 ด้วยการมีแต้มติดลบ 8 คะแนนพร้อมกับผลงานลุ่มๆดอนๆที่ทำให้ทีมจบครึ่งซีซั่นแรกตรงกลางตาราง แต่จากการเสริมทัพในช่วงหน้าหนาวด้วยการคว้าตัว มัสซิโม่ อ๊อดโด้ ดาวเตะชุดแชมป์โลกปี 2006 และ โรนัลโด้ ดาวยิงชาวแซมบ้า ก็ช่วยปลุกความมีชีวิตชีวาให้กับทีมในช่วงครึ่งหลังจนสามารถขยับขึ้นมาเข้าวินในอันดับที่ 4 ในขณะที่พวกเขาโคจรกลับมาล้างตากับ ลิเวอร์พูล ในนัดชิงชนะเลิศ แชมเปี้ยนส์ ลีก ที่ โอลิมปิก สเตเดี้ยม กรุงเอเธนส์ ก่อนจะเอาชนะไปได้ 2-1 จากการเหมาคนเดียว 2 ประตูของ ฟิลิปโป้ อินซากี้ พร้อมกับตอกย้ำความยิ่งใหญ่ของสโมสรด้วยการเดินลงสนามนัดชิงบอลถ้วยบิ๊กเอียร์ได้ถึง 3 ครั้งในรอบ 5 ปีและกลับออกมาด้วยการเป็นผู้ชนะถึง 2 ครั้ง พวกเขาเดินหน้าต่อด้วยการคว้าถ้วย ยูฟ่า ซูเปอร์ คัพ หลังเอาชนะ เซบีย่า 3-1 และปิดท้ายปีด้วยการสยบ โบค่า จูเนียร์ส 4-2 พร้อมกับการครองแชมป์ ฟีฟ่า คลับ เวิลด์ คัพ
2009 – หลังจากผ่านฤดูกาลก่อนมาแบบเงียบๆบวกกับการออกสตาร์ทซีซั่นใหม่ด้วยการพ่ายแพ้ใน 2 นัดแรก ทำให้ทีมตัดสินใจเสริมทัพในช่วงต้นปีด้วยการเซ้งต่อ โรนัล ดินโญ่ มาจาก บาร์เซโลน่า และดึงตัว อังเดร เชฟเชนโก้ ที่ไปล้มเหลวกับ เชลซี กลับมาพร้อมๆกับแข้งชื่อดังรายอื่นๆทั้ง จานลูก้า ซามบร็อตต้า, มาร์โก้ บอร์ริเอลโล่ และ มาติเยอ ฟลามินี่ รวมถึงดีลเซอร์ไพรส์อย่าง เดวิด เบ็คแฮม ที่เข้ามาร่วมทีมในสัญญายืมตัวช่วงสั้นๆ ก่อนที่พวกเขาจะกลับมาเกาะกลุ่มหัวตารางได้อย่างเหนียวแน่นและจบในอันดับที่ 3 รองจาก อินเตอร์ มิลาน ทีมแชมป์ และ ยูเวนตุส แต่บางทีไฮไลท์ที่สำคัญของฤดูกาล 2008-09 ก็น่าจะเป็นการปิดฉากอาชีพค้าแข้งที่ยาวนาน 25 ปีของ เปาโล มัลดินี่ กองหลังผู้เป็นตำนานของทั้งสโมสรและวงการลูกหนังโลก
2010 – เกิดการเปลี่ยนแปลงในช่วงออกสตาร์ทฤดูกาลเมื่อ เลโอนาร์โด้ ได้รับการแต่งตั้งให้เข้ามาคุมทีมแทน คาร์โล อันเชล็อตติ ที่เริ่มต้นด้วยผลงานอันตะกุกตะกัก ก่อนจะเริ่มเข้าที่เข้าทางเมื่อย่างเข้าสู่ช่วงปลายปี โดยระหว่างเปิดตลาดช่วงหน้าหนาวทีมก็จัดการปล่อยตัว กาก้า ไปให้กับ เรอัล มาดริด ที่กลายเป็นสถิติโลกในช่วงสั้นๆ 64.5 ล้านยูโร แต่ทีมก็ยังมีดีพอที่จะจบฤดูกาลในอันดับที่ 3
2011 – หลังเสียศูนย์ไปจากคดีอื้อฉาว กัลโช่โปลี พร้อมกับการผงาดขึ้นมาครองบัลลังก์ภายในประเทศของ อินเตอร์ มิลาน ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ภายใต้การชี้นำของ มัสซิมิเลียโน่ อัลเลกรี ที่ขยับเข้ามานั่งเก้าอี้แทน เลโอนาร์โด้ ที่ย้ายไปคุมทีมคู่แข่งร่วมเมือง ก็เริ่มเปิดฉากด้วยการเซ็นสัญญากับ โรบินโญ่ จาก แมนฯ ซิตี้ มาในราคา 18 ล้านยูโร และจัดการยืมตัว ซลาตัน อิบราฮิโมวิช มาจาก บาร์เซโลน่า รวมถึง เควิน-พรินซ์ บัวเต็ง มาจาก เจนัว ก็ทำให้ ปีศาจแดงดำ ค่อยๆไต่อันดับขึ้นมาจนยึดตำแหน่งจ่าฝูงได้ภายในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งนอกจากขุมกำลังแนวรุกหน้าใหม่ทั้งสองบวกกับ อเล็กซานเดร ปาโต้ ที่ช่วยกันยิงรวมกัน 19 ประตูจนถึงช่วงสิ้นปี 2010 ก็ยังมีผลงานในแนวรับอันยอดเยี่ยมของ อเล็กส์ซานโดร เนสต้า ที่ยืนจับคู่กับ ติอาโก้ ซิลวา อยู่หน้า คริสเตียโน่ อับเบียติ ที่ทำให้พวกเขากลายเป็นทีมที่มีเกมรับแน่นหนาที่สุดในเวลานั้น และแม้การเสริมทัพในเดือนมกราคมที่ได้ตัว อันโตนิโอ คาสซาโน่, มาร์ค ฟาน บอมเมล, เออร์บี้ เอมมานูเอลสัน และ นิโคล่า เลอกร็อตตาเย่ จะมิอาจช่วยให้ทีมรอดพ้นจากการถูก ท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์ เขี่ยตกรอบ 16 ทีม แชมเปี้ยนส์ ลีก แต่ก็ยังทำให้ ปีศาจแดงดำ ยึดตำแหน่งหัวตารางใน เซเรีย อา ได้อย่างเหนียวแน่นจนสามารถชูถ้วย สคูเด็ตโต้ เป็นครั้งที่ 18 ได้สำเร็จ
2012 – ทีมเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ได้ไม่ดีนักเมื่อชนะได้เพียงครั้งเดียวจาก 5 นัดแรก แต่หลังจากนั้นก็ค่อยๆติดเครื่องจนทะยานขึ้นมารั้งตำแหน่งจ่าฝูงได้ในนัดสุดท้ายของปี 2011 หลังจบช่วงเบรคฤดูหนาวและกลับมาลงเตะกันอีกครั้ง ทีมก็กลับมาเป็นฝ่ายตามหลัง ยูเวนตุส ก่อนจะแซงได้อีกครั้งภายในเดือนกุมภาพันธ์ และรักษาตำแหน่งผู้นำได้จนกระทั่งการพ่ายแพ้คาบ้านให้กับ ฟิออเรนติน่า 2-1 ในช่วงต้นเดือนเมษายน ก็ทำให้พวกเขาสูญเสียตำแหน่งจ่าฝูงให้กับ ทีมม้าลาย ยาวไปจนจบฤดูกาล
2014 – แม้จะคว้าอันดับที่ 3 ได้ในซีซั่นที่ผ่านมา แต่ มิลาน ก็เริ่มก้าวเข้าสู่ขาลงทั้งจากการจอดป้าย UCL ตั้งแต่รอบ 16 ทีมสุดท้ายด้วยการถูก แอตเลติโก้ มาดริด ถล่มรวมกัน 2 นัด 5-1 ในขณะที่ผลงานในลีกก็ยังป้วนเปี้ยนอยู่ตรงกลางตารางตั้งแต่ต้นจนไปจบซีซั่นด้วยอันดับที่ 8
2015 – ปัญหานอกสนามของทีมน่าจะเป็นปัจจัยสำคัญของความล้มเหลวในซีซั่นที่แล้ว เมื่อผลประกอบในรอบบัญชีที่ผ่านมาสรุปเป็นตัวเลขติดลบถึง 91.3 ล้านยูโร จนทำให้ Fininvest บริษัทที่คอยดูแลผลประโยชน์ของสโมสรมีแผนการที่จะเทขายหุ้น 48% ที่มีมูลค่ารวม 480 ล้านยูโรให้กับ บี เตชะอุบล นักธุรกิจหนุ่มสัญชาติไทย แต่สุดท้ายดีลนี้ก็ถูกล้มเลิกไป จนกระทั่งสิ้นสุดฤดูกาล 2014-15 ทีมก็ถอยลงมาจบอยู่ในอันดับที่ 10
2016 – ในช่วงก่อนออกสตาร์ทฤดูกาลใหม่ Fininvest ได้บรรลุข้อตกลงกับ ซิโน-ยุโรป สปอร์ตส์ กลุ่มนายทุนสัญชาติจีนในการยอมเทขายหุ้นส่วนทั้งหมด 99.93% ที่รวมเป็นมูลค่า 520 ล้านยูโร โดยในซีซั่นนั้นทีมขยับขึ้นมาจบในอันดับที่ 7 และได้เข้าชิง โค้ปปา อิตาเลีย ก่อนจะพ่ายให้กับ ยูเวนตุส จากประตูชัย 1-0 ของ อัลบาโร่ โมราต้า ในนาทีที่ 110 ของช่วงต่อเวลาพิเศษ
2017 – ภายใต้การคุมทีมของ วินเซนโซ่ มอนเตลล่า ก็ช่วยให้ทีมขยับขึ้นมาอีกเล็กน้อยด้วยการจบในอันดับที่ 6 โดยในช่วงปลายซีซั่นตอนกลางเดือนเมษายน การถ่ายโอนกรรมสิทธิ์ของทีมก็สำเร็จลุล่วงไป โดย Rossoneri Sport Investment Lux ได้กลายเป็นบริษัทผู้ดูแลสโมสรรายใหม่ และเพื่อให้ดีลนี้เสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์แบบ Elliott Management Corporation บริษัทเงินทุนสัญชาติอเมริกัน ก็อนุมัติเงินกู้มูลค่า 303 ล้านยูโรให้กับ หลี่ หย่งหง เจ้าของทีมคนใหม่ ที่ถูกใช้ในการชำระหนี้ให้กับ Fininvest 180 ล้านยูโร และโอนเข้าสู่สโมสรโดยตรง 123 ล้านยูโร
2018 – หลังออกสตาร์ทฤดูกาลได้อย่างน่าผิดหวัง ในที่สุด มอนเตลล่า ก็ถูกปลดอออกจากตำแหน่งและทีมก็หันมาผลักดัน เจนนาโร่ กัตตูโซ่ ที่กำลังรับผิดชอบดูแลผู้เล่นชุด U-19 ให้ขึ้นมาคุมทีมชุดใหญ่แทน ก่อนที่อดีตกองกลางพันธุ์ดุจะช่วยพลิกสถานการณ์ให้ทีมขยับขึ้นมาจบในอันดับที่ 6 และคว้าสิทธิ์ไปเล่นใน ยูโรปา ลีก ฤดูกาลหน้าได้ ส่วนเหตุการณ์นอกสนามก็มีการเปลี่ยนมือเจ้าของทีมอีกครั้งหลังจบฤดูกาล 2017-18 เมื่อ หลี่ หย่งหง ไม่สามารถหาเงินมาผ่อนชำระค่างวด 32 ล้านยูโรจากเงินที่กู้มาทั้งหมด 303 ล้านยูโรในปีที่ผ่านมาได้ จนทำให้ Elliott Management Corporation บริษัทเจ้าหนี้เข้ามาฮุบกิจการและมีสถานะเป็นผู้ดูแลสโมสรรายใหม่
เอซี มิลาน คือหนึ่งในสโมสรที่มีแฟนบอลสนับสนุนมากที่สุดภายใน อิตาลี จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมากลุ่มกองเชียร์หลักๆของพวกเขาคือพวกชนชั้นแรงงาน ซึ่งก็ตรงกันข้ามกับ อินเตอร์ มิลาน ทีมคู่ปรับร่วมเมืองที่ผู้สนับสนุนส่วนใหญ่มักเป็นคนที่มีฐานะ ในขณะที่ ฟอสซ่า เดย์ เลโอนี่ กลุ่มแฟนบอลอุลตร้าที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศก็มีต้นกำเนิดมาจากในเมืองมิลาน
จากผลสำรวจภายในปี 2010 ปีศาจแดงดำ คือทีมจากอิตาลีที่มีแฟนบอลซัพพอร์ทมากที่สุดในยุโรปและอยู่ในอันดับที่ 7 จากทั้งหมดด้วยตัวเลขของแฟนบอลที่มีมากกว่า 18.4 ล้านคน พวกเขายังมียอดคนดูในสนามสูงที่สุดเป็นอันดับ 9 ของยุโรประหว่างซีซั่น 2010-11 เป็นรองจาก โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์, บาร์เซโลน่า, แมนฯ ยูไนเต็ด, เรอัล มาดริด, บาเยิร์น มิวนิค, ชาลเก้ 04, อาร์เซน่อล และ ฮัมบูร์ก
บรรดากองเชียร์ของ เจนัว เริ่มมองว่า มิลาน เป็นศัตรูที่น่าชังสำหรับพวกเขาหลัง วินเซนโซ่ สปันโญโล่ หนึ่งในแฟนบอลของ เจนัว ถูกแทงจนเสียชีวิตโดยกองเชียร์ของ มิลาน ในปี 1995 อย่างไรก็ตามคู่อริหมายเลข 1 ของพวกเขาก็หนีไม่พ้น อินเตอร์ มิลาน ทีมคู่แข่งร่วมเมืองที่การพบกันของทั้ง 2 ทีมใน ดาร์บี้ เดลล่า มาดอนนิน่า จะถูกจับตามมองจากแฟนบอลทั่วประเทศ
ชื่อของ มิลาน ดาร์บี้ มีที่มาจากรูปปั้นของ พระแม่มารี ที่ตั้งตระหง่านอยู่ใน มหาวิหารแห่งมิลาน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในแลนด์มาร์คสำคัญของเมือง ในการพบกันของทั้งคู่มักจะมาพร้อมกับบรรยากาศอันน่าตื่นตะลึงที่ประดับประดาไปด้วยแผ่นป้ายแบนเนอร์ที่มีทั้งข้อความขบขันและเกรี้ยวกราดตลอดทั้งเกม
ที่ผ่านมาพลุไฟก็ถูกนำมาใช้และคอยสร้างปัญหาอยู่เป็นประจำระหว่างการแข่งขัน โดยเฉพาะกลายเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกม แชมเปี้ยนส์ ลีก รอบก่อนรองชนะเลิศเลกสองของฤดูกาล 2004-05 ที่ทั้งคู่โคจรมาพบกันเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2005 ต้องถูกยกเลิกไป หลัง ดิด้า นายทวารชาวบราซิลของ มิลาน ถูกพลุไฟที่จุดจากฝั่งกองเชียร์ของ อินเตอร์ เข้าที่หัวไหล่
นอกจากนี้ ยูเวนตุส ก็ถือเป็นอีกหนึ่งคู่แข่งที่สำคัญ จากการเป็น 2 ทีมที่ครองความสำเร็จในประเทศได้มากที่สุด และยังถือเป็นการประชันกันระหว่าง 2 ทีมที่มีแฟนบอลสนับสนุนมากที่สุดและอาจรวมถึงการเป็นทีมที่มูลค่าสูงที่สุดอีกด้วย ในขณะที่ โรม่า และ ฟิออเรนติน่า ก็ถูกมองว่าเป็นทีมคู่ปรับของพวกเขาเช่นเดียวกัน
ปาร์ม่า กัลโช่ 1913 (Parma Calcio 1913) หรือที่รู้จักกันดีในนาม ปาร์ม่า คือสโมสรฟุตบอลอาชีพที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมือง ปาร์ม่า แคว้น เอมิเลีย-โรมันญ่า ประเทศ อิตาลี ล่าสุดพวกเขาลงเตะอยู่ใน เซเรีย อา ลีกสูงสุดของประเทศ
ทีมเจ้าของฉายา จัลโล่บลู (Gialloblu) ถูกก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในเดือนธันวาคม 1913 ภายใต้ชื่อ Parma Football Club ปัจจุบันลงเล่นอยู่ในรังเหย้า สตาดิโอ เอนนิโอ ตาร์ดินี่ ที่รองรับความจุ 26,969 ที่นั่ง และสนามแห่งนี้ก็มักจะถูกเรียกว่า อิล ตาร์ดินี่ มานับตั้งแต่ปี 1923
ภายใต้การสนับสนุนทางด้านการเงินจาก คาลิสโต้ ทานซี่ ก็ช่วยให้ทีมเดินหน้าคว้าโทรฟี่มาได้ถึง 8 รางวัลในระหว่างปี 1992 ถึง 2002 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ ปาร์ม่า ทำผลงานในลีกได้ดีที่สุดจากการเป็นรองแชมป์ของฤดูกาล 1996-97 พวกเขายังคว้าแชมป์ โค้ปปา อิตาเลีย ได้ถึง 3 ครั้ง ซูเปอร์โคปปา อิตาเลียน่า 1 ครั้ง รวมถึง ยูฟ่า คัพ 2 สมัย, ยูฟ่า คัพ วินเนอร์ส คัพ 1 ครั้ง และ ยูโรเปี้ยน ซูเปอร์ คัพ อีก 1 สมัย
แต่หลังประสบปัญหาทางด้านการเงินในช่วงปลายปี 2003 จากเหตุการณ์ทุจริตของ ปาร์มาลัต ธุรกิจหลักของ ทานซี่ เจ้าของทีมที่ส่งผลกระทบให้บริษัทแม่ของทีมล้มระเนระนาด จนทำให้สโมสรถูกเข้ามาควบคุมกิจการจนถึงช่วงมกราคมปี 2007 และในที่สุดพวกเขาก็ตกอยู่ในสถานะล้มละลายในปี 2015 ก่อนจะเปิดตัวขึ้นมาใหม่อีกครั้งและเริ่มต้นลงเตะอยู่ใน เซเรีย ดี จนสามารถสร้างสถิติเลื่อนชั้นได้ 3 ปีซ้อนและกลับคืนสู่ เซเรีย อา ได้สำเร็จในปี 2018
เรจจาน่า ถือเป็นทีมคู่ปรับที่สำคัญของ ปาร์ม่า ระหว่างการพบกันของทั้ง 2 ทีมจะถูกเรียกว่า Derby dell’Enza ที่เริ่มต้นดวลกันครั้งแรกตั้งแต่ช่วงปลายปี 1919 และจากตัวเลขล่าสุดในการพบกันทั้งหมด 81 ครั้ง ทั้งคู่มีสถิติในการ แพ้ ชนะ เสมอ กันอย่างละ 27 ครั้งเท่ากันพอดี
1913 – สโมสรถูกก่อตั้งขึ้นในเดือนกรกฎาคมภายใต้ชื่อ สโมสรฟุตบอลแวร์ดี้ (Verdi Foot Ball Club) เพื่อเป็นเกียรติให้กับการครบรอบ 100 ปีของยอดนักประพันธ์บทเพลง โอเปร่า จูเซปเป้ แวร์ดี้ ที่เกิดในเมืองปาร์ม่า โดยนำสีเหลืองและน้ำเงินมาเป็นสีประจำสโมสร จนกระทั่งเดือนธันวาคมปีเดียวกัน สโมสรฟุตบอล ปาร์ม่า (Parma Football Club) ก็ได้ฤกษ์เปิดตัวขึ้นมาใหม่โดยมีที่มาจากสมาชิกส่วนใหญ่ของสโมสรดั้งเดิมและเลือกใช้เสื้อสีพื้นขาวที่มีกากบาทดำตรงกลาง
1919 – ทีมเริ่มเข้าร่วมฟุตบอลลีกหลังจบ สงครามโลกครั้งที่ 1 ในฤดูกาล 1919-20
1922 – เอนนิโอ ตาร์ดินี่ ประธานสโมสรในเวลานั้นได้เริ่มต้นโครงการก่อสร้างสนามแข่งขันให้กับทีม หลังจากที่พวกเขาเริ่มต้นด้วยการไม่มีรังเหย้าเป็นของตนเอง และหันมาใช้สถานที่เตะในค่ายทหารเก่าตลอดช่วง 2 ฤดูกาลหลังสุด
1923 – สโมสรเปิดตัวรังเหย้า สตาดิโอ เอนนิโอ ตาร์ดินี่ ที่ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติกับอดีตประธานและนักกฎหมายผู้เสียชีวิตไปก่อนจะได้เห็นสนามที่ตนเองปลุกปั้นขึ้นมา
1925 – หลังโชว์ผลงานได้อย่างยอดเยี่ยมภายในฤดูกาล 1924-25 พวกเขาก็ได้ขยับจาก เซกอนด้า ดีวีซีโอเน่ หรือดิวิชั่น 2 ในเวลานั้นขึ้นสู่ ปรีม่า ดีวีซีโอเน่ ลีกสูงสุดของประเทศ
1929 – ปาร์ม่า กลายเป็นหนึ่งในทีมที่ได้ร่วมก่อตั้ง เซเรีย บี หลังคว้าอันดับที่สองของ ปรีม่า ดีวีซีโอเน่ ที่ถูก สหพันธ์ฟุตบอลอิตาลี (FIGC) ปรับลดชั้นลงมาตั้งแต่ 3 ปีก่อน
1930 – จัลโล่บลู เปิดตัวใน เซเรีย บี 1929-30 เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 1929 ก่อนจะจบฤดูกาลแรกด้วยการอยู่ในอันดับที่ 12
1932 – หลังพยายามประคองตัวเองอยู่ใน เซเรีย บี ได้ไม่นาน พวกเขาก็จมอยู่ในอันดับบ๊วยและพ่ายแพ้ไปถึง 28 จาก 34 เกมจนต้องลงไปอยู่ใน ปรีม่า ดีวีซีโอเน่ ฤดูกาล 1932-33 ปีที่พวกเขาขอเปลี่ยนชื่อทีมไปเป็น Associazione Sportiva Parma
1934 – แม้พวกเขาจะสามารถคว้าอันดับที่ 1 ของโซน D แต่หลังจากเข้าไปถึงรอบตัดสินก็ทำผลงานได้แค่เป็นทีมบ๊วยของกลุ่ม B จนหมดโอกาสเลื่อนชั้นในปีนั้น
1935 – ปาร์ม่า ได้มีโอกาสเป็นทีมที่ร่วมเปิดตัว เซเรีย ซี หรือลีกดิวิชั่น 3 ที่มีการปรับโครงสร้างใหม่จาก FIGC
1942 – หลังใช้เวลาป้วนเปี้ยนอยู่ใน เซเรีย ซี นานหลายปี ทีมก็มีโอกาสใกล้เคียงที่จะได้เลื่อนชั้น เมื่อจบฤดูกาลด้วยการเป็นที่ 2 ของกลุ่ม B
1943 – พวกเขาทำได้ดีขึ้นด้วยการเก็บชัยชนะไปถึง 17 จาก 19 นัดและซัดไปถึง 82 ประตูจนกลายเป็นจ่าฝูงของกลุ่ม G และได้ผ่านเข้าสู่รอบตัดสิน โดยที่ทีมน่าจะได้รับโอกาสเลื่อนชั้นหลังสามารถเข้าป้ายเป็นอันดับที่ 2 ของกลุ่ม แต่ก็ถูกตัดสิทธิ์เนื่องจากมีส่วนในการทุจริตระหว่างแมตช์สุดท้ายที่พบกับ เลคโค่ อย่างไรก็ตามหลังฤดูกาล 1942-43 สิ้นสุดลงวงการลูกหนังอิตาลีก็ต้องหยุดว่างเว้นไปเป็นระยะเวลา 2 ปีเนื่องจากผลพวงของ สงครามโลกครั้งที่ 2
1945 – หลังฟุตบอลภายในประเทศเริ่มกลับมาเตะกันอีกครั้ง FIGC ก็ได้ทำการปรับโครงสร้างลีก โดยที่ ปาร์ม่า ได้รับโอกาสให้ออกสตาร์ทใน เซเรีย บี จากการเป็นกลุ่มทีมที่ดีที่สุดของ เซเรีย ซี ที่ได้ขยับขึ้นมา ก่อนจะจบด้วยการเป็นที่ 3 ของกลุ่ม C ที่มีแต้มตามหลัง เรจจาน่า ทีมอันดับ 2 ที่ได้สิทธิ์ไปลุ้นในรอบเพลย์ออฟเพียงแค่คะแนนเดียว
1948 – ในฤดูกาล 1947-48 ทาง FIGC มีแผนที่จะปรับโครงสร้างลีกใน เซเรีย บี ให้มีรูปแบบใกล้เคียงกับ เซเรีย อา และเหลือทีมแข่งขันอยู่เพียงแค่ 22 ทีม จึงทำให้ ปาร์ม่า ที่แม้จะจบซีซั่นนั้นด้วยการเป็นอันดับที่ 6 ของกลุ่ม แต่ก็ต้องไปลุ้นหนีตายด้วยการเล่นเพลย์ออฟร่วมกับ เครโมเนเซ่ และ ปราโต้ ซึ่งผลสุดท้ายพวกเขาก็เอาตัวรอดได้สำเร็จ
1949 – แต่แล้วในซีซั่นต่อมาหลังจบด้วยการมีแต้มอยู่เหนือ 3 ทีมจากท้ายตาราง พวกเขาก็ต้องไปเล่นเกมเพลย์ออฟเพื่อหนีตายอีกครั้งกับ สเปเซีย ที่มีแต้มเท่ากัน ก่อนจะพ่ายแพ้ไปแบบยับเยิน 4-1
1950 – ทีมกลับมาเริ่มต้นใน เซเรีย ซี อีกครั้งและเกือบจะได้ลุ้นเลื่อนชั้นในปีแรกหลังจบซีซั่นด้วยการเป็นที่สองของกลุ่ม B
1954 – จนกระทั่งปีที่ 2 ของการปรับโครงสร้าง เซเรีย ซี ให้มีรูปแบบเดียวกับ 2 ลีกระดับสูงสุดของประเทศ ปาร์ม่า ก็โชว์ฟอร์มสดและคว้าสิทธิ์เลื่อนชั้นขึ้นสู่ เซเรีย บี ด้วยการเป็นแชมป์ดิวิชั่น 3 ในฤดูกาล 1953-54
1955 – ทีมสร้างผลงานได้ดีที่สุดในยุคนั้นด้วยการจบฤดูกาล 1954-55 ใน เซเรีย บี ด้วยอันดับที่ 9
1961 – จัลโล่บลู ลงแข่งขันในเกมยุโรปเป็นครั้งแรกในทัวร์นาเมนต์ โคปปา เดลเล่ อัลปิ ด้วยการเป็น 1 ใน 8 สโมสรของ อิตาลี ที่ร่วมกันลงแข่งขันกับทีมจาก สวิตเซอร์แลนด์ และจบลงด้วยชัยชนะของฝั่ง อิตาลี
1965 – หลังลงเตะอยู่ใน เซเรีย บี นานร่วม 10 ปี ในที่สุดทีมก็ร่วงลงสู่ เซเรีย ซี อีกครั้งหลังจบฤดูกาล 1964-65 ด้วยอันดับสุดท้าย
1966 – ฟอร์มของพวกเขายังคงกู่ไม่กลับเมื่อตกชั้นลงสู่ เซเรีย ดี อย่างต่อเนื่องจากการเป็นทีมรองบ๊วยในซีซั่นถัดมา
1968 – ผลงานที่ย่ำแย่ก็ส่งผลต่อเนื่องมาถึงสถานะทางการเงินจนถึงขั้นถูกศาลสั่งให้ต้องชำระหนี้ ก่อนที่ทีมจะตัดสินใจเปลี่ยนชื่อกลับมาเป็น Parma Football Club ภายในปีนั้น
1970 – ย้อนกลับไปในซีซั่นก่อนหน้านี้ Associazione Calcio Parmense อีกหนึ่งสโมสรในระดับท้องถิ่นสามารถขยับเลื่อนชั้นขึ้นสู่ เซเรีย ดี จนทำให้เกิดแผนการรวมตัวกับทีมดั้งเดิมของเมืองที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1913 พร้อมทั้งเข้ามาช่วยชำระหนี้และร่วมถือครองสิทธิ์การเป็นทีมประจำเมือง ก่อนจะพากันพลิกชะตาด้วยการคว้าแชมป์กลุ่มในซีซั่น 1969-70 จนได้โปรโมทขึ้นสู่ เซเรีย ซี ในที่สุด
1973 – สถานการณ์หลังการรวมทีมของ ปาร์ม่า ภายใต้ชื่อใหม่ Parma Associazione Calcio กลับดีขึ้นเรื่อยๆเมื่อสามารถคว้าสิทธิ์เป็น 1 ใน 3 ทีมที่ได้เลื่อนชั้นไปยัง เซเรีย บี หลังลงเตะเพลย์ออฟกับ อูดิเนเซ่ ที่ร่วมกันรั้งตำแหน่งหัวตารางกลุ่ม A จากแต้มที่เท่ากันก่อนจะเอาชนะมาได้ 2-0
1974 – จัลโล่บลู สามารถทำลายสถิติเดิมจากผลงานที่ดีที่สุดเมื่อ 19 ปีก่อนด้วยการพาตัวเองจบในอันดับที่ 5 ของ เซเรีย บี 1973-4
1975 – แต่แล้วในปีถัดมาพวกเขาก็ทำฟอร์มสะดุดและร่วงตกชั้นลงสู่ เซเรีย ซี อีกครั้งจากการรั้งอยู่ท้ายตาราง
1979 – ภายในซีซั่นแรกหลังการปรับโครงสร้างลีกระดับดิวิชั่น 3 ใหม่ภายใต้ชื่อ เซเรีย ซี 1 ทีมที่อยู่ภายใต้การดูแลของ เซซาเร่ มัลดินี่ ก็สามารถเลื่อนชั้นกลับสู่ เซเรีย บี ได้สำเร็จ หลังลงเตะเกมเพลย์ออฟกับ เทรียสติน่า และเอาชนะไปได้ 3-1 จากผลงาน 2 ประตูของ คาร์โล อันเชล็อตติ มิดฟิลด์ดาวรุ่งที่ย้ายไปอยู่กับ โรม่า ในช่วงซัมเมอร์
1980 – แต่พวกเขาก็กลับขึ้นมาอยู่ได้เพียงแค่ปีเดียว สุดท้ายก็ตกชั้นลงไปอีกครั้งหลังจบฤดูกาลด้วยอันดับรองบ๊วย
1984 – ต้องรอจนกระทั่งจบฤดูกาล 1983-84 ที่ ปาร์ม่า จะสามารถหวนคืนสู่ เซเรีย บี ได้สำเร็จ หลังเก็บชัยชนะได้ในนัดปิดฤดูกาลจนเข้าป้ายเป็นที่ 1 ของ เซเรีย ซี 1 กลุ่ม A
1985 – และก็อีกเช่นเคยเมื่อทีมใช้เวลาอยู่ใน เซเรีย บี เพียงช่วงระยะเวลาแค่ปีเดียวก่อนจะตกชั้นลงไปอีก
1986 – พวกเขายังรักษามาตรฐานการเป็นทีมที่ขยับขึ้นๆลงๆอยู่ระหว่าง เซเรีย ซี 1 และ เซเรีย บี ด้วยการคว้าแชมป์กลุ่ม A ได้ภายในซีซั่นถัดมาจากฝีมือการนำทัพของ อาร์ริโก้ ซาคคี่ แต่ก็ต้องรอจนถึงนัดสุดท้ายของฤดูกาลที่ทีมเอาชนะ ซานเรโม ได้ 2-0 โดยได้ประตูขึ้นนำจาก อเลสซานโดร เมลลี่ หัวหอกเด็กปั้นดีกรีทีมชาติอิตาลี ที่อยู่กับทีมรวมกัน 2 ช่วงเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี
1990 – หลังการเข้ามาของ เนวิโอ สกาล่า ผู้ที่หันมาปรับเปลี่ยนแผนการเล่น 3-5-2 ให้กับ ปาร์ม่า ในการออกสตาร์ทฤดูกาล 1989-90 ก็ช่วยนำพาความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ด้วยการช่วยให้ทีมได้อันดับที่ 4 และคว้าสิทธิ์เลื่อนชั้นขึ้นสู่ เซเรีย อา เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ หลังสามารถการันตีตำแหน่งให้ตนเองได้ในการลงเล่นนัดรองสุดท้ายที่เป็นดาร์บี้แมตช์กับ เรจจาน่า ก่อนจะเอาชนะไปได้ 2-0 ซึ่งภายหลังจากการโปรโมท คาลิสโต้ ทานซี่ เจ้าของธุรกิจนมและเครื่องดื่มแบรนด์ ปาร์มาลัต ก็ได้เข้ามากว้านซื้อหุ้นจนถือครองกรรมสิทธิ์ใหญ่อยู่ที่ 45% พร้อมแต่งตั้ง จอร์โจ้ เปดราเนสคี่ ขึ้นมาดำรงตำแหน่งประธานคนใหม่แทนที่ แอร์เนสโต้ เซเรซิน ที่พึ่งเสียชีวิตไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พร้อมกับเงินอัดฉีดเพื่อการเตรียมตัวลงเล่นใน เซเรีย อา ที่ทำให้ สกาล่า หันไปดึงตัว ลุยจิ อปอลโลนี่ และ ลอเรนโซ่ มิน็อตติ เข้ามาเสริมแนวรับ รวมถึงการเซ็นสัญญากับ โทมัส โบรลิน, เคลาดิโอ ทัฟฟาเรล และ จอร์จส์ กรุน 3 สตาร์ที่สร้างชื่อใน ฟุตบอลโลก 1990
1991 – จัลโล่บลู ประเดิมนัดแรกใน เซเรีย อา ด้วยการพ่ายคาบ้านให้กับ ยูเวนตุส 2-1 ก่อนจะมาคว้าชัยชนะนัดแรกได้จากการเปิดรัง เอนนิโอ ตาร์ดินี่ เฉือนเอาชนะ นาโปลี ที่นำทีมโดย ดีเอโก้ มาราโดน่า ไปได้ 1-0 จนกระทั่งจบฤดูกาลเปิดตัวในลีกสูงสุดด้วยการรั้งอันดับที่ 6 และคว้าสิทธิ์ไปลงเตะใน ยูฟ่า ฤดูกาลหน้า
1992 – แม้พวกเขาจะเสริมทัพสำหรับฤดูกาลใหม่ด้วยการคว้าตัว อันโตนิโอ เบนาร์ริโว และ อัลแบร์โต้ ดิ คิอาร่า 2 ฟูลแบ็คที่ก้าวขึ้นไปจนถึงขั้นติดทีมชาติอิตาลีในเวลาต่อมา แต่ทีมก็จอดป้ายใน ยูฟ่า คัพ เพียงแค่รอบแรกหลังพ่ายให้กับ ซีเอสเคเอ โซเฟีย ด้วย กฎอเวย์โกล จากผลเสมอกัน 1-1 อย่างไรก็ตามพวกเขายังคงรักษาฟอร์มในลีกได้ด้วยการจบฤดูกาล 1991-92 ในอันดับที่ 6 และยังสามารถคว้าโทรฟี่ระดับเมเจอร์ใบแรกได้สำเร็จจากการโคจรไปพบกับ ยูเวนตุส ในรอบชิงชนะเลิศ โค้ปปา อิตาเลีย ที่แม้จะพ่ายไปก่อนในนัดแรกที่ ตูริน 1-0 แต่ก็กลับมาเอาชนะในบ้านได้ 2-0 จากการทำประตูของ อเลสซานโดร เมลลี่ และ มาร์โก ออซิโอ
1993 – ปาร์ม่า เดินหน้าอัพเกรดขุมกำลังต่อด้วยการคว้าตัว ฟาอุสติโน่ อัสปริย่า หัวหอกชาวโคลอมเบีย ก่อนที่ทีมจะประสบความสำเร็จในเวทียุโรปของ ยูฟ่า เป็นครั้งแรกเมื่อก้าวลงสู่สนาม เวมบลีย์ เพื่อพบกับ อันท์เวิร์ป ในนัดชิงชนะเลิศ คัพ วินเนอร์ส คัพ ก่อนที่ มิน็อตติ กองหลังกัปตันทีมจะช่วยให้ทีมขึ้นนำไปอย่างรวดเร็วด้วยลูกวอลเล่ย์จากจังหวะเตะมุม จนกระทั่ง เมลลี่ มาโขกประตูที่สอง และได้ลูกยิงปิดกล่องของ สเตฟาโน่ กวอกี้ ในช่วงท้ายเกมที่ทำให้พวกเขาเอาชนะคู่แข่งจาก เบลเยี่ยม ไปได้ 3-1 ภายในฤดูกาลนั้นพวกเขายังขยับขึ้นมาจนจบในอันดับที่ 3
1994 – ระหว่างฤดูกาล 1993-94 ที่ดึงนักเตะหน้าใหม่เข้ามาทั้ง เนสเตอร์ เซนชินี่, มัสซิโม่ คริปป้า และ จานฟรังโก้ โซล่า ทีมก็สามารถเอาชนะ เอซี มิลาน ได้ในรายการ ยูโรเปี้ยน ซูเปอร์ คัพ หลังจากพ่ายคาบ้านในนัดแรก 1-0 แต่ก็กลับไปแซงนำเป็น 2-0 ได้ในช่วงต่อเวลาพิเศษที่ ซานซีโร่ นอกจากนี้พวกเขายังได้ผ่านเข้าไปป้องกันแชมป์ คัพ วินเนอร์ส คัพ แต่ก็พ่ายให้กับ อาร์เซน่อล 1-0 ในนัดชิงที่ พาร์เค่น สเตเดี้ยม กรุงโคเปนเฮเก้น
1995 – ปาร์ม่า ออกสตาร์ทฤดูกาลใหม่ด้วยการเซ็นสัญญากับ ดิโน่ บาจโจ้ และ แฟร์นานโด คูโต้ โดยที่ไฮไลท์ของซีซั่นนี้คือการโคจรกลับมาพบกับ ยูเวนตุส ในรอบชิงชนะเลิศที่ต้องดวลกัน 2 นัด เหมือนเมื่อปี 1992 หากแต่คราวนี้ทั้งคู่มาเจอกันในรายการที่ใหญ่กว่าอย่าง ยูฟ่า คัพ โดยในเกมแรก ดิโน่ บาจโจ้ ทำประตูโทนได้ในบ้าน ก่อนจะกลับไปลงเตะกันในเลกสองที่ ซาน ซีโร่ หลัง ทีมม้าลาย มีปัญหาเกี่ยวกับการใช้สนามเหย้าของตนเอง และแม้ จานลูก้า วิอัลลี่ จะยิงประตูให้ ยูเว่ ขึ้นนำไปก่อน แต่ก็เป็น ดิโน่ บาจโจ้ เจ้าเก่าที่ตามตีเสมอได้จนกลายเป็นชัยชนะจากผลรวม 2-1 อย่างไรก็ตาม ยูเวนตุส ก็ตามมาเอาคืนได้ในรอบชิงชนะเลิศ โคปปา อิตาเลีย ที่เป็นฝ่ายเอาชนะ ปาร์ม่า ไปด้วยสกอร์รวม 3-0
1996 – แม้จะทีมจะเสริมทัพด้วยการปิดดีล ฮริสโต้ สตอยช์คอฟ และ ฟิลิปโป้ อินซากี้ พร้อมกับการแจ้งเกิดของ จานลุยจิ บุฟฟ่อน ผู้รักษาประตูดาวรุ่งที่ต่อยอดจนกลายเป็นตำนานของประเทศ แต่มันก็กลายเป็นซีซั่นที่พวกเขาจบด้วยมือเปล่า และหลังจากการรับใช้ทีมมายาวนานร่วม 7 ปีพร้อมฝากผลงานไว้กับ 4 ถ้วยรางวัลใหญ่ เนวิโอ สกาล่า ผู้ที่ยังครองสถิติคุมทีม ปาร์ม่า ได้ยาวนานที่สุดก็ตัดสินใจก้าวลงจากตำแหน่ง โดยได้ คาร์โล อันเชล็อตติ เข้ามาทำหน้าที่แทน ในขณะที่มีการเปลี่ยนแปลงในระดับผู้บริหารเช่นกัน เมื่อ สเตฟาโน่ ทานซี่ บุตรชายของ คาลิสโต้ เจ้าของทีม ถูกผลักดันให้ขึ้นไปรับตำแหน่งประธานสโมสรแทนที่ จอร์โจ้ เปดราเนสคี่
1997 – ภายในช่วงซัมเมอร์ทั้ง อันเชล็อตติ และ ทานซี่ ต่างก็พากันยกเครื่องทีมเสียใหม่ด้วยการปล่อยตัว สตอยช์คอฟ, อินซากี้, คูโต้ และ ดิ คิอาร่า และหันไปเซ็นสัญญากับ เอร์นาน เครสโป, เอ็นริโก้ เคียซ่า และ เซ มาเรีย นอกจากนี้ในช่วงกลางฤดูกาลทีมยังจำใจปล่อยตัว จานฟรังโก้ โซล่า ดาวยิงเจ้าของสถิติ 49 ประตูจาก 102 เกมในลีกให้กับ เชลซี ด้วยราคา 4.5 ล้านปอนด์จากความไม่ลงตัวในเรื่องของแทคติก ที่แม้แต่ อันเชล็อตติ ยังเคยออกมาแสดงความรู้สึกเสียใจต่อการตัดสินใจครั้งนี้ จนกระทั่งทีมสามารถทำอันดับได้ดีที่สุดในประวัติศาสตร์หลังเข้าป้ายในอันดับที่ 2 โดยมีแต้มตามหลัง ยูเวนตุส เพียงแค่ 2 คะแนน ท่ามกลางคำครหาที่ทีมแชมป์ได้ลูกจุดโทษของขวัญในเกมที่เสมอกับพวกเขา 1-1 ที่ สตาดิโอ เดลเล่ อัลปิ ในช่วงเดือนพฤษภาคม 1997
1998 – จากการได้ตำแหน่งรองแชมป์ในซีซั่นที่ผ่านมา จัลโล่บลู เลยได้โอกาสลงเตะใน ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก เป็นครั้งแรก โดยต้องไปเริ่มต้นจากเกมรอบคัดเลือกรอบที่ 2 ที่สามารถผ่าน วิดเซฟ ลอดซ์ มาได้ด้วยสกอร์รวม 7-1 ก่อนจะไปจอดป้ายอยู่เพียงแค่รอบแบ่งกลุ่มจากการเป็นที่สองของกลุ่ม A รองจาก โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ที่มี เนวิโอ สกาล่า คุมทัพอยู่ ในขณะที่ผลงานใน เซเรีย อา ก็ทำได้เพียงจบในอันดับที่ 5 จนทำให้ อันเชล็อตติ ถูกปลดออกจากตำแหน่งหลังสิ้นสุดฤดูกาลนั้น ก่อนจะแต่งตั้ง อัลแบร์โต้ มาเลซานี่ เข้ามารับหน้าที่ต่อ
1999 – งานแรกของ มาเลซานี่ ในช่วงซัมเมอร์ก็คือการปิดดีล ฮวน เซบาสเตียน เวรอน มาจาก ซามพ์โดเรีย ในราคา 15 ล้านปอนด์ และแม้ภายในซีซั่นเปิดตัวของเขาจะทำได้เพียงพาทีมจบในอันดับที่ 4 แต่ก็ยังถือเป็นปีที่ ปาร์ม่า ประสบความสำเร็จมากที่สุด เริ่มจากผ่านเข้าไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศ โค้ปปา อิตาเลีย และเสมอกับ ฟิออเรนติน่า ในบ้าน 1-1 โดย เอร์นาน เครสโป ทำประตูให้ทีมขึ้นนำไปก่อน จนทีมเยือนมาตามตีเสมอได้จากฝีเท้าของ กาเบรียล บาติสตูต้า ก่อนจะบุกไปยันเสมอ 2-2 ได้ที่ ฟลอเรนซ์ โดยที่ เครสโป ก็ยังเป็นคนยิงประตูเปิดหัวในนัดนี้ จนทำให้ทีมเป็นฝ่ายคว้าแชมป์ อิตาเลียน คัพ สมัยที่ 2 ด้วยกฎอเวย์โกล ก่อนจะมาเผชิญหน้ากับ โอลิมปิก มาร์กเซย ในนัดชิง ยูฟ่า คัพ ที่ ลุซนิกิ สเตเดี้ยม กรุงมอสโก และสามารถถล่มคู่แข่งไปได้ 3-0 นอกจากนี้ก็ยังมาเอาชนะ เอซี มิลาน 2-1 ในเกม ซูเปอร์โคปปา อิตาเลียนา ในช่วงเปิดฤดูกาลถัดมา
2000 – หลังใช้งาน เวรอน ได้เพียงซีซั่นเดียว ทีมก็จัดการขายต่อสตาร์เลือดฟ้าขาวไปให้ ลาซิโอ้ ด้วยค่าตัว 18.1 ล้านปอนด์ และทดแทนด้วยการดึงตัว อาเรียล ออร์เตก้า เข้ามาในราคา 9.4 ล้านปอนด์ ก่อนจะจบฤดูกาล 1999-2000 ด้วยอันดับที่ 5
2001 – เกิดดีลสนั่นวงการขึ้นในช่วงซัมเมอร์เมื่อพวกเขายอมปล่อยตัว เอร์นาน เครสโป ไปให้กับ ลาซิโอ้ ในดีลมูลค่า 35 ล้านปอนด์ที่กลายเป็นสถิติโลกในเวลานั้น โดย อินทรีฟ้าขาว ยอมจ่ายเงินค่าตัวศูนย์หน้าสุดฮอท 16 ล้านปอนด์และบวกด้วย 2 นักเตะอย่าง มาเทียส อัลเมย์ด้า และ แซร์โจ้ คอนไซเซา เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการย้ายทีม ก่อนที่ ปาร์ม่า จะทดแทนในแนวรุกด้วยการหันไปเซ็นสัญญากับ ซาโว มิโลเซวิช โดยในระหว่างซีซั่น มาเลซานี่ ถูกปลดจากตำแหน่งและได้ อาร์ริโก้ ซาคคี่ กลับมาคุมทีมเป็นรอบที่ 2 แต่อยู่ได้ไม่นานเขาก็ลาออกไปเนื่องจากผลงานของทีมยังไม่กระเตื้องขึ้น จนกระทั่ง เรนโซ่ อูลิวิเอรี่ เข้ามารับงานต่อและช่วยกอบกู้ฟอร์มจนพาทีมจบฤดูกาลนั้นด้วยอันดับที่ 4 ในขณะที่พวกเขาก็พลาดโอกาสคว้าแชมป์ โค้ปปา อิตาเลีย สมัยที่ 3 ด้วยการพ่ายให้กับ ฟิออเรนติน่า ในรอบชิงด้วยผลรวม 2-1
2002 – ทีมสูญเสียขุมกำลังหลักออกไปอีก หลังยอมปล่อยตัว จานลุยจิ บุฟฟ่อน และ ลิลิยอง ตูราม ไปให้กับ ยูเวนตุส ในราคารวมกันราว 93 ล้านยูโร ลำพังเฉพาะค่าตัวของ บุฟฟ่อน ก็กลายเป็นสถิติโลกของผู้รักษาประตูไปอีกนานร่วม 17 ปี ซึ่งก็ส่งผลให้พวกเขาออกสตาร์ทฤดูกาล 2001-02 ได้อย่างย่ำแย่โดยเก็บชัยชนะได้เพียงแค่ 2 ครั้งจาก 15 เกมแรกเท่านั้น จนทำให้ อูลิวิเอรี่ ถูกปลดออกไปในช่วงเดือนตุลาคม ก่อนจะได้ตัว ดาเนี่ยล พาสซาเรลล่า เข้ามาเสียบแทนแต่ก็อยู่ได้แค่ 2 เดือน ยังดีที่ ปิเอโตร คาร์มินญานี่ ที่ขยับขึ้นมาจากตำแหน่งผู้ช่วยจะเข้ามากอบกู้สถานการณ์และพาทีมจบฤดูกาลได้ในอันดับที่ 10 ยิ่งไปกว่านั้นเขายังช่วยสร้างความสำเร็จด้วยการเผชิญหน้ากับ ยูเวนตุส ในนัดชิงชนะเลิศ โค้ปปา อิตาเลีย ที่แม้ ยูเว่ จะออกนำไปก่อน 2-0 แต่ก็ได้ประตูสำคัญในนาทีสุดท้ายของ ฮิเดโตชิ นากาตะ ที่ทำให้เกมเลกแรกที่ ตูริน จบลงด้วยสกอร์ 2-1 ก่อนที่ จูเนียร์ แบ็คซ้ายชาวบราซิล จะยิงประตูชัย 1-0 ในถิ่น เอนนิโอ ตาร์ดินี่ ตั้งแต่ต้นเกมที่ทำให้ จัลโล่บลู คว้าแชมป์บอลถ้วยเป็นสมัยที่ 3 ได้สำเร็จ
2003 – ผลงานนัดแรกของ เชซาเร่ ปรันเดลลี่ ที่พึ่งก้าวเข้ามารับตำแหน่งคือการพาทีมพ่ายให้กับ ยูเวนตุส ในรายการ ซูเปอร์โค้ปปา อิตาเลียนา ที่ อเลสซานโดร เดล ปิเอโร่ เหมาคนเดียว 2 เม็ดให้ทีมแชมป์ เซเรีย อา เอาชนะไปได้ 2-1 แต่เขาก็ยังช่วยให้ทีมที่พึ่งปล่อยสตาร์คนสำคัญทั้ง ฟาบิโอ คันนาวาโร่ ไปให้ อินเตอร์ มิลาน, มาร์โก ดิ วาโญ่ ให้กับ ยูเวนตุส และ โยฮัน มิกูด์ ให้กับ แวร์เดอร์ เบรเมน ในช่วงซัมเมอร์ ทำผลงานจนจบในอันดับที่ 5 ได้ ซึ่งก็ต้องขอบคุณขุมพลังในแนวรุกที่เหลืออย่าง อาเดรียโน่ และ อาเดรียน มูตู รวมถึงฟอร์มของ ดานิเอเล่ โบเนร่า และ มัตเตโอ แฟร์รารี่ ที่ช่วยกันดูแลในแผงหลัง
2004 – ลางร้ายของทีมเริ่มก่อตัวชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อ ปาร์มาลัต องค์กรสำคัญที่คอยเป็นท่อน้ำเลี้ยงให้กับพวกเขาเริ่มเข้าสู่สภาวะวิกฤติ หลัง คาลิสโต้ ทานซี่ เจ้าของกิจการที่ยังดำรงตำแหน่งประธานสโมสรถูกจับในข้อหายักยอกถ่ายเทบัญชี จนทำให้ทีมต้องพยายามหาทางออกด้วยการขาย มูตู ไปให้กับ เชลซี ในช่วงซัมเมอร์ด้วยราคา 15.8 ล้านปอนด์ นอกจากนี้ทั้ง อาเดรียโน่ และ นากาตะ ก็ถูกปล่อยตัวออกไปให้กับ อินเตอร์ มิลาน และ โบโลญญ่า ระหว่างฤดูกาล ยังดีที่ อัลแบร์โต้ จิลาร์ดิโน่ สามารถผงาดขึ้นมาเป็นตัวความหวังให้กับทีมด้วยผลงาน 23 ประตูในลีกที่เป็นรอง อังเดร เชฟเชนโก้ ดาวซัลโวประจำซีซั่นนั้นไปเพียงแค่ลูกเดียว พร้อมกับช่วยให้ทีมยังคงจบในอันดับที่ 5 ได้
2005 – หลังการจากไปของ มัตเตโอ แฟร์รารี่ และ มัตเตโอ บีกรี ที่ย้ายไปอยู่กับ โรม่า พร้อมกับ ปรันเดลลี่ ก็ไม่น่าแปลกใจที่ผลงานของ จัลโล่บลู จะค่อยๆถดถอยลงทุกขณะ จนทำให้ ซิลวิโอ บัลดินี่ ถูกปลดในช่วงเดือนธันวาคม และก็เป็น ปิเอโตร คาร์มินญานี่ ที่ก้าวขึ้นมารักษาการณ์แทน แม้ จิลาร์ดิโน่ จะยังรักษาฟอร์มอันร้อนแรงด้วยการกระหน่ำไปถึง 23 ประตูตลอดทั้งซีซั่น แต่ทีมก็ยังคงจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 17 จนต้องไปลุ้นหนีตายด้วยการลงเตะเกมเพลย์ออฟกับ โบโลญญ่า ก่อนจะเฉือนเอาชนะไปแบบหวุดหวิดจากผลรวม 2-1
2006 – แม้ ปาร์ม่า จะอยู่คงมองหาเจ้าของทีมคนใหม่จากการปักป้ายขายตัวเองมาตั้งแต่ช่วงมกราคม 2005 แต่ เอ็นริโก้ บอนดี ที่ก้าวขึ้นมาเป็นประธานคนใหม่ก็ยังพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อปลดหนี้ ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยตัว อัลแบร์โต้ จิลาร์ดิโน่ หัวหอกตัวเก่งที่ซัดไป 50 ประตูจาก 95 นัดไปให้กับ เอซี มิลาน ในราคา 25 ล้านยูโร และ เซบาสเตียน เฟรย์ นายทวารจอมหนึบชาวฝรั่งเศส ไปให้ ฟิออเรนติน่า อย่างไรก็ตามพวกเขาก็ยังประคับประคองตัวเองจนจบในอันดับที่ 10 ก่อนที่คดีอื้อฉาว กัลโช่โปลี จะได้บทสรุปที่ทำให้อันดับของทีมขยับขึ้นมาสู่ที่ 7 จนคว้าโควต้าไปลงเตะใน ยูฟ่า คัพ ฤดูกาลหน้าได้
2007 – ดานิเอเล่ โบเนร่า คือสตาร์คนล่าสุดที่ถูกปล่อยออกไปในช่วงซัมเมอร์ จนกระทั่งถึงช่วงปลายเดือนมกราคม 2007 ตอมมาโซ่ กีราร์ดี้ ก็กลายเป็นผู้ที่ชนะในการประมูลและก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าของทีมคนใหม่ของ ปาร์ม่า หลัง ลอเรนโซ่ ซานซ์ อดีตผอ. เรอัล มาดริด ไม่ยอมตกลงกับข้อเรียกร้อง 27 ล้านยูโรในปีที่ผ่านมา กีราร์ดี้ นักธุรกิจหนุ่มวัย 31 ปีผู้ที่ยังเป็นเจ้าของสโมสร เอซี คาร์เปเนโดโล ใน เซเรีย ซี 2 ก็ก้าวเข้ามาดำรงตำแหน่งประธานสโมสรเองอีกด้วย และกลายเป็นจุดสิ้นสุดของการถูกควบคุมบัญชีของสโมสรตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา และด้วยการเข้ามาคุมทีมของ เคลาดิโอ รานิเอรี่ แทนที่ สเตฟาโน่ ปิโอลี่ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2007 ก็ค่อยทำให้ผลงานของพวกเขาดีขึ้นจนอยู่รอดปลอดภัยใน เซเรีย อา ต่อไปจากการจบในอันดับที่ 12
2008 – หลังใช้เวลาสร้างชื่ออยู่ใน เซเรีย อา นานถึง 18 ปี ในที่สุด จัลโล่บลู ที่อยู่ในสภาพทางการเงินอันย่ำแย่ก็หนีการตกชั้นไปไม่พ้น แม้พวกเขาจะพยายามดิ้นรนด้วยการปรับเปลี่ยนผจก.ทีมระหว่างฤดูกาลไปถึง 3 คน ทั้ง โดเมนิโก้ ดิ คาร์โล, เอคตอร์ กูเปร์ และ อันเดรีย มานโซ่ และยังตอกย้ำด้วยการพ่ายคาบ้านในนัดปิดฤดูกาล 2007-08 ต่อทีมแชมป์ อินเตอร์ มิลาน 2-0 จนต้องกลับลงไปเล่นใน เซเรีย บี ซีซั่นหน้า
2009 – พวกเขาเริ่มต้นในลีกรองได้ไม่ดีนักภายใต้การคุมทีมของ ลูก้า คานญี่ ที่ถูกปลดหลังจากผ่านพ้นไปเพียงแค่ 6 นัดแรก จนได้ตัว ฟรานเชสโก้ กุยโดลิน ที่เข้ามาช่วยให้ทีมทะยานขึ้นมารั้งตำแหน่งจ่าฝูงร่วมในช่วงครึ่งทาง ก่อนที่ อัลแบร์โต้ ปาลอสคี่ และ คริสเตียโน่ ลูคาเรลลี่ จะช่วยกันถล่มประตูและพาทีมเดินหน้าต่อจนคว้าอันดับที่ 2 ได้ในที่สุด พร้อมสร้างสถิติไร้พ่ายในบ้านตลอดทั้งฤดูกาลและเลื่อนชั้นกลับสู่ เซเรีย อา โดยอัตโนมัติพร้อม บารี่ ทีมแชมป์
2010 – ทีมกลับมาออกสตาร์ทใน เซเรีย อา ได้อย่างน่าประทับใจและรั้งอยู่ในอันดับที่ 4 หลังจบครึ่งฤดูกาล ในขณะที่ ดานิเอเล่ กัลลอปป้า ก็กลายเป็นผู้เล่นคนแรกของ ปาร์ม่า ที่ติดทีมชาติอิตาลีในรอบกว่า 3 ปี อย่างไรก็ตามพวกเขาทำผลงานดร็อปลงในช่วงครึ่งหลัง แม้จะมีการดึงตัว เอร์นาน เครสโป อดีตดาวยิงขวัญใจของทีมกลับมาอีกครั้งในช่วงปีใหม่ จนกระทั่งมาจบฤดูกาล 2009-10 ด้วยอันดับที่ 8 และพลาดสิทธิ์ไปลงเล่นใน ยูฟ่า ยูโรป้า ลีก แบบฉิวเฉียด
2011 – ปาร์ม่า ออกสตาร์ทฤดูกาลใหม่ได้อย่างย่ำแย่และตกไปอยู่ในอันดับที่ 16 ตอนหลังวันคริสมาสต์ จนทำให้ ปาสกวาเล่ มาริโน่ ที่เข้ามารับตำแหน่งกุนซือเมื่อช่วงซัมเมอร์ถูกปลดออกไปในช่วงต้นเดือนเมษายน แต่แล้วภายในระยะเวลาสั้นๆที่เหลือ ฟรังโก้ โคลอมบา ที่ถูกดึงเข้ามาเสียบแทนก็ช่วยพลิกวิกฤติให้ทีมจากการเดินหน้าเก็บชัยชนะ 4 ใน 7 เกมสุดท้าย และสามารถการันตีการอยู่รอดปลอดภัยในนัดรองสุดท้ายด้วยการเอาชนะ ยูเวนตุส ในบ้าน 1-0 ก่อนจะจบฤดูกาล 2010-11 ด้วยอันดับที่ 12
2012 – หลังออกสตาร์ทฤดูกาล 2011-12 ด้วยฟอร์มที่ลุ่มๆดอนๆ ในที่สุด โคลอมบา ก็ถูกปลดออกจากตำแหน่งในเดือนมกราคม 2012 เมื่อทีมมีแต้มอยู่เหนือโซนตกชั้นไม่ไกลนัก จนกระทั่งการก้าวเข้ามาของ โรแบร์โต้ โดนาโดนี่ ที่ช่วยให้ทีมค่อยๆทำผลงานดีขึ้นก่อนจะโชว์ฟอร์มหรูด้วยการเก็บชัยชนะรวดใน 7 นัดสุดท้ายจนกลับมาเข้าป้ายในอันดับที่ 8
2015 – ตลอด 2 ฤดูกาลที่ผ่านมา โดนาโดนี่ สามารถพาทีมจบในอันดับที่ 10 และ 6 ตามลำดับ แต่แล้วภายในฤดูกาล 2014-15 ที่พวกเขาได้สิทธิ์กลับมาลงเล่นในเวทียุโรปเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2007 ในรายการ ยูโรปา ลีก แต่จากสภาพถังแตกของทีมที่ปิดไม่มิดอีกต่อไปจนไม่สามารถชำระภาษีค่าเหนื่อยของนักเตะทันเวลา ซึ่งขัดต่อกฎของ ยูฟ่า ก็ทำให้ทีมถูกลงโทษตัดแต้มเข้าไปอีก จนในที่สุด ปาร์ม่า ก็ตกอยู่ในสภาพล้มละลายภายในเดือนมีนาคม 2015 จากภาวะหนี้สินรวม 218 ล้านยูโร ที่ประกอบไปด้วยค่าแรงที่ยังค้างจ่ายอยู่ถึง 63 ล้านยูโร แต่ยังคงได้รับอนุญาตให้ลงเตะต่อไปจนจบฤดูกาลก่อนจะถูกปรับให้ตกชั้นลงไปด้วยการเป็นทีมอันดับสุดท้าย อย่างไรก็ตามสโมสรก็ได้ถือกำเนิดขึ้นมาใหม่ในเดือนกรกฎาคมปีนั้นภายใต้ชื่อ Parma Calcio 1913 ที่ดำเนินการสอดคล้องกับข้อกำหนดที่ 52 ของ สหพันธ์ฟุตบอลอิตาลี นำโดย เนวิโอ สกาล่า อดีตเฮดโค้ชในตำนานของทีมที่ดำรงตำแหน่งประธานสโมสร โดยที่ ลุยจิ อปอลโลนี่ อดีตนักเตะก็ถูกดึงเข้ามาทำหน้าที่คุมทีม
2016 – ภายในฤดูกาลแรกหลังอวตารมาเกิดใหม่ใน เซเรีย ดี ทีมสามารถขายตั๋วปีได้เป็นจำนวนสูงถึง 9,000 ใบจนทำลายสถิติดั้งเดิมในระดับดิวิชั่น 4 ไปแบบเท่าตัว จากนั้น ปาร์ม่า ก็เดินหน้าโชว์ฟอร์มสดและสร้างสถิติไร้พ่ายจากการชนะ 28 และเสมอ 10 จนเลื่อนชั้นขึ้นสู่ ลีกา โปร ได้สำเร็จ
2017 – จัลโล่บลู ทำผลงานในซีซั่น 2016-17 ด้วยการจบในอันดับที่ 2 ของกลุ่ม B รองจาก เวเนเซีย และได้สิทธิ์ไปเตะเพลย์ออฟที่ต้องลงสนามดวลแข้งอีก 6 นัดเพื่อโอกาสเลื่อนชั้น จนสามารถตีตั๋วขึ้นไปเล่นใน เซเรีย บี ได้สำเร็จหลังเอาชนะ อเลสซานเดรีย 2-0 ในนัดชิงดำ
2018 – และแล้ว ปาร์ม่า ก็สร้างสถิติการเป็นทีมแรกที่สามารถเลื่อนชั้นได้ 3 ปีซ้อน หลังเข้าป้ายเป็นที่ 2 รองจาก เอ็มโปลี เพียงแค่ 3 คะแนน โดยที่พวกเขามีแต้มเท่ากับ โฟรซิโนเน่ แต่มีผลงานเฮด-ทู-เฮดที่ดีกว่า จนทำให้ทีมสามารถกลับคืนสู่ เซเรีย อา ได้สำเร็จภายในระยะเวลาเพียงแค่ 3 ปีหลังตกอยู่ในสถานะล้มละลาย
สโมสรฟุตบอลวัตฟอร์ด เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพที่ตั้งอยู่ในวัตฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ปัจจุบันลงเล่นอยู่ในลีกพรีเมียร์ลีก ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของประเทศอังกฤษ ก่อตั้งขึ้นในปี 1898 โดยการรวมกลุ่มของสโมสรท้องถิ่น เวสต์เฮิร์ต และวัตฟอร์ด เซนต์ แมรี่ หลังจากจบฤดูกาล 1914-15 ซึ่งพวกเขาได้แชมป์ southern League ภายใต้การนำทีมของ แฮรี่ เคนต์ วัตฟอร์ดเข้าร่วมฟุตบอลลีกในปี 1920 โดยใช้สนามแข่งหลายสนามในการแข่งขัน ก่อนจะมาใช้สนาม วิคาร์เรจ โร้ด ในปี1922 จนถึงปัจจุบัน โดยลงเล่นส่วนใหญ่อยู่ในระดับล่างของประเทศอังกฤษ
ภายใต้การทำทีมของผู้จัดการชาวอังกฤษอย่าง เกรแฮม เทย์เลอร์ ช่วยให้วัตฟอร์ดเลื่อนชั้นในช่วงปี 1977- 1987 โดยนำทีมวัตฟอร์ดเลื่อนชั้นจากดิวิชั่น 4 ขึ้นมาถึงดิวิชั่น 1 และคว้ารองแชมป์ได้ในปี 1982-83 ในการแข่งยูฟ่าคัพปี 1983-84 ในปี 1984 ก็สามารถเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศในฟุตบอลเอฟเอคัพ หลังจากนั้นในช่วงปี 1987 ถึง 1997 ถือเป็นช่วงเวลาที่ตกต่ำของสโมสร ก่อนที่เทย์เลอร์จะกลับมาเป็นผู้จัดการทีมอีกครั้ง และนำทีมเลื่อนชั้นจากดิวิชั่น 2 ขึ้นมาในระดับพรีเมียร์ลีก ในฤดูกาล 1999-00 โดยใช้เวลาอยู่ในลีกสูงสุดของประเทศอังกฤษ 1 ฤดูกาล ก่อนจะตกชั้นลงไปอีกครั้ง และภายใต้การนำทีมของไอดี บูธทรอยด์ จากแชมเปี้ยนชิพ พวกเขาก็ได้เลื่อนชั้นในฤดูกาล 2014-15 กลับมาเล่นในพรีเมียร์ลีกอีกครั้งในฤดูกาล 2015-16 จบระดับที่ 13 ของตาราง
ตระกูลพอซโซ่ เป็นเจ้าของทีมวัตฟอร์ด และยังเป็นเจ้าของทีมอูดิเนเซ่ในกัลโช่ เซเรียอา ของอิตาลีด้วย โดยมีเซอร์ เอลตัน จอห์น ซึ่งเป็นเจ้าของทีมในช่วงที่ประสบความสำเร็จ และเกรแฮม เทย์เลอร์ ผู้จัดการทีมในอดีต ร่วมกันเป็นประธานสโมสรกิตติมศักดิ์ของทีม จนกระทั่งเกรแฮม เทย์เลอร์ เสียชีวิต
สโมสรวัตฟอร์ดก่อตั้งขึ้นในวันที่ 15 เมษายนปี 1898 โดยการรวมกันของสโมสรที่แข็งแกร่งในท้องถิ่น อย่าง เวสต์ เฮิร์ต และ วัตฟอร์ด เซนต์ แมรี่ หลังจากผ่านไป 3 ฤดูกาล ได้มีการหารือถึงข้อดีข้อเสียในการรวมกันของ 2 สโมสรท้องถิ่น หลังจากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนถึงข้อโต้แย้งและปัญหาต่างๆแล้วพบว่าการรวมกันของสโมสรมีข้อดีมากกว่า จึงได้รวบรวมกันเป็นหนึ่งเดียว ในวันที่ 27 พฤษภาคม 1898 สมาคมฟุตบอลได้อนุมัติการรวมกันของ 2 สโมสรท้องถิ่น ภายใต้ชื่อ สโมสรฟุตบอลวัตฟอร์ด
หลังจากตกชั้นไปอยู่ใน southern league ดิวิชั่น 2 ในปี 1903 วัตฟอร์ดได้แต่งตั้งผู้จัดการทีมคนแรก เป็นอดีตนักฟุตบอลทีมชาติอังกฤษ และอดีตดาวซัลโวลีกดิวิชั่น 1 คือ จอห์น กูดอล เขาช่วยให้วัตฟอร์ดเลื่อนชั้น และอยู่กับทีมไปถึงปี 1910 แม้จะมีข้อจำกัดทางการเงิน วัตฟอร์ดก็ได้แชมป์ southern league ในฤดูกาล 1914-15 ภายใต้การนำของ แฮรี่ เคนต์ ช่วยให้วัตฟอร์ดเป็นแชมป์ติดต่อกัน จนกระทั่งถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 ฟุตบอลต้องหยุดการแข่งขันลง ในฤดูกาล 1919-20 วัตฟอร์ดได้รองแชมป์ หลังจากนั้นสโมสรก็ได้เข้าร่วมฟุตบอลดิวิชั่น 3
ในฤดูกาลที่ 1921-22 ฟุตบอลดิวิชั่น 3 มีทั้งหมด 22 ทีม มี 2 ทีมที่จะได้สิทธิ์เลื่อนชั้นขึ้นสู่ดิวิชั่น 2 ในช่วงแรกวัดบอร์ดไม่สามารถทำคะแนนได้เกินกว่าอันดับที่ 6 ของตาราง จนกระทั่งใน ฤดูกาล 1934-35 พวกเขาก็สามารถจบด้วยอันดับที่ 5 และฤดูกาล 1938-39 ก็ได้อันดับที่ 5 เช่นกัน จนกระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1939 ฟุตบอลต้องหยุดแข่งขันอีกครั้ง
ฟุตบอลกลับมาเริ่มเตะอีกครั้งในปี 1946 โดยวัตฟอร์ดเริ่มเล่นในดิวิชั่น 3 และจบด้วยอันดับที่ 23 ในฤดูกาล 1950-51 ทำให้ทีมต้องสมัครเข้ามาแข่งขันในระบบลีกอีกครั้ง แต่โชคดีที่พวกเขาได้รับคะแนนโหวตทำให้สามารถลงเล่นต่อในดิวิชั่นเดิมได้ แมคเบน กลับมาคุมทีมอีกครั้งในปี 1956 จนกระทั่งปี 1958 ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของระบบฟุตบอลลีก ทำให้ในรูปการ 1958-59 วัตฟอร์ดต้องลงเล่นในฟุตบอลระดับดิวิชั่น 4 และในระหว่างฤดูกาลนั้น รอน เบอร์เกรส ได้เข้ามาคุมทีมแทนแมคเบน เพียงฤดูกาลแรกเขาก็ช่วยให้วัตฟอร์ดเลื่อนชั้น ปี 1964 เคน เฟอร์ฟี เข้ามาคุมทีมและได้สร้างทีมขึ้นใหม่จากผู้เล่นที่มีอยู่ เขาเกือบพาทีมเลื่อนชั้นได้ในฤดูกาล 1966-67 หลังจากนั้นที่ประสบปัญหาทางการเงิน และตกชั้นในปี 1975
จากแฟนบอลพันธุ์แท้ของสโมสร ต่อมาก็เข้ามาเป็นเจ้าของสโมสรในปี 1976 และประกาศเป้าหมายที่จะเลื่อนชั้นขึ้นสู่ดิวิชั่น 1 ให้ได้ ทั้งที่ตอนนั้นทีมอยู่ในระดับดิวิชั่น 4 เขาได้แต่งตั้ง เกรแฮม เทย์เลอร์ เป็นผู้จัดการทีม และเพียงแค่ฤดูกาลแรก เขาก็นำทีมเลื่อนชั้นขึ้นสู่ดิวิชั่น 3 และเลื่อนชั้นขึ้นสู่ดิวิชั่น 2 ได้ในฤดูกาล 1978-79 จนกระทั่งฤดูกาล 1981-82 วัตฟอร์ดก็ได้เลื่อนชั้นขึ้นสู่ดิวิชั่น 1 สำเร็จ
วัตฟอร์ดเริ่มต้นฤดูกาลแรกในดิวิชั่น 1 ด้วยการชนะ 4 นัดจาก 5 นัดแรก โดยในฤดูกาลแรกนั้น พวกเขาได้อันดับที่ 2 ของตาราง มีทีมลิเวอร์พูลเป็นแชมป์ และได้สิทธิ์เข้าร่วมในฟุตบอลยูฟ่าคัพรอบคัดเลือก ในปี 1984 พวกเขาได้เข้าชิงชนะเลิศเอฟเอคัพ ก่อนจะแพ้ให้กับเอฟเวอร์ตันไป ในฤดูกาล 1986-87 วัตฟอร์ดจบด้วยอันดับที่ 9 ของตาราง เทย์เลอร ์ตัดสินใจลาออกจากทีมเพื่อไปคุมทีมแอสตัน วิลล่า หลังจากที่เทย์เลอร์ออกไปแล้ว สโมสรได้แต่งตั้ง เดฟ บาสเซต อดีตผู้จัดการทีมวิมเบอร์ดันเข้ามาเป็นผู้จัดการทีม หลังจากทำทีมชนะเพียง 4 นัดจาก 23 นัด บาสเซต ถูกไล่ออกจากทีมในเดือนมกราคมปี 1988 และแต่งตั้ง สตีฟ แฮร์ริสัน เป็นผู้จัดการทีมแทน แต่เขาก็ไม่สามารถช่วยทีมรอดตกชั้นได้ ในฤดูกาล 1988-89 ทีมไม่สามารถเลื่อนชั้นกลับมาดิวิชั่น 1 ได้หลังจากแพ้ในรอบเพลย์ออฟดิวิชั่น 2 แฮร์ริสันออกจากทีมในปี 1990 หลังจากนั้นไม่กี่ปีทีมก็ได้เลื่อนชั้น ก่อนที่เกรน โรเดอร์ จะนำทีมสู่ความย่ำแย่ และถูกปลดออก โดยมี เกรแฮม เทย์เลอร์จ เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมชั่วคราวในเดือนกุมภาพันธ์ปี 1996 แต่ก็ไม่อาจช่วยให้ทีมรอดพ้นการตกชั้นได้
หลังจากตกชั้น เทย์เลอร์ ได้เลื่อนเป็นผู้อำนวยการฟุตบอลของสโมสร และแต่งตั้งให้อดีตนักฟุตบอลของวัตฟอร์ดอย่าง เคนนี่ แจ็คเก็ต เป็นผู้จัดการทีม หลังจากเขานำทีมจบด้วยอันดับกลางตารางในฤดูกาล 1996-97 เทย์เลอร์ ก็กลับมาเป็นผู้จัดการทีมอีกครั้ง โดยให้แจ็คเก็ตเป็นผู้ช่วยผู้จัดการทีม เทย์เลอร์ช่วยให้ทีมคว้าแชมป์ดิวิชั่น 2 ได้ในฤดูกาล 1997-98 เลื่อนชั้นสู่ดิวิชั่น 1และเลื่อนชั้นขึ้นสู่พรีเมียร์ลีก ได้ในฤดูกาล 1998-99 การลงเล่นนัดแรกในพรีเมียร์ลีก พวกเขาสามารถเอาชนะทีมลิเวอร์พูลได้ แต่หลังจากจบฤดูกาล พวกเขาได้อันดับสุดท้าย ต้องตกชั้น หลังจบฤดูกาล2000-01 จิอันลูกา วิอัลลี่ เข้ามาเป็นผู้จัดการทีม หลังจากฤดูกาล 2001-02 วัตฟอร์ดจบฤดูกาลด้วย อันดับที่ 14 วิอัลลี่ก็ถูกปลดออกจากการเป็นผู้จัดการทีม และแต่งตั้ง เลย์วิงตัน ผู้จัดการทีมสำรองเป็นผู้จัดการทีมแทน ในฤดูกาล 2002-2003 วัตฟอร์ดมีสถานะทางการเงินที่อ่อนแอ หลังจากการล่มสลายของ ITV ทีวีดิจิตอล พวกเขาต้องลดเพดานเงินเดือนของนักเตะและทีมงานลง 12% ทำให้หลังจบฤดูกาลมีนักเตะหลายคนย้ายออกจากทีม ฤดูกาลต่อมา ทีมมีฟอร์มการเล่นที่ย่ำแย่จนตกอยู่ในโซนตกชั้น สโมสรได้ไล่ เลย์วิงตัน ออกจากการเป็นผู้จัดการทีมในเดือนมีนาคมปี 2005 และแต่งตั้ง ไอดี บูธทรอยด์ มาช่วยให้ทีมรอดตกชั้น
หลังจากได้คุมทีมแบบเต็มตัวในฤดูกาลแรกของบูธทรอยด์ เขาช่วยให้ทีมจบด้วยอันดับที่ 3 ของตาราง ก่อนจะมาแพ้ ลีดส์ ยูไนเต็ด ในรอบเพลย์ออฟ นัดชิงชนะเลิศในการเลื่อนชั้นสู่พรีเมียร์ลีก ฤดูกาลแรกในพรีเมียร์ลีก พวกเขาไม่ชนะใครเลยจนกระทั่งเดือนพฤศจิกายน ซึ่งในฤดูกาลแรกวัตฟอร์ดชนะเพียง 5 นัดเท่านั้น ทำไมพวกเขาจบอันดับสุดท้ายของตาราง ต้องตกชั้นตั้งแต่ฤดูกาลแรก ในดิวิชั่น 1 พวกเขาได้อันดับที่ 6 ของตาราง พร้อมสิทธิ์เพลย์ออฟเลื่อนชั้น แต่ก็แพ้ต่อ ทีมฮัลล์ ซิตี้ ก่อนที่ฤดูกาล 2008-09 พวกเขาได้อันดับที่ 21 ของตารางคะแนน บูธทรก็ออกจากสโมสรไป
หลังจากนั้น เบรนเดน รอดเจอร์ ก็เข้ามาคุมทีม และช่วยให้ทีมจบฤดูกาลด้วย อันดับที่ 13 ก่อนที่เขาจะย้ายไปคุม ทีมเรดดิ้ง หลังจบฤดูกาล มอลกี้ แมคเคย์ เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมชั่วคราว และช่วยให้วัตฟอร์ดจบฤดูกาล 2009-10 ด้วย อันดับที่ 16 และเขาก็ออกไปคุมทีม คาร์ดิฟฟ์ ซิตี้ ในเดือนมิถุนายนปี 2011 และสโมสรได้แต่งตั้ง ฌอน ดายเฌ่ เป็นผู้จัดการทีมแทน อย่างไรก็ตามเขาก็ถูกไล่ออกในเดือนกรกฎาคมปี 2012 และแทนที่ด้วยอดีตนักเตะทีมชาติอิตาลีอย่าง จิอัลฟรังโก โซล่า พร้อมด้วยการเข้ามาควบคุมกิจการสโมสรของตระกูลพอซโซ่
ในฤดูกาล 2012-13 วัตฟอร์ดจบอันดับที่ 3 ในแชมเปี้ยนชิพ และเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศในการแข่งขัน เพลย์ออฟนัดชิงชนะเลิศ โดยพวกเขาแพ้ต่อทีม คริสตัล พาเลซ 1 ประตูต่อ 0 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ จิอัสเซปเป้ ซานนิโน่ เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมคนใหม่แทนที่ โซล่า และช่วยให้ทีมจบฤดูกาลด้วย อันดับที่ 13 ก่อนที่เขาจะลาออกก่อนเริ่มฤดูกาล 2014-15 และสโมสรได้แต่งตั้ง ออสการ์ การ์เซีย เป็นผู้จัดการทีมแทน แต่เขาก็คุมทีมได้ไม่นาน เนื่องจากเหตุผลด้านสุขภาพ
บิลลี่ แมคคินเลย์ เข้ามาแทนที่การ์เซีย แต่เขาก็คุมทีมได้ไม่นานนัก หลังทำได้เพียง 4 คะแนนจากการแข่งขัน 6 นัด ทำให้สโมสรตัดสินใจปลดและแต่งตั้ง สลาวิซ่า โยคาโนวิช เป็นผู้จัดการทีมแทน เดือนมิถุนายนปี 2015 หลังจากโยคาโนวิชหมดสัญญากับสโมสร และไม่มีการต่อสัญญาใหม่ ได้มีการแต่งตั้ง ควิเฆ่ ซานเชซ ฟลอเรส และในฤดูกาล 2015-16 วัตฟอร์ดก็ได้เลื่อนชั้นกลับสู่พรีเมียร์ลีก พร้อมทั้งเข้าถึงรอบรองชนะเลิศในฟุตบอลเอฟเอคัพ ในพรีเมียร์ลีกพวกเขาจบด้วยอันดับที่ 13 เดือนพฤษภาคมปี 2016 ซานเชซถูกไล่ออกจากการเป็นผู้จัดการทีม เนื่องจากมีความเห็นไม่ตรงกันกับประธานสโมสร และเขาถูกแทนที่ด้วยผู้จัดการทีมชาวอิตาลี วอเตอร์ มาซซารี่ เขาคุมทีมถึงเดือนพฤษภาคมปี 2017 และลาออกไป สโมสรได้แต่งตั้ง มาร์โก ซิลวา เป็นผู้จัดการทีม แต่หลังจากนั้นเพียง 6 เดือนเขาก็ถูกไล่ออก เดือนมกราคมปี 2018 สโมสรได้แต่งตั้ง ฆาบี การ์เซีย เป็นผู้จัดการทีม
The post ขุดคุ้ยประวัติ แตนอาละวาด แห่งอังกฤษ วัตฟอร์ด first appeared on ผลบอลสด บ้านผลบอล ผลบอลวันนี้ 7m 888 Livescore.]]>Verein fürLeibesübungen Wolfsburg e.V. หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็น โวล์ฟบวร์ก เป็นสโมสรกีฬาเยอรมันใน Wolfsburg, Lower Saxony สโมสรนี้เติบโตจากสโมสรกีฬาที่หลากหลายสำหรับพนักงานโฟล์คสวาเกนในเมืองโวล์ฟสบวร์กเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีสำหรับด้านฟุตบอล และด้านอื่นๆ ได้แก่ แบดมินตัน, แฮนด์บอล และกรีฑา ปัจจุบันเล่นในบุนเดสลีกา ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของระบบฟุตบอลลีกเยอรมัน โวล์ฟบวร์กคว้าแชมป์ บุนเดสลีกา เพียงครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของพวกเขาในฤดูกาล 2008–09, DFB-Pokal ในปี 2015 และ DFL-Supercup ในปี 2015 ดำเนินการโดยองค์กร VfL Wolfsburg-Fußball GmbH ซึ่งเป็น บริษัท ในเครือของกลุ่มโฟล์คสวาเก้น ตั้งแต่ปี 2002 สนามของ โวล์ฟบวร์กคือ Volkswagen Arena
เมืองโวล์ฟบวร์กก่อตั้งขึ้นในปี 1938 ในฐานะ Stadt des KdF-Wagen เพื่อสร้างบ้าน autoworkers ที่สร้างรถ ที่ต่อมากลายเป็นรถ Volkswagen Beetle เป็นสโมสรฟุตบอลแห่งแรกในเครือที่มี autowork เป็นที่รู้จักในนาม BSG Volkswagenwerk Stadt des KdF-Wagen ซึ่งเป็นทีมงาน เล่นในดิวิชั่นหนึ่งของ Gauliga Osthannover ในฤดูกาล 1943-44 และ 1945-45
วันที่ 12 กันยายน 1945 ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สโมสรใหม่เป็นที่รู้จักกันในชื่อสั้นๆ ว่า VSK โวล์ฟสบวร์ก เริ่มเล่นในชุด VfL สีเขียวและสีขาวที่ยังคงสวมใส่ในวันนี้ ผู้ฝึกสอนเยาวชนท้องถิ่น Bernd Elberskirch มีเสื้อสีเขียวสิบตัวและผ้าปูที่นอนสีขาวที่บริจาคโดยสาธารณะถูกเย็บโดยผู้หญิงท้องถิ่นเพื่อทำกางเกงขาสั้น
วันที่ที่ 15 ธันวาคม 1945 สโมสรต้องเผชิญกับวิกฤติที่เกือบจะสิ้นสุดการดำรงอยู่ เมื่อไม่เหลือผู้เล่นคนใดคนหนึ่งเลย เนื่องจากแต่ละคนออกไปสมทบกับ 1.FC Wolfsburg มีผู้เล่นคนเดียวที่เหลืออยู่ Josef Meyer ทำงานร่วมกับ Willi Hilbert เพื่อสร้างทีมใหม่โดยการเซ็นชื่อผู้เล่นใหม่ กลุ่มใหม่ได้นำชื่อเล่น VfL Wolfsburg, VfL มาใช้แทน Verein fürLeibesübungen สามารถแปลได้ว่า “สโมสรสำหรับยิมนาสติก” หรือ “สโมสรสำหรับการออกกำลังกาย” ภายในเวลาหนึ่งปีพวกเขาคว้าแชมป์ Gifhorn ในท้องถิ่น ปลายเดือนพฤศจิกายน 1946 สโมสรแข่งกระชับมิตรกับโรงไฟฟ้า Gelsenkirchen ชาลเก้ 04 ที่สนามกีฬาที่เป็นเจ้าของโดยโฟล์คสวาเกน
สโมสรก้าวหน้าช้าๆ แต่มั่นคงในฤดูกาลต่อไป ส่วนใหญ่พวกเขาใช้เวลาในระดับสมัครเล่นมาก ไม่สามารถเข้าถึงยังรอบตัดเชือกเลื่อนชั้นได้ จนในที่สุดเลื่อนชั้นไปยัง Oberliga Nord 1954 ด้วยการชนะ Heider SV 2-1 ของโวล์ฟสบวร์ก อย่างไรก็ตามหลังเลื่อนชั้น พวกเขาพยายามดิ้นรนหนีการตกชั้นได้อย่างหวุดหวิดในแต่ละฤดูกาล จนกระทั่งในที่สุดก็ตกชั้นในปี 1959 เมื่อฟุตบอลลีกอาชีพแรกของเยอรมนีที่บุนเดสลีกาก่อตั้งขึ้นในปี 1963 โวล์ฟบวร์กขยับขึ้นมาจาก Verbandsliga Niedersachsen (III) เข้าถึงการแข่งขันชิงแชมป์สมัครเล่นเยอรมันรอบชิงชนะเลิศในปีเดียวกันนั้น
โวล์ฟสบวร์กยังคงเป็นทีมอันดับสองในอีกสิบปีข้างหน้าโดยมีผลงานที่ดีที่สุดในรอบรองชนะเลิศในปี 1970 ซึ่งทำให้สโมสรได้เข้าสู่รอบตัดเชือกสำหรับบุนเดสลีกาซึ่งพวกเขาทำได้ไม่ดี และไม่ก้าวหน้า ตั้งแต่กลางทศวรรษ 1970 จนถึงต้นทศวรรษ 1990 โวล์ฟบวร์กเล่นในดิวิชั่นสามใน Amateur Oberliga Nord ต่อเนื่องกัน ครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จใน 1991 และ 1992 ตามด้วยความสำเร็จในการเลื่อนชั้นการแข่งขันรอบตัดเชือก สโมสรเลื่อนชั้นไปที่ บุนเดสลีกา 2 สำหรับฤดูกาล 1992-93 โวล์ฟบวร์กยังคงประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 1990 ทีมก้าวเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศของการแข่งขันฟุตบอลเยอรมันในปี 1995 โดยพวกเขาพ่ายแพ้ 0-3 ให้กับ Borussia Mönchengladbach แต่หลังจากนั้นก็ขึ้นสู่อันดับต้นๆ ของการแข่งขันลีกที่สองในปี 1997
การคาดการณ์ก่อนหน้านี้คือ สโมสรจะตกชั้นทันที แต่หมาป่ากลับทำอันดับอยู่กลางตารางบุนเดสลีกาแทน ในฤดูกาล 1998-99 โวล์ฟสบวร์กภายใต้การนำทีมของ โวล์ฟกัง วูล์ฟ ทีมกำลังขึ้นไปอยู่อันดับที่ห้าในนัดที่ 33 ของการแข่งขัน และพวกเขาก็หวังว่าจะได้อันดับที่สี่ เพื่อจะได้รับการมีส่วนร่วมในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก แต่การแพ้ MSV ดูสบูร์ก 6-1 ในนัดสุดท้าย โวล์ฟบวร์กจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 6 กับ 55 คะแนน และมีคุณสมบัติสำหรับไปยูฟ่าคัพ พวกเขายังมีคุณสมบัติสำหรับ Intertoto Cup ในปี 2000, 2001, 2003, 2004 และ 2005 และได้รองแชมป์ในปี 2003 หลังจากถึงรอบชิงชนะเลิศที่พวกเขาแพ้ทางด้าน Perugia ตามมาด้วยฤดูกาลที่ประสบความสำเร็จเพียงเล็กน้อย สำหรับสโมสรเพียงแค่หลีกเลี่ยงการตกชั้นด้วยการจบอันดับที่ 15 ในฤดูกาล 2005-06 และ 2006–07
สำหรับฤดูกาล 2007-08 สโมสรจ้างอดีตผู้จัดการทีมบาเยิร์น มิวนิค เฟลิกซ์ มากาธ ซึ่งเขาสามารถจัดการทัมให้เสร็จในอันดับที่ห้าเมื่อสิ้นสุดฤดูกาล สิ่งนี้ยังช่วยให้โวล์ฟบวร์กมีคุณสมบัติสำหรับถ้วยยูฟ่าครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ของพวกเขา
ในฤดูกาล 2008-09 ภายใต้ มากาธ โวล์ฟสบวร์กประสบความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพวกเขาด้วยการคว้าแชมป์ครั้งแรก หลังจากชนะ แวร์เดอร์ เบรเมน 5-1 ในวันที่ 23 2009 พวกเขากลายเป็นทีมเดียวในบุนเดสลีกาที่มีกองหน้าสองคนที่ทำประตูได้มากกว่า 20 ประตูในแต่ละฤดูกาล ผู้เล่นอย่าง Brazilian Grafite และ Bosnian Edin Džeko บรรลุผลสำเร็จในฤดูกาลที่ได้รับรางวัลชนะเลิศทำประตูได้ 28 และ 26 ตามลำดับ โดย Zvjezdan Misimović ทำสถิติ 20 มีส่วนในการช่วยทำประตู อันเป็นผลมาจากการคว้าแชมป์ โวล์ฟสบวร์กมีคุณสมบัติในการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
ในฤดูกาล 2009-10 โวล์ฟสบวร์กแต่งตั้งผู้ฝึกสอนคนใหม่ Armin Veh หลังจากช่วงฤดูหนาวอันเนื่องมาจากการขาดความสำเร็จโดยสโมสรอยู่อันดับที่สิบในลีก ในแชมเปี้ยนส์ลีกพวกเขาได้ที่สามในกลุ่มของพวกเขา ตามหลังแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และ CSKA มอสโก สูญเสียโอกาสในการแข่งขันรอบต่อเนื่อง เป็นผลให้พวกเขามีคุณสมบัติสำหรับรอบ 32 ของยูฟ่ายูโรปาลีก พวกเขาเอาชนะบียาร์เรอัล 6-3 และชนะแชมป์รัสเซีย รูบินคาซาน 3-2 ในรอบรองชนะเลิศ อย่างไรก็ตามพวกเขาพ่ายแพ้ 3-1 ใให้กับฟูแล่ม ในรอบชิงชนะเลิศ
เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2010 ตำแหน่งหัวหน้าโค้ชถาวรถูกเติมเต็มโดยอดีตผู้จัดการทีมชาติอังกฤษ Steve McClaren หลังจากนำทเวนเต้ไปสู่ตำแหน่งชาวดัตช์คนแรกของพวกเขาเขาก็ได้รับรางวัลจากการเป็นโค้ชชาวอังกฤษคนแรกที่ได้รับโอกาสในการคุมทีมในบุนเดสลีกา อย่างไรก็ตามในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2011 มีการประกาศว่า McClaren ถูกไล่ออกและแทนที่ด้วย Pierre Littbarski โวล์ฟสบวร์กแพ้เป็นครั้งที่สี่ในการแข่งขันห้าครั้งภายใต้เขา และในที่สุดพวกเขาก็ร่วงไปอยู่ในโซนตกชั้น
เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2011 โวล์ฟบวร์กยืนยันว่า เฟลิกซ์ มากาธ จะกลับมาเป็นหัวหน้าโค้ชและผู้อำนวยการกีฬา เกือบสองปีนับตั้งแต่เขาพาพวกเขาไปสู่แชมป์บุนเดสลีกา และเพียงสองวันหลังจากถูกไล่ออกจากตำแหน่งที่ชาลเก้ 04 Magath นำสโมสรไปสู่ความปลอดภัย แม้ว่าสโมสรจะลงทุนอย่างหนัก แต่ Magath สามารถทำได้สำเร็จเพียงในตำแหน่งกลางตาราง ในฤดูกาล 2011-12 หลังจากทำได้เพียงห้าคะแนนในการแข่งขันแปดนัด ในฤดูกาล 2012-13, Magath ออกจากสโมสรด้วยความยินยอมร่วมกันและถูกแทนที่ชั่วคราวโดยอดีตผู้เล่นโวล์ฟบวร์ก ที่ย้อนกลับมาเป็นโค้ชทีม Lorenz-GüntherKöstner เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2012 อดีตหัวหน้าโค้ช FC Nürnberg Dieter Hecking ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าโค้ชคนใหม่ของ โวล์ฟบวร์กในสัญญาที่ยาวนานจนถึงปี 2016
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2015 โวล์ฟสบวร์กได้ซื้อ André Schürrle จากทีมเชลซีในต่างประเทศโดยมีค่าใช้จ่าย 30 ล้านยูโร ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่แพงที่สุดสำหรับสโมสร Schürrleไม่มีความสุขกับการเป็นสำรองที่เชลซี และขอให้ย้ายทีมอื่นไป ด้วยทีมที่ได้รับการเสริมทัพอย่างดี สโมสรได้รองแชมป์ในฤดูกาล 2014–15 บุนเดสลีกา มีคุณสมบัติโดยอัตโนมัติสำหรับรอบแบ่งกลุ่มแชมเปี้ยนส์ลีกปี 2015-16 ในวันที่ 30 พฤษภาคมทีมชนะ DFB-Pokal รอบ Final เหนือ Borussia Dortmund ในปี 2015 ซึ่งเป็นชัยชนะถ้วยแรกของเยอรมนีในประวัติศาสตร์ของสโมสร
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคมเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลแข่งขันของโวล์ฟสบวร์ก ฤดูกาล 2015–16 ทีมเอาชนะแชมป์บุนเดสลีกาบาเยิร์น ในการแข่งขัน DFL-Supercup ในปี 2015 ซึ่งเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญของสโมสร เนื่องจากไม่มีถ้วยรางวัลมาตลอด ในตอนท้ายของตลาดซื้อขายผู้เล่นหน้าร้อนปี 2015 โวล์ฟบวร์กขายนักฟุตบอลชาวเยอรมันแห่งปีประจำปี 2014–15 Kevin De Bruyne ไปยังแมนเชสเตอร์ซิตี้ ด้วยค่าตัวจำนวน 75 ล้านยูโร
ในฤดูกาล 2015-16 โวล์ฟบวร์กได้อันดับที่ 8 มีการแข่งขันตลอดฤดูกาลจนถึงจุดนั้น ในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกพวกเขาเข้าถึงรอบที่สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของทีมในรอบรองชนะเลิศ ที่พวกเขาเผชิญหน้ากับเรอัลมาดริด และตกรอบตรงนี้ ในเดือนมกราคม 2017 VfL โวล์ฟบวร์กได้ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงที่จะร่วมมือกับ Chattanooga FC ซึ่งตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกาซึ่งรวมถึงฟุตบอลหญิงการพัฒนาเยาวชนและความรับผิดชอบต่อสังคมในท้องถิ่น ทั้งสองทีมกล่าวถึงความเป็นไปได้ในอนาคตของมิตรประเทศ
โวล์ฟสบวร์กดิ้นรนตลอดฤดูกาล 2016-17 เปลี่ยนผู้จัดการทีมหลายคน และในที่สุดก็จบลงด้วยการที่ 16 ในบุนเดสลีกามีเพียง 37 คะแนน
The post สืบเสาะประวัติ โวล์ฟบวร์ก [Wolfsburg] first appeared on ผลบอลสด บ้านผลบอล ผลบอลวันนี้ 7m 888 Livescore.]]>Fußball – Club Bayern München e.V. หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า บาเยิร์น มิวนิค หรือ บาเยิร์น เป็นสโมสรกีฬาของเยอรมัน เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีสำหรับทีมฟุตบอลอาชีพซึ่งเล่นในบุนเดสลีกา ซึ่งเป็นสโมสรฟุตบอลที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประวัติศาสตร์ฟุตบอลเยอรมันโดยเป็นแชมป์ 28 ครั้งและถ้วยระดับชาติ 18 ครั้ง
บาเยิร์น ก่อตั้งขึ้นในปีพ. ศ. 1900 โดยมีนักฟุตบอล 11 คนนำโดย ฟรานซ์จอห์น แม้ว่าบาเยิร์นจะลงเล่นครั้งแรกในการแข่งขันชิงแชมป์แห่งชาติ ปี1932 สโมสรไม่ได้ถูกเลือกสำหรับบุนเดสลีกาที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1963 สโมสรมีช่วงเวลาแห่งความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในช่วงกลางยุค 70 เมื่อภายใต้หัวหน้าของ Franz Beckenbauer คว้าถ้วยยุโรปสามครั้งติดต่อกัน (1974-1976) โดยรวมแล้วบาเยิร์นได้เข้ารอบชิงชนะเลิศฟุตบอลยุโรป/ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกรอบชิงชนะเลิศสิบครั้งซึ่งล่าสุดได้รับตำแหน่งที่ห้าในปี 2013 บาเยิร์นยังได้รับรางวัลอีกหนึ่งคือถ้วยยูฟ่าคัพ วินเนอร์ส, ถ้วยยูฟ่าซูเปอร์คัพ 1 ครั้ง, ฟีฟ่าคลับ1 ครั้ง และสองถ้วยทวีปทำให้เป็นหนึ่งในสโมสรยุโรปที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในระดับสากลและสโมสรเยอรมันเพียงแห่งเดียว นับตั้งแต่ก่อตั้งกลุ่มบุนเดสลีกาบาเยิร์นเป็นสโมสรที่โดดเด่นในฟุตบอลเยอรมันชนะ 27 รายการรวมถึงหกรายการติดต่อกันตั้งแต่ปี 2013 พวกเขามีการแข่งขันแบบท้องถิ่นกับ 1860 มิวนิก และ 1 FC Nürnberg เช่นเดียวกับ Borussia Dortmund
ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของฤดูกาล 2005-06 บาเยิร์นเล่นเกมในบ้านที่อลิอันซ์อารีน่า ก่อนหน้านี้ทีมเคยเล่นที่ Olympiastadion ของมิวนิคเป็นเวลา 33 ปี ทีมใช้สีแดงและขาว ธงสีขาวและสีฟ้าของบาวาเรีย ในแง่ของรายได้บาเยิร์นมิวนิคเป็นสโมสรกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในเยอรมนีและเป็นสโมสรฟุตบอลที่สร้างรายได้มากเป็นอันดับสี่ของโลกสร้างมูลค่า 587.8 ล้านยูโรในปี 2017 สำหรับฤดูกาล 2017–18 บาเยิร์นรายงานรายได้ 657.4 ล้านยูโรและกำไรจากการดำเนินงาน 136.5 ล้านยูโร นี่เป็นปีที่ 26 ของบาเยิร์นติดต่อกันโดยมีกำไร ในเดือนพฤศจิกายน 2018 บาเยิร์นมีสมาชิกอย่างเป็นทางการ 291,000 คนและมีแฟนคลับลงทะเบียนอย่างเป็นทางการ 4,433 คนและมีสมาชิกมากกว่า 390,000 คน สโมสรมีแผนกอื่นๆ สำหรับหมากรุก, แฮนด์บอล, บาสเกตบอล, ยิมนาสติก, โบว์ลิ่ง, ปิงปอง และฟุตบอลอาวุโสกว่า 1,100 สมาชิก เมื่อวันที่มกราคม 2019 เอฟซี บาเยิร์น เป็นอันดับที่สองในการจัดอันดับสัมประสิทธิ์สโมสรยูฟ่าในปัจจุบัน
สโมสรฟุตบอลบาเยิร์นมิวนิคก่อตั้งโดยสมาชิกของสโมสรยิมนาสติกมิวนิค (MTV 1879) การรวมตัวกันของสมาชิกของ MTV 1879 ได้ตัดสินใจเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1900 ว่านักฟุตบอลของสโมสรจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมสมาคมฟุตบอลเยอรมัน (DFB) สมาชิกของฝ่ายฟุตบอล 11 คนออกจากการชุมนุมและในตอนเย็นเดียวกันได้เกิด Club Bayern München ภายในเวลาไม่กี่เดือนบาเยิร์นประสบความสำเร็จอย่างสูง ชนะคู่แข่งในท้องถิ่นรวมทั้ง 15-0 ชนะแฟนคลับนอร์สเทิร์น และเข้าถึงรอบรองชนะเลิศของการแข่งขันชิงแชมป์ภาคใต้ของเยอรมัน 1900-01 ในปีต่อๆ มาสโมสรได้รับรางวัลถ้วยรางวัลท้องถิ่นและในปี 1910–11 บาเยิร์นได้เข้าร่วมก่อตั้ง “Kreisliga” ซึ่งเป็นลีกบาวาเรียนแรกในภูมิภาค สโมสรนี้จะเป็นแชมป์ลีกในปีแรก แต่ก็ไม่ชนะอีกเลยจนกระทั่งต้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 1914 ซึ่งหยุดกิจกรรมฟุตบอลทั้งหมดในเยอรมนี ในตอนท้ายของทศวรรษแรกของการก่อตั้งเอฟซีบาเยิร์นได้ดึงดูดผู้เล่นทีมชาติเยอรมันคนแรก Max Gaberl Gablonsky ในปี 1920 มีสมาชิก 700 คน ทำให้สโมสรฟุตบอลที่ใหญ่ที่สุดในมิวนิก
ในช่วงหลายปีหลังสงครามบาเยิร์นชนะหลายครั้งในระดับภูมิภาค ก่อนที่จะชนะการแข่งขันชิงแชมป์เยอรมันใต้ครั้งแรกในปี 1926 ความสำเร็จซ้ำสองปีต่อมา ชาติแรกที่ได้รับตำแหน่ง 1932 เมื่อโค้ช Richard “Little Dombi” Kohn พาทีมไปแข่งขันชิงแชมป์เยอรมันโดยการเอาชนะ ไอน์ทรัค แฟรงค์เฟิร์ต 2-0 ในรอบชิงชนะเลิศ การถือกำเนิดของลัทธินาซีทำให้การพัฒนาของบาเยิร์นสิ้นสุดลงอย่างกะทันหัน ประธานสโมสร Kurt Landauer และโค้ชซึ่งทั้งคู่เป็นชาวยิวหนีออกจากประเทศ คนอื่นๆ ในสโมสรก็ถูกกำจัด บาเยิร์นถูกล้อเลียนว่าเป็น “สโมสรของชาวยิว” ในขณะที่คู่แข่งในท้องถิ่น 1860 มิวนิกได้รับการสนับสนุนมาก Josef Sauter ซึ่งเปิดตัวเมื่อปี 1943 เป็นสมาชิก NSDAP คนเดียวในฐานะประธาน บาเยิร์นก็ได้รับผลกระทบจากคำตัดสินของศาลว่าผู้เล่นฟุตบอลจะต้องเป็นมือสมัครเล่นเต็มอีกครั้ง
หลังจากสงคราม บาเยิร์น กลายเป็นสมาชิกของ Oberliga Süd การประชุมภาคใต้ของเยอรมันส่วนแรกซึ่งแบ่งออกเป็นห้าในเวลานั้น บาเยิร์นพยายามว่าจ้างและเปลี่ยนโค้ช 13 คนระหว่างปี 1945 และ 1963 Landauer กลับมาจากการตกชั้นในปี 1947 และได้รับแต่งตั้งเป็นนายกสโมสรอีกครั้งดำรงตำแหน่งจนถึงปี 1951 เขายังคงดำรงตำแหน่งประธานสโมสรด้วยระยะเวลาสะสมยาวนานที่สุด ถือว่าเป็นผู้ก่อตั้งของบาเยิร์น Landauer ในฐานะมืออาชีพและความทรงจำของเขาถูกยึดถือโดยบาเยิร์น ultras Schickeria ปี 1955 ในสโมสรตกชั้น แต่กลับไปที่ Oberliga ในฤดูกาลถัดไป และคว้าแชมป์ DFB – Pokal เป็นครั้งแรก โดยชนะ Fortuna Düsseldorf 1-0 ในรอบชิงชนะเลิศ สโมสรต้องดิ้นรนทางการเงินแม้ว่าจะล้มละลายในช่วงปลายยุค 50 ผู้ผลิต Roland Endler จัดหาเงินทุนที่จำเป็นและได้รับรางวัลเป็นเวลา 4 ปีที่เป็นหางเสือของสโมสรในปี 1963 ที่ Oberligas ในเยอรมนีถูกรวมเข้าเป็นหนึ่งในลีกระดับชาติที่บุนเดสลีกา ห้าทีมจาก Oberliga South ได้รับการยอมรับ บาเยิร์นได้อันดับสามในภาคใต้ของปีนั้น แต่ทีม1860 มิวนิกชนะการแข่งขัน DFB ไม่ต้องการมีสองทีมจากเมืองหนึ่ง บาเยิร์นจึงไม่ได้รับเลือกให้เข้าร่วมในบุนเดสลีกา พวกเขาได้รับการเลื่อนชั้นในอีกสองปีต่อมา
ในบุนเดสลีกาฤดูกาลแรกของพวกเขา บาเยิร์นได้อันดับสาม และคว้าแชมป์ DFB-Pokal มีคุณสมบัติสำหรับถ้วยยุโรปในปีถัดไปของผู้ชนะ บาเยิร์นยังคงป้องกันแชมป์ DFB-Pokal ไว้ได้ แต่ความคืบหน้าโดยรวมช้าลงทำให้ Branko Zebec เข้ารับตำแหน่งโค้ช เขาเข้ามาแทนที่รูปแบบการเล่นที่น่ารังเกียจของบาเยิร์นด้วยวิธีการที่มีระเบียบวินัยมากกว่า และในการทำเช่นนี้ประสบความสำเร็จในลีกและถ้วยคู่แรกในประวัติศาสตร์บุนเดสลีกาในปี 1969 บาเยิร์นมิวนิคเป็นหนึ่งในสี่สโมสรเยอรมัน ประกอบด้วย Borussia Dortmund, 1. FC Kölnและ Werder Bremen Zebec ที่ใช้ผู้เล่นเพียง 13 คนตลอดทั้งฤดูกาล
Udo Lattek รับหน้าที่ในปี 1970 หลังจากชนะ DFB-Pokal ในฤดูกาลแรกของเขา Lattek นำบาเยิร์นไปสู่การแข่งขันชิงแชมป์เยอรมันครั้งที่สาม การตัดสินการแข่งขันในฤดูกาล 1971-72 กับชาลเก้ 04 นัดแรกในโอลิมปิกใหม่ และยังเป็นทีมแรกที่ถ่ายทอดสดการแข่งขันในประวัติศาสตร์บุนเดสลีกา บาเยิร์นชนะชาลเก้ 5-1 และอ้างสิทธิ์ในตำแหน่งเช่นกันและยังมีการบันทึกหลายครั้งรวมถึงคะแนนที่ได้ ประสบความสำเร็จในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์ยุโรป 1974 สุดท้ายกับ แอตเลติโก มาดริด บาเยิร์นชนะ 4-0 หลังจากชนะรางวัล Cup Winners ‘trophy 1967 และรอบรองชนะเลิศ 2 รอบ (1968 และ 1972) ในการแข่งขันครั้งนี้ เป็นเครื่องหมายแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาของสโมสรว่าเป็นกำลังสำคัญในเวทีระหว่างประเทศ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทีมประสบความสำเร็จในประเทศ ป้องกันแชมป์ของพวกเขาในยุโรปด้วยการเอาชนะลีดส์ยูไนเต็ดในการแข่งขันฟุตบอลยุโรปครั้งสุดท้ายเมื่อปี 1975 เมื่อ Roth และ Müller ได้รับชัยชนะด้วยทำประตูท้ายๆเกมส์ “ เรากลับมาสู่เกมและยิงสองประตูนำโชคดังนั้นในที่สุดเราก็เป็นผู้ชนะ แต่เราโชคดีมากๆ ” Franz Beckenbauer กล่าว Billy Bremner เชื่อว่าผู้ตัดสินชาวฝรั่งเศส “น่าสงสัยมาก” จากนั้นแฟนๆ ลีดส์ก็ถูกจลาจลในปารีสและถูกแบนจากฟุตบอลยุโรปเป็นเวลาสามปี [29] อีกหนึ่งปีต่อมาที่กลาสโกว์ แซงต์ – เอเตียนน์ ก็พ่ายแพ้ จากประตูของโรทอีกครั้ง และบาเยิร์นก็กลายเป็นสโมสรที่สามเพื่อคว้าถ้วยรางวัลในรอบสามปีติดต่อกัน ถ้วยรางวัลสุดท้ายที่ชนะโดยบาเยิร์นในยุคนี้คือ อินเตอร์คอนติเนนตัลคัพ ซึ่งพวกเขาพ่ายแพ้ให้สโมสร Cruzeiro จากบราซิลไปทั้งสองนัดา เวลาที่เหลือในทศวรรษนี้เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงและไม่ได้รับตำแหน่งใดๆ สำหรับบาเยิร์น ปี 2520 Franz Beckenbauer ออกจากนิวยอร์กคอสโมส และในปี 1979 Sepp Maier และ Uli Hoeneß เกษียณขณะที่ Mülle เข้าร่วม Fort Lauderdale Strikers Bayerndusel ได้รับการประกาศเกียรติคุณในช่วงเวลานี้เนื่องจากเป็นการแสดงออกถึงการดูถูกเหยียดหยาม หรือความอิจฉาเกี่ยวกับชัยชนะบางครั้งที่แคบและในนาทีสุดท้ายต่อทีมอื่นๆ
ยุค 80 เป็นช่วงเวลาของความวุ่นวาย นอกสนามสำหรับบาเยิร์นด้วยการเปลี่ยนแปลงจำนวนมากในเรื่องบุคลากรและปัญหาทางการเงิน บนสนาม Paul Breitner และ Karl-Heinz Rummenigge เรียกว่า FC Breitnigge นำทีมคว้าแชมป์บุนเดสลีกา 1980 และ 1981 ในนอกเหนือจากการชนะ DFB-Pokal 1982 ในสองฤดูกาลที่ประสบความสำเร็จตามหลัง Breitner และอดีตโค้ช Udo Lattek นำ บาเยิร์นชนะ DFB-Pokal ในปี 1984 และเดินหน้าคว้าแชมป์บุนเดสลีกาห้าครั้งในหกฤดูกาลรวมถึงสองครั้งในปี 1986 ความสำเร็จในยุโรปนั้นยากจะเข้าใจในช่วงทศวรรษ บาเยิร์นพยายามและได้รองแชมป์ถ้วยยุโรป 1982 และ 1987
Jupp Heynckes ได้รับการว่าจ้างเป็นโค้ชในปี 1987 แต่หลังจากการติดต่อกันสองครั้งในปี 1988-89 และ 1989-90 ฟอร์มของบาเยิร์นลดลง หลังจบฤดูกาล 2533-34 สโมสรมีแค่ห้าคะแนนเหนือการตกชั้นใน 1991-92 ใน 1993-94 บาเยิร์นตกรอบในถ้วยยูฟ่ารอบสอง โดย นอริชซิตี้ ซึ่งยังคงเป็นสโมสรเดียวในอังกฤษที่จะเอาชนะบาเยิร์นที่ Olympiastadion ความสำเร็จกลับมาเมื่อ Franz Beckenbauer เข้ามาในช่วงครึ่งหลังของฤดูกาล 1993-94โดยชนะการแข่งขันชิงแชมป์อีกครั้งหลังจากนั้นสี่ปีช่องว่าง จากนั้นก็ได้รับแต่งตั้งให้ Beckenbauer เป็นประธานสโมสร
ผู้สืบทอดของเขาในฐานะโค้ช Giovanni Trapattoni และ Otto Rehhagel ทั้งสองหลังจบฤดูกาลไม่พบถ้วยรางวัล จากความคาดหวังสูงของสโมสร ในช่วงเวลานี้ผู้เล่นของบาเยิร์นปรากฏตัวบ่อยครั้งในหน้าซุบซิบของสื่อมวลชนมากกว่าหน้ากีฬาส่งผลให้มีชื่อเล่น FC Hollywood Beckenbauer กลับมาในตอนท้ายของฤดูกาล 1995-96 ในฐานะโค้ชผู้ดูแลและพาทีมไปสู่ชัยชนะในถ้วยยูฟ่าเอาชนะบอร์โดซ์ ในรอบชิงชนะเลิศ สำหรับฤดูกาล 1996-97, Trapattoni กลับไปชนะการแข่งขันชิงแชมป์ ในฤดูกาลถัดไป บาเยิร์นแพ้ทีมที่เพิ่งเลื่อนชั้นอย่าง 1 FC Kaiserslautern และ Trapattoni ลาออกเป็นครั้งที่สอง
หลังจากที่เขาประสบความสำเร็จใน Borussia Dortmund บาเยิร์นได้แต่งตั้ง Ottmar Hitzfeld จาก 1998 ถึง 2004 ในฤดูกาลแรกของ Hitzfeld บาเยิร์นชนะบุนเดสลีกา และเข้ามาใกล้ชนะแชมเปียนส์ลีกโดยนำแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 2-1 ในปีต่อมาในฤดูกาลที่ครบรอบหนึ่งร้อยปีของสโมสรบาเยิร์นชนะในลีกปีที่สามติดต่อกัน และได้ดับเบิ้ลประวัติศาสตร์ แชมป์บุนเดสลีกาปีที่สามติดต่อกันในปี 2001 ไม่กี่วันต่อมาบาเยิร์นชนะแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งที่สี่หลังจากช่องว่าง 25 ปี โดยเอาชนะบาเลนเซีย ด้วยจุดโทษ ในฤดูกาล 2001-02 เริ่มต้นด้วยชัยชนะในถ้วยทวีป แต่จบลงด้วยการเป็นอย่างอื่น ไม่ได้แชมป์เลย ใน 2002-03 บาเยิร์นคว้าแชมป์โดยทำสถิติคะแนนห่างจากอันดับสอง 16 คะแนน Hitzfeld สิ้นสุดลงในปี 2004 โดยบาเยิร์นมีประสิทธิภาพต่ำลง รวมถึงความพ่ายแพ้ ต่อทีมจากดิวิชั่นอง Alemannia Aachen ใน DFB-Pokal
เฟลิกซ์มากาธ เข้ามาและนำบาเยิร์นได้ดับเบิ้ลแชมป์ติดต่อกัน ก่อนที่จะเริ่มฤดูกาล 2005-2006 บาเยิร์นย้ายจาก Olympiastadion ไปยัง อลิอันซ์ อารีน่าใหม่ซึ่งสโมสรร่วมกับ 1860 มิวนิก บนสนามการเล่นของพวกเขาในฤดูกาล 2006-07 นั้นไม่แน่นอน ในลีก และแพ้ Alemannia Aachen ในถ้วยอีกครั้งโค้ช มากาธ ถูกไล่ออกไม่นานหลังจากช่วงพักฤดูหนาว Hitzfeld กลับมาคุมทีมในเดือน มกราคม 2007 แต่บาเยิร์นจบฤดูกาล 2006-07 ในตำแหน่งที่สี่ ทำให้พลาดการเข้าแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกในรอบกว่าทศวรรษ ความพ่ายแพ้เพิ่มเติมใน DFB-Pokal และ DFB-Ligapokal
สำหรับฤดูกาล 2007-08 บาเยิร์นทำการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เพื่อช่วยสร้างทีมใหม่ พวกเขาเซ็นสัญญากับผู้เล่นใหม่ทั้งหมดแปดคน และขายปล่อยหรือยืมผู้เล่นของพวกเขาเก้าคน ในบรรดาการเซ็นสัญญาครั้งใหม่คือ ดาราฟุตบอลโลกปี 2006 เช่น Franck Ribéry, Miroslav Klose และ Luca Toni บาเยิร์นชนะการแข่งขันบุนเดสลีกาอยู่เหนืออันดับในทุกๆ สัปดาห์ของการแข่งขันและ DFB-Pokal กับ Borussia Dortmund
วันที่ 11 มกราคม 2008 Jürgen Klinsmann ถูกเสนอชื่อให้เป็นผู้สืบทอดของ Hitzfeld วันที่ 1 กรกฏาคม 2008 หลังจากได้เซ็นสัญญากันสองปีที่แล้ว บาเยิร์นมิวนิค แพ้ DFL – Supercup 1-2 กับโบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ในปี 2008 จากนั้นก็ตกรอบโดยไบเออร์เลเวอร์คูเซ่นในรอบรองชนะเลิศของ DFB-Pokal ในแชมเปี้ยนส์ลีกบาเยิร์นเข้าถึงถึงรอบรองชนะเลิศหลังจากชนะกลุ่ม F และชนะสปอร์ติ้งซีพี เมื่อวันที่ 27 เมษายนสองวันหลังจากที่พ่ายแพ้ต่อบ้านชาลเก้ 04 ซึ่งบาเยิร์นตกลงไปที่อันดับสามในตาราง Klinsmann ถูกไล่ออก อดีตเทรนเนอร์ Jupp Heynckes ได้รับการตั้งชื่อว่าเป็นผู้ดูแลจนกระทั่งสิ้นสุดฤดูกาล ในที่สุดบาเยิร์นมีคุณสมบัติตรงกับแชมเปียนส์ลีกใน 2009-10 บาเยิร์นจึงเซ็นสัญญาผู้จัดการชาวดัตช์ หลุยส์ วานกัล ในฤดูกาล 2009-10 การเซ็นสัญญาหลายล้านของ Arjen Robben และ Mario Gómez ก็ตามมา เพื่อให้บาเยิร์นขึ้นสู่จุดสูงสุดของฉากในยุโรป ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2010 บาเยิร์นมิวนิคชนะการแข่งขันบุนเดสลีกาะ 3-1 เหนือ Hertha BSC บาเยิร์นชนะ DFB-Pokal เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2010 บาเยิร์นเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศ แชมเปียนส์ลีก2010 แต่แพ้ 2-0 โดยอินเตอร์ มิลาน
ในฤดูกาล 2010-2011 บาเยิร์นตกรอบในรอบแรกของการแข่งขันรอบน็อกเอ๊าต์แชมเปี้ยนส์ลีกโดยอินเตอร์ มิลานในการทำประตูและจบฤดูกาลด้วยอันดับที่สามในบุนเดสลีกา วานกัล ถูกไล่ออกโดย ในเดือนเมษายน 2011
ในฤดูกาล 2011-12, Heynckes กลับมาเป็นโค้ชบาเยิร์นเป็นครั้งที่สอง แต่ทีมจบฤดูกาลโดยไม่มีถ้วยรางวัลสำหรับฤดูกาลที่สอง ในประเทศพวกเขาจบอันดับสองในบุนเดสลีกาและแพ้ DFB-Pokal รอบชิงชนะเลิศ 2-5 ทั้งสองครั้งจบอันดับรองชนะเลิศที่ Borussia Dortmund พวกเขาก็มาถึงรอบชิงชนะเลิศของแชมเปี้ยนส์ลีกในบ้านของพวกเขา แต่แพ้เชลซีในการยิงจุดโทษ (3-4) เป็นความพ่ายแพ้ครั้งที่สองของสโมสรกับทีมอังกฤษในมิวนิก และเป็นครั้งแรกที่สนามกีฬาอลิอันซ์
ในฤดูกาล 2012-13, บาเยิร์นชนะ DFL-Supercup 2–1 ต่อคู่แข่งโบรุสเซียดอร์ทมุนด์ บาเยิร์นกลายเป็นทีมแรกในประวัติศาสตร์ที่ชนะการแข่งขันแปดนัดแรกในบุนเดสลีกาหลังจากชนะไป 5-0 ต่อFortuna Düsseldorf เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2013 บาเยิร์นคว้าแชมป์บุนเดสลีกา 2012-13 หลังจากชนะ ไอน์ทรัค แฟรงค์เฟิร์ต 1-0 ด้วยการเหลืออีกหกเกมสร้างสถิติใหม่เร็วที่สุดเท่าที่มีมาในบุนเดสลีกา บันทึกอื่นๆ ของบุนเดสลีกาที่บาเยิร์นกำหนดไว้ในฤดูกาล 2012–13 นั้นรวมคะแนนมากที่สุดในฤดูกาล 91 คะแนน ลีกที่ชนะคะแนนสูงสุด (25), ชนะมากที่สุดในฤดูกาล (29) และมีเสรยประตูน้อยที่สุดในฤดูกาลในแชมเปียนส์ลีก รอบชิงชนะเลิศเป็นครั้งที่สามในสี่ฤดูกาล ชนะถ้วยยุโรปที่ห้าของสโมสรด้วยความพ่ายแพ้ของคู่แข่งในประเทศ 2-1 Borussia Dortmund ที่สนามเวมบลีย์ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2013 บาเยิร์นเอาชนะ VfB สตุ๊ตการ์ท 3-2 ในรอบชิงชนะเลิศ DFB-Pokal 2013
เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2013 Pep Guardiola เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมก่อนหน้าฤดูกาล 2013–14 บาเยิร์นจัดการเซ็นสัญญาของ Mario Götze จากโบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ด้วยค่าตัว 37 ล้านยูโรซึ่งกลายเป็นผู้เล่นชาวเยอรมันที่แพงที่สุดในประวัติศาสตร์ (ซึ่งต่อมาถูกแซงโดย Mesut Özil จากเรอัล มาดริดไปอาร์เซนอล เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2013 มีรายงานว่าบาเยิร์นได้กลายเป็นสโมสรเยอรมันแห่งแรกที่มีสมาชิกมากกว่า 200,000 คน เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2013 บาเยิร์น มิวนิค แพ้คู่แข่ง Borussia Dortmund 2-4 ในการแข่งขัน DFL-Supercup 2013 ที่ Signal Iduna Park เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2013 บาเยิร์นชนะการแข่งขันยูฟ่าซูเปอร์คัพกับเชลซี เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2013 บาเยิร์นสร้างสถิติใหม่สำหรับการแข่งขันบุนเดสลีกาโดยไม่พ่ายแพ้ทำลายสถิติ 30 ปีของ Hamburger SV จากการแข่งขัน 36 ครั้ง ในที่สุดก็ขยายไปถึง 53 นัดก่อนที่บาเยิร์นแพ้สโมสรฟุตบอลเอาก์สบวร์กไป 1-0 ในเดือนเมษายน 2014 เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2013 บาเยิร์นได้กลายเป็นทีมแรกที่ชนะการแข่งขันแชมเปี้ยนส์ลีกติดต่อกันสิบครั้ง ด้วยชัยชนะเหนือ CSKA มอสโก 3-1 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2013 บาเยิร์นเอาชนะราชาคาซาบลังกา 2-0 ที่สนามกีฬา Stade de Marrakechชนะการแข่งขัน FIFA Club World Cup 2013
หลังจากเกือบหนึ่งปีของการสอบสวน Uli Hoeneß อดีตผู้เล่นของบาเยิร์น อดีตผู้จัดการทั่วไปและประธานสโมสรในเวลานั้น เขาถูกตัดสินว่ามีความผิดเกี่ยวกับการเสียภาษีในวันที่ 13 มีนาคม 2014 Hoeneß ลาออกจากตำแหน่งในวันถัดไป การเลือกตั้งประธานมีขึ้นวันที่ 2 พฤษภาคม เพียงไม่กี่วันหลังจากการตัดสินของ Hoeneß ในวันที่ 25 มีนาคมบาเยิร์นชนะการแข่งขันบุนเดสลีกาครั้งที่ 24 โดยเอาชนะ Hertha BSC 3-1 ที่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่กรุงเบอร์ลิน ยังเหลือการแข่งขันอีกเจ็ดนัดในฤดูกาล เป็นครั้งแรกที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในประวัติศาสตร์บุนเดสลีกา ทำลายสถิติบาเยิร์นได้ตั้งในฤดูกาลที่แล้ว เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลบาเยิร์นเอาชนะโบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ 2-0 ในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ DFB-Pokal รอบชิงชนะเลิศปี 2014 ในฤดูกาล 2014-15 บาเยิร์นป้องกันแชมป์ในลีกและในฤดูกาลถัดไป] ในตอนท้ายของฤดูกาล 2015-16 การ์ดิโอลา ลาออกจากบาเยิร์น ออกไปรับตำแหน่งผู้จัดการทีมแมนเชสเตอร์ซิตี้และถูกแทนที่ด้วยคาร์โล อันเชล็อตติ
บาเยิร์นเริ่มต้นได้ดีภายใต้ อันเชล็อตติ เอาชนะดอร์ทมุนด์ 2-0 ในการแข่งขัน DFL-Supercup 2016 แม้จะตกรอบในรอบรองชนะเลิศของแชมเปี้ยนส์ลีกโดยเรอัลมาดริด และรอบรองชนะเลิศของ DFB-Pokal โดย Borussia Dortmund พวกเขาพยายามที่จะคว้าแชมป์บุนเดสลีกาติดต่อกันเป็นสมัยที่ห้า Ancelotti ถูกไล่ออกจากบาเยิร์นเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2017 และถูกแทนที่โดยผู้จัดการชั่วคราว Willy Sagnol หลังจากแพ้ปารีส แซงต์ แชร์กแมง ไป 3-0 ในช่วงการแข่งขันแชมเปียนส์ลีก 2017–18 และเริ่มต้นฤดูกาลบุนเดสลีกา Sagnol รับผิดชอบเพียงแปดวันและคุมเกมเดียวเท่านั้น เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2017 Jupp Heynckes กลับมาเป็นครั้งที่สี่เพื่อจัดการบาเยิร์น Heynckes เซ็นสัญญาจนกระทั่งสิ้นสุดฤดูกาล 2017–18 บาเยิร์นจบฤดูกาล 2017–18 ในฐานะแชมป์เปี้ยนบุนเดสลีกา เป็นฤดูกาลที่หกติดต่อกัน Heynckes เกษียณจากฟุตบอลอาชีพด้วยอายุ 73
หลังจากเห็นได้ชัดว่า Heynckes ไม่สามารถทำหน้าที่หัวหน้าโค้ชได้ สโมสรก็เริ่มทำการค้นหาเพื่อทดแทน ในตอนแรกมีข่าวลือว่า Tomas Tuchel อดีตโค้ชของ Borussia Dortmund จะไป แต่เขาเซ็นสัญญากับปารีส แซงต์ แชร์กแมง เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2018 อดีตผู้เล่นบาเยิร์นมิวนิค Niko Kovač ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการในฐานะหัวหน้าโค้ชคนต่อไป
ไอน์ทรัคท์ Frankfurt e.V. หรือไอน์ทรัค แฟร้งค์เฟิร์ต เป็นสโมสรกีฬาของเยอรมัน ตั้งอยู่ในแฟรงค์เฟิร์ตเฮสส์ ปัจจุบันเล่นในบุนเดสลีกา ซึ่งเป็นระบบฟุตบอลลีกสูงสุดของเยอรมัน สโมสรแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 1899 และแชมป์ลีกเยอรมัน 1 ครั้ง, แชมป์ DFB-Pokals 5 ครั้งและแชมป์ UEFA Cup 1 ครั้ง ตั้งแต่ปี 1925 พวกเขาใช้สนาม Waldstadion เป็นสนามเหย้า ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น Commerzbank-Arena ในปี 2005
สโมสรฟุตบอลก่อตั้งขึ้นในปี 1899 ในชื่อ Frankfurter Fußball – Club Viktoria von 1899 ถือได้ว่าเป็น “ต้นกำเนิด” ด้านฟุตบอลของประวัติศาสตร์สโมสร และ Frankfurter Fußball – Club Viktoria von 1899 ทั้งสองสโมสร เป็นสโมสรสมาชิกที่ร่วมก่อตั้งลีก Nordkreis-Liga ในปี 1909 ทั้งสองทีมได้ควบรวมกันในเดือนพฤษภาคมปี 1911 และใช้ชื่อใหม่เป็น Frankfurter Fußball Verein (Kickers-Viktoria) ความสำเร็จรวดเร็วคือ การคว้าแชมป์ลีก 3 สมัยจากปี 1912 – 1914 ใน Nordkreis-Liga แชมป์เยอรมันตอนใต้ ในทางกลับกัน Frankfurter FV ได้รวมกับชมรมยิมนาสติก Frankfurter Turngemeinde von 1861 เพื่อก่อตั้ง TuS Eintracht Frankfurt von 1861 ในปี 1920 (คำภาษาเยอรมัน Eintracht หมายถึง ‘สามัคคี’ และ Eintracht X เทียบเท่ากับภาษาอังกฤษในชื่อ X United ทีมกีฬา )
ในเวลานั้นกีฬาในเยอรมนีถูกครอบงำโดยองค์กรยิมนาสติกแบบชาตินิยม และภายใต้แรงกดดันจากอำนาจการปกครองของกีฬายิมนาสติก ทำให้นักฟุตบอลได้แยกทางออกมาในปี1927 ในนาม Turngemeinde Eintracht Frankfurter von 1861 และ Sportgemeinde ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1920 และ 1930 ไอน์ทรัคท์ คว้าแชมป์การแข่งขันระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาคเป็นครั้งแรกใน Kreisliga Nordmain จากนั้น Bezirksliga Main และ Bezirksliga Main-Hessen ถูกตัดออกจากเพลย์ออฟระดับชาติหลังจากแพ้ในรอบก่อนรองชนะเลิศในปี 1930 และ 1931 พวกเขาเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศในปี 1932 แต่พ่ายแพ้ให้กับ บาเยิร์น มิวนิค 0-2 ซึ่งเป็นแชมป์เยอรมันทีมแรก ในปี 1933 ระบบฟุตบอลเยอรมันได้ จัดเป็น 16 ระดับแบ่งเป็น Gauligen แบ่งย่อยเป็น 3 ระดับ และพวกเขาได้ลงเล่นฟุตบอลในดิวิชั่น 1 ของ Gauliga Südwest จบฤดูกาลในครึ่งบนของตารางเสมอ และชนะคว้าแชมป์ได้ในปี 1938
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ไอน์ทรัคท์ ขึ้นมาเล่นในระดับที่แข็งแกร่งในดิวิชั่น 1 ของ Oberliga Süd และคว้าแชมป์ได้ในปี 1953 และ 1959 ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของพวกเขา เกิดขึ้นในฤดูกาลที่ 2 ของพวกเขา โดยการเอาชนะชัยชนะ เหนือคู่แข่งในท้องถิ่น Kickers Offenbach 5–3 เพื่อรับตำแหน่คว้าแชมป์ระดับชาติเยอรมันปี 1959 และตามมาด้วยการได้รองแชมป์ในถ้วยยุโรป 1960 โดย ไอน์ทรัคท์ แพ้ Real Madrid 3-7 ในรอบชิงชนะเลิศ ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในการแข่งขันฟุตบอลที่ดีที่สุดที่เคยมีมา รวมถึงแฮตทริกจาก Alfredo Di Stéfano และการทำคนเดียว 4 ประตูของ Ferenc Puskásb
ในขณะที่กำลังไปได้ดีในวงการฟุตบอล พวกเขาได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 16 ทีมเดิม ที่จะได้ลงเล่นในบุนเดสลีกา ลีกฟุตบอลใหม่ของเยอรมนี ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1963 ไอน์ทรัคท์ เล่นฟุตบอลบุนเดสลีกา 33 ฤดูกาล จบในครึ่งบนของตารางคะแนนเป็นประจำ ในฤดูกาล 1991-92 พวกเขาจบด้วยอันดับที่ 2 ตามหลังแชมป์อย่าง VfB Stuttgart เพียงแค่สองคะแนน ทีมรอดตกชั้นอย่างหวุดหวิดหลายต่อหลายครั้ง ในปี 1984 พวกเขาพ่ายแพ้ MSV Duisburg 6-1 และในปี 1989 พวกเขาชนะ 1 FC Saarbrücken 4-1 ในเพลย์ออฟสองเกม ในที่สุด ไอน์ทรัคท์ dH ตกชั้นไปเล่นใน บุนเดสลีกา 2 ในฤดูกาล 1996-97 ในช่วงเวลาที่พวกเขาตกชั้นพร้อมๆกับ 1 FC Kaiserslautern ซึ่งเป็น 2 ใน 4 ที่อยู่ในบุนเดสลีกาตั้งแต่ฤดูกาลแรกของลีก
ในฤดูกาล 1998–99 พวกเขาคว้าแชมป็ ด้วยการเอาชนะแชมป์เก่าอย่าง ไกเซอร์สเลาเทิร์น 5–1 ในขณะที่ 1. สโมสรฟุตบอลเนิร์นแบร์ก แพ้คาบ้านอย่างไม่น่าเชื่อ ในปีต่อไปในการต่อสู้เพื่อดิ้นรนหนีการตกชั้น สโมสรถูก “ปรับ” สองคะแนนโดยสมาคมฟุตบอลเยอรมัน (DFB) สำหรับความผิดทางการเงิน แต่รอดตกชั้นหลังชนะ SSV Ulm ในนัดสุดท้ายของฤดูกาล สโมสรประสบปัญหาทางการเงินอีกครั้งในปี 2004 หลังจากนั้นก็ตกชั้น
ฤดูกาล 2010–11 จบลงด้วยการตกชั้นจากบุนเดสลีกาเป็นครั้งที่ 4 ของสโมสร หลังจากทำสถิติได้คะแนนมากที่สุดในครึ่งแรกของฤดูกาล สโมสรต่อสู้อย่างหนักหลังจากหยุดพักหนีหนาว โดย เกมที่พวกเขาไม่สามารถทำประตูได้เลย แฟรงค์เฟิร์ตไล่โค้ช Michael Skibbe แทนที่เขาด้วยคริสโตฟ Daum การเปลี่ยนแปลงทำได้เพียงเล็กน้อยในช่วงเวลา 1 ปี อีกหนึ่งปีต่อมา ไอน์ทรัคท์ เอาชนะ Alemannia Aachen 3-0 ในการแข่งขันนัดที่ 32 ของฤดูกาล 2011–12ทำให้ได้เลื่อนชั้นกลับไปยังบุนเดสลีกาอีกครั้ง ในฤดูกาล 2017-18 ไอน์ทรัคท์ ถือเป็น 1 ใน 20 สโมสรแถวหน้าของยุโรป โดยมีสโมสรที่โดดเด่นเช่น Atlético de Madrid, Inter Milano และ Paris Saint-Germain
สโมสรประสบความสำเร็จอย่างมากในการแข่งขันนอกบุนเดสลีกา เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 1960ไอน์ทรัคพลาดถ้วยยุโรปรอบชิงชนะเลิศที่แฮมป์เด็นปาร์ค โดยแพ้ให้กับ เรอัล มาดริด ที่ 7-3 ต่อหน้าผู้ชม 127,621 คน ในการแข่งขัน Alfredo Di Stéfano ทำแฮตทริก และ Ferenc Puskás ทำได้ 4 ประตู ช่วยให้มาดริด ได้รับชัยชนะ
ในปี 1967 ไอน์ทรัคท์คว้าแชมป์การแข่งขันฟุตบอลอินเตอร์โตโต้ หลังจากเอาชนะ อินเตอร์ บราติสลาวา ในรอบชิงชนะเลิศ ไอน์ทรัคท์ ได้แชมป์ DFB-Pokal ในปี 1974, 1975, 1981, 1988 และ 2018และเป็นอีกทีมจากเยอรมันที่คว้าถ้วยยูฟ่าได้ในปี 1980 ในนอกจากนี้ ไอน์ทรัคท์ เข้ารอบชิงชนะเลิศ DFB-Pokal ในฤดุกาล 2005–06 แต่แพ้ให้กับคู่แข่งของพวกเขาในรอบชิงชนะเลิศ ในปีนั้น บาเยิร์น มิวนิค คว้าแชมป์บุนเดสลีกา ทำให้ ไอน์ทรัคท์ มีคุณสมบัติที่จะเข้าร่วมในแชมเปี้ยนส์ลีก จากการที่ ไอน์ทรัคท์ เป็นแชมป์ของ DFB-Pokal ทำให้สามารถลงเล่นใน UEFA Cup ได้ ซึ่งพวกเขาเข้าสู่รอบแบ่งกลุ่ม ในปี 2017 ใน DFB-Pokal พวกเขาพ่ายแพ้ในนัดชิงชนะเลิศให้กับ Borussia Dortmund และปีถัดไปเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศอีกครั้ง เป็นพวกเขาชนะ บาเยิร์น มิวนิค 3-1
นอกเหนือจากการเล่นกระชับมิตรกับสโมสรชื่อดังจากทั่วโลกแล้ว ไอน์ทรัคท์ ยังเล่นนัดกระชับมิตรกับทีมชาติจากประเทศต่อไปนี้ : อาร์เจนตินา, ออสเตรีย, อาเซอร์ไบจาน, เบลเยียม, โคลัมเบีย, เชโกสโลวะเกีย, อียิปต์, ฝรั่งเศส, เยอรมัน, ฮังการี, อิสราเอล, เคนยา, โคโซโว , คูเวต, ลักเซมเบิร์ก, มาเลเซีย, เม็กซิโก, เนเธอร์แลนด์, โปแลนด์, โรมาเนีย, เกาหลีใต้, ตูนิเซียและเวียดนาม
The post สืบประวัติอินทรีแดง-ดำ ไอน์ทรัค แฟร้งค์เฟิร์ต Eintracht Frankfurt first appeared on ผลบอลสด บ้านผลบอล ผลบอลวันนี้ 7m 888 Livescore.]]>สโมสรฟุตบอล เนิร์นแบร์ก (1. Fußball-Club Nürnberg Verein für Leibesübungen) หรือที่รู้จักกันทั่วไปในนาม เนิร์นแบร์ก คือสโมสรฟุตบอลอาชีพที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมือง เนิร์นแบร์ก รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี
ทีมถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1900 เริ่มลงเตะอยู่ในทัวร์นาเมนต์ใหญ่สุดทางตอนใต้ของประเทศ และคว้าแชมป์แรกในรายการนั้นเมื่อปี 1916 ก่อนจะประเดิมการครองบัลลังก์แชมป์สูงสุดของประเทศในปี 1920 หลังจากนั้นก่อนที่จะมีการเปิดตัว บุนเดสลีกา เมื่อปี 1963 เนิร์นแบร์ก เคยชนะเลิศในระดับภูมิภาคเพิ่มอีก 11 ครั้งและคว้าแชมป์ เยอรมัน แชมเปี้ยนชิพ อีกรวม 7 ครั้ง ทีมยังได้เป็นแชมป์ บุนเดสลีกา 1 สมัย และเคยได้ชูถ้วย เดเอฟเบ โพคาล อีก 4 ครั้ง
นับตั้งแต่ปี 1963 ทีมลงเตะอยู่ในสนามเหย้า มักซ์-มอร์ล็อค-สตาดิโอน ที่ปัจจุบันรองรับผู้ชมในเกมลีกอยู่ที่ 50,000 ที่นั่ง และล่าสุดทางสโมสรยังดำเนินกิจกรรมอื่นๆอีกทั้ง มวย, แฮนด์บอล, ฮอกกี้, โรลเลอร์เบลด, สเก็ตน้ำแข็ง, ว่ายน้ำ, สกี และ เทนนิส
ปัจจุบัน เนิร์นแบร์ก ลงแข่งขันอยู่ใน บุนเดสลีกา ลีกสูงสุดของประเทศ หลังคว้าสิทธิ์เลื่อนชั้นขึ้นมาจาก บุนเดสลีกา 2 เมื่อตอนสิ้นสุดฤดูกาล 2017-18 พวกเขายังเป็นเจ้าของสถิติทีมที่ตกชั้นจาก บุนเดสลีกา มากที่สุดถึง 8 ครั้ง โดยแซงหน้าตัวเลขดั้งเดิมของ อาร์มีเนีย บีเลเฟลด์
1900 – จากการรวมตัวกันของเด็กหนุ่ม 18 คนในผับท้องถิ่นแห่งหนึ่งกลางเมือง เนิร์นแบร์ก ก็ได้ร่วมกันก่อตั้ง FC Nürnberg ขึ้นมา โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะร่วมกันเล่นฟุตบอล หนึ่งในเกมกีฬายอดฮิตที่พึ่งแพร่หลายมาจากฝั่ง อังกฤษ แทนที่รักบี้ในช่วงเวลานั้น
1909 – หลังจากเริ่มทำผลงานได้ดี ทีมก็มีโอกาสเข้าร่วมในรายการ เซาท์ เยอรมัน แชมเปี้ยนชิพ
1916 – ทีมคว้าแชมป์ในลีกระดับภูมิภาคได้เป็นครั้งแรก
1918 – เนิร์นแบร์ก คว้าแชมป์ เซาท์ เยอรมัน แชมเปี้ยนชิพ ได้เป็นหนที่สอง นอกจากนี้พวกเขายังสร้างสถิติไร้พ่าย 104 เกม โดยเริ่มต้นจากเดือนกรกฎาคม 1918 ไปจนถึงกุมภาพันธ์ 1922
1919 – แม้จะเป็นปีที่ว่างเว้นจากการเตะเนื่องจาก สงครามโลกครั้งที่ 1 แต่มันก็เป็นช่วงเวลาที่พวกเขาได้รับฉายาว่า Der Club (The Club) จากผลงานและทักษะที่กลายเป็นที่จดจำรวมถึงสไตล์อันโดดเด่นทั้งในและนอกสนาม ก่อนจะพัฒนาขึ้นมาเป็นหนึ่งในทีมยอดนิยมและมีชื่อเสียงมากที่สุดภายในประเทศ
1920 – ทีมมีโอกาสผ่านเข้าไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศ เยอรมัน แชมเปี้ยนชิพ เป็นครั้งแรก และก็ประสบความสำเร็จในทันทีเมื่อสามารถเอาชนะ กรอยเธอร์ เฟือร์ธ แชมป์เก่าไปได้ 2-0
1921 – ในปีถัดมา เนิร์นแบร์ก สามารถป้องกันแชมป์ประเทศได้ด้วยการไล่ถล่ม เบลาไวส์ 90 ไปแบบขาดลอย 5-0
1922 – แม้ทีมจะผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน แต่หลังจากการแข่งขันยืดเยื้อไปจนถึงนัดรีเพลย์ที่รวมช่วงต่อเวลาพิเศษทั้ง 2 นัด ระหว่างที่เกมยังคงอยู่เสมอกันอยู่ 1-1 เมื่อผู้เล่นของ เนิร์นแบร์ก เหลืออยู่ในสนามเพียงแค่ 7 คนท่ามกลางการตัดสินของกรรมการที่ผิดพลาดและอยู่ในยุคที่ยังไม่มีกติกาการใช้ผู้เล่นสำรอง จนกระทั่งเกมได้ยุติลงโดยที่ความตั้งใจในทีแรกของ สมาคมฟุตบอลเยอรมัน จะให้ ฮัมบูร์ก เป็นผู้ชนะภายใต้เงื่อนไขการเล่นแฟร์เพลย์ที่ดีกว่า แต่สุดท้ายทางสมาคมก็ตัดสินใจยกเลิกการมอบรางวัลให้กับผู้ใดภายในปีนั้น
1924 – พวกเขามีโอกาสล้างตากับ ฮัมบูร์ก โจทก์เก่าเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ก่อนจะเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ 2-0 ในนัดชิงชนะเลิศ เยอรมัน แชมเปี้ยนชิพ และคว้าแชมป์สมัยที่ 3 ไปครองได้สำเร็จ
1925 – เนิร์นแบร์ก ป้องกันแชมป์ได้อีกในปีถัดมา หลังเฉือนเอาชนะ เอฟเอสเฟา แฟร้งค์เฟิร์ต 1-0 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ
1927 – แชมป์ลีกสูงสุดสมัยที่ 5 ภายในรอบ 8 ปี เกิดขึ้นเมื่อพวกเขาโคจรมาพบกับ แฮร์ธ่า เบอร์ลิน ในนัดชิงชนะเลิศ ก่อนจะเป็นฝ่ายไล่ต้อนคู่แข่งไปด้วยสกอร์ 2-0
1929 – แม้ทีมจะอยู่ในฐานะแชมป์ของ เซาท์ เยอรมัน แชมเปี้ยนชิพ แต่ก็ไปต่อไม่ถึงรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ ซึ่งอันที่จริงแล้วผลงานของพวกเขาก็เริ่มซบเซาลงเรื่อยๆนับตั้งแต่การคว้าแชมป์ใหญ่หนหลังสุดเนื่องจากรูปแบบการเล่นของเกมในสนามที่เริ่มปรับเปลี่ยนไปในทิศทางที่เร็วขึ้น
1934 – เพียงซีซั่นแรกหลัง นาซี เข้ามาปกครองประเทศและมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเกมลูกหนัง เนิร์นแบร์ก ก็กลับมาทำผลงานได้ดีขึ้นและกลายเป็นทีมที่แทบจะผูกขาดการเป็นแชมป์ระดับภูมิภาคภายในช่วงเวลานั้น และสามารถไต่เต้าขึ้นไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศ เยอรมัน แชมเปี้ยนชิพ แต่ก็พ่ายให้กับ ชาลเก้ 04 ทีมที่เรืองอำนาจที่สุดในยุคนั้น 2-1
1935 – แต่พวกเขาก็กลับมาล้างแค้น ชาลเก้ ได้ในปีถัดมา เมื่อมีโอกาสเผชิญหน้ากันในนัดชิงชนะเลิศ Tschammerpokal หรือที่รู้จักกันในชื่อ เดเฟเบ โพคาล ในภายหลัง ก่อนจะคว้าแชมป์บอลถ้วยสมัยแรกไปครองด้วยการเอาชนะคู่แข่ง 2-0
1936 – เนิร์นแบร์ก กลับมาครองถาด เยอรมัน แชมเปี้ยนชิพ ได้เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 10 ปี หลังเอาชนะ ฟอร์ทูน่า ดุสเซลดอร์ฟ 2-1 ในนัดชิงที่ต้องต่อเวลาพิเศษ
1937 – ทีมมีโอกาสป้องกันแชมป์ในปีถัดมา แต่ก็ต้องผิดหวังเมื่อถูก ชาลเก้ ไล่ต้อนไปด้วยสกอร์ 2-0
1939 – พวกเขาได้ฉลองการเป็นแชมป์ เยอรมัน คัพ ครั้งที่สอง หลังเอาชนะ วัลดอฟ มันน์ไฮม์ 2-0 ในนัดชิงชนะเลิศที่ โอลิมเปียสตาดิโอน
1940 – ทีมมีโอกาสป้องกันแชมป์บอลถ้วยในปีถัดมา แต่ก็ต้องพลาดท่าให้กับ เดรสด์เนอร์ 2-1 จากประตูชัยในช่วงต่อเวลาพิเศษ
1947 – ภายหลังการล่มสลายของอาณาจักรนาซีจนนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเกมลูกหนังในประเทศอีกครั้ง หลังจากเริ่มต้นลงเตะใน โอเบอร์ลีกา ลีกระดับภูมิภาครูปแบบใหม่ได้เพียงไม่กี่ปี เนิร์นแบร์ก ก็จบฤดูกาล 1946-47 ด้วยอันดับที่ 1 แต่น่าเสียดายที่ยังไม่มีการจัดชิงแชมป์ระดับประเทศภายในซีซั่นนั้น
1948 – และแล้วในปีถัดมาหลังครองแชมป์ โอเบอร์ลีกา ทางตอนใต้ ได้เป็นปีที่สองติดต่อกัน ทีมก็เดินหน้าต่อไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศ เยอรมัน แชมเปี้ยนชิพ ที่กลับมาเปิดฉากเป็นครั้งแรกหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง โดยที่พวกเขาสามารถคว้าแชมป์ประเทศเป็นสมัยที่ 7 ได้ หลังเฉือนเอาชนะ ไกเซอร์สเลาเทิร์น 2-1
1961 – แม้ตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมา เนิร์นแบร์ก จะเคยรั้งอันดับที่ 1 ของ โอเบอร์ลีกา และผ่านเข้าสู่ทัวร์นาเมนต์สุดท้ายถึง 2 ครั้งในปี 1951 และ 1957 แต่ก็ไปไม่ไกลจนถึงรอบชิงเลยซักครั้ง จนกระทั่งมาทำสำเร็จในฤดูกาล 1960-61 เมื่อได้เผชิญหน้ากับ โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ และเป็นฝ่ายเอาชนะไปได้ 3-0 จนกลายเป็นแชมป์ลีกสูงสุดสมัยที่ 8 ของทีม
1962 – ทีมยังทำผลงานได้ดีอย่างต่อเนื่องจนผ่านเข้าไปป้องกันแชมป์ เยอรมัน แชมเปี้ยนชิพ ในซีซั่นถัดมา แต่ก็ต้องผิดหวังเมื่อถูก เอฟเซ โคโลญจน์ ที่โชว์ฟอร์มสดไล่ต้อนไปแบบไม่ไว้หน้า 4-0 แต่ยังดีที่มีรางวัลปลอบใจจากการเป็นแชมป์ เดเอฟเบ โพคาล หลังเป็นฝ่ายเฉือนเอาชนะ ดุสเซลดอร์ฟ 2-1 และจากการเป็นแชมป์ เยอรมัน ในปีที่ผ่านมาพวกเขาก็ได้สิทธิ์ลงแข่งขันใน ยูโรเปี้ยน คัพ และไปได้ไกลจนถึงรอบ 8 ทีมสุดท้าย ก่อนจะกระเด็นตกรอบด้วยการพ่ายให้กับ เบนฟิก้า ด้วยผลรวม 2 นัด 7-3
1963 – จากการเข้าป้ายเป็นอันดับที่ 2 ของ โอเบอร์ลีกา และมีโอกาสได้เข้าไปลุ้นในทัวร์นาเมนต์ระดับประเทศ ก็กลายเป็นผลงานที่ดีเพียงพอต่อการเป็น 1 ใน 16 ทีมที่จะได้เปิดตัวใน บุนเดสลีกา ลีกสูงสุดของประเทศเวอร์ชั่นใหม่ที่จะเริ่มต้นขึ้นในซีซั่นถัดไป ในขณะที่ผลงานในยุโรปก็ทำได้ดีพอสมควรเมื่อผ่านเข้าไปจนถึงรอบรองชนะเลิศ ยูฟ่า คัพ วินเนอร์ส คัพ ก่อนจะหมดโอกาสเข้าชิงด้วยการพ่ายแพ้ต่อ แอตเลติโก้ มาดริด ด้วยสกอร์รวม 3-2
1964 – พวกเขาออกสตาร์ทในซีซั่นปฐมบทของ บุนเดสลีกา ด้วยการประคองตัวไปจนจบในอันดับที่ 9
1968 – หลังค่อยๆขยับขึ้นมาอยู่ในครึ่งบนของตารางได้ในหลายๆปีให้หลัง เนิร์นแบร์ก ก็สามารถใส่เกียร์เดินหน้าจนนั่งแท่นอยู่ในตำแหน่งจ่าฝูงตั้งแต่สัปดาห์ที่ 5 ยาวม้วนเดียวไปจนจบซีซั่น และกลายเป็นแชมป์ บุนเดสลีกา สมัยแรก รวมถึงยังเป็นแชมป์ลีกสูงสุดสมัยที่ 9 ของสโมสรอีกด้วย
1969 – แต่แล้วด้วยความมั่นใจเกินร้อยของ มักซ์ เมอร์เคล กุนซือของทีมที่ตัดสินใจโละนักเตะคีย์แมนออกไปเกือบทั้งแผงด้วยความคิดที่ว่าพวกเขาแก่เกินไปและทดแทนเข้ามาด้วยแข้งหน้าใหม่นับโหล บวกด้วยความขัดแย้งกับลูกทีมในฤดูกาลป้องกันแชมป์ก็ทำให้ผลงานของทีมตกต่ำลงอย่างน่าใจหาย แม้ เมอร์เคล จะถูกไล่ออกในช่วงเดือนมีนาคมแต่มันก็ไม่ทันการเมื่อสุดท้ายแล้วทีมตกลงไปอยู่ในอันดับรองบ๊วย ทั้งๆที่ 1 ปีก่อนหน้านั้นพวกเขายังอยู่บนยอดสุดของตาราง และก็ทำให้ เนิร์นแบร์ก กลายเป็นทีมแรกที่ร่วงตกชั้นหลังจากที่เคยคว้าแชมป์ บุนเดสลีกา
1971 – แม้จะสามารถครองแชมป์ เรกิโอนาลลีกา ทางตอนใต้ ที่เป็นลีก ดิวิชั่น 2 ระดับภูมิภาค แต่ก็ยังทำได้ไม่ดีพอในรอบแบ่งกลุ่มสำหรับการเป็นเป็นทีมที่จะได้เลื่อนชั้น
1974 – ทีมมีลุ้นในการเลื่อนชั้นอีกครั้งเมื่อจบในอันดับที่ 2 ของลีกรองระดับภูมิภาค แต่กลับถูก ไอน์ทรัค บราวน์ชไวก์ ปาดหน้าคว้าโควตาไปด้วยประตูได้เสียที่ดีกว่าจากการขับเคี่ยวต่อในรอบแบ่งกลุ่ม
1976 – หลังการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างลีกรองจาก เรกิโอนาลลีกา มาเป็น บุนเดสลีกา 2 เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ทีมมีโอกาสลุ้นที่จะได้เลื่อนชั้นเมื่อได้ลงเตะเกมเพลย์ออฟกับ โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ก่อนจะพ่ายไปด้วยผลรวม 2 นัด 4-2
1978 – หลังใช้เวลาดิ้นรนอยู่ในระดับ ดิวิชั่น 2 นานถึง 9 ปี ในที่สุด เนิร์นแบร์ก ก็ได้หวนกลับคืนสู่ บุนเดสลีกา เมื่อเป็นฝ่ายเฉือนเอาชนะ ร็อต-ไวส์ เอสเซ่น ในเกมเพลย์ออฟจากสกอร์รวม 3-2
1979 – แต่หลังจากกลับขึ้นมาได้เพียงแค่ปีเดียว พวกเขาก็ตกชั้นลงมาอีกครั้งจากการจบฤดูกาล 1978-79 ด้วยอันดับรองบ๊วย
1980 – และทีมก็เลื่อนชั้นกลับมาได้แบบอัตโนมัติในปีถัดมา เมื่อสามารถคว้าแชมป์ บุนเดสลีกา 2 โซนทิศใต้ โดยในช่วงต้นยุคปี 80 จู่ๆความสัมพันธ์ระหว่าง ชาลเก้ คู่แข่งสำคัญที่เคยขับเคี่ยวแย่งแชมป์กันตั้งแต่ช่วงกลางยุคปี 30 ก็กลับกลมเกลียวแน่นแฟ้นขึ้นมา เมื่อต่างฝ่ายต่างพากันต้อนรับขับสู้กองเชียร์ทีมเยือนด้วยความมิตรไมตรี แถมยังเริ่มมีการเปิดเพลงประจำสโมสรของทั้งฝ่ายก่อนเกมที่ทั้งคู่จะพบกัน
1982 – เนิร์นแบร์ก มีโอกาสลุ้นจะได้ครองถ้วยรางวัล เดเอฟเบ โพคาล เป็นสมัยที่ 4 เมื่อได้ผ่านเข้าไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศ แต่ก็ต้องพ่ายให้กับ บาเยิร์น ที่พลิกสถานการณ์จากฝ่ายที่ตามหลังอยู่ 2 ประตู จนกลับมาแซงหน้าไปด้วยสกอร์ 4-2
1984 – หลังกลับมาอยู่ใน บุนเดสลีกา ได้นาน 4 ปี สุดท้ายพวกเขาก็จมปลักอยู่ตรงก้นตาราง และร่วงตกชั้นลงไปหลังจบซีซั่น 1983-84
1985 – หนนี้ทีมใช้เวลาเพียงแค่ปีเดียวก็สามารถเลื่อนชั้นกลับขึ้นมาได้ หลังเข้าป้ายเป็นที่หนึ่งของตาราง บุนเดสลีกา 2 โดยมีแต้มเท่ากับ ฮันโนเวอร์ 96 แต่มีลูกได้เสียที่ดีกว่า
1988 – เนิร์นแบร์ก พาตัวเองจบฤดูกาล 1987-88 ได้ด้วยอันดับที่ 5 พร้อมคว้าสิทธิ์ไปลงเตะ ยูฟ่า คัพ ในฤดูกาลถัดไป ซึ่งถือเป็นผลงานใน บุนเดสลีกา ที่ดีที่สุดของพวกเขานับตั้งแต่ที่เคยคว้าแชมป์หนสุดท้ายจวบจนถึงทุกวันนี้
1994 – หลังเคยหวุดหวิดที่จะตกชั้นมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี 1991 ในที่สุดพวกเขาก็หนีไม่รอดเมื่อจบฤดูกาล 1993-94 ด้วยการมีแต้มเท่ากับ ไฟร์บวร์ก ทีมที่อยู่เหนือพื้นที่สีแดง แต่มีลูกได้เสียที่น้อยกว่า
1996 – สถานการณ์ของทีมกลับเลวร้ายลงอีกเมื่อประสบปัญหาทางด้านการเงินจนถูกตัดแต้มไปอีก 6 คะแนน และทำให้ต้องร่วงตกชั้นลงไปสู่ เรกิโอนาลลีกา หรือ ดิวิชั่น 3 ในตอนนั้น
1997 – พวกเขาใช้เวลาแค่ปีเดียวก็พาตัวเองกลับขึ้นมาสู่ บุนเดสลีกา 2 หลังยึดตำแหน่งจ่าฝูงของ เรกิโอนาลลีกา ทางตอนใต้ ได้เมื่อจบฤดูกาล 1996-97
1998 – หลังจัดการปัญหาทางด้านบัญชีให้ดีขึ้นผลงานของทีมก็ดีขึ้นตามไปด้วย จนสามารถคว้าอันดับที่ 3 ตามหลัง แฟร้งค์เฟิร์ต และ ไฟร์บวร์ก เลื่อนชั้นคืนสู่ บุนเดสลีกา ได้สำเร็จ
1999 – ในช่วงท้ายของ บุนเดสลีกา ฤดูกาล 1998-99 เกิดเหตุการณ์หนีตายแบบสุดดราม่าขึ้นมาในนัดส่งท้าย เมื่อมีถึง 5 ทีมที่ต้องการ 3 คะแนนเพื่อความอยู่รอด ในขณะที่จะมีเพียง 1 ในนั้นที่ต้องร่วงตกชั้นตาม มึนเช่นกลัดบัค และ โบคุ่ม ที่ล่วงหน้าไปก่อนแล้ว สถานการณ์หลังจบ 45 นาทีแรก แฟร้งค์เฟิร์ต คือทีมที่สุ่มเสี่ยงมากที่สุด แต่พวกเขากลับพลิกจากสกอร์ที่ยังเสมอกัน 0-0 มารัวแซง ไกเซอร์สเลาเทิร์น จนชนะไป 5-1 ในขณะที่ ฮันซ่า รอสต๊อค ก็พลิกกลับมาชนะ โบคุ่ม 3-2 และ สตุ๊ตการ์ท ก็เฉือน เบรเมน 1-0 ส่วนอีก 2 ทีมที่เหลือคือการพบกันเองระหว่าง เนิร์นแบร์ก และ ไฟร์บวร์ก ที่จบลงด้วยความพ่ายแพ้ของ เนิร์นแบร์ก 2-1 จนทำให้ทีมที่ก่อนแข่งยังอยู่อันดับที่ 12 ดีๆและเริ่มวางแผนจำหน่ายตั๋วปี บุนเดสลีกา ในซีซั่นหน้า กลับร่วงลงมาอยู่ที่ 16 และต้องลงไปเตะในระดับ ดิวิชั่น 2 อย่างสุดชอกช้ำ เมื่อทั้งคะแนนและลูกได้เสียเท่ากันกับ แฟร้งค์เฟิร์ต แต่กลับยิงประตูได้น้อยกว่า
2001 – ทีมใช้เวลาอยู่ 2 ซีซั่นก็กลับขึ้นมายังลีกสูงสุดได้อีกครั้ง เมื่อสามารถคว้าตำแหน่งแชมป์ บุนเดสลีกา 2 ประจำฤดูกาล 2000-01
2003 – หลังหนีรอดการตกชั้นไปได้อย่างหวุดหวิดในซีซั่นแรกที่กลับมา แต่แล้วในปีถัดมาพวกเขาก็ตกลงไปอยู่ในตำแหน่งรองบ๊วยและร่วงลงสู่ บุนเดสลีกา 2
2004 – ทีมคว้าอันดับที่ 1 ของลีกรองได้เป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 4 ปี และทะยานกลับคืนสู่ลีกสูงสุดของประเทศ
2007 – การกลับมาในครั้งนี้ เนิร์นแบร์ก ทำผลงานได้ดีขึ้นเมื่อค่อยๆไต่อันดับขึ้นมาทุกปี บวกกับการเซ็นสัญญาที่น่าสนใจก่อนออกสตาร์ทฤดูกาล 2006-07 ด้วยการเปิดตัว โทมัส กาลาเซ็ค กองกลางทีมชาติเช็ก ผู้ที่ยังเป็นอดีตกัปตันทีม อาแจ็กซ์ ที่ช่วยให้พวกเขาเข้าป้ายในอันดับที่ 6 พร้อมคว้าสิทธิ์ไปลงเตะ ยูฟ่า คัพ นอกจากนี้ทีมยังผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ เยอรมัน คัพ และสามารถคว้าแชมป์สมัยที่ 4 ได้สมดั่งใจ หลังจัดการสยบ สตุ๊ทการ์ท 3-2 จากประตูชัยในช่วงต่อเวลาพิเศษของ แยน คริสเตียนเซ่น มิดฟิลด์ทีมชาติเดนมาร์ก หนึ่งในการเสริมทัพเมื่อช่วงหน้าร้อนที่ผ่านมา
2008 – ในปีถัดมาแม้พวกเขาจะกลับคืนสู่เวทียุโรปด้วยผลงานที่พอใช้จากการผ่านเข้าไปจนถึงรอบ 32 ทีมสุดท้าย แต่ฟอร์มในลีกกลับตกต่ำลงอย่างน่าใจหายจนทำให้สโมสรต้องตัดสินใจปลด ฮันส์ เมเยอร์ กุนซือที่พึ่งช่วยให้ทีมคว้าแชมป์บอลถ้วยในปีที่ผ่านมาหลังผ่านพ้นนัดที่สองในช่วงครึ่งหลังของซีซั่น ในขณะที่ โธมัส วอน ฮีเซ่น ผู้ที่เข้ามารับงานต่อก็ไม่สามารถช่วยอะไรได้มากนักจนทำให้ทีมร่วงตกชั้นลงไปจากการจบในอันดับที่ 16 หลังพ่ายคาบ้านให้กับ ชาลเก้ 2-0 ในนัดปิดฤดูกาล
2009 – พวกเขาต่อสู้ดิ้นรนเพื่อกลับคืนสู่ลีกสูงสุดได้ในทันที เมื่อสามารถคว้าอันดับที่ 3 และได้สิทธิ์ไปเล่นเพลย์ออฟเพื่อเลื่อนชั้นกับ เอเนอร์กี้ ค็อตบุส ทีมอันดับ 16 ของ บุนเดสลีกา ก่อนจะเอาชนะไปแบบขาดลอยด้วยสกอร์รวม 2 นัด 5-0
2010 – เนิร์นแบร์ก ยังคงอยู่รอดปลอดภัยใน บุนเดสลีกา ต่อไป แม้จะต้องมาลงเตะในเกมเพลย์ออฟเป็นปีที่สองติดต่อกันด้วยสถานะที่ต่างจากปีที่แล้ว แต่พวกเขาก็ยังเก๋าพอที่จะเอาชนะ เอาก์สบวร์ก คู่แข่งที่มีสิทธิ์ลุ้นจาก ดิวิชั่น 2
2014 – แม้หลังจากนั้นทีมจะประคองตัวเองให้ไม่ต่ำกว่าอันดับที่ 10 มาได้ 3 ปีติดต่อกัน แต่หลังจากที่พ่ายไป 11 จาก 12 นัดสุดท้ายของฤดูกาล 2013-14 ก็ทำให้ร่วงตกลงมาอยู่ในตำแหน่งรองบ๊วยจนต้องไปเริ่มต้นใหม่ใน บุนเดสลีกา 2 ซีซั่นหน้า
2016 – พวกเขามีโอกาสลุ้นกลับคืนสู่ บุนเดสลีกา หลังจบฤดูกาล 2015-16 ด้วยการได้อันดับที่ 3 ของลีกรองจนได้ไปเตะเกมชี้ชะตากับ แฟร้งค์เฟิร์ต ก่อนจะเป็นฝ่ายน้ำตาตกจากผลรวม 2-1
2018 – เนิร์นแบร์ก มาสมหวังในอีก 2 ปีถัดมา เมื่อสามารถเข้าป้ายเป็นอันดับที่ 2 พร้อมคว้าสิทธิ์เลื่อนชั้นโดยอัตโนมัติพร้อมๆกับ ดุสเซลดอร์ฟ ทีมแชมป์ บุนเดสลีกา 2
กรอยเธอร์ เฟือร์ธ คือทีมคู่ปรับหมายเลข 1 ในละแวกบ้านใกล้เรือนเคียงของ เนิร์นแบร์ก มาอย่างช้านาน จุดเริ่มต้นก็ต้องย้อนไปไกลถึงในยุคบุกเบิกวงการลูกหนัง เยอรมัน เมื่อทั้งคู่ต่างผลัดกันช่วงชิงความยิ่งใหญ่ในเกมระดับประเทศ ทั้ง 2 ทีมยังมีสถิติการเผชิญหน้ากันในแมตช์อย่างเป็นทางการถึง 258 ครั้งซึ่งถือว่ามากที่สุดในเกมระดับอาชีพของ เยอรมัน
ครั้งหนึ่งภายในปี 1921 ทีมชาติเยอรมัน มีเพียงผู้เล่นที่มาจาก 2 สโมสร เนิร์นแบร์ก และ เฟือร์ธ เท่านั้นในการเตรียมลงสนามเพื่อพบกับ ฮอลแลนด์ ที่ กรุงอัมสเตอร์ดัม โดยที่ทีมออกเดินทางข้ามประเทศไปด้วยรถไฟ แต่มีการแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนเมื่อนักเตะของ เนิร์นแบร์ก รวมตัวกันอยู่ในขบวนด้านหน้า ส่วนผู้เล่นของ เฟือร์ธ ก็ไปขลุกกันอยู่ที่โบกี้ด้านท้าย ในขณะที่ผจก.ทีมและสตาฟฟ์โค้ชต้องปักหลักกันอยู่ในตู้ระหว่างกลาง
ในเกมนั้นนักเตะของ เฟือร์ธ เป็นผู้ทำประตูแรกให้กับ เยอรมัน โดยมีเพียงผู้เล่นจากสโมสรเดียวกันเท่านั้นที่เข้ามาร่วมแสดงความยินดีด้วย แต่เคสที่หนักกว่านั้นก็คือ ฮันส์ ซูเตอร์ ที่โดนบีบให้ต้องออกจากทีม เฟือร์ธ หลังตัดสินใจไปแต่งงานกับแฟนสาวที่เป็นชาวเมือง เนิร์นแบร์ก ก่อนที่หัวหอกดีกรีทีมชาติเยอรมันจะเลือกย้ายมาอยู่กับ เนิร์นแบร์ก เสียเลย และกลายเป็นขุมกำลังของทีมที่เคยคว้าแชมป์ระดับประเทศถึง 3 ครั้ง
เนิร์นแบร์ก และ เฟือร์ธ พึ่งเคยมีโอกาสลงฟาดแข้งกันใน บุนเดสลีกา ระหว่างฤดูกาล 2012-13 ในขณะที่เกมกับ บาเยิร์น ก็ถือเป็นแมตช์สำคัญประจำฤดูกาลเช่นกัน เนื่องจากทั้งคู่ต่างประสบความสำเร็จมากที่สุดทั้งใน รัฐบาวาเรีย และในระดับประเทศ
The post พลิกปูมประวัติ เนิร์นแบร์ก ทีมยักษ์หลับแห่งลีกเมืองเบียร์ first appeared on ผลบอลสด บ้านผลบอล ผลบอลวันนี้ 7m 888 Livescore.]]>สโมสรฟุตบอล เกลเซนเคียร์เช่น ชาลเก้ 04 (Fußballclub Gelsenkirchen-Schalke 04 e.V.) หรือที่รู้จักทั่วไปในนาม ชาลเก้ 04 หรือที่ย่อกันสั้นๆว่า S0 4 คือทีมฟุตบอลที่เป็นส่วนหนึ่งของสโมสรกีฬาที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ใน เมืองเกลเซนเคียร์เช่น รัฐนอร์ทไรน์-เวสต์ฟาเลีย ประเทศเยอรมนี โดยที่ตัวเลข 04 ในชื่อของพวกเขาก็คือปี 1904 ที่สโมสรก่อตั้งขึ้น ชาลเก้ เคยมีประวัติการเป็นหนึ่งในทีมฟุตบอลขวัญใจของประเทศมาอย่างยาวนาน แม้ยุครุ่งเรืองสุดขีดของพวกเขาจะอยู่ในช่วงยุคปี 30 ถึง 40 ก็ตาม ปัจจุบันทีมลงเตะอยู่ใน บุนเดสลีกา ลีกสูงสุดของเยอรมัน และมีกลุ่มแฟนคลับอย่างเป็นทางการ 155,000 ค้นจากข้อมูลในเดือนมิถุนายน 2018 ที่ทำให้พวกเขากลายเป็นสโมสรกีฬาที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศ และอันดับที่ 4 ของโลกในแง่ของจำนวนสมาชิก
สโมสรเปิดตัวขึ้นในปี 1904 และเคยคว้าแชมป์ลีกสูงสุด(ดั้งเดิม)มาแล้ว 7 สมัย, เดเอฟเบ โพคาล 5 ครั้ง, เดเอฟแอล ซูเปอร์ คัพ 1 ครั้ง รวมถึง ยูฟ่า คัพ อีก 1 สมัย พวกเขายังเป็นทีมแรกที่คว้าดับเบิ้ลแชมป์ภายในประเทศเมื่อปี 1937 นอกจากนี้ยังมีการดำเนินกิจกรรมอื่นๆของสโมสรอีกเช่น กรีฑา, บาสเกตบอล, แฮนด์บอล, ปิงปอง, กีฬาฤดูหนาว รวมถึง อีสปอร์ต นับตั้งแต่ปี 2001 เป็นต้นมา ชาลเก้ ลงเตะในสนามเหย้า เฟลตินส์-อารีน่า ที่ปัจจุบันรองรับความจุ 62,271 ที่นั่ง พวกเขายังเป็นทีมฟุตบอลที่มีรายได้จากการดำเนินงาน (operating income) มากที่สุดเป็นอันดับ 7 ของโลกจากผลประกอบการที่เป็นบวก 48 ล้านยูโรและหนี้ 0% จากรายงานในเดือนสิงหาคม 2014 และยังเป็นทีมที่สร้างรายได้มากที่สุดเป็นอันดับที่ 14 จากรายรับ 198 ล้านยูโร
ในเดือนพฤษภาคม 2014 นิตยสารฟอร์บส์ ได้จัดอันดับให้ ชาลเก้ เป็นสโมสรฟุตบอลที่มีมูลค่าสูงที่สุดอันดับ 14 ของโลกจากมูลค่าประเมิน 446 ล้านยูโร ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อนหน้านั้น 16%
1904 – ในวันที่ 4 พฤษภาคม Westfalia Schalke ถูกก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มนักเรียนมัธยมและเริ่มต้นด้วยการสวมชุดแข่งสีแดงและเหลืองลงสนาม ในช่วงเริ่มต้นพวกเขายังไม่สามารถเข้าร่วมในทัวร์นาเมนต์สูงสุดระดับภูมิภาคและทำได้เพียงลงเตะอยู่ในระดับท้องถิ่น
1912 – หลายปีหลังจากที่พลาดเข้าร่วมแข่งขันในลีกอย่างเป็นทางการ พวกเขาตัดสินใจรวมตัวกับสโมสรยิมนาสติก Schalker Turnverein 1877 เพื่อยกระดับตนเองขึ้นมา
1915 – แผนการของพวกเขาถูกลากยาวมาอีก 3 ปีเมื่อ SV Westfalia Schalke ตัดสินใจแยกตัวออกมาเป็นเอกเทศแต่ก็ดำเนินกิจการต่อไปได้ไม่นาน
1919 – ในที่สุดทั้ง 2 ฝ่ายก็หันกลับมาผนวกกันอีกครั้งภายใต้ชื่อ Turn- und Sportverein Schalke 1877
1923 – สโมสรหน้าใหม่ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกด้วยการคว้าแชมป์ในรายการ Schalke Kreisliga และนั่นก็เป็นช่วงเวลาที่ทีมได้รับฉายา Die Knappen (The Miners) เนื่องจากสามารถดึงดูดกลุ่มผู้สนับสนุนส่วนใหญ่ที่เป็นคนงานเหมืองถ่านหินใน เกลเซนเคียร์เช่น
1924 – ทีมฟุตบอลทำการแยกตัวออกจากส่วนของยิมนาสติกอีกครั้งโดยที่ประธานสโมสรยังคงอยู่กับพวกเขา และหันมาเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น FC Schalke 04 ที่มาพร้อมกับชุดแข่งสีน้ำเงินและขาว จนกลายเป็นที่มาของฉายาที่สอง Die Königsblauen (The Royal Blues) หรือตามที่บ้านเราเรียกกันว่า ราชันสีน้ำเงิน
1925 – ชาลเก้ เริ่มยกระดับเป็นทีมระดับชั้นนำของท้องถิ่นจากสไตล์การต่อบอลสั้นจากเท้าถึงเท้าที่แม่นยำและกลายเป็นที่กล่าวขวัญถึงในเวลาต่อมาจากรูปแบบการเล่นที่เรียกว่า Schalker Kreisel
1927 – ทีมทะยานขึ้นไปเป็นอยู่บนยอดสุดของลีกในระดับภูมิภาค และเริ่มต้นปูทางสู่นัดชิงชนะเลิศในระดับประเทศ
1928 – พวกเขาลงทุนสร้างสนามใหม่ที่มีชื่อว่า Glückauf-Kampfbahn และเปลี่ยนชื่อทีมมาเป็น FC Gelsenkirchen-Schalke 04 เหมือนดั่งเช่นในปัจจุบัน
1929 – ชาลเก้ สามารถชนะเลิศในรายการ เยอรมัน แชมเปี้ยนชิพ ฝั่งตะวันตก แต่แล้วในปีถัดมาพวกเขาก็ถูกแบนจากการแข่งขันไปเกือบครึ่งปีเนื่องจากปัญหาการจ่ายค่าแรงนักเตะที่สูงเกินกว่าที่ สมาคมฟุตบอลเยอรมัน กำหนดไว้
1931 – แม้จะถูกลงโทษไปนานหลายเดือนแต่ความนิยมของพวกเขาก็ไม่ได้ลดน้อยถอยลงไป ในแมตช์แรกหลังพ้นโทษแบนตอนเดือนมิถุนายนปีนั้น ฝูงชนร่วม 70,000 คนต่างแห่กันเข้ามาให้กำลังใจทีมรักในบ้าน
1932 – S04 โชว์ฟอร์มติดลมบนและผ่านเข้าไปจนถึงรอบตัดเชือก เยอรมัน แชมเปี้ยนชิพ ก่อนจะพ่ายให้กับ ไอน์ทรัค แฟร้งค์เฟิร์ต ไปแบบหวุดหวิด 2-1
1933 – พวกเขาทำผลงานได้ดีขึ้นไปอีกแต่ก็ยังไปได้ไม่สุดทางเมื่อพ่ายยับเยินให้กับ ฟอร์ทูน่า ดุสเซลดอร์ฟ 3-0 ในนัดชิงชนะเลิศรายการใหญ่สุดของประเทศ
1934 – หลังการเข้ามาปรับเปลี่ยนโครงสร้างของวงการลูกหนังโดยรัฐบาลฝ่ายนาซีในปีที่ผ่านมา ชาลเก้ ก็ถูกโยกให้ไปเล่นอยู่ใน Gauliga Westfalen ซึ่งเป็น 1 ใน 16 ลีกสูงสุดระดับภูมิภาคและกลายเป็นจุดเริ่มต้นของความยิ่งใหญ่ไปอีกยาวนานร่วม 11 ฤดูกาลที่ทีมไม่เคยแพ้จากการลงเตะในบ้าน และเสียท่าให้กับคู่แข่งในเกมนอกบ้านไปเพียงแค่ 6 ครั้งเท่านั้น ในขณะที่ ชาลเก้ ก็ก้าวขึ้นไปเป็นแชมป์ระดับประเทศครั้งแรกด้วยการเอาชนะ เนิร์นแบร์ก 2-1 ในนัดชิง เยอรมัน แชมเปี้ยนชิพ 1934
1935 – พวกเขาสามารถป้องกันแชมป์ได้จากการดวลกับ สตุ๊ตการ์ท ในนัดชิง ก่อนจะเอาชนะไปได้ด้วยสกอร์สะใจคนดู 6-4 นอกจากนี้ยังได้เข้าชิงในรายการ Tschammer-Pokal หรือที่เปลี่ยนชื่อมาเป็น เดเอฟเบ โพคาล ในภายหลังแต่ก็ถูก เนิร์นแบร์ก คู่ชิงแชมป์ประเทศในปีที่แล้วล้างแค้นไปด้วยสกอร์ 2-0
1936 – ทีมสร้างสถิติไร้พ่ายตลอดซีซั่นจากการแข่งขันใน Gauliga Westfalen แต่เดินทางไปไม่ถึงนัดชิงแชมป์ของประเทศ ในขณะที่ได้ผ่านเข้าไปชิงบอลถ้วยเป็นปีที่สองติดต่อกัน แต่ก็ยังคงต้องผิดหวังเมื่อพ่ายให้กับ โลโคโมทีฟ ไลป์ซิก 2-1
1937 – ราชันสีน้ำเงิน คว้าแชมป์สูงสุดของประเทศได้เป็นหนที่สามหลังเอาชนะ เนิร์นแบร์ก 2-0 และยังเป็นการล้างตาจากที่ถูกอีกฝ่ายเขี่ยตกรอบรองชนะเลิศในปีที่ผ่านมา แถมยังสร้างผลงานระหว่างทางในลีกภูมิภาคด้วยการไม่แพ้ใครเลย นอกจากนี้พวกเขายังกลายเป็นทีมแรกที่คว้าดับเบิ้ลแชมป์ได้สำเร็จ หลังเดินทางเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ เยอรมัน คัพ เป็นปีที่สามติดต่อกันและเป็นฝ่ายเฉือนเอาชนะ ฟอร์ทูน่า ดุสเซลดอร์ฟ 2-1
1938 – ชาลเก้ เดินหน้าแบบไร้พ่ายใน Gauliga Westfalen ได้อีกครั้ง แต่กลับเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ให้ ฮันโนเวอร์ 96 ไปแบบฉิวเฉียด 4-3 ในนัดชิงชนะเลิศรอบรีเพลย์ที่ยังต้องต่อเวลาพิเศษอีกด้วย
1939 – พวกเขาสามารถสร้างสถิติไร้พ่ายในเกมลีกระดับภูมิภาคเป็นซีซั่นที่ 4 ติดต่อกัน และเดินหน้าต่อไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศ เยอรมัน แชมเปี้ยนชิพ ก่อนจะถล่ม แอดมิร่า แบบเละเทะ 9-0
1940 – ทีมป้องกันแชมป์ประเทศได้อีกครั้งหลังเฉือนเอาชนะ เดรสด์เนอร์ ในรอบชิงที่ โอลิมเปีย สตาดิโอน 1-0
1941 – เป็นอีกครั้งที่ ชาลเก้ สร้างสถิติไร้พ่ายตลอดซีซั่นในการแข่งขัน Gauliga Westfalen แต่ก็ไม่สามารถป้องกันแชมป์เอาไว้ได้เมื่อตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ให้กับ ราปิด เวียนนา 4-3 หลังทีมคู่ต่อสู้จาก ออสเตรีย ถูกควบรวมให้เข้ามาลงเตะอยู่ใน เยอรมัน ภายในช่วงเวลานั้น พวกเขายังมาอกหักซ้ำสองเมื่อถูก เดรสด์เนอร์ คู่ชิงเยอรมัน แชมเปี้ยนชิพ ปีที่แล้วตามมาเอาคืนในนัดชิง เยอรมัน คัพ ด้วยการเบียดเอาชนะไปได้ 2-1
1942 – S04 กลับมาคว้าแชมป์ประเทศได้จากชัยชนะ 2-0 เหนือ เฟิร์สต์ เวียนนา คู่แข่งที่มาจาก ออสเตรีย แต่กลับชวดโอกาสคว้าดับเบิ้ลแชมป์หลังพ่ายให้กับ 1860 มิวนิค 2-0 ในนัดชิงบอลถ้วย
1945 – หลังการปราชัยของฝ่ายนาซีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเกมลูกหนังในประเทศอีกครั้ง ในขณะที่ ชาลเก้ พึ่งลงสนามในเกมลีกฉบับดั้งเดิมไปเพียงแค่ 2 นัดและต้องหยุดพักการแข่งขันไปเกือบ 2 ปี
1947 – ภายหลังการถือกำเนิดของ โอเบอร์ลีก้า ตะวันตก ที่มาล่าช้าไป 2 ปี ชาลเก้ ก็ได้กลับมาลงเตะอีกครั้งและสร้างสถิติการยำใหญ่ SpVgg Herten 20-0 ซึ่งก็ไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของพวกเขา แต่กลับชี้ให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำของทีมที่ร่วมลงแข่งขันเสียมากกว่า โดยที่พวกเขาจบฤดูกาลนั้นด้วยการตกลงไปอยู่ในอันดับที่ 6
1951 – ทีมสามารถคว้าแชมป์ โอเบอร์ลีกา ตะวันตก หรือลีกระดับภูมิภาครูปโฉมใหม่ แต่ก็ไปไม่ถึงรอบชิงชนะเลิศของ รายการ เยอรมัน แชมเปี้ยนชิพ
1955 – แม้พวกเขาจะไม่มีลุ้นอะไรจากการจบในอันดับที่ 5 ของ โอเบอร์ลีกา แต่ทีมก็สามารถฟันฝ่าเข้าไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศ เดเอฟเบ โพคาล แต่กลับถูก คาร์ลสรูห์ พลิกแซงเอาชนะไป 3-2 จาก 2 ประตูในช่วง 7 นาทีสุดท้ายของเกม
1958 – ราชันสีน้ำเงิน กลับมาคว้าแชมป์ โอเบอร์ลีก้า ก่อนจะมารั้งอยู่ในตำแหน่งจ่าฝูงของกลุ่ม 2 จนได้ผ่านเข้าไปชิงชนะเลิศระดับประเทศกับผู้ชนะของกลุ่ม 1 และสุดท้ายพวกเขาก็เป็นฝ่ายสมหวังเมื่อโชว์ฟอร์มหรูไล่ต้อน ฮัมบูร์ก 3-0 พร้อมกับครองถาดแชมป์ เยอรมัน แชมเปี้ยนชิพ เป็นสมัยที่ 7 ภายหลังการคว้าแชมป์ลีกสูงสุดหนสุดท้ายของทีมไม่นานก็ปรากฏหลักฐานความจงรักภักดีของฐานแฟนบอล เมื่อมีการบูรณะโบสถ์ เซนต์ โยเซฟ ในตัวเมือง เกลเซนเคียร์เช่น และเกิดมีภาพของ นักบุญ อลอยซิอุส กอนซาก้า พร้อมกับลูกฟุตบอลในชุดแต่งกายที่เป็นสีประจำสโมสรปรากฏอยู่บนบานกระจกหน้าต่างใบหนึ่ง
1963 – ในซีซั่นสุดท้ายของรูปแบบลีกสูงสุดแบบดั้งเดิม ทีมจบฤดูกาล 1962-63 ด้วยการอยู่ในอันดับที่ 6 ของ โอเบอร์ลีกา ตะวันตก ซึ่งก็ยังดีเพียงพอสำหรับการติดเป็น 1 ใน 16 ทีมที่จะได้ร่วมเปิดตัวการแข่งขันรูปแบบใหม่ในซีซั่นหน้า
1964 – ชาลเก้ ประคองตัวด้วยการจบในอันดับที่ 8 ภายในฤดูกาล 1963-64 ซึ่งเป็นปีที่มีการเปิดตัว บุนเดสลีกา
1965 – แม้จะตกลงไปอยู่ในอันดับบ๊วยหลังจบซีซั่น 1964-65 แต่ทีมก็รอดพ้นการตกชั้นไปอย่างโชคช่วยเนื่องจากทางสมาคมมีแผนที่จะขยายการแข่งขันเพิ่มเป็น 18 ทีมในฤดูกาลหน้า
1969 – หลังป้วนเปี้ยนอยู่ในโซนท้ายตารางมานานหลายปี นอกจากจะพาตัวเองไต่ขึ้นมาจนจบในอันดับที่ 7 ได้ พวกเขายังสามารถผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ เดเอฟเบ โพคาล แต่จาก 2 ประตูของ แกร์ด มุลเลอร์ ในช่วงครึ่งเวลาแรกก็ทำให้ บาเยิร์น มิวนิค เป็นฝ่ายครองแชมป์ไปด้วยสกอร์ 2-1
1971 – ในช่วงปลายซีซั่น 1970-71 เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้นในวงการลูกหนังเยอรมัน เมื่อมีการตรวจสอบพบการทุจริตในการแข่งขัน บุนเดสลีกา หรือที่เรียกกันว่า Bundesliga-Skandal ก่อนจะปรากฏหลักฐานว่า ชาลเก้ ก็เป็นหนึ่งในทีมที่มีส่วนพัวพันกับการล็อคผลจากการพ่ายแพ้ต่อ อาร์มีเนีย บีเลเฟลด์ 1-0 ในวันที่ 17 เมษายน จนส่งผลให้นักเตะของทีม 13 คนถูกโทษแบนตลอดชีวิต ซึ่งรวมไปถึง เคล้าส์ ฟิชเชอร์, ไรน์ฮาร์ด ลิบูด้า และ เคล้าส์ ฟิคเทล ที่เป็นสมาชิกขาประจำของ ทีมชาติเยอรมันตะวันตก ภายในช่วงเวลานั้น แต่ยังดีที่มีการลดหย่อนบทลงโทษเหล่านั้นเหลือเพียงแค่ 6 เดือน – 2 ปี ในภายหลัง
1972 – ท่ามกลางมรสุมในช่วงที่ผ่านมา ราชันสีน้ำเงิน กลับสามารถทะยานเข้าป้ายเป็นอันดับที่ 2 รองจาก บาเยิร์น มิวนิค ภายในซีซั่น 1971-72 และยังสามารถคว้าแชมป์ เดเอฟเบ โพคาล ได้เป็นสมัยที่สองหลังเป็นฝ่ายไล่ถล่ม ไกเซอร์สเลาเทิร์น ในนัดชิง 5-0
1973 – ทีมย้ายเข้าสู่รังเหย้าแห่งใหม่ พาร์คสตาดิโอน ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับ ฟุตบอลโลก 1974 ที่ เยอรมัน รับหน้าที่เป็นเจ้าภาพ
1977 – ชาลเก้ พลิกกลับมาทำผลงานได้น่าประทับใจอีกครั้ง เมื่อสามารถคว้าอันดับที่ 2 รองจาก โบรุสเซีย มึนเช่นกลัดบัค โดยที่ทีมแชมป์ทำแต้มได้มากกว่าพวกเขาเพียงแค่คะแนนเดียว
1981 – แต่หลังจากนั้นอีกเพียงไม่กี่ปีทีมก็ทำผลงานร่วงหล่นลงอย่างน่าใจหาย ก่นจะตกชั้นลงไปด้วยการจบฤดูกาล 1980-81 ในอันดับรองบ๊วย
1982 – พวกเขาใช้เวลาไม่นานก็สามารถพาตัวเองกลับคืนสู่ลีกสูงสุดได้ด้วยการคว้าแชมป์ บุนเดสลีกา 2 ภายในช่วงเวลาแค่ซีซั่นเดียว
1983 – แม้จะกลับคืนมาได้อย่างรวดเร็วแต่ทีมก็ร่วงตกชั้นลงไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน หลังจบฤดูกาล 1982-83 ด้วยอันดับที่ 16 จนต้องไปลุ้นในเกมเพลย์ออฟหนีตายกับ ไบเออร์ อัวร์ดิงเก้น ก่อนจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไปด้วยสกอร์รวม 2 นัด 4-2
1984 – และก็เป็นอีกครั้งที่พวกเขาสามารถเลื่อนชั้นกลับมาได้ภายในปีเดียว เมื่อตามเกาะติด คาร์ลสรูห์ ทีมแชมป์ บุนเดสลีกา 2 ขึ้นมาด้วย
1988 – หลังประคองตัวเองได้นานหลายปี ในที่สุด S04 ก็ตกชั้นลงไปอีกครั้งจากการจมอยู่ในอันดับบ๊วยเมื่อตอนสิ้นสุดฤดูกาล 1987-88
1991 – คราวนี้ต้องใช้เวลานาน 3 ปีกว่าที่ ชาลเก้ จะกลับคืนสู่ บุนเดสลีกา หลังทะยานเข้าป้ายเป็นอันดับที่ 1 ของการแข่งขันระดับ ดิวิชั่น 2 ในซีซั่น 1990-91 และหลังจากนั้นพวกเขาก็ยังไม่เคยกลับลงมาอีกเลยจวบจนถึงปัจจุบัน
1997 – ราชันสีน้ำเงิน ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่การได้แชมป์บอลถ้วยภายในประเทศเมื่อ 25 ปีก่อน จากการนำทัพของ ฮูบ สตีเฟ่นส์ ที่พาทีมทะลุเข้าไปจนถึงรอบชิงชนะเลิศ ยูฟ่า คัพ 1997 ที่ยังคงใช้วิธีลงแข่งแบบเหย้า-เยือน โดยหลังจากต่างฝ่ายผลัดกันเอาชนะ 1-0 ในบ้านตนเอง ก็ต้องมาตัดสินแชมป์ด้วยการดวลจุดโทษในเลกสองที่ต้องออกไปเยือน ซาน ซิโร่ ก่อนที่พวกเขาจะยิงเข้าทั้ง 4 คนในขณะที่ฝั่ง อินเตอร์ มิลาน มีเพียงแค่ ยูริ จอร์เกฟฟ์ ที่ส่งบอลผ่านเข้าประตูไปได้
2001 – ด้วยสไตล์การเล่นที่สู้ยิบตาจนได้รับฉายา ยูโร ไฟท์เตอร์ (Euro Fighters) นับตั้งแต่ปีที่ได้ครองถ้วยยุโรป บวกกับปรัชญาการเน้นเกมรับอันเหนียวแน่นก็ทำให้ทีมของ สตีเฟ่นส์ หวุดหวิดที่จะคว้าแชมป์ บุนเดสลีกา 2000-01 โดยที่เกมนัดปิดฤดูกาลที่ พาร์คสตาดิโอน จบลงไปก่อนด้วยชัยชนะ 5-3 เหนือ อุนเตอร์ฮัคกิ้ง แต่แล้วกองเชียร์ของ ชาลเก้ ก็ต้องหัวใจสลายเมื่อรู้ข่าวในอีกไม่ที่นาทีให้หลังว่า พาทริค แอนเดอร์สัน สามารถยิงประตูตีเสมอ ฮัมบูร์ก ให้กับ บาเยิร์น ในช่วงทดเวลาบาดเจ็บจนปาดหน้าคว้าแชมป์ไปเพียงแค่คะแนนเดียว อย่างไรก็ตามพวกเขาก็ได้รับรางวัลปลอบใจเมื่อได้ชูถ้วย เดเอฟเบ โพคาล เป็นสมัยที่ 3 หลังเอาชนะคู่ชิงม้ามืดอย่าง ยูเนี่ยน เบอร์ลิน ทีมแชมป์ดิวิชั่น 3 ในฤดูกาลนั้นไปแบบไม่ยากเย็น 2-0
2002 – ชาลเก้ สามารถป้องกันแชมป์ เยอรมัน คัพ ได้ด้วยการสยบ ไบเออร์ เลเวอร์คูเซ่น 4-2 ที่ โอลิมเปีย สตาดิโอน และกลายเป็นแชมป์สมัยที่ 4 ของพวกเขาในรายการนี้ ก่อนที่ สตีเฟ่นส์ จะตัดสินใจย้ายไปรับงานกับ แฮร์ธ่า เบอร์ลิน หลังจบฤดูกาลนั้น
2005 – ราล์ฟ รังนิก กุนซือรายที่ 5 หลังการจากไปของ สตีเฟ่นส์ สามารถพาทีมขึ้นไปอยู่ในอันดับที่ 2 ได้อีกครั้ง แม้ช่องว่างระหว่าง บาเยิร์น ทีมแชมป์จะห่างไกลกันถึง 14 คะแนนก็ตาม นอกจากนี้พวกเขายังได้เข้าชิง เดเอฟเบ โพคาล เป็นครั้งที่ 3 ใน รอบ 5 ปี แต่ก็ตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ให้กับ เสือใต้ 2-1
2006 – จากการได้อันดับรองแชมป์ในปีที่ผ่านมา ทำให้ทีมมีโอกาสลงเล่นใน ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก เป็นครั้งที่สอง แต่ก็ทำผลงานไม่ผ่านรอบแบ่งกลุ่มจนได้ไปลงเตะอยู่ใน ยูฟ่า คัพ แทน ก่อนจะฝ่าฟันเข้าไปจนถึงรอบตัดเชือกและไปแพ้ให้กับ เซบีย่า ที่ก้าวขึ้นไปจนถึงตำแหน่งแชมป์ในที่สุด หลังจากนั้นในเดือนตุลาคม Gazprom บริษัทน้ำมันสัญชาติรัสเซีย ได้ก้าวเข้ามาเป็นสปอนเซอร์รายใหม่ให้กับทีมพร้อมเงินลงทุนกว่า 125 ล้านยูโรตลอดสัญญา 5 ปีครึ่ง โดยยังมีเงื่อนไขที่ระบุให้พวกเขากลายเป็นสโมสรพันธมิตรกับ เซนิต เซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก ในการพัฒนาเกมลูกหนังร่วมกัน
2007 – หลังการเข้ามารับตำแหน่งของ เมียร์โก สโลมก้า ในช่วงกลางซีซั่นก่อน เขาก็ช่วยพาทีมเข้าป้ายเป็นอันดับที่ 2 รองจาก สตุ๊ตการ์ท ที่จบฤดูกาล 2006-07 ด้วยแต้มที่มากกว่า 2 คะแนน
2008 – จากการเป็นที่ 2 ของกลุ่ม B รองจาก เชลซี ก็ทำให้ S04 สามารถผ่านรอบแบ่งกลุ่มในเวที แชมเปี้ยนส์ ลีก ได้เป็นครั้งแรก โดยเข้าไปพบกับ ปอร์โต้ ในรอบ 16 ทีมสุดท้ายและเป็นฝ่ายเอาชนะด้วยการดวลจุดโทษหลังเสมอกันมาโดยสกอร์รวม 1-1 ก่อนจะถูก บาร์เซโลน่า เขี่ยตกรอบก่อนรองชนะเลิศ ด้วยผลรวม 2-0 และส่งผลให้ สโลมก้า กระเด็นหลุดออกจากตำแหน่งในเดือนเมษายน
2009 – ในช่วงซัมเมอร์ปีนั้นสโมสรได้แต่งตั้ง เฟลิกซ์ มากัธ ผู้ที่พึ่งพา โวล์ฟสบวร์ก ครองถาด บุนเดสลีกา ในซีซั่นที่ผ่านมา และตามมาด้วยการใช้จ่ายมหาศาลเพื่อดึงตัวสตาร์ชั้นนำเข้ามาที่นำโดย คลาส-แยน ฮุนเตลาร์ และ ราอูล กอนซาเลซ ที่ช่วยยิงประตูได้อย่างถล่มทลายโดยเฉพาะในช่วงออกสตาร์ทซีซั่น 2009-10 ก่อนที่ทีมจะคว้าอันดับที่ 2 โดยทำแต้มตามหลัง บาเยิร์น 5 คะแนน
2011 – แต่แล้วด้วยการจัดตัวผู้เล่นที่ทำให้แฟนบอลรู้สึกขัดใจบวกกับจุดอ่อนในเกมรับที่ค่อนข้างเด่นชัดก็ทำให้ มากัธ ถูกปลดออกจากตำแหน่งกลางเดือนมีนาคม และหันไปคว้าตัว ราล์ฟ รังนิก กลับมาคุมทีมอีกครั้งก่อนจะช่วยสร้างเซอร์ไพรส์ในเกม แชมเปี้ยนส์ ลีก ด้วยการนำลูกทีมบุกไปถล่ม อินเตอร์ มิลาน ทีมแชมป์เก่า 5-2 ถึงถิ่น ซาน ซิโร่ จนผ่านไปถึงรอบรองชนะเลิศและพ่ายให้กับ แมนฯ ยูไนเต็ด ด้วยสกอร์รวม 2 นัด 6-1 อย่างไรก็ตามเขาก็สามารถพาทีมคว้าแชมป์ เดเอฟเบ โพคาล สมัยที่ 5 ด้วยการโชว์ฟอร์มหรูไล่ถล่ม ดุ๊ยส์บวร์ก ในนัดชิง 5-0
2012 – แต่หลังจากเริ่มฤดูกาล 2011-12 ไปได้ไม่นาน รังนิก ก็ตัดสินใจลาออกด้วยสาเหตุส่วนตัว จนทำให้สโมสรกลับไปทาบทาม ฮูบ สตีเฟ่นส์ ให้เข้ามารับงานอีกครั้ง ก่อนที่ทีมจะเข้าป้ายในอันดับที่ 3 และคว้าสิทธิ์ไปลงเตะใน UCL รอบแบ่งกลุ่มโดยอัตโนมัติ
2013 – ชาลเก้ เริ่มต้นซีซั่น 2012-13 ได้อย่างน่าประทับใจ โดยรั้งตำแหน่งรองจ่าฝูงได้ภายในเดือนพฤศจิกายน โดยที่ก่อนหน้านั้นในช่วงครึ่งหลังของเดือนตุลาคมก็พึ่งบุกไปสยบ โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ทีมคู่อริ 2-1 และกลายเป็นชัยชนะในศึก เรเวียร์ดาร์บี้ ครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2010 จนกระทั่งมาคว้าโควตา แชมเปี้ยนส์ ลีก ได้สำเร็จจากการจบฤดูกาลในอันดับที่ 4
2014 – ในช่วงก่อนออกสตาร์ทฤดูกาล 2013-14 ทีมเสริมทัพได้อย่างน่าสนใจด้วยการดึงตัว เควิน-พรินซ์ บัวเต็ง มาจาก เอซี มิลาน ในขณะที่ผู้เล่นคีย์แมนอย่าง ฮุนเตล่าร์ และ เจฟเฟอร์สัน ฟาร์ฟาน ก็มีอาการบาดเจ็บคอยตามรบกวนอยู่เป็นระยะจนทำให้ทีมจบครึ่งซีซั่นแรกด้วยอันดับที่ 7 ก่อนที่ เยนส์ เคลเลอร์ กุนซือชาวเยอรมันจะสร้างผลงานในช่วงครึ่งหลังที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์ของสโมสร ท่ามกลางความโดดเด่นของขุมกำลังดาวรุ่งที่นำโดย ยูเลี่ยน ดรักซ์เลอร์, มักซ์ เมเยอร์, เซอัด โคลาซินัช และ ลีออน โกเรทซ์ก้า จนสามารถเก็บชัยชนะได้ 11 ครั้งจาก 17 เกมในช่วงครึ่งซีซั่นหลังจนคว้าอันดับที่ 3 มาครองได้
2015 – หลังการพ่ายแพ้นอกบ้านให้กับ ฮอฟเฟ่นไฮม์ 2-1 และเก็บได้เพียง 8 คะแนนจาก 7 นัดแรกก็ทำให้สโมสรตัดสินใจแยกทางกับ เคลเลอร์ และได้ตัว โรแบร์โต้ ดิ มัตเตโอ เข้ามาคุมทีมต่อไปจนจบฤดูกาลที่เขาสามารถพาทีมไต่กลับมาอยู่ในอันดับที่ 6 ได้
2017 – ทีมเริ่มต้นฤดูกาล 2016-17 ด้วยการพ่ายแพ้ 5 นัดรวดจนจมอยู่ก้นตาราง แต่ก็ค่อยๆทำผลงานกระเตื้องขึ้นและพาตัวเองจบในอันดับที่ 10 ในขณะที่ผลงานในยุโรปกลับทำได้ดีกว่าจากการผ่านเข้าไปจนถึงรอบ 8 ทีมสุดท้ายในรายการ ยูฟ่า ยูโรปา ลีก ก่อนจะจอดป้ายด้วยน้ำมือของ อาแจ็กซ์
2018 – แม้ บาเยิร์น จะโชว์ฟอร์มโหดด้วยการสร้างสถิติคว้าแชมป์ บุนเดสลีกา เป็นสมัยที่ 6 ติดต่อกันได้ตั้งแต่ช่วงสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน แต่ ราชันสีน้ำเงิน ก็กลายเป็นทีมที่ดีที่สุดอันดับ 2 เมื่อทำแต้มไล่หลังมาแบบไกลลิบ 21 คะแนน แต่ก็ยังคงทิ้งห่าง ฮอฟเฟ่นไฮม์ ทีมอันดับ 3 อยู่ถึง 8 คะแนน ในขณะที่ผลงานในบอลถ้วย เยอรมัน คัพ ก็ไปได้ไกลจนถึงรอบตัดเชือกก่อนจะอดเข้าชิงจากการพ่ายแพ้ต่อ ไอน์ทรัค แฟร้งค์เฟิร์ต ทีมที่สามารถคว้าแชมป์ได้ในภายหลังจากการเอาชนะ บาเยิร์น 3-1
ผู้สนับสนุนและศัตรูคู่อริ
จำนวนผู้สนับสนุนของ ชาลเก้ ถีบตัวขึ้นสูงจาก 10,000 คนในปี 1991 ไปเป็น 155,000 ในปี 2018 จนทำให้พวกเขากลายเป็นสโมสรกีฬาที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของ เยอรมัน และใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลกในแง่จำนวนสมาชิกที่ลงทะเบียน รองจาก บาเยิร์น มิวนิค, สปอร์ติ้ง ลิสบอน และ เบนฟิก้า ที่เป็นอันดับ 1 ปัจจุบันพวกเขารั้งอยู่ในอันดับที่ 20 จากการจัดอันดับทีมฟุตบอลที่ดีที่สุดของ ยูฟ่า มีข้อมูลบางส่วนเกี่ยวกับจำนวนสมาชิกของทีมในปี 2014 ระบุไว้ว่า มีสมาชิกผู้หญิงอยู่ในสัดส่วน 20% และแฟนคลับรุ่นเยาว์ที่มีอายุไม่เกิน 10 ขวบมากถึง 14% นอกจากนี้ 30% ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดไม่ได้อยู่รัฐนอร์ทไรน์-เวสต์ฟาเลีย ซึ่งนอกเหนือจากกองเชียร์ที่อาศัยอยู่ใน เกลเซนเคียร์เช่น และละแวกใกล้เคียงแล้ว ยังมีสมาชิกของทีมที่มาจาก โคโลญจน์, เบอร์ลิน และ ดอร์ทมุนด์ และอีกหนึ่งสาเหตุที่สโมสรมีจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นก็น่าจะมาจากการลงโฆษณาโปรโมททีมที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2013
โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ คือทีมคู่ปรับหมายเลข 1 ของ ชาลเก้ ในการพบกันของทั้ง 2 ทีมจะมีชื่อเรียกว่า เรเวียร์ดาร์บี้ หรือ รูห์ร ดาร์บี้ ตามชื่อแคว้นที่ทั้งสองฝ่ายตั้งถิ่นฐานอยู่ร่วมกัน เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่ค่อนข้างจำกัดจึงทำให้ระยะห่างระหว่างสโมสรต่างๆอาจอยู่เพียงแค่ราว 30 กม. ดังนั้นกองเชียร์ของทีมที่อยู่ในพื้นที่แถบนั้นก็มักจะพบเห็นกันอยู่ในชีวิตประจำวัน อันที่จริงแล้ว โบคุ่ม และ ดุ๊ยส์บวร์ก ก็เป็นอีก 2 ทีมที่อาศัยอยู่ในละแวกนี้ แต่หากต้องพูดถึง เรเวียร์ดาร์บี้ แล้วผู้คนส่วนใหญ่ก็จะมองไปที่การเผชิญหน้ากันของ ชาลเก้ และ ดอร์ทมุนด์ ที่มีองค์ประกอบพร้อมสรรพทั้งในด้านจำนวนผู้สนับสนุนและความสำเร็จ และสำหรับแฟนคลับบางคนการคว้าชัยชนะในเกมดาร์บี้กลับมีความสำคัญมากกว่าการที่ทีมจะเป็นแชมป์เสียอีก
The post เจาะลึกประวัติ ราชันสีน้ำเงินแห่งเมืองเบียร์ ชาลเก้ 04 first appeared on ผลบอลสด บ้านผลบอล ผลบอลวันนี้ 7m 888 Livescore.]]>